backup og meta

วิธีการ รักษา แผล เบาหวาน มีอะไรบ้าง

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์ · โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 26/10/2022

    วิธีการ รักษา แผล เบาหวาน มีอะไรบ้าง

    แผลเบาหวาน เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เมื่อเป็นแผลหรือรอยขีดข่วนเเม้เป็นเพียงเเผลขนาดเล็ก ก็อาจกลายเป็นบาดแผลเรื้อรัง และอาจลุกลามใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ได้ และยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อแทรกซ้อนซึ่งจะส่งผลให้เนื้อตายเพิ่มขึ้น รวมอาจทำให้เกิดภาวะติดเชื้อในกระเเสเลือดตามมาการ รักษา แผล เบาหวาน มีหลายวิธี เช่น การผ่าตัดเนื้อเยื่อที่ตายหรือติดเชื้อออก เพื่อป้องกันมิให้เเผลลุกลามไปยังเนื้อเยี่อส่วนข้างเคียง การรักษาด้วยออกซิเจนความดันสูง เพื่อช่วยชะลอการเติบโตของเชื้อโรค เเละเพิ่มการไหลเวียนของออกซิเจนไปยังบาดเเผล

    แผลเบาหวาน มีสาเหตุจากอะไร มีลักษณะเป็นอย่างไร

    แผลเบาหวาน (Diabetic Ulcer) คือ บาดเเผลเรื้อรังที่เกิดขึ้นในผุ้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี  จนทำให้หลอดเลือดส่วนปลายเสื่อมลง เกิดภาวะหลอดเลือดตีบหรืออุดตัน ทำให้เลือดไหลเวียนไปยังขาหรือเท้าได้ลดลง จึงอาจทำให้เนื้อเยี่อส่วนปลาย โดยเฉพาะที่ปลายนิ้วเท้าขาดเลือดเเละเกิดเป็นแผลเนื้อตายได้ รวมทั้งเมื่อเกิดแผลจึงหายช้ากว่าปกติ เพราะออกซิเจนและสารอาหารต่าง ๆ ไม่สามารถหมุนเวียนไปเลี้ยงและฟื้นฟูบาดแผลได้ตามปกติ หากปล่อยทิ้งไว้หรือไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมบาดแผลจะมีขนาดใหญ่เเละลึกขึ้นเรื่อย ๆ และอาจลุกลามไปจนถึงกระดูก

    ทั้งนี้ เมื่อแผลเบาหวานหายช้าจะยิ่งเพิ่มโอกาสติดเชื้อแบคทีเรีย  ร่วมกับในสภาวะที่มีน้ำตาลในเลือดสูงจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาว จึงยิ่งเสริมให้แผลติดเชื้อนั้นอาจลุกลาม จนสุดท้ายผุ้ป่วยอาจต้องถูกตัดขาเพื่อป้องกันการลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ

    เมื่อเป็นแผลเบาหวานควรไปพบคุณหมอเมื่อไร

    ผู้ป่วยเบาหวานควรรีบไปพบคุณหมอ เมื่อพบว่าแผลบริเวณเท้าของตนมีลักษณะต่อไปนี้

    • ผิวหนังบริเวณข้างเคียงรอบ ๆ แผลเป็นสีแดง บวม กดเจ็บ หรือเมื่อแตะแล้วรู้สึกว่าผิวหนังร้อนกว่าบริเวณอื่น ๆ
    • มีของเหลวไหลซึม หรือมีหนอง
    • แผลมีกลิ่นเหม็น
    • มีไข้
    • ทำเเผลเองเบื้องต้นเเล้วเเผลไม่ดีขึ้น หรือเเผลทรุดลง

    วิธีการ รักษา แผล เบาหวาน มีอะไรบ้าง

    เมื่อเป็นแผลเบาหวาน คุณหมออาจให้การรักษาด้วยวิธีต่อไปนี้

    • ยาฆ่าเชื้อ เนื่องจากเเผลเบาหวานส่วนมามักมีการติเชื้อเเบคทีเรียเเทรกซ้อน อึกทั้งผุ้ป่วยเบาหวานนับว่าเป็นผู้ที่มีภูมิต้านทานไม่เเข็งเเรง คุณหมอจึงมักต้องให้ยาฆ่าเชื้อในการรักษาร่วมด้วย หากบางรายเเผลมีอาการติดเชื้อรุนเเรง อาจจำเป็นต้องให้ยาฆ๋าเชื้อทางหลอดเลือดดำ เเละ เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล
    • ทำเเผลและผ่าตัดเพื่อตัดเนื้อเยื่อส่วนที่ตายออก เพื่อป้องกันมิให้การติดเชื้อหรือเนื้อตายลุกลามไปยังเนื้อเยี่อบริเวณข้างเคียง
    • การบำบัดด้วยออกซิเจนความดันสูง (Hyperbaric Oxygen Therapy) เป็นอีกหนึ่งวิธีการรักษาทางเลือกที่สามารถช่วยรักษาเเผลเบาหวานที่รุนเเรงได้ โดยการให้ผู้ป่วยหายใจเอาออกซิเจนบริสุทธิ์ 100 เปอร์เซ็นต์ ในห้องความกดอากาศสูง เป็นเวลาครั้งละประมาณ 30-120 นาที อาจเเตกต่างกันในเเต่ละราย ซึ่งจะช่วยให้ออกซิเจนไหลเวียนไปยังบริเวณแผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่อาจมีการขาดเลือดได้ดีขึ้น จึงทำให้เซลล์ต่าง ๆ ทำงานได้ดีขึ้น มีการสร้างเนื้อเยี่อเเละหลอดเลือดใหม่มาสมานแผลได้ รวมทั้งจัดการกับเชื้อโรคได้ดีขึ้นอีกด้วย

    นอกจากนี้ เพื่อช่วยให้แผลเบาหวานหายเร็วขึ้น หรือป้องกันแผลหวานมิให้ทรุดลงกว่าเดิม คุณหมออาจแนะนำผู้ป่วยให้ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยวิธีการต่อไปนี้

    • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม เช่น หลีกเลี่ยงอาหารกลุ่มเเป้งเเละน้ำตาล รับประทานยาสม่ำเสมอ
    • ทำความสะอาดแผลทุกวันด้วยน้ำสะอาดเเละซับเเผลให้เเห้ง ในกรณีเเผลใหญ่หรือค่อนข้างลึกอาจทำเเผลด้วยตนเองที่บ้านด้วยน้ำเกลือทางการเเพทย์ เเละปิดเแผลด้วยผ่าก๊อซเพื่อป้องกันการปนเปื้อน รวมทั้งหลีกเลี่ยงการแช่แผลในน้ำ เพราะจะทำให้แผลอับชื้นเเละเสี่ยงต่อการติดเชื้อเเทรกซ้อน
    • ลดแรงกดบริเวณแผลเบาหวาน ด้วยการสวมรองเท้าที่ไม่รัดแน่นจนเกินไป เเนะนำเป็นรองเท้าที่ห่อหุ้มถึงบริเวณนิ้วเท้าเพื่อป้องกันอุบัติเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่อาจเกิดขึ้นเเล้วโดยไม่ทันระวัง อีกทั้งในผู้ป่วยบางราย คุณหมออาจเเนะนำให้ตัดรองเท้าเฉพาะตัว เพื่อให้เหมาะสมกับสรีระของเท้าและแผลให้มากที่สุด ลดการลงน้ำหนักที่แผล เช่น ใช้ไม้ค้ำช่วยพยุงเวลาเดิน รถเข็นหากต้องเดินทาง จนกว่าแผลจะหาย

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

    โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


    เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 26/10/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา