backup og meta

อาการเบาหวานลด คืออะไร และวิธีควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์ · โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 30/11/2022

    อาการเบาหวานลด คืออะไร และวิธีควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์

    อาการเบาหวานลด คือ ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ที่อาจทำให้อาการเบาหวานอื่น ๆ ดีขึ้นตามลำดับ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณว่าแผนการรักษาโรคเบาหวานมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม หากระดับน้ำตาลในเลือดลดลงจนต่ำกว่าเกณฑ์ อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น หน้ามืด ไม่มีสมาธิ สับสน การมองเห็นผิดปกติ ดังนั้น จึงควรศึกษาวิธีควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

    อาการเบาหวานลด คืออะไร

    อาการเบาหวานลด คือ ภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงจนส่งผลให้อาการต่าง ๆ ของโรคเบาหวานลดลงไปด้วย ซึ่งอาจทำให้ทราบถึงประสิทธิภาพของแผนการรักษาโรคเบาหวานต่าง ๆ เช่น การควบคุม อาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยารักษาเบาหวาน การใช้อินซูลิน

    ระดับน้ำตาลในเลือดควรลดลงมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 99-140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แต่ไม่ควรปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เพราะอาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ที่อาจทำให้การทำงานของร่างกายผิดปกติ พูดไม่ชัด การมองเห็นผิดปกติ ไม่มีสมาธิ หัวใจเต้นผิดปกติ ซึ่งอาจนำไปสู่อาการโคม่า อาการชักและเสียชีวิตได้

    สาเหตุที่ทำให้อาการเบาหวานลด

    สาเหตุที่ทำให้อาการเบาหวานลด มีดังนี้

    • ยารักษาเบาหวาน

    สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเบาหวานลดอาจเป็นผลจากการรักษาด้วยยารักษาเบาหวาน เช่น ยาเมทฟอร์มิน (Metformin) ยากลุ่มเอสจีแอลทีทู อินฮิบิเตอร์ (SGLT2 Inhibitors) ยากลุ่มดีพีพี-4 อินฮิบิเตอร์ (DPP-4 Inhibitors) ยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylurea) ยากลุ่มไกลไนด์ (Glinides) ที่มีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด กระตุ้นการผลิตอินซูลินมาช่วยเผาผลาญน้ำตาลในเลือด ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงและอาการเบาหวานลดลงได้

    • การใช้อินซูลิน

    การฉีดอินซูลินอาจช่วยเพิ่มระดับอินซูลินที่เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่เปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เปลี่ยนเป็นพลังงาน โดยคุณหมออาจแนะนำให้ใช้ควบคู่กับแผนการออกกำลังกายและการควบคุมอาหาร เพื่อช่วยให้อาการเบาหวานลดลงอย่างมีประสิทธิภาพ

    • การควบคุมอาหาร

    การควบคุมอาหารโดยการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เน้นการรับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืช และเนื้อสัตว์ไร้ไขมัน และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น ข้าวขาว ขนมปังขาว อาหารทอด อาหารแปรรูป น้ำผลไม้ อาจช่วยให้อาการเบาหวานลด และระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ อย่างไรก็ตาม หากควบคุมอาหารอย่างไม่ถูกต้อง เช่น อดอาหาร อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไปและอาจเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ

  • ร่างกายผลิตอินซูลินมากเกินไป

  • อาจเกิดจากเนื้องอกในตับอ่อนซึ่งเป็นภาวะที่พบได้ยาก ส่งผลให้ตับอ่อนผลิตอินซูลินมากเกินไป ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงต่ำกว่าปกติ

    • ฮอร์โมนบกพร่อง

    หากเกิดความผิดปกติต่อต่อมหมวกไตและต่อมใต้สมองอาจส่งผลกระทบต่อการผลิตฮอร์โมนอินซูลินที่มีส่วนช่วยควบคุมการผลิตน้ำตาลในเลือด และนำไปสู่ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ

    วิธีควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์

    วิธีควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ มีดังนี้

    • เน้นการรับประทานผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ไร้ไขมัน และธัญพืช เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ผักใบเขียว ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ส้ม สับปะรด มะเขือเทศ ฟักทอง อัลมอนด์ ขนมปังโฮลเกรน ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต เพราะอาจช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลและไขมันจากอาหาร ช่วยลดระดับน้ำตาลและคอเลสเตอรอลในเลือด แต่สำหรับผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าเกณฑ์อาจจำเป็นต้องเพิ่มน้ำตาลเข้าสู่ร่างกายเล็กน้อยด้วยการดื่มน้ำผลไม้ น้ำอัดลม หรืออมลูกอมรสหวาน
    • ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 30 นาที เช่น เดินเร็ว ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน วิ่ง หรืออาจเพิ่มการเคลื่อนไหวเล็กน้อย เช่น ทำงานบ้าน พาสัตว์เลี้ยงออกไปเดินเล่น เพื่อช่วยเพิ่มความไวต่ออินซูลินและกระตุ้นการผลิตอินซูลิน ที่อาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดหากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง
    • ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำด้วยเครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อช่วยให้ทราบค่าน้ำตาลในเลือดว่าอยู่ในเกณฑ์ สูงหรือต่ำกว่าเกณฑ์หรือไม่ และควรจดข้อมูลรวมถึงช่วงเวลาที่ตรวจให้คุณหมอทราบ เพราะหากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำกว่าเกณฑ์อาจจำเป็นต้องวางแผนการรักษาใหม่ให้เหมาะสม

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

    โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 30/11/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา