backup og meta

อาหารลดน้ำตาลในเลือด มีอะไรบ้างและมีประโยชน์อย่างไร

อาหารลดน้ำตาลในเลือด มีอะไรบ้างและมีประโยชน์อย่างไร

อาหารลดน้ำตาลในเลือด หรือ อาหารควบคุมน้ำตาลในเลือด อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดเท่ากับหรือสูงกว่า 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร รวมทั้งผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดระหว่าง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เนื่องจากเป็นผู้ที่ต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินไป เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น มือเท้าชา แผลเรื้อรัง ไตวาย ทั้งนี้ อาหารลดน้ำตาลในเลือดมักเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ มีปริมาณกากใยสูง และมีดัชนีน้ำตาลต่ำ

[embed-health-tool-bmi]

ประโยชน์ของ อาหารลดน้ำตาลในเลือด

แม้ว่าน้ำตาลในเลือดจะเป็นแหล่งพลังงานของร่างกายที่ได้จากการบริโภคอาหารประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตอย่างแป้งและน้ำตาล

แต่ในกรณีของผู้ป่วยเบาหวานที่ตับอ่อนหลั่งฮอร์โมนอินซูลินไม่ได้เลยหรือได้น้อยกว่าความต้องการของร่างกาย รวมถึงในกรณีที่เซลล์ต่าง ๆ ตอบสนองต่ออินซูลินได้ไม่ดีนักทำให้ประสิทธิภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ง่าย จึงควรระมัดระวังการบริโภคอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตอย่างแป้งและน้ำตาลร่วมกับออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย  มีสุขภาพที่แข็งแรง สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ และลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปลายประสาทอักเสบ โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด หรือภาวะเบาหวานขึ้นตา

นอกจากผู้ป่วยเบาหวานแล้ว ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน หรือกำลังมีภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes) สามารถเลือกรับประทานอาหารลดน้ำตาลในเลือดเช่นกัน เพื่อป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น

อาหารลดน้ำตาลในเลือด มีอะไรบ้าง

แอปเปิล

แอปเปิลอุดมไปด้วยสารโพลีฟีนอล (Polyphenol) ซึ่งออกฤทธิ์ลดการอักเสบ ควบคุมระดับความดันโลหิต ช่วยให้เซลล์ในร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้ดีขึ้น

งานวิจัยหนึ่งเรื่องการบริโภคผลไม้และโอกาสเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เผยแพร่ในวารสาร BMJ ปี พ.ศ. 2556 นักวิจัยได้ศึกษาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 187,382 ราย ได้ข้อสรุปว่า การบริโภคผลไม้ โดยเฉพาะบลูเบอร์รี่ องุ่น และแอปเปิล สัมพันธ์กับโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ลดลง

อาหารอื่น ๆ ที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานหรือผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นเบาหวาน ได้แก่

  • โยเกิร์ต
  • ผลไม้ตระกูลส้มและมะนาว
  • อะโวคาโด
  • เบอร์รี่ต่าง ๆ
  • ผักเคล
  • เมล็ดเจีย
  • ถั่วต่าง ๆ
  • บรอกโคลี

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

The Effect of Abelmoschus Esculentus on Blood Levels of Glucose in Diabetes Mellitus. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/27840529/#:~:text=Results%3A%20Various%20studies%20on%20Okra,remedy%20to%20manage%20diabetes%20mellitus. Accessed August 19, 2022

Effects of pumpkin polysaccharides on blood glucose and blood lipids in diabetic rats. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/21158090/. Accessed August 19, 2022

Fruit consumption and risk of type 2 diabetes: results from three prospective longitudinal cohort studies. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3978819/. Accessed August 19, 2022

Antidiabetic activity of Mung bean extracts in diabetic KK-Ay mice. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18767859/. Accessed May 26, 2022

Manage Blood Sugar. https://www.cdc.gov/diabetes/managing/manage-blood-sugar.html#:~:text=It’s%20important%20to%20keep%20your,improve%20your%20energy%20and%20mood. Accessed May 26, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

01/10/2022

เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย นายแพทย์ภควัต ตั้งจาตุรนต์รัศมี

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

น้ำตาลในเลือดสูงเกิน 500 อันตรายหรือไม่ มีวิธีแก้ไขอย่างไร

CGM (เครื่องวัดระดับน้ำตาลแบบต่อเนื่อง) คืออะไร ใช้งานอย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

นายแพทย์ภควัต ตั้งจาตุรนต์รัศมี

โภชนาการเพื่อสุขภาพ · โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 01/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา