banner

สุขภาพจิตน่ารู้

การป้องกันการฆ่าตัวตาย

อัตราการฆ่าตัวตาย ที่เพิ่มขึ้น ในยุค "Modernization"

ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตมองว่า การฆ่าตัวตายเกิดจากปัญหาส่วนบุคคลหรือเหตุผลทางครอบครัว แต่จริง ๆ แล้ว สังคมและวัฒนธรรมก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่มีส่วนทำให้เกิดการฆ่าตัวตาย จาก อัตราการฆ่าตัวตาย ในประเทศกรีนแลนด์พบว่า อัตราการฆ่าตัวตายที่เพิ่มขึ้นมีความเกี่ยวข้องกับ สังคมยุคใหม่ ที่มาพร้อมภาวะทันสมัย (Modernization) วันนี้ Hello คุณหมอ มีบทความเกี่ยวกับอัตราการฆ่าตัวตายที่มาในยุคภาวะทันสมัย มาฝากทุกคนกันค่ะ ภาวะทันสมัย (Modernization) กับอัตราการฆ่าตัวตาย ภาวะทันสมัย (Modernization) เป็นภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงของสภาพทางสังคมอย่างรวดเร็ว เช่น การเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมไปสู่สังคมอุตสาหกรรม มีแนวคิดในเรื่องของทุนนิยม ที่เน้นสร้างความเจริญเติบโตให้กับสภาพทางเศรษฐกิจ และมีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรม ทำให้สังคมมีความทันสมัยและเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีมีส่วนช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตและความสะดวกสบายให้คนในปัจจุบัน แทบทุกคนในปัจจุบันมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในมือ เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันเสียจนเปรียบเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะในร่างกาย ที่บางคนไม่สามารถขาดได้หรือเข้าขั้นติดเลยก็ว่าได้ งานวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริกาเผยว่า คนกว่าร้อยละ 43 เสพติดการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และหมั่นเช็กเฟสบุ๊ค ไลน์ อินสตาแกรมหรือช่องทางโซเชียลมีเดียอื่น ๆ อยู่เสมอ แต่การใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ก็ทำให้เกิดความเครียดเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยงานวิจัยชี้ว่า คนที่ติดมือถือมีภาวะเครียดมากกว่าคนที่ใช้งานน้อยกว่าถึงร้อยละ 18 อีกทั้งยังส่งผลให้ความสัมพันธ์ต่อคนรอบข้างแย่ลง แม้จะนั่งอยู่ในห้องเดียวกันก็ตาม จากผลสำรวจของผู้ที่ติดเทคโนโลยีพบว่า พวกเขารู้สึกว่า การเจอหน้ากันเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็น แม้ว่าคน ๆ นั้นจะเป็นพ่อแม่หรือเพื่อนสนิทก็ตาม เพราะพวกเขาเชื่อว่า เทคโนโลยีในปัจจุบัน และแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ […]

จัดการความเครียด

สุขภาพจิต

โรคเครียด ภัยเงียบต่อร่างกาย ที่ควรระวัง

โรคเครียด เป็นภาวะทางสุขภาพจิตที่เกิดจากการเผชิญปัญหา แรงกดดัน หรือสิ่งไม่คาดคิดในชีวิต ซึ่งความเครียดเป็นปฏิกริยาตอบสนองทางร่างกายและจิตใจ เมื่อรู้สึกถึงการคุกคาม หรือภัยอันตราย ปฏิกิริยาทางเคมีในร่างกายจะตอบสนองต่อความเครียด เมื่อเครียดอัตราการเต้นของหัวใจอาจเพิ่มขึ้น หายใจถี่ขึ้น กล้ามเนื้อหดตัว โดยโรคเครียดมักมีอาการ 3 วันถึง 1 เดือนหลังจากประสบเหตุการณ์ที่ทำให้เครียด แต่หากมีอาการมากกว่า 1 เดือน อาจเสี่ยงเกิดภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง (Post-Traumatic Stress Disorder หรือ PTSD) คำจำกัดความโรคเครียด คืออะไร โรคเครียด คือ ภาวะที่ต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจ เช่น การเห็นรถชน คนเสียชีวิต เมื่อร่างกายอยู่ในภาวะตึงเครียดอาจส่งผลต่อฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความเครียดที่สร้างจากต่อมหมวกไต เมื่อเครียดต่อมหมวกไตจะหลั่งคอร์ติซอลมากขึ้น หากร่างกายมีคอร์ติซอลมากเกินไปอาาจส่งผลให้หัวใจเต้นเร็ว หายใจถี่ขึ้น และอาจส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ และอารมณ์ เช่น ความวิตกกังวล ความกลัว  โรคเครียด พบได้บ่อยเพียงใด โรคเครียดสามารถพบเจอได้ทุกเพศทุกวัย โดยภาวะความตึงเครียดของแต่ละบุคคลอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับลักษณะของสถานการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ อาการอาการของโรคเครียด  อาการของโรคเครียด อาจแสดงลักษณะอาการที่แตกต่าง โดยอาจสังเกตอาการได้ดังต่อไปนี้  อาการทางด้านร่างกาย คลื่นไส้  ปวดศีรษะ ปวดท้อง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เนื่องจากกล้ามเนื้อเกร็งหรือหดตัว อารมณ์ทางเพศลดลง ปัญหาการนอนหลับ อาจทำให้อ่อนเพลีย  อาการทางด้านอารมณ์  หงุดหงิดง่าย โมโห อารมณ์เสียง่าย หรืออารมณ์แปรปรวน รู้สึกโดดเดี่ยว ไม่ร่าเริง รู้สึกไม่มีค่า รู้สึกกดดันอยู่เสมอ  ไม่อยากพบเจอผู้คน  อาการทางความคิด  มีความขัดแย้งทางความคิด หลงลืม และอาจไม่สามารถจัดเรียงลำดับความสำคัญก่อนและหลัง การตัดสินใจบกพร่อง สมาธิสั้น […]

สุขภาพจิต

โรคเครียด อาการ ที่ควรรู้

โรคเครียด อาการที่เกิดขึ้นมักแสดงออกมาทางร่างกาย อารมณ์ และพฤติกรรม เช่น วิงเวียนศีรษะ ปวดหัว ความวิตกกังวล เศร้า พฤติกรรมการกินที่เปลี่ยนไป หรือดื่มเครื่องแอลกอฮอล์มากขึ้น ดังนั้น การจัดการความเครียดจึงอาจช่วยบรรเทาอาการในด้านต่าง ๆ ได้ โรคเครียด คืออะไร โรคเครียด คือ โรคชนิดหนึ่งที่ร่างกายตอบสนองต่อภัยคุกคามหรืออันตรายที่กำลังเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงหรือความนึกคิด ซึ่งโรคเครียดและอาการเป็นวิธีปกป้องร่างกายอย่างหนึ่ง จะช่วยให้ร่างกายรู้สึกกระฉับกระเฉงมากขึ้น มีสมาธิ และตื่นตัว พร้อมรับมือกับความกดดันหรือปัญหาทีกำลังเกิดขึ้น แต่หากความเครียดเกิดขึ้นระยะยาวอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพและจิตใจ เนื่องจากร่างกายอาจทำงานหนักขึ้น ทำให้สมองเหนื่อยล้า และอาจรบกวนระบบภูมิคุ้มกัน ระบบย่อยอาหาร ระบบหัวใจและหลอดเลือด การนอนหลับ และระบบสืบพันธุ์ นอกจากนี้อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ แลพโรคจิตเภท ตามมาได้ โรคเครียด อาการเป็นอย่างไร ความเครียดส่งผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมการเต้นของหัวใจ และการมองเห็น จึงอาจทำให้เกิดอาการทางร่างกาย อารมณ์และจิตใจ รวมถึงการแสดงออกทางพฤติกรรม ดังนี้ อาการทางร่างกาย วิงเวียนศีรษะ ปวดหัว ปวดท้อง มีอาการสั่น ไม่มีสมาธิ ปัญหาทางความจำ อ่อนเพลีย ปัญหาการนอนหลับ เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อเกร็ง อารมณ์ทางเพศลดลง ความอยากอาหารลดลง กระเพาะอาหารและทางเดินอาหารผิดปกติ ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เจ็บป่วยบ่อย อาการทางอารมณ์และจิตใจ อารมณ์แปรปรวน […]

การจัดการความเครียด

วิธีคลายเครียด เพื่อสุขภาพจิตที่ดี

วิธีคลายเครียด เป็นวิธีที่อาจช่วยจัดการกับความเครียดให้ทุเลาได้ ก่อนที่จะพัฒนากลายเป็นความเครียดเรื้อรัง ซึ่งอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การอยู่ร่วมกับสังคม และปัญหาสุขภาพ เช่น โรคเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า การดูแลตัวเองเพื่อจัดการกับอารมณ์และผ่อนคลายเรื่องตึงเครียด จึงอาจช่วยส่งเสริมสุขภาพชีวิตและทำให้ชีวิตมีความสุขขึ้นได้ ความเครียด คืออะไร ความเครียด คือ ปฏิกิริยาตอบสนองทางร่างกายและจิตใจที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ซึ่งเป็นการตอบสนองในเชิงบวก ที่ช่วยให้ร่างกายรู้สึกตื่นตัวเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้น แต่ถ้าหากความเครียดเกิดขึ้นยาวนานอาจส่งผลเสียร้ายแรงต่อร่างกายและจิตใจได้ ทั้งนี้ความเครียดอาจเกิดขึ้นระยะสั้นหรือระยะยาวขึ้นอยู่กับการจัดการความเครียดของแต่ละบุคคล หากเกิดความเครียดสะสม อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ เช่น ความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคจิตเวท วิธีคลายเครียด มีอะไรบ้าง วิธีคลายเครียดเพื่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีดังนี้ รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ ผู้ที่มีความเครียดอาจแก้ปัญหาหรือหนีความเครียดด้วยการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพมากเกินไป การกระทำเหล่านี้อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพระยะยาวได้ ดังนั้นการรับประทานอาหารให้ตรงตามโภชนาการและดีต่อสุขภาพจึงเป็นวิธีที่จะช่วยจัดการกับความเครียดได้ ดังนั้น การรับประทานอาหารให้ตรงตามโภชนาการและดีต่อสุขภาพจึงเป็นวิธีที่จะช่วยจัดการกับความเครียดได้ เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี ไก่ ไข่ มีวิตามินบี 12 ช่วยเผาผลาญคอร์ติซอลซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียด ดาร์กช็อกโกแลต อะโวคาโด กล้วย มีแมกนีเซียมช่วยลดการอักเสบ เผาผลาญคอร์ติซอล ผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ แซลมอน ปลาซาร์ดีน ทูน่า อาหารที่อุดมไปด้วยไขมันโอเมก้า 3 ลดการอักเสบและส่งเสริมการทำงานของสมอง ลดความเสี่ยงความผิดปกติทางอารมณ์ เมล็ดฟักทอง อุดมไปด้วยโพแทสเซียมและสังกะสี ช่วยควบคุมความดันโลหิต ลดความเครียดและความวิตกกังวล ชาเขียว มีกรดอะมิโนที่เรียกว่า “ธีอะนีน […]

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

คิดมาก สามารถกลายเป็นปัญหาสุขภาพจิตได้หรือเปล่า?

คุณเคยมีอาการคิดมากแบบนี้หรือเปล่า คือคิดวนเวียนอยู่กับเรื่องเรื่องเดียว หรือหลาย ๆ เรื่อง และคุณเอาแต่ คิดมาก กับเรื่องบางอย่างซ้ำไปซ้ำมา ไม่สามารถเลิกคิดได้ กระบวนการคิดอย่างต่อเนื่องในเรื่องเดิม ๆ ซ้ำ ๆ สามารถจัดว่าเป็นการครุ่นคิด ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพทางจิตอย่างโรคซึมเศร้าได้ วันนี้ Hello คุณหมอ อยากชวนทุกคนไปทำความรู้จักกับการคิดมากกัน ว่าส่งผลต่อสุขภาพจิตของเราหรือไม่ การครุ่นคิด คืออะไร การครุ่นคิด (Rumination) คือการคิดมากกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือหลายเรื่องซ้ำๆ ซึ่งถ้าทำจนเป็นนิสัยสามารถเป็นอันตรายต่อสุขภาพจิต และสามารถทำให้อาการซึมเศร้ารุนแรงขึ้น รวมทั้งทำให้ความสามารถในการคิดและประมวลอารมณ์ของคุณแย่ลง นอกจากนี้ยังอาจทำให้คุณรู้สึกโดดเดี่ยว และอาจผลักคนอื่นออกไปจากชีวิต ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าหลายคนรายงานว่า พวกเขาจมอยู่กับอาการซึมเศร้าของตัวเองซ้ำไปซ้ำมา เช่น การเฝ้าถามตัวเองว่าทำไมฉันถึงไม่สามารถดีขึ้นได้ นอกจากนี้พวกเขายังอยู่กับความไม่พอใจในตัวเอง เหตุการณ์ไม่ดีในอดีต และการสูญเสีย ซึ่งจากการติดตามระยะยาวและจากการศึกษาทดลองพบว่า การคร่ำครวญ ครุ่นคิดกับเรื่องเดิมๆ ทำให้อารมณ์เชิงลบแย่ลง และสามารถเพิ่มภาวะซึมเศร้า แต่ถึงแม้จะรู้ว่า การคิดมากและคิดซ้ำไปซ้ำมา อาจทำให้มีปัญหาสุขภาพจิต แต่ก็ยังมีรายงานว่า หลายคนพบว่ามันยากที่จะหยุดคิด ซึ่งผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักจะบรรบายการครุ่นคิดว่าเป็นสิ่งที่ต้องทำ และทำจนเป็นนิสัย รวมถึงเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ มากไปกว่านั้น การครุ่นคิดมักจะเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า ในสถานการณ์หรือสิ่งแวดล้อมเดิม ๆ ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณรู้สึกเศร้าและกังวล หรืออยู่ในบางสถานที่และบางเวลา เช่น […]

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

งานหนักไม่เคยฆ่าใคร จริงเหรอ คนเราควรทำงานวันละกี่ชั่วโมงกันแน่

ไม่ว่าใครอาจก็เคยได้ยินวลีที่ว่า “งานหนักไม่เคยฆ่าใคร” ก่อน เราทุกคนอาจจะคิดว่า การทำงานหนัก นั้นเป็นเรื่องที่ดี เพราะแสดงให้เห็นถึงความขยัน และความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของเรา แต่จริง ๆ แล้ว การทำงานหนักเกินไป อาจจะส่งผลร้ายต่อเราได้มากกว่าที่ทุกคนคิด และแท้จริงแล้ว เราควรทำงานวันละเท่าไหร่จึงจะมีประสิทธิภาพสูงสุด มาลองหาคำตอบด้วยกันกับบทความนี้จาก Hello คุณหมอ การทำงานหนักเกินไป ส่งผลเสียอย่างไร การทำงานหนักเกินไป หมายถึงการที่คุณทำงานมากกว่าสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง หรือก็คือมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน ถือว่ามากกว่า 1 ใน 3 ของเวลาในหนึ่งวัน มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า การทำงานหนักเกินไปนั้นส่งผลให้เกิดผลเสียอย่างมาก ทั้งต่อร่างกายและจิตใจ จากข้อมูลที่ศึกษาผู้ที่ทำงานหนักเกินไป ในช่วงปี 1995-2012 พบว่า ผู้ที่ทำงานงานหนักมากกว่าวันละ 8 ชั่วโมงนั้นมีโอกาสที่จะเกิดอาการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากสาเหตุดังต่อไปนี้ เช่น โรคระบบไหลเวียนโลหิต โรคเบาหวาน กลุ่มอาการอ้วนลงพุง สภาวะความผิดปกติทางจิต โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล การนอนหลับผิดปกติ และสภาวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ การทำงานหนักเกินไปเป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต นอกจากนี้ยังมีการวิจัยความเกี่ยวข้องของการทำงานในระยะเวลานานต่อโรคซึมเศร้าและความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพพบว่าผู้หญิงที่ทำงานเป็นระยะเวลานานนั้น จะมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าได้บ่อยกว่า และมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่าผู้ชาย ส่วนผู้ชายนั้นจะมีโอกาสสูบบุหรี่กับดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นมากกว่าผู้หญิง ระยะเวลาทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด แม้ว่างานวิจัยจะแสดงให้เห็นว่า […]

ซึมเศร้า เราไม่ถอย

เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพอื่น ๆ
ดูทั้งหมด

ปัญหาสุขภาพจิตควรระวัง

สุขภาพจิตผู้สูงวัย

สัญญาณปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ ที่ควรรู้

ผู้สูงอายุอาจเผชิญกับปัญหาสุขภาพ ความเครียด หรือภาวะทางจิต ซึ่งอาจทำให้เกิด ปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ และส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตทั้งในระดับครอบครัวและสังคม การสังเกต สัญญาณปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพจิต รู้ทันสัญญาณเหล่านี้เพื่อเข้ารับการรักษาได้ทัน ปัญหาด้านสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ   องค์การอนามัยโลก (WHO) คาดการณ์ว่า ระหว่างปี พ.ศ. 2558 – 2593 จำนวนประชากรผู้สูงอายุ ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป จะเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า จากประมาณ 12% เป็น 22% สำหรับประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ปี พ.ศ. 2563 จำนวนผู้สูงอายุ ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวนมากกว่า 12 ล้านคน หรือคิดเป็น 18% ของจำนวนประชากรทั้งหมด และจะเพิ่มขึ้นอีก 20% ในปี พ.ศ. 2564 ผู้สูงอายุจำนวนมากที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงเกิด ปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ เนื่องจากประมาณ 15% […]

สุขภาพจิต

จิตเวช โรคพบบ่อย ที่คนไทยควรรู้

จิตเวช คือความเจ็บป่วยทางจิตซึ่งเป็นความผิดปกติของสุขภาพจิตที่อาจส่งผลต่ออารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม อาจเกิดขึ้นได้จากสภาพแวดล้อม ความผิดปกติทางสมอง การใช้สารเสพติด หรือการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไป และในปัจจุบันจำนวนของผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตกำลังเพิ่มสูงขึ้น การป้องกันและเฝ้าระวังอาจช่วยลดปัญหาจิตเวชได้ โรคจิตเวช ที่พบบ่อย จากรายงานกรมสุขภาพจิต ระบุว่า มีผู้ป่วยที่เข้ารับบริการด้านจิตเวชรวมทั้งประเทศสูงถึง 3.3 ล้านคน เมื่อแบ่งตามกลุ่มโรคที่พบบ่อย คือ โรคจิตเภท โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล และผู้ป่วยที่พยายามฆ่าตัวตาย รวมแล้วมีจำนวนกว่า 1.3 ล้านคน นอกจากนี้ ยังมีโรคจิตเวชที่คนไทยควรรู้จักเพิ่มอีก 4 โรค คือโรคอารมณ์สองขั้ว โรคจิตเวชจากการใช้สารเสพติด และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โรคแพนิค และโรคสมองเสื่อม ดังนี้ โรคซึมเศร้า โรคซึมเศร้า เป็นโรคทางอารมณ์ที่ทำให้รู้สึกเศร้าจนหมดความสนใจสิ่งรอบข้าง ซึ่งส่งผลต่อความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของผู้ป่วย อาจนำไปสู่ปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันและอารมณ์ได้ อาจสังเกตอาการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้ ดังนี้ โกรธ หงุดหงิดกับเรื่องเล็กน้อย เหนื่อยล้า หมดพลังงาน หมดความสนใจในกิจกรรมที่ตนเองชื่นชอบ มีปัญหาการนอน อาจทำให้นอนไม่หลับหรือนอนมากเกินไป ความอยากอาหารลดลง หรืออาจเพิ่มขึ้น การพูด ความคิด หรือการเคลื่อนไหวร่างกายช้าลง รู้สึกเศร้า สิ้นหวัง รู้สึกไร้ค่า คิดฆ่าตัวตาย หรือพยายามฆ่าตัวตาย มีปัญหาสุขภาพเพิ่มขึ้น โรคซึมเศร้าอาจไม่สามารถป้องกันได้ แต่วิธีเหล่านี้อาจมีส่วนช่วยป้องกันได้ จัดการกับความเครียดและความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ ควรเพิ่มความรู้สึกนับถือตนเองด้วย บอกคนใกล้ชิด เช่น ครอบครัว เพื่อน […]

ปัญหาสุขภาพชายแบบอื่น

ปัญหา สุขภาพจิต สำคัญอย่างไรต่อผู้ชาย

สุขภาพจิต สำคัญกับทุกคนเพราะส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิด การตัดสินใจ การรับมือกับปัญหา และประสิทธิภาพในการทำงาน แต่ผู้ชายมักเลือกที่จะไม่พูดถึงปัญหาสุขภาพจิตของตัวเอง เนื่องจากไม่ต้องการให้ผู้อื่นมองว่าอ่อนแอ และมักเก็บปัญหาไว้กับตัว จนส่งผลให้สภาพจิตใจแย่ลง และอาจเป็นสาเหตุของการฆ่าตัวตายได้ในที่สุด [embed-health-tool-bmi] สุขภาพจิตมีความสำคัญอย่างไร สุขภาพจิต หมายถึง ภาวะอารมณ์หรือจิตใจ ซึ่งมีความสำคัญต่อการคิด ความรู้สึก การตัดสินใจ การรับมือกับเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งส่งผลต่อความสามารถในการจัดการความเครียด ประสิทธิภาพในการทำงาน รวมถึงการรู้จักปรับตัวให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ในสังคม หากสุขภาพจิตดี ย่อมทำให้เบิกบาน รู้สึกมีความสุข สมองปลอดโปร่ง สามารถคิดหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ร่างกายกระปรี้กระเปร่าพร้อมที่จะทำงานหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ เมื่อเกิดปัญหาก็สามารถรับมือและหาทางแก้ไขได้ แต่หากมีปัญหาสุขภาพจิต อาจทำให้จิตใจหม่นหมอง มองโลกในแง่ร้าย ท้อแท้ หมดหวัง จนไม่สามารถรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ได้ ในปัจจุบันนี้ คนในสังคมจำนวนไม่น้อยอาจไม่ทราบว่าตนเองมีปัญหาสุขภาพจิต โดยเฉพาะผู้ชายที่มักไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เพราะมองว่าเป็นเรื่องที่น่าอับอาย หวาดกลัวที่จะยอมรับว่าตนเองอ่อนแอ หรือหากพบว่าตนเองมีปัญหาสุขภาพจิตก็เลือกที่จะไม่หาทางรักษาเพราะคิดว่าไม่จำเป็น ทั้งที่จริงแล้วหากปล่อยไว้อาจส่งผลเสียต่อชีวิตประจำวัน อาจทำให้การทำงานด้อยประสิทธิภาพลง ทำให้ความสัมพันธ์สั่นคลอน ทำให้การเงินมีปัญหา และอาจเป็นต้นเหตุของโรคเกี่ยวกับจิตเภทอื่น ๆ เช่น ประสาทหลอน ความคิดหลงผิด การแสดงอารมณ์ที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งการฆ่าตัวตาย สัญญาณเตือนของปัญหา สุขภาพจิต ผู้ชายอาจไม่ให้ความสำคัญกับความรู้สึกหรือสภาพจิตใจของตนเองมากนัก จึงมักไม่ทราบว่าตนเองมีปัญหาสุขภาพจิตหรือไม่ อาการต่อไปนี้ถือเป็นสัญญาณเตือนว่ากำลังมีปัญหาสุขภาพจิต […]

โรควิตกกังวล

คิดมาก หวาดระแวง เป็นปัญหาสุขภาพจิตหรือเปล่า

ความ หวาดระแวง (Paranoia) เป็นความคิดและความรู้สึกเสมือนกับว่าคุณถูกคุกคาม แม้ว่าความจริงจะไม่เป็นเช่นนั้นก็ตาม ในทางการแพทย์ ความคิดหวาดระแวงยังสามารถอาจอธิบายได้ว่าเป็นภาวะการหลงผิด โดยผู้ป่วยที่มีอาการนี้มักเป็นกังวลต่อเหตุการณ์หลายอย่าง ที่ทำให้พวกเขารู้สึกถูกคุกคาม ผู้ที่อยู่ในภาวะหวาดระแวงขั้นรุนแรง ความกลัวของผู้ป่วยจะเพิ่มระดับขึ้น และทุกคนที่ผุู้ป่วยพบเจอจะถูกดึงไปสู่สารระบบของความกลัวภายในใจ โดยผู้ป่วยก็จะรู้สึกว่าเขาอยู่ตรงกลางของจักรวาลที่คุกคามและเป็นอันตรายอยู่ตลอดเวลา Hello คุณหมอจะพาทุกคนไปรู้จักกับ การหวาดระแวง ว่าเป็นสุขภาพจิตหรือไม่กันค่ะ มีอะไรบ้างที่สามารถทำให้คุณเกิดความ หวาดระแวง ทุกคนล้วนประสบภาวะหวาดระแวงแตกต่างกันออกไป ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งของภาวะความคิดหวาดระแวงที่มักพบบ่อยในคนส่วนใหญ่ มีคนหรือองค์กรแอบพูดถึงคุณลับหลัง คนอื่น ๆ กำลังพยายามกีดกันคุณ หรือทำให้คุณดูแย่ การกระทำหรือความคิดของคุณถูกคนอื่น ๆ แทรกแซง คุณถูกควบคุม หรือรัฐบาลกำลังเพ่งเล็งคุณ คุณตกอยู่ในอันตราย หรืออาจถูกทำร้ายร่างกายหรือถูกฆ่า มีคนกำลังพยายามทำให้คุณหงุดหงิดหรือขุ่นเคืองโดยตั้งใจ บางคนอาจมีความคิดเหล่านี้เป็นจริงเป็นจังตลอดเวลา หรือเพียงแค่บางโอกาสเมื่ออยู่ในสถานการณ์ตึงเครียด หรือในบางครั้งก็อาจทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้ด้วย ความหวาดระแวงเป็นปัญหาสุขภาพจิตหรือไม่ ความหวาดระแวงเป็นอาการหนึ่งของความผิดปกติทางจิตบางประเภท แต่ไม่สามารถใช้เป็นการวินิจฉัยโรคได้ ความคิดหวาดระแวงอาจมีตั้งแต่ระดับไม่รุนแรงไปจนถึงรุนแรงมาก และประสบการณ์เหล่านี้อาจค่อนข้างแตกต่างออกไป ขึ้นอยู่กับว่าคุณมีความยึดติดกับความคิดหวาดระแวงอยู่ในระดับใด คุณเชื่อในความคิดหวาดระแวงของคุณเป็นเรื่องจริง คุณคิดเกี่ยวกับความคิดหวาดระแวงของคุณอยู่ตลอดเวลา ความคิดหวาดระแวงทำให้คุณรู้สึกหงุดหงิด ความคิดหวาดระแวงส่งผลกับการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ บุคคลจำนวนมาก ซึ่งอาจมากถึงหนึ่งในสาม เกิดภาวะหวาดระแวงแบบไม่รุนแรงในบางช่วงเวลาของชีวิต มักเป็นที่รู้จักว่าเป็นภาวะหวาดระแวงที่พบได้ในชีวิตประจำวัน (Non-clinical paranoia) แต่ความหวาดระแวงนั้นจะเปลี่ยนแปลงตามเวลา สำหรับคนปกติ มักคิดได้ว่าความคิดเหล่านั้นไม่มีเหตุผล และสามารถหยุดความคิดเหล่านั้นได้ โดยไม่มีผลกระทบทางจิตใจใด ๆ ตามมา แต่หากเป็นภาวะหวาดระแวงขั้นรุนแรงมาก หรือที่เรียกว่า อาการหลงผิดว่ามีคนปองร้ายตลอดเวลา (Persecutory delusions) ก็จำเป็นต้องได้รับการรักษา โดยอาจต้องพิจารณารับการรักษาและบำบัด หากมีอาการรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ความหวาดระแวงอาจเป็นหนึ่งในอาการของปัญหาทางสุขภาพจิตดังต่อไปนี้ โรคจิตเภทแบบหวาดระแวง (Paranoid Schizophrenia) โรคจิตหลงผิด (Delusional […]

สุขภาพจิตวัยรุ่น

พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น ที่ควรระวัง

พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น เป็นพฤติกรรมที่อาจเกิดขึ้นได้กับวัยรุ่นทุกคนที่กำลังประสบปัญหาต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพจิต ผู้ปกครองจึงควรใส่ใจ และให้ความสำคัญกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของวัยรุ่น วันนี้เรามาดูกันว่าพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่นมีอะไรบ้าง เพื่อที่คุณจะได้รู้ทันอาการและแก้ไขได้อย่างตรงจุด สุขภาพจิตวัยรุ่น วัยรุ่นช่วงอายุประมาณ 10-19 ปี เป็นช่วงเวลาที่สำคัญในการพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ และสังคมหลายประการ รวมถึงการเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ที่อาจส่งผลต่อสุขภาพจิต เช่น ความยากจน การล่วงละเมิดทางเพศ หรือความรุนแรง เหล่านี้ล้วนสามารถก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพในวัยรุ่นได้ทั้งสิ้น  ดังนั้นการส่งเสริมและปกป้องสุขภาพจิตในวัยรุ่นจึงมีความสำคัญ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงอื่น ๆ ตามมา และเพื่อสร้างเสริมสุขภาพร่างกาย จิตใจให้สมบูรณ์เพื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ต่อไป พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น คืออะไร มีหลายปัจจัยที่อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น ยิ่งวัยรุ่นต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงมากเท่าใด ก็ยิ่งส่งผลต่อสุขภาพจิตมากขึ้นเท่านั้น และปัจจัยที่อาจส่งผลต่อความเครียดในช่วงวัยรุ่น ได้แก่ ความต้องการอิสระมากขึ้น ความกดดันในการปรับตัวเข้าสังคม ลักษณะความแตกต่างทางเพศ การเข้าถึงเทคโนโลยี ความเหลื่อมล้ำและการยอมรับในความหลากหลายทางเพศ ครอบครัว ความรุนแรง ตัวอย่างเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น และอาจก่อให้เกิด พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น ได้เช่นกัน พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น มีอะไรบ้าง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่นเป็นพฤติกรรมที่วัยรุ่นปฏิบัติหรือเลือกทำ เพื่อหนีจากความเครียด ความวิตกกังวล หรือเพื่อต่อต้านสิ่งต่าง ๆ ซึ่งพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้อาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย และอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตในระยะยาวได้ ดังนี้ การกลั่นแกล้ง หรือการใช้ความรุนแรง วัยรุ่นที่มีพฤติกรรมชอบกลั่นแกล้งหรือใช้ความรุนแรงกับผู้อื่นตลอดเวลา มักมีความเสี่ยงสูงที่จะมีพฤติกรรมต่อต้านสังคมมากขึ้น เช่น มีปัญหาที่โรงเรียน การใช้สารเสพติด และมีพฤติกรรมก้าวร้าวมากขึ้น สัญญาณที่บอกว่าวัยรุ่นมีพฤติกรรมชอบกลั่นแกล้ง ใช้ความรุนแรงทางร่างกาย และวาจา มักอยู่ในกลุ่มที่ชอบรังแกผู้อื่นเหมือนกัน มีความก้าวร้าวมากขึ้น มีปัญหาที่โรงเรียนบ่อยครั้ง ไม่รับผิดชอบต่อการกระทำของตน ส่วนวัยรุ่นที่ยืนดูการกลั่นแกล้ง หรือถูกกลั่นแกล้ง มักมีแนวโน้มที่จะประสบกับภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองต่ำลง สัญญาณที่บอกว่าวัยรุ่นกำลังถูกกลั่นแกล้ง อาการบาดเจ็บที่ไม่มีสาเหตุ เสื้อผ้า หนังสือ […]

การป้องกันการฆ่าตัวตาย

ฆ่าตัวตาย เกิดจากสาเหตุอะไร

ฆ่าตัวตาย หรือผู้ที่มีความคิดอยากจบชีวิตตัวเอง อาจเกิดจากการทำร้ายตัวเองด้วยความเจตนา ทั้งยังอาจเกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บและความรุนแรงในรูปแบบอื่น ๆ เช่น การถูกล่วงละเมิดในวัยเด็ก การกลั่นแกล้ง ความรุนแรงทางเพศ ปัญหาในครอบครัว หากคนในครอบครัว คนใกล้ชิด รวมถึงตนเอง เริ่มมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย เช่น รู้สึกสิ้นหวังเริ่มมีภาวะซึมเศร้า ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อรับคำแนะนำในการรักษา ฆ่าตัวตาย คืออะไร การฆ่าตัวตาย คือ สถานการณ์ร้ายแรงที่นำอาจนำไปสู่การเสียชีวิตหรือบาดเจ็บสาหัส ซึ่งในปี พ.ศ. 2563 ประเทศไทยมีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จกว่า 6.59 ต่อแสนประชากร โดยสัญญาณเตือนของผู้ที่มีความคิดฆ่าตัวตายอาจ มีดังนี้ แยกตัวออกจากสังคม ชอบอยู่คนเดียว อารมณ์แปรปรวน พูดเรื่องการฆ่าตัวตาย หมกมุ่นอยู่กับการตาย การใช้ความรุนแรงบ่อยครั้ง หาวิธีฆ่าตัวตาย เช่น ซื้อยา หรืออุปกรณ์ของมีคม รู้สึกสิ้นหวัง ใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสารเสพติดเพิ่มขึ้น ทำร้ายตัวเองหรือทำในสิ่งที่เสี่ยงนำไปสู่ความตาย เช่น ขับรถเร็ว ให้สิ่งของ หรือพูดสื่อสารเชิงอำลาแก่บุคคลสำคัญ ครอบครัว เพื่อน หากมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งควรรีบขอความช่วยเหลือจากคุณหมอทันที เพื่อหาวิธีพูดคุยให้เข้าใจถึงความรู้สึกของผู้ป่วย สาเหตุที่อาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย  สาเหตุที่อาจทำให้เกิดความคิดฆ่าตัวตายอาจมาจากการสะสมความเครียดจนหาทางแก้ไขปัญหาที่ตัวเองเผชิญอยู่ไม่ได้ เช่น สภาวะทางเศรษฐกิจ การเงิน การงาน หรือปัญหาส่วนตัวจากสถานการณ์เลวร้ายจนฝังใจ โดยสาเหตุที่อาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย อาจมีดังนี้ มีประวัติถูกล่วงละเมิดทางเพศ หรือโดนทำร้ายร่างกาย  ถูกกลั่นแกล้งรุนแรง สูญเสียคนสำคัญหรือมีความขัดแย้งกับคนในครอบครัว เพื่อน ถูกสังคมหรือคนรอบข้างเหยียดรสนิยมทางเพศ ภาวะสุขภาพ เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึมเศร้า ปัญหาสังคม เช่น เศรษฐกิจ การตกงาน การหย่าร้าง […]

สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน