backup og meta

ลักษณะ ฉี่ ของคนเป็น เบาหวาน เป็นอย่างไร

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์ · โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 01/03/2023

    ลักษณะ ฉี่ ของคนเป็น เบาหวาน เป็นอย่างไร

    ลักษณะ ฉี่ ของคนเป็น เบาหวานที่ควบคุมไม่ดี อาจมีสีขุ่น ไม่ใส รวมถึงมีกลิ่นคล้ายผลไม้หมัก เนื่องจากมีน้ำตาลกลูโคส หรือ มีสารอื่นๆ เจือปนอยู่ ซึ่งหากปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน จะส่งผลให้ไตทำงานได้ไม่ดี หรือ เบาหวานลงไต ทำให้มีโปรตีนอัลบูมิน (Albumin) รั่วในฉี่ได้อีกด้วย

    โรคเบาหวาน คืออะไร

    เบาหวาน หมายถึง การที่ร่างกายภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติอย่างเรื้อรัง หรือสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป เมื่อทำการตรวจเลือดเเบบอดอาหาร

    ทั้งนี้ เบาหวานจัดเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยหรือไม่ได้เลย รวมทั้งเซลล์ในร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดบกพร่องระดับน้ำตาลในเลือดจึงสูงขึ้นเรื่อย ๆ

    ซึ่งฮอร์โมนอินูลินนี้ เป็นฮอร์โมนหลักในการควบคุมสมดุลระดับน้ำตาลในเลือด กล่าวคือ ทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นในเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย นำน้ำตาลไปเผาเผลาญใช้เป็นเป็นพลังงานในกระบวนการต่าง ๆ ของชีวิตประจำวัน ดังนั้นหากอินซูลินไม่เพียงพอ หรือเซลล์ไม่สามารถตอบสนองต่ออิซูลินได้ตามปกติ จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น เเละ นำไปสู่โรคเบาหวานตามมา 

    ลักษณะ ฉี่ ของคนเป็น เบาหวาน

    โดยทั่วไปเเล้ว ลักษณะ ฉี่ ของคนเป็น เบาหวาน ที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี จะมีลักษณะสีเหลืองใส เเละมีกลิ่นเหมือนฉี่ตามปกติทั่วไป เเต่หากควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ฉี่อาจมีลักษณะที่เปลี่ยนไปดังนี้

    • มีกลิ่นคล้ายผล หมัก/เปรี้ยว ซึ่งเป็นกลิ่นของสารคีโตน
    • ฉี่ขุ่น
    • อาจมีตะกอน หรือ มีกลิ่นฉุน รวมทั้งมีเลือดปน ซึ่งอาจมาจากการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ที่อาจเป็นภาวะเเทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ดี

    นอกจากนี้ ฉี่ของคนเป็นเบาหวานยังอาจตรวจพบสารอื่น ๆ ได้ดังต่อไปนี้

    กลูโคส

    กลูโคสหรือน้ำตาลที่พบได้ในเลือดของมนุษย์ อาจตรวจพบในฉี่ของผู้ป่วยเบาหวาน หากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งเป็นระดับน้ำตาลสูงสุดที่ไตจะสามารถดูดกลับเข้าสู่กระเเสเลือดได้ 

    ดังนั้น โดยทั่วไปเเล้ว ผู้ที่มีสุขภาพดี รวมทั้งผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเป้าหมาย จะตรวจไม่พบกลูโคสในฉี่เต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเบาหวานที่ใช้ยาลดระดับน้ำตาลกลุ่ม SGLT2 inhibitor ซึ่งออกฤทธิ์เพิ่มการขับน้ำตาลทิ้งทางฉี่ อาจตรวจพบนำ้ตาล/กลูโคสในฉี่ได้  

    คีโตน

    คีโตน (Ketone) เป็นสารที่อาจตรวจพบได้ในเลือดและฉี่ของผู้ป่วยเบาหวานหากมีภาวะความเป็นกรดในร่างกายสูงขึ้น ดังเช่นในภาวะเลือดเป็นกรด ซึ่งนับเป็นภาวะเเทรกซ้อนที่รุนเเรงออละอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิต

    ภาวะดังกล่าว เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้พลังงานจากน้ำตาลในกระเเสเลือด เนื่องจากตับอ่อนผลิตอินซูลินลดลงหรือไม่ได้เลย ส่งผลให้ร่างกายต้องหันไปเผาผลาญไขมันเป็นพลังงานแทน ซึ่งกระบวนการเผาผลาญไขมันนี้จะทำให้เกิดสรคีโตน (Ketone) ซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด และหากมีคีโตนสะสมอยู่ในเลือดมาก จึงย่อมส่งผลให้เลือดมีความเป็นกรดเพิ่มมากขึ้นซึ่งเป็นอันตรายต่ออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย

    ทั้งนี้ คีโตนจะถูกขับออกทางฉี่ ดังนั้นเมื่อมีคีโตนในเลือดสูง จึงจะมีคีโตนในฉี่สูงด้วยเช่นกัน

    ทั้งนี้ การตรวจระดับคีโตนในฉี่ อาจใช้ชุดสำหรับการตรวจโดยเฉพาะซึ่งในต่างประเทศอาจมีขายในร้านขายยาหรืออุปกรณ์ทางการเเพทย์ ซึ่งจะเป็นฃแผ่นทดสอบสำหรับหลังจุ่มลงในฉี่ ซึ่งจะแสดงค่าเปลี่ยนเป็นสีต่าง ๆ ตามระดับของคีโตน อย่างไรก็ตาม ตามปกติเเล้ว ไม่ควรตรวจพบคีโตนในฉี่ เเต่หากตรวจพบควรรีบดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ เช่น 2 – 3 ลิตร เเล้วรีบมาพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจเพื่มเติมทันที

    อัลบูมิน

    ภาวะไตเสื่อม โรคไต หรือการที่ไตทำงานได้ลดลง นับเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานชนิดเรื้องรัง ที่มักพบได้ในผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้เป็นเวลานาน

    ซผู้ป่วยเบาหวานที่เริ่มมีการทำงานของไตลดลง (ซึ่งมักจะยังไม่มีอาการเเสดงใด ๆ ) เมื่อตรวจฉี่จะพบมีโปรตีนอัลบูมินมากกว่าปกติ หรือ มากกว่า 30 มิลลิกรัม/วัน ซึ่งในผู้ป่วยบางรายอาจพบมีอัลบูมินรั่วในฉี่สูงมากกว่า 300 มิลลิกรัม/วัน ได้ ซึ่งเเสดงถึงการทำงานของไตที่ทรุดลงมากยิ่งขึ้น

    ทั้งนี้ อัลบูมินเป็นโปรตีนซึ่งสร้างมากจากตับ ทำหน้าที่ช่วยในการขนส่งฮอร์โมน วิตามิน หรือเอนไซม์ ไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายทางกระแสเลือด รวมถึงช่วยป้องกันมิให้ของเหลวในหลอดเลือดรั่วซึมออกมาสะสมในเนื้อเยื่อบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายอีกด้วย

    ดังนั้นคุณหมอจะมีการตรวจระดับอัลบูมินในฉี่เพื่อเป็นการคัดกรองเเละประเมินความเสี่ยงโรคไตในผู้ที่เป็นเบาหวาน โดยอาจทำการตรวจทุก ๆ 3 – 6 เดือน

    ทำไมคนเป็นเบาหวานจึงฉี่บ่อย

    อาการฉี่บ่อยเป็นผลมาจากเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ไตจะขับน้ำตาลส่วนเกินออกจากร่างกายทางฉี่ ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีจึงมีอาการฉี่บ่อยได้ 

    อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เป็นเบาหวานบางรายอาจไม่ทันสังเกตุว่าตัวเองฉี่บ่อย จนกระทั่งถึงจุดที่ต้องตื่นลุกมาเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ ในตอนกลางคืน

    นอกจากนี้ ยังอาจมีอาการอื่น ๆ ที่เป็นสัญญานของการที่ควบคุมเบาหวานได้ไม่ดี  ดังนี้

  • รู้สึกคอแห้ง กระหายน้ำมากกว่าปกติ
  • หิวบ่อย ความอยากอาหารมากกว่าปกติ
  • รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีเเรง
  • น้ำหนักลดลงอย่างกระทันหัน
  • สายตาพร่ามัว
  • แผลหายช้า
  • มือหรือเท้าชา
  • หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

    โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


    เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 01/03/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา