backup og meta

ผักลดเบาหวาน บริโภคแล้วช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือดได้อย่างไร

ผักลดเบาหวาน บริโภคแล้วช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือดได้อย่างไร

เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งซึ่งผู้ที่เป็นโรคมีระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงกว่าปกติ หากปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้ ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีแป้งและน้ำตาลสูง เลือกรับประทาน ผักลดเบาหวาน ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที

[embed-health-tool-bmi]

เบาหวาน คืออะไร

โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินซึ่งมีหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่พอใช้งาน หรือเซลล์ในร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินผิดปกติ ส่งผลให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดบกพร่อง น้ำตาลในเลือดจึงสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนหากสูงกว่า 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (เมื่อตรวจเลือดหลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง) จะเข้าข่ายเป็นเบาหวาน

ทำไมต้องลดเบาหวาน

การปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน จะเพิ่มความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือชีวิตได้ เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคเส้นประสาทจากเบาหวาน และเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ผู้ป่วยเบาหวานจึงจำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ด้วยการปรับพฤติกรรมสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย เลือกรับประทานที่มีประโยชน์ เช่น ผักลดเบาหวาน 

ผักลดเบาหวาน ช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือดได้อย่างไร

ผู้ป่วยเบาหวานมักได้รับคำแนะนำจากคุณหมอให้เน้นเลือกรับประทานผัก เพราะผักส่วนใหญ่อุดมไปสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะใยอาหาร (Fiber) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด จึงช่วยให้ระดับน้ำตาลหลังมื้ออาหารไม่ขึ้นสูงจนเกินไป ช่วยให้การควบคุมเบาหวานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

มีการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร PLoS Med ปี พ.ศ. 2563 ศึกษาเกี่ยวกับผลของการบริโภคใยอาหารและธัญพืชเต็มเมล็ดกับโรคเบาหวาน สรุปว่า การบริโภคใยอาหารในปริมาณมากมีส่วนสำคัญต่อการดูแลสุขภาพเมื่อเป็นโรคเบาหวาน เพราะใยอาหารมีคุณสมบัติช่วยควบคุมระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด ช่วยควบคุมน้ำหนักตัว และช่วยรักษาการอักเสบของร่างกายได้

นอกจากนี้ยังพบว่า การบริโภคใยอาหารวันละ 15-30 กรัม ยังช่วยลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของผู้ป่วยเบาหวานได้อีกด้วย

ทั้งนี้ นอกจากใยอาหารแล้ว ผักบางชนิดยังจัดเป็น ผักลดเบาหวาน เพราะมีสารบางชนิดที่มีคุณสมบัติอาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ เช่น

  • กระเจี๊ยบเขียว มีสารโพลิแซคคาไรด์ (Polysaccharide) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน จึงอาจช่วยให้ร่างกายควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีขึ้น
  • มะระ มีโปรตีนพอลิเปปไทด์ พี (Polypeptide-p) ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายอินซูลิน จึงอาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด หรือควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้
  • กะเพรา มีสารยูจีนอล (Eugenol) ซึ่งมีคุณสมบัติยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อัลฟากลูโคซิเดส (Alpha-glucosidase) ที่ลำไส้เล็กซึ่งทำหน้าที่ย่อยคาร์โบไฮเดรตในอาหารเปลี่ยนเป็นน้ำตาลสำหรับดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด กะเพราจึงอาจช่วยลดการดูดซึมน้ำตาลได้ 
  • บร็อคโคลี่ มีสารซัลโฟราเฟน (Sulforaphane) และสารกลูโคราฟานิน (Glucoraphanin) ซึ่งมีคุณสมบัติกระตุ้นให้เซลล์ตอบสนองต่ออินซูลินได้ดีขึ้น หรือลดภาวะดื้ออินซูลิน จึงอาจทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดียิ่งขึ้น โดยมีการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Food Sciences and Nutrition ปี พ.ศ. 2555 ในแง่ ผลของต้นอ่อนบร็อคโคลี่ต่อภาวะดื้ออินซูลินในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานที่บริโภคผงต้นอ่อนบร็อคโคลี่ปริมาณ 10 กรัม/วัน มีการตอบสนองของเซลล์ในร่างกายต่ออินซูลินที่ดีกว่าเดิม 

ผักลดเบาหวาน ชนิดอื่น ๆ ที่อาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดมีอะไรบ้าง

ผักชนิดอื่น ๆ ที่อาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดมีดังนี้

  • ผักที่มีใยอาหารสูง เช่น ผักปวยเล้ง ผักกวางตุ้ง หน่อไม้ฝรั่ง คะน้าฝรั่ง ผักเคล (Kale) ผักร็อกเก็ต ทั้งนี้ ไฟเบอร์นอกจากช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลแล้ว ยังช่วยให้อิ่มท้องได้นาน ไม่หิวบ่อย จึงช่วยลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานได้ 
  • ผักที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ หรือไม่เกิน 55 เช่น แครอท บร็อคโคลี่ มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง กะหล่ำปลี ผักกาดหอม มะเขือ ผักปวยเล้ง ผักชีฝรั่ง โดยผักที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำจะไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วหลังบริโภค
  • ผักที่มีไนเตรต (Nitrate) สูง ไนเตรตมีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นให้ตับอ่อนผลิตอินซูลินเพิ่มขึ้นได้ รวมทั้งช่วยกระตุ้นให้เซลล์ในร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้ดีขึ้นอีกด้วย จึงอาจมีส่วนช่วยให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น ผักที่มีไนเตรตสูง เช่น ผักปวยเล้ง บีทรูท ผักกาดหอม ผักชีฝรั่ง รูบาร์บ (Rhubarb)

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเบาหวานควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักบางชนิดที่มีคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนประกอบสูง เช่น มันฝรั่ง มันม่วง ข้าวโพด เผือก เพราะจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นสูงได้มากกว่าผักอื่น ๆ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Dietary Fiber Intake and Type 2 Diabetes Mellitus: An Umbrella Review of Meta-analyses. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5883628/. Accessed November 28, 2022

Fiber: The Carb That Helps You Manage Diabetes. https://www.cdc.gov/diabetes/library/features/role-of-fiber.html#:~:text=Fiber%20can%20help%20manage%20your,in%20preventing%20or%20managing%20diabetes. Accessed November 28, 2022

Watching Salt When You Have Diabetes. https://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?contenttypeid=85&contentid=P00352#:~:text=People%20with%20diabetes%20are%20advised,concern%20for%20people%20with%20diabetes. Accessed November 28, 2022

Extra protein at breakfast helps control hunger. https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/extra-protein-at-breakfast-helps-control-hunger#:~:text=Protein%20takes%20longer%20to%20digest,lose%20and%20manage%20their%20weight. Accessed November 28, 2022

Effect of broccoli sprouts on insulin resistance in type 2 diabetic patients: a randomized double-blind clinical trial. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/22537070/. Accessed November 28, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/03/2023

เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

GCT คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับโรคเบาหวาน

ผลไม้ ผู้ป่วยเบาหวาน ควรหลีกเลี่ยง มีอะไรบ้าง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 15/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา