backup og meta

มะเร็งต่อมน้ำนมแบบแพร่กระจาย (Invasive Lobular Carcinoma)

มะเร็งต่อมน้ำนมแบบแพร่กระจาย (Invasive Lobular Carcinoma)

มะเร็งต่อมน้ำนมแบบแพร่กระจาย คือโรคมะเร็งเต้านมชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นที่ต่อมผลิตน้ำนม โดยเซลล์มะเร็งได้มีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองและส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย

คำจำกัดความ

มะเร็งต่อมน้ำนมแบบแพร่กระจาย (Invasive lobular carcinoma) คืออะไร

มะเร็งในต่อมน้ำนมแบบแพร่กระจาย คือโรคมะเร็งเต้านมชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นที่ต่อมน้ำนมกลีบเล็กๆ ที่ผลิตน้ำนมในเต้านม

มะเร็งที่แพร่กระจาย หมายถึง เซลล์มะเร็งได้หลุดออกมาจากกลีบที่มันเกิดและอาจมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองและส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย

มะเร็งต่อมน้ำนมแบบแพร่กระจาย พบได้บ่อยแค่ไหน

มะเร็งในต่อมน้ำนมแบบแพร่กระจายนั้นทำให้เกิดส่วนส่วนเล็กๆ ของมะเร็งเต้านมทั้งหมด เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดของมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นในท่อน้ำนม (Invasive Ductal Carcinoma) สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษากับแพทย์

อาการ

อาการของมะเร็งต่อมน้ำนมแบบแพร่กระจาย

ในระยะแรกสุดมะเร็งในท่อน้ำนมแบบแพร่กระจายอาจจะไม่มีสัญญาณหรืออาการใด ๆ เมื่อมันมีขนาดใหญ่ขึ้นก็อาจจะทำให้เกิดอาการดังนี้

  • เต้านมมีบางส่วนที่หนาขึ้น
  • มีบริเวณใหม่ของเต้านมที่หนาแน่นหรือบวมขึ้น
  • ผิวหนังรอบเต้านมมีความเปลี่ยนแปลงด้านสัมผัสหรือลักษณะ เช่นมีรอยบุ๋มหรือหนาขึ้น
  • อาการหัวนมบอดใหม่ ๆ

มะเร็งในท่อน้ำนมแบบแพร่กระจายมีโอกาสน้อยกว่าโรคมะเร็งเต้านมแบบอื่น ๆ ที่จะทำให้เกิดก้อนในเต้านมที่แข็งและเห็นได้ชัด

อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์ของคุณ

ควรไปพบหมอเมื่อไร

ถ้าคุณมีอาการใด ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น หรือมีข้อสงสัยใด ๆ ควรปรึกษากับคุณหมอ เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดจึงควรพูดคุยกับหมอเพื่อหาแนวทางในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของโรคมะเร็งต่อมน้ำนมแบบแพร่กระจาย

ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดมะเร็งต่อมน้ำนมแบบแพร่กระจาย แต่แพทย์ทราบว่า โรคมะเร็งต่อมน้ำนมแบบแพร่กระจายนั้น เริ่มต้นจากการที่เซลล์ในต่อมน้ำนมเกิดการกลายพันธุ์ ทำให้ไม่สามารถควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์ในต่อมน้ำนม แล้วนำไปสู่การเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ลุกลามขึ้นมากลายเป็นเซลล์มะเร็ง และอาจแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ในร่างกายได้

โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งต่อมน้ำนมแบบแพร่กระจาย

ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งต่อมน้ำนมแบบแพร่กระจายมีดังต่อไปนี้

  • เพศหญิง ตามสถิติแล้วเพศหญิงนั้นจะมีโอกาสในการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำนมได้มากกว่าเพศชาย
  • อายุ ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่อมน้ำนมจะเพิ่มขึ้นตามอายุ
  • โรคมะเร็งต่อมน้ำนมแบบไม่แพร่กระจาย (Lobular carcinoma in situ) ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำนมแบบไม่แพร่กระจาย มีโอกาสสูงที่จะเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำนมแบบแพร่กระจาย
  • ฮอร์โมน ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ต้องใช้ยาเสริมฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) หรือฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) อาจจะมีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำนมสูงขึ้น
  • พันธุกรรม หากคุณมีญาติใกล้ชิดที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมอื่น ๆ คุณก็อาจจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำนมได้เช่นกัน

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมน้ำนมแบบแพร่กระจาย

การวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมน้ำนมแบบแพร่กระจายสามารถทำได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • การตรวจแมมโมแกรม (Mammogram) การตรวจแมมโมแกรมโดยการเอกซเรย์ที่บริเวณเต้านม อย่างไรก็ตาม การตรวจแมมโมแกรมอาจจะมีโอกาสตรวจพบโรคมะเร็งต่อมน้ำนมแบบแพร่กระจายน้อยกว่าโรคมะเร็งเต้านมอื่นๆ
  • อัลตราซาวด์ การตรวจโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อสร้างภาพภายก้อนมะเร็งที่อยู่ภายในเต้านม
  • การสแกนเอ็มอาร์ไอ (Magnetic resonance imaging; MRI) การสแกนเอ็มอาร์ไอนั้นจะช่วยตรวจสอบในบริเวณที่การตรวจแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์เข้าไม่ถึง นอกจากนี้ยังอาจสามารถตรวจจับมะเร็งในบริเวณอื่นนอกจากเต้านมได้อีกด้วย
  • การตรวจตัวอย่างชิ้นส่วนเต้านม (Biopsy) โดยการตัดนำตัวอย่างเนื้อเยื่อของเต้านมไปตรวจในห้องแล็บ เพื่อดูว่ามีความผิดปกติอะไรหรือไม่

การรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำนมแบบแพร่กระจาย

ทางเลือกในการรักษานั้นจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคมะเร็ง ขนาดก้อนมะเร็ง สุขภาพ และความต้องการของผู้ป่วย แต่ทางเลือกในการรักษาหลัก ๆ คือ

  • การผ่าตัด การผ่าตัดนั้นมีทั้งการผ่าตัดเพื่อกำจัดเพียงแค่ส่วนเนื้องอก หรือส่วนก้อนมะเร็งออกไป โดยยังคงเหลือเต้านมส่วนใหญ่เอาไว้ หรืออาจจะเป็นการผ่าตัดเต้านมทั้งหมดออกไป ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง และการลุกลามของมะเร็ง
  • เคมีบำบัด (Chemotherapy) หรือที่เรียกว่าการให้คีโม คือการใช้ยาเพื่อช่วยฆ่าเซลล์มะเร็ง การทำเคมีบำบัดนี้อาจจะทำก่อนการผ่าตัด เพื่อช่วยลดขนาดของเนื้องอกให้เล็กลง หรือใช้หลังจากการผ่าตัด เพื่อช่วยกำจัดเซลล์มะเร็งที่ยังหลงเหลืออยู่ก็ได้เช่นกัน
  • รังสีบำบัด (Radiation) คือการฉายรังสีความแรงสูง เช่น เอกซเรย์ เพื่อช่วยกำจัดเซลล์มะเร็ง โดยปกติแล้วมักจะทำการฉายรังสีบำบัดหลังจากการผ่าตัดเต้านม เพื่อช่วยกำจัดเซลล์มะเร็งที่เหลืออยู่
  • ฮอร์โมนบำบัด (Hormone therapy) วิธีการนี้มักจะใช้เพื่อรักษาโรคมะเร็งที่ไวต่อฮอร์โมน และโรคมะเร็งต่อมน้ำนมแบบแพร่กระจายนั้นก็มักจะต้องการฮอร์โมนเพื่อเจริญเติบโต การรักษาด้วยฮอร์โมนบำบัดนี้อาจจะช่วยลดโอกาสการกลับมาของโรคมะเร็งได้อีกด้วย

การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองที่ช่วยจัดการกับโรคมะเร็งต่อมน้ำนมแบบแพร่กระจาย

การเยียวยาตัวเองเพื่อช่วยจัดการกับโรคมะเร็งต่อมน้ำนมแบบแพร่กระจายนั้น จะเน้นที่การรับมือกับผลข้างเคียงของการรักษาโรคมะเร็ง และการจัดการกับอารมณ์ ความกลัว และความวิตกกังวลต่าง ๆ โดยอาจใช้วิธีดังต่อไปนี้

  • เรียนรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง เพื่อช่วยในการตัดสินใจเลือกวิธีการรักษา และเพื่อช่วยจัดการกับอาการข้างเคียงจากการรักษา เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนแรง หรือผมร่วง ได้อย่างถูกต้อง
  • รับการช่วยเหลือจากครอบครัวและเพื่อนพ้อง เปิดใจยอมรับความช่วยเหลือจากคนใกล้ตัว ให้พวกเขาเข้ามามีส่วนร่วมในการรับมือกับการรักษาโรค หรือช่วยรับฟังปัญหาของคุณ
  • ดูแลตัวเอง พยายามดูแลตัวเองในช่วงระหว่างการรักษา พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้เหมาะสม ออกกำลังกายเล็กน้อยเท่าที่พอทำได้ และพยายามจัดการกับความเครียด ความกังวล และอารมณ์ในแง่ลบต่าง ๆ

หากมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Invasive lobular carcinoma. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/invasive-lobular-carcinoma/basics/definition/con-20033968. Accessed November 20, 2017.

Lobular Breast Cancer: What Are the Prognosis and Survival Rates? https://www.healthline.com/health/breast-cancer/lobular-breast-cancer-prognosis-survival#overview1. Accessed November 20, 2017.

Lobular Breast Cancer. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/21180-lobular-breast-cancer

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/07/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก ที่คุณผู้ชายควรรู้

10 วิธี ลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านม ที่ผู้หญิงทุกคนควรรู้เอาไว้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 30/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา