backup og meta

วิธี ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง อย่างเข้าใจ และถูกต้อง ต้องทำอย่างไรบ้าง

วิธี ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง อย่างเข้าใจ และถูกต้อง ต้องทำอย่างไรบ้าง

การดูแล ผู้ป่วยมะเร็ง เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะคุณจะต้องดูแลทั้งสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจของ ผู้ป่วยมะเร็ง ไปพร้อม ๆ กัน การดูแลผู้ป่วยมะเร็งมีด้วยกันหลายวิธี ทั้งการช่วยเหลือพาไปพบคุณหมอ การจัดเตรียมยา หรือทำอาหารให้ผู้ป่วยรับประทาน วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการ ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง มาฝากกันค่ะ วิธีดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่เหมาะสมจะมีอะไรบ้าง เราไปดูกันเลย

เตรียมตัวเองอย่างไรเมื่อต้อง ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง

การดูแล ผู้ป่วยมะเร็ง ถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและท้าทาย ผู้ดูแลจะต้องมีความพร้อมในการช่วยฟื้นฟู ผู้ป่วยมะเร็ง ทั้งยังต้องพร้อมปรับตัวและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ก่อนเริ่มดูแลผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ดูแลควรความพร้อมในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

จัดการกับอารมณ์และความรู้สึกของตัวเองก่อน

เมื่อทราบข่าวคนใกล้ชิดเป็นมะเร็ง ไม่ใช่เรื่องแปลกที่คุณจะมีความรู้สึกหลายอย่างปนเปกัน ทั้งความรู้สึกสับสน เศร้า เสียใจ การเข้าไปพูดคุยกับ ผู้ป่วยมะเร็ง ทั้ง ๆ ที่คุณยังไม่สามารถจัดการกับความรู้สึกตนเองได้ มีแต่จะยิ่งทำให้ทั้งคุณและผู้ป่วยรู้สึกเครียด ฉะนั้น หากคุณต้องดูแลคนใกล้ชิดที่ป่วยเป็นมะเร็ง สิ่งแรกที่คุณควรทำก็คือ การจัดการความรู้สึกของตัวเองให้ได้เสียก่อน คุณจะได้พูดคุยกับเขาอย่างมีสติมากขึ้น และสามารถช่วยดูแลผู้ป่วยมะเร็งให้รับมือกับโรคได้ดีขึ้นด้วย

ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับโรคมะเร็ง

การเรียนรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง ไม่ว่าจะเป็นประเภทของมะเร็ง ระยะของมะเร็ง จะช่วยให้คุณวางแผนในการดูแล ผู้ป่วยมะเร็ง ได้ดีขึ้น ทั้งการทำกิจกรรม และรูปแบบอาหารที่ผู้ป่วยควรรับประทาน

นอกจากนี้ การถามถึงอาการของผู้ป่วยบ่อย ๆ อาจจะยิ่งทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเหนื่อยล้า และเครียดหนักกว่าเดิม ผู้ป่วยบางรายอาจไม่สะดวกใจที่ต้องเล่าอาการของตัวเองให้ผู้อื่นฟังบ่อย ๆ ฉะนั้น การทราบข้อมูลเบื้องต้นของโรค โดยเฉพาะอาการ ทั้งที่พบได้บ่อยและที่พบได้ยาก ถือเป็นเรื่องที่ผู้ดูแลควรทำ เพราะคุณจะได้ตอบคำถามแทนผู้ป่วยได้ เมื่อมีใครถามถึงอาการป่วยของพวกเขา และพวกเขาไม่ยินดีตอบคำถามนั้น ๆ

อีกทั้งการศึกษาข้อมูลโรค ยังช่วยให้คุณสังเกตสัญญาณของอาการได้ และช่วยให้รับมือกับอาการที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงทีด้วย

วางแผนในการ ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง

การวางแผนการดูแล ผู้ป่วยมะเร็ง เป็นเรื่องจำเป็นอย่างมาก เพราะการวางแผนที่ดี เตรียมตัวมาดี จะยิ่งช่วยให้ ผู้ป่วยมะเร็ง ฟื้นฟูสุขภาพได้เร็วขึ้น ยิ่งหากผู้ดูแลกับแพทย์ผู้ดูแลช่วยวางแผนกิจกรรมประจำวัน และกิจกรรมคลายเครียดที่เหมาะกับผู้ป่วย ก็จะยิ่งช่วยส่งเสริมให้สุขภาพจิตของผู้ป่วยดีขึ้นในเร็ววันด้วย

ลองมองในมุมของผู้ป่วย

การมองจากมุมของตนเองเพียงอย่างเดียว อาจทำให้คุณพลาดบางอย่าง ไม่เข้าใจความต้องการ หรือสาเหตุที่ทำให้ ผู้ป่วยมะเร็ง แสดงพฤติกรรมบางอย่างออกมา เช่น โกรธง่าย อารมณ์ขุ่นมัว การได้มองในมุมอื่น ๆ มองในมุมผู้ป่วย อาจจะช่วยให้เข้าใจเขาได้มากขึ้น เช่น คุณอาจรู้ได้ว่าที่ผู้ป่วยโกรธ หรืออารมณ์ไม่ดี เพราะรู้สึกว่าตัวเองกำลังจะสูญเสียทุกอย่างในชีวิต เมื่อคุณเข้าใจเขามากขึ้น คุณก็จะเลือกวิธีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม

เคล็ดลับสำหรับผู้ที่ต้อง ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง

นอกจากการเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ดูแลแล้ว เคล็ดลับเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ ก็สามารถช่วยให้คุณสามารถดูแลผู้ป่วยมะเร็งได้ดีขึ้น

ช่วย ผู้ป่วยมะเร็ง จัดการเรื่องต่าง ๆ 

ในช่วงที่ป่วย ผู้ป่วยมะเร็ง อาจจะไม่ต้องการจัดการเรื่องต่าง ๆ ด้วยตนเอง เนื่องจากความเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ซึ่งเป็นผลข้างเคียงของโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นกับร่างกาย การช่วยจัดการกับเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การนัดหมายกับแพทย์ การจัดยาสำหรับรับประทานในแต่มื้อ หรือเรื่องในชีวิตประจำวันอื่น ๆ เป็นเรื่องที่ผู้ดูแลควรช่วยจัดการแทน ผู้ป่วยมะเร็ง

จัดลำดับความสำคัญสิ่งที่ควรทำ

การช่วย ผู้ป่วยมะเร็ง จัดลำดับความสำคัญ เป็นสิ่งที่ผู้ดูแลควรทำ เพราะจะช่วยให้ ผู้ป่วยมะเร็ง ใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการจัดกิจกรรมเสริมที่ช่วยผ่อนคลาย หรือการดำเนินการใด ๆ ที่มีความสำคัญ

จดบันทึกอาการและแจ้งให้แพทย์ทราบ

การจดบันทึกอาการใหม่ ๆ เกิดขึ้นกับ ผู้ป่วยมะเร็ง เช่น นอนไม่หลับ ขับถ่ายลำบาก ไม่อยากอาหาร ซึ่งอาจเป็นผลข้างเคียงจากโรคและการรักษาเอาไว้ อาจช่วยให้แพทย์ทำการรักษาได้ง่ายขึ้น ผู้ดูแลควรหมั่นสังเกตอาการที่เกิดขึ้น เพื่อช่วยให้ข้อมูลดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อการรักษา

เข้าใจอารมณ์ของผู้ป่วย

นอกจากการดูแลเรื่องทางกายภาพอื่น ๆ แล้ว กายดูแลสภาพจิตใจของ ผู้ป่วยมะเร็ง ก็เป็นอีกเรื่องที่จะต้องให้ความสำคัญและใส่ใจ ในบางวันที่ผู้ป่วยรู้สึกหงุดหงิด เครียด หรือหดหู่ ผู้ดูแลควรพูดให้กำลังใจ ในวันแย่ ๆ เหล่านั้น เพื่อช่วยให้เขาผ่านวันแย่ ๆ ไปให้ได้

เบี่ยงเบนความสนใจด้วยเรื่องอื่น ๆ

การให้ความสนใจเรื่องโรคมะเร็งที่เป็นอยู่ ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ที่คุณเอาใจใส่กับโรค แต่การพูดถึงในทุก ๆ วัน พูดถึงบ่อย ๆ อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดความเครียดได้ ดังนั้นการชวนผู้ป่วยทำกิจกรรมอย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็น การอ่านหนังสือ วาดรูป หรือทำกิจกรรมที่ชอบ ก็จะช่วยเบี่ยงเบนความสนใจจากเรื่องโรคมะเร็งได้

นอกจากนี้ยังมีเรื่องอื่น ๆ ที่ผู้ดูแลควรช่วยจัดการให้กับผู้ป่วยมะเร็ง ดังนี้

  • การดูแลสุขอนามัย การเตรียมเสื้อผ้า เปลี่ยนเสื้อผ้า
  • การทำความสะอาด
  • ช่วยดูแลจัดการด้านการเงิน
  • ช่วยเปลี่ยนผ้าพันแผลหลังผ่าตัด
  • ติดต่อสื่อสารกับทีมแพทย์ที่ดูแล

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

When Someone You Love Has Advanced Cancer. https://www.cancer.gov/publications/patient-education/when-someone-you-love-has-advanced-cancer.pdf. Accessed April 7, 2021

How to care for a cancer patient?. https://pearlpoint.org/how-to-care-for-a-cancer-patient/. Accessed April 7, 2021

Supporting a Friend Who Has Cancer. https://www.cancer.net/coping-with-cancer/talking-with-family-and-friends/supporting-friend-who-has-cancer. Accessed April 7, 2021

Tips for caregiver. https://www.cancercenter.com/community/for-caregivers/tips-caring-for-a-loved-one-with-cancer. Accessed April 7, 2021

If You’re About to Become a Cancer Caregiver. https://www.cancer.org/treatment/caregivers/if-youre-about-to-become-a-cancer-caregiver.html. Accessed April 7, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

20/08/2021

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

อัปเดตโดย: นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ในช่วงทำเคมีบำบัด

วิธีจัดการความเครียด ความวิตกกังวลในผู้ป่วยมะเร็งปอด



เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 20/08/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา