banner

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับสุขภาพหัวใจ

โรคหลอดเลือดหัวใจ คืออะไร?

Icon Chevron

โรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular disease: CVD) หมายถึงสภาวะที่ส่งผลต่อหัวใจและหลอดเลือด โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ในเอเชีย แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการมีไลฟ์สไตล์ที่ดีต่อสุขภาพ

โรคหัวใจและหลอดเลือดเกิดจากอะไร?

Icon Chevron

โรคหัวใจและหลอดเลือดอาจมีสาเหตุที่แตกต่างกัน แต่มักมีความเกี่ยวข้องกับ ภาวะหลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis) ซึ่งเกิดจากหลอดเลือดอุดตันเนื่องจากคราบพลัคและไขมันสะสมในผนังหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่ดี

วิธีลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดทำได้อย่างไร?

Icon Chevron

โรคหัวใจและหลอดเลือดสามารถป้องกันได้โดยการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อช่วยลดระดับความดันโลหิตและคอเลสเตอรอล ที่อาจนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

ความเชื่อมโยงระหว่างคอเลสเตอรอลกับสุขภาพหัวใจคืออะไร

Icon Chevron

ไขมันมี 2 ประเภท คือ ไขมันดี (HDL) และไขมันไม่ดี (LDL) ไขมันดีอาจช่วยดูดซึมคอเลสเตอรอลกลับเข้าสู่ตับ เพื่อให้ตับกำจัดออกจากร่างกาย ในขณะที่ไขมันไม่ดีอาจนำคอเลสเตอรอลไปสะสมในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หากมีคอเลสเตอรอลสะสมในหลอดเลือด อาจส่งผลให้หลอดเลือดอุดตัน และทำให้การไหลเวียนของเลือดแย่ลง

ฉันจะเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพหัวใจได้อย่างไร?

Icon Chevron

การรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวต่ำและโซเดียมต่ำในปริมาณที่เหมาะสม อาจช่วยให้สุขภาพหัวใจแข็งแรง โดยอาจเลือกรับประทานอาหารดังนี้ - รับประทานผักและผลไม้เพิ่มมากขึ้น - รับประทานธัญพืชไม่ขัดสีเพิ่มมากขึ้น - รับประทานไขมันที่ดีต่อสุขภาพ เช่น น้ำมันมะกอก อะโวคาโด ปลาแซลมอน และหลีกเลี่ยงไขมันไม่ดี เช่น อาหารทอด เนย น้ำมันหมู - เลือกรับประทานผลิตภัณฑ์ไขมันต่ำมากขึ้น

ไลฟ์สไตล์แบบไหนที่จะช่วยให้สุขภาพหัวใจแข็งแรงขึ้น

Icon Chevron

ควรเลือกไลฟ์สไตล์ที่ช่วยลดคอเลสเตอรอลและลดความดันโลหิต เช่น - รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและหลากหลาย - ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ - ออกกำลังกายมากขึ้น - ลดหรือเลิกบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

สัญญาณเตือนของอาการหัวใจวายคืออะไร

Icon Chevron

สัญญาณเตือนของอาการหัวใจวาย ได้แก่ - เจ็บหน้าอก - หายใจถี่ - รู้สึกอ่อนเพลีย หมดสติ หรือมีเหงื่อเย็น - รู้สึกปวดหรือไม่สบายบริเวณกราม คอ และหลัง - รู้สึกปวดหรือไม่สบายบริเวณแขนหรือไหล่ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง

เรียนรู้เพิ่มเติม:

หัวใจวาย (Heart attack)

โรคหัวใจส่งผลกระทบต่อผู้หญิงต่างจากผู้ชายอย่างไร

Icon Chevron

แม้ว่าผู้ชายและผู้หญิงอาจมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจที่เหมือนกันหลายประการ แต่ผู้หญิงมักจะมีหัวใจที่ขนาดเล็กกว่า และมีหลอดเลือดแคบกว่า ดังนั้น โรคหัวใจจึงพัฒนาแตกต่างกัน งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า ผู้หญิงอาจมีอาการของโรคหัวใจที่แตกต่างจากผู้ชาย รวมถึงอาการที่พบได้ไม่บ่อย เช่น อาหารไม่ย่อย หายใจสั้น ปวดหลัง ผู้หญิงยังมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจที่แตกต่างจากผู้ชายหลายประการ ดังนี้ - มีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนสูงก่อนเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน - ความดันโลหิตสูงขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน - มีโรคแพ้ภูมิตัวเอง เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ - มีความเครียดและซึมเศร้า ปัจจัยเสี่ยงที่แตกต่างกันเหล่านี้อาจส่งผลให้ผู้หญิงไม่ได้รับการรักษาในเวลาที่เหมาะสม

โรคหัวใจเกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดสมองอย่างไร

Icon Chevron

โรคหลอดเลือดสมองอาจเกิดจากลิ่มเลือดอุดตัน (โรคหลอดเลือดสมองตีบ) หรืออาจเกิดจากหลอดเลือดแตก (โรคหลอดเลือดสมองแตก) โดยโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองมีความเกี่ยวข้องกันเนื่องจากภาวะความดันโลหิตสูงอาจทำลายเยื่อบุหลอดเลือด ซึ่งอาจส่งผลให้มีการสะสมของคราบพลัคในหลอดเลือดได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้เลือดไหวเวียนไปเลี้ยงสมองน้อยลง

ถ้าไม่รักษาโรคหัวใจจะเกิดอะไรขึ้น

Icon Chevron

หากไม่ทำการรักษาโรคหัวใจ และปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน อาจมีความเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิต หรือหากรอดชีวิตจากหัวใจวาย ก็อาจมีอายุขัยที่สั้นลง และคุณภาพชีวิตก็อาจแย่ลงไปด้วย เนื่องจากอาจมีอาการหายใจลำบากหรือหัวใจล้มเหลวแม้จะทำกิจกรรมเพียงแค่เล็กน้อยก็ตาม

สาระน่ารู้เกี่ยวกับหัวใจ

Icon Chevron

เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับหัวใจ มีดังต่อไปนี้ - หัวใจมักจะมีขนาดเท่ามือทั้งสองประสานกัน - หัวใจจะเต้นประมาณ 115,000 ครั้งในแต่ละวัน - หัวใจสามารถเต้นต่อไปได้แม้จะถูกตัดขาดจากร่างกายก็ตาม - ความสุขอาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจได้ - คนเราสามารถป่วยจากอาการหัวใจแตกสลายได้จริง ๆ - วาฬสีน้ำเงินเป็นสัตว์ที่มีหัวใจขนาดใหญ่ที่สุด

ฉันยังมีคำถามเกี่ยวกับสุขภาพหัวใจ ฉันควรทำอย่างไร?

Icon Chevron

คุณสามารถไปที่หมวด Heart Health ของ Hello คุณหมอ เพื่อดูคลังข้อมูลที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพหัวใจ

เรื่องที่ควรรู้

สุขภาพหัวใจ

ระบบหัวใจคืออะไร และทำงานอย่างไร

ระบบหัวใจ ทำหน้าที่ขนส่งอาหารและออกซิเจนไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อและเซลล์จำนวนมาก จากนั้นนำเลือดเสียจากร่างกายกลับสู่ปอดเพื่อฟอกเลือด หากระบบหัวใจทำงานผิดปกติ อาจส่งผลต่อการส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกาย ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวาย ความดันสูง ความสำคัญของหัวใจ หัวใจมีความสำคัญในการสูบฉีดเลือดผ่านหลอดเลือด ไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกาย ภายในเลือดประกอบไปด้วยสารอาหารและออกซิเจนที่ใช้ในการหล่อเลี้ยงเซลล์จำนวนมาก หากไม่มีเลือดและหัวใจช่วยสูบฉีดเลือด จะส่งผลให้เซลล์และเนื้อเยื่อในร่างกายไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ การทำงานจะเริ่มผิดปกติ หยุดการทำงาน และอาจเสียชีวิตในที่สุด ส่วนประกอบของระบบหัวใจ ระบบการทำงานของหัวใจและระบบไหลเวียนเลือดเป็นส่วนหนึ่งของระบบหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งประกอบด้วย หัวใจ เป็นกล้ามเนื้อที่คอยสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในทิศทางเดียว เนื่องจากมีลิ้นหัวใจคอยป้องกันเลือดไหลย้อนกลับ หัวใจประกอบด้วย 4 ห้อง โดย 2 ห้องบนทั้งซ้ายและขวา เรียกว่า “เอเรีย (Atria)” และ 2 ห้องล่างทั้งซ้ายและขวา เรียกว่า “เวนทริเคิล (Ventricles)” หลอดเลือดแดง ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดที่มีออกซิเจนไหลผ่านระหว่างหัวใจและปอด เพื่อส่งอาหารและออกซิเจนออกไปเลี้ยงร่างกาย หลอดเลือดดำ ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดเสียเพื่อนำไปฟอกรับออกซิเจนที่ปอด เพื่อส่งกลับมายังหัวใจและส่งต่อไปเลี้ยงร่างกาย เส้นเลือดฝอย เป็นเส้นเลือดขนาดเล็กทำหน้าที่รับเลือดจากเส้นเลือดแดง เพื่อส่งต่อไปเลี้ยงเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย ลิ้นหัวใจ ทำหน้าที่กั้นเปิดปิดระหว่างห้องหัวใจ และป้องกันเลือดไหลย้อนกลับ […]

ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ

โรคหัวใจ

โรคหัวใจ มีกี่ประเภท อาการและสาเหตุของโรคหัวใจ

โรคหัวใจ (Heart Disease) คือ กลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันหรือภาวะหัวใจวาย อาการและสาเหตุของโรคในกลุ่มโรคหัวใจแต่ละโรคจะแตกต่างกันไป แต่อาจมีอาการบางอย่างที่เหมือนกัน เช่น หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย และปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจส่วนใหญ่ก็คล้ายคลึงกัน เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน การรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ทั้งนี้ การลดปัจจัยเสี่ยงและดูแลสุขภาพหัวใจให้แข็งแรง อาจช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้ โรคหัวใจ คืออะไร โรคหัวใจ หมายถึง กลุ่มโรคและภาวะต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ โรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดแดง อย่างเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ ปัญหาเกี่ยวกับการเต้นของหัวใจ อย่างภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital heart defects) คำว่า “โรคหัวใจ” มักถูกนำมาใช้สลับกันบ่อยๆ กับคำว่า “โรคหัวใจและหลอดเลือด” โรคหัวใจและหลอดเลือดโดยทั่วไป หมายถึงอาการที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือดตีบหรืออุดตัน ที่สามารถนำไปสู่โรคหัวใจวาย เจ็บหน้าอก หรือหลอดเลือดในสมองแตก ปัญหาหัวใจอื่นๆ อย่างเช่น ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ หรือชีพจรหัวใจ ถือว่าเป็นรูปแบบของโรคหัวใจรูปแบบหนึ่ง ทำไมต้องกังวล ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและโรคหัวใจล้มเหลวประมาณ 17.1 ล้านคนต่อปี ในประเทศไทย ข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2557 […]

โรคหลอดเลือดหัวใจ

ความรู้พื้นฐานเบื้องต้นของ โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease)

โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease) เป็นหนึ่งในปัญหาของโรคหัวใจ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพหัวใจ และสุขภาพกายโดยรวมของคุณ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด คุณอาจต้องทำการทราบข้อมูลพื้นฐานของโรคนี้เอาไว้ ก่อนเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต คำจำกัดความ โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease) คืออะไร โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease : CAD) เกิดขึ้นจากการที่หลอดเลือดหลักที่ลำเลียงเลือด ออกซิเจน และสารอาหาร ไปยังหัวใจ (หลอดเลือดแดงที่กล้ามเนื้อหัวใจ) จนเกิดความเสียหาย และมีการสะสมของคราบพลัคจากคอเลสเตอรอลในหลอดเลือด หรือเกิดจากอาการอักเสบในหลอดเลือดหัวใจ เมื่อคราบพลัคก่อตัวขึ้น จะทำให้หลอดเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบลง และส่งผลให้เลือดที่ลำเลียงไปยังหัวใจนั้นน้อยลง เกิดอาการเจ็บหน้าอก หายใจไม่อิ่ม หรืออาจจะเกิดสิ่งบ่งชี้และอาการอื่น ๆ ของโรคหลอดเลือดหัวใจ การตีบตันของเส้นเลือดอย่างสมบูรณ์เกิดภาวะหัวใจวายได้ โรคหลอดเลือดหัวใจพบได้บ่อยเพียงใด โรคหลอดเลือดหัวใจมักจะพบได้บ่อยทุกเพศทุกวัย รวมถึงผู้ที่มีประวัติป่วยเป็นโรคหัวใจ รวมถึงผู้ที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่เป็นเวลานาน อาการ อาการของ โรคหลอดเลือดหัวใจ อาการที่มักพบได้มากที่สุดคืออาการปวดเค้นในหน้าอก (Angina) หรือเจ็บหน้าอก โดยอาการปวดเค้นในหน้าอกนี้สามารถอธิบายได้ว่าเป็น อาการหน่วง แรงกด อาการปวด อาการแสบร้อน อาการชา อาการแน่น อาการบีบคั้น อาการเหล่านี้อาจทำให้เข้าใจว่าเป็นอาการของอาการอาหารไม่ย่อยและภาวะกรดไหลย้อนได้ อาการปวดเค้นในหน้าอกมักรู้สึกที่บริเวณหน้าอก แต่ยังอาจรู้สึกในบริเวณอื่น ๆ ได้อีกด้วย เช่น ไหล่ข้างซ้าย แขน คอ […]

ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ

รวมทุกเรื่องที่ควรรู้ เกี่ยวกับ ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ (Heart Arrhythmias)

ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ เป็นหนึ่งในความผิดปกติของหัวใจที่หลายคนอาจเป็นอยู่แต่ไม่เคยสังเกต กว่าที่จะรู้ตัวอาการหัวใจเต้นผิดปกติก็อาจรุนแรงขึ้นจนส่งผลให้เกิดโรคหัวใจอื่น ๆ ตามมาแล้ว [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ คืออะไร หัวใจเต้นผิดปกติ (Heart Arrhythmias) หรือ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หมายถึงภาวะที่อัตราการเต้นของหัวใจ หรือจังหวะการเต้นของหัวใจผิดไปจากที่ควรเป็น เช่น หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ ใจสั่น โดยทั่วไปแล้ว ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ มักไม่มีอันตรายหรืออาการที่ชัดเจน ทำให้หลายคนไม่รู้ตัวว่ากำลังมีภาวะนี้อยู่ แต่ในบางครั้ง ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ก็อาจนำไปสู่โรคอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติพบบ่อยแค่ไหน ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่อาจพบได้มากในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับหัวใจ ภาวะนี้สามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ โดยปกติแล้ว อาการของภาวะหัวใจเต้นผิดปกติอาจไม่แสดงออกให้เห็นชัด นอกเหนือจากอาการหัวใจเต้นผิดปกติ เช่น หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น แต่ในบางกรณีก็อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังนี้ เหนื่อยล้าง่าย อ่อนแรง วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เจ็บหน้าอก หายใจไม่ทั่วท้อง หายใจลำบาก เหงื่อออกมาก วิตกกังวล รู้สึกใจหวิว มองเห็นไม่ชัด สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด เนื่องจาก […]

ภาวะหัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว (Heart Failure) กับความรู้พื้นฐานที่ควรรู้เอาไว้

หัวใจล้มเหลว (Heart Failure) เป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถรองรับการทำงาน และไม่สามารถสูบฉีดโลหิตไปทั่วร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวจะทำให้เลือดลำเลียงไปทั่วร่างกาย และผ่านทางหัวใจในอัตราที่ช้าลง เนื่องจากปริมาณเลือดที่ไม่เพียงพอ ห้องหัวใจอาจมีการตอบสนองโดยการขยายตัวออกเพื่อเติมเลือดให้มากขึ้น แต่อาจส่งผลให้ผนังหัวใจมีความแข็ง และความหนาตามไปด้วย คำจำกัดความหัวใจล้มเหลว (Heart Failure) คืออะไร หัวใจล้มเหลว (Heart Failure) เป็นศัพท์เฉพาะที่ใช้อธิบายหัวใจที่ไม่สามารถรองรับการทำงาน และไม่สามารถสูบฉีดโลหิตไปทั่วร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว จะทำให้เลือดลำเลียงไปทั่วร่างกาย และผ่านทางหัวใจในอัตราที่ช้าลง เนื่องจากปริมาณเลือดที่ไม่เพียงพอ ห้องหัวใจอาจมีการตอบสนองโดยการขยายตัวออกเพื่อเติมเลือดให้มากขึ้น แต่อาจส่งผลให้ผนังหัวใจมีความแข็ง และความหนาตามไปด้วย ในการขยายตัวของห้องหัวใจอาจช่วยรักษาการไหลเวียนของเลือดได้ แต่ในท้ายที่สุดแล้วกล้ามเนื้อหัวใจจะอ่อนแอลงไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หัวใจล้มเหลว พบได้บ่อยเพียงใด หัวใจล้มเหลวอาจพบได้ทั่วไป และมีความรุนแรงแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล อีกทั้งยังสามารถส่งผลได้ทุกวัย ในปัจจุบัน หัวใจล้มเหลวไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่อาจจัดการได้โดยการลดความเสี่ยง อาการอาการของหัวใจล้มเหลว อาการทั่วไปของหัวใจล้มเหลวอาจได้แก่ หายใจลำบากในระหว่างทำกิจกรรมหรือพักผ่อน อ่อนเพลียมาก มีอาการบวมที่เท้า ข้อเท้า กระเพาะอาหาร หรือบริเวณหลังส่วนล่าง มีอาการบวมมากขึ้นที่เท้า ขา ข้อเท้า และท้อง ไม่สามารถทำกิจกรรมประจำวันได้ ไอในเวลากลางคืน มึนงงหรือกระสับกระส่าย มีภาวะขาดน้ำ (Dehydration) เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นเร็ว (มากกว่า 120/นาที ในขณะที่พักผ่อน) สาเหตุสาเหตุของหัวใจล้มเหลว สาเหตุทั่วไปบางประการของหัวใจล้มเหลวที่ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากโรคเรื้อรังต่าง ๆ อาจมีดังนี้ โรคเบาหวาน โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง (Hypertension หรือ High Blood Pressure) โรคซึมเศร้า (Depression) มีความผิดปกติในการนอนหลับ (Sleep Disorder) โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Heart Disease) ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของหัวใจล้มเหลว สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว […]

โรคหัวใจ

อาการโรคหัวใจ ปัจจัยเสี่ยงและวิธีดูแลสุขภาพหัวใจให้แข็งแรง

อาการโรคหัวใจ ส่วนใหญ่แล้วมักมีอาการใจสั่น เจ็บหน้าอก แขนขาชา โดยอาจมีสาเหตุแตกต่างกันตามประเภทของโรคหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการโรคหัวใจ ควรศึกษาวิธีการดูแลสุขภาพหัวใจ คอยสังเกตอาการผิดปกติ หรือขอคำแนะนำจากคุณหมอ และควรเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี [embed-health-tool-heart-rate] อาการโรคหัวใจ อาการโรคหัวใจ อาจแตกต่างกันออกไปตามประเภทของโรคหัวใจที่เป็น ดังต่อไปนี้ โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นโรคหัวใจประเภทหนึ่งที่พบได้บ่อย อาจมีสาเหตุมาจากไขมันสะสมในหลอดเลือด และอาจพัฒนาทำให้เกิดคราบจุลินทรีย์หรือคราบพลัค (Plaque) ที่ทำให้ผนังหลอดเลือดแดงแข็งตัว ขวางทางเดินของเลือดและส่งผลให้หลอดเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจอุดตัน ที่และอาจก่อให้เกิดอาการโรคหัวใจ ดังนี้ เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก หายใจถี่ ปวดเมื่อยบริเวณคอ ท้องส่วนบน และหลัง รู้สึกปวดและชาบริเวณแขนและขา โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น หัวใจติดเชื้อ เยื่อบุหัวใจอักเสบ ความดันโลหิตสูง โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการ การฉายรังสี และเคมีบำบัดรักษามะเร็ง ที่ส่งผลกระทบการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจในการสูบฉีดเลือด ซึ่งอาจมีอาการโรคหัวใจดังต่อไปนี้ หัวใจเต้นผิดปกติ ใจสั่น หายใจไม่อิ่มในขณะที่ทำกิจกรรมหรือนอนพักผ่อน ขาและข้อเท้าบวม รู้สึกเหนื่อยล้า วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด และเป็นลม โรคลิ้นหัวใจ โรคลิ้นหัวใจ โดยส่วนมากเกิดจากความเสื่อมของลิ้นหัวใจในผู้สูงอายุเช่นลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ หรือลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว ในผู้ป่วยบางรายอาจมีความเชื่อมโยงกับโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือเนื้อเยื่อของลิ้นหัวใจมีความหย่อนผิดปกติ (Barlow’s disease) […]

ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ

หัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation)

หัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation หรือ AF) เป็นอาการชนิดหนึ่งของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) และบางครั้งอาจมีอัตราการเต้นที่เร็วกว่าปกติ เนื่องจากความผิดปกติของระบบกระแสไฟฟ้าในหัวใจ อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเวียนศีรษะ หายใจถี่ และเหนื่อยง่าย  โดยผู้ที่เสี่ยงเกิดภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว ได้แก่ ผู้สูงอายุหรือมีอายุเกิน 65 ปี ขึ้นไป ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน ผู้ป่วยโรคหัวใจ รวมทั้งผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ หัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว คืออะไร หัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว เป็นอาการหนึ่งของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เนื่องจากความผิดปกติของระบบกระแสไฟฟ้าในหัวใจ ส่วนใหญ่มักมีจังหวะการเต้นของหัวใจเร็วที่ไม่สม่ำเสมอและมักจะเร็วกว่าปกติ โดยคนทั่วไปมีอัตราการเต้นของหัวใจในภาวะปกติอยู่ระหว่าง 60-100 ครั้งต่อนาที ทั้งนี้ อาจตรวจสอบอัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจได้จากการคลำชีพจรบริเวณคอหรือข้อมือ หัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว พบบ่อยแค่ไหน ภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้วมักเกิดในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับหัวใจ มีภาวะน้ำหนักเกิน เป็นโรคอ้วน ดื่มแอลกอลฮอล์ในปริมาณมาก หรือสูบบุหรี่จัด อาการ อาการของ ภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว ผู้ป่วยบางรายมีภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว แต่อาจไม่ทราบว่าตนเองมีภาวะดังกล่าวนี้ อาการที่อาจจะเกิดขึ้นจากภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้วมักประกอบด้วยความรู้สึกถึงการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ หรือหัวใจเต้นเร็วเกินไป นอกจากนั้น อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ได้แก่ หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก เป็นลม รู้สึกเหนื่อยหรือไม่สามารถออกกำลังกายได้ ใจสั่น ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากรู้สึกว่าหัวใจเต้นผิดปกติ หรือมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่องของภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว ควรรีบพบหมอทันที นอกจากนี้ หากมีอาการเจ็บหน้าอกหรือเกิดภาวะหลอดเลือดสมอง ควรรีบเข้ารับการรักษาโดยด่วน สาเหตุ สาเหตุของ […]

ไลฟ์สไตล์เพื่อสุขภาพหัวใจที่ดี

สุขภาพหัวใจ

10 เคล็ดลับ การดูแลรักษาหัวใจ เพื่อส่งเสริมสุขภาพหัวใจให้แข็งแรง

การดูแลรักษาหัวใจ เป็นสิ่งที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ เนื่องจากหัวใจเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดเพื่อส่งออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงเซลล์ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งช่วยในการเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและใช้เป็นพลังงานในการดำรงชีวิต หากละเลยการดูแลรักษาหัวใจอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลในเลือดสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดตีบ โรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวาย ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพเรื้อรังและอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต โดยจากแบบสำรวจวันหัวใจโลกของ Hello คุณหมอ พบว่า 3 เหตุผลที่คนส่วนใหญ่อยากเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อป้องกันโรคหัวใจ คือ ต้องการใช้เวลาอยู่กับครอบครัวเพื่อทำหน้าที่ดูแลและเอาใจใส่ คิดเป็น 21.74% กลัวผลร้ายแรงที่ตามมาจากโรคหัวใจ คิดเป็น 21.74% และกลัวสุขภาพจะทรุดโทรมลงอย่างกะทันหัน คิดเป็น 17.39% นอกจากนี้ คนส่วนใหญ่ยังมีความต้องการที่จะปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตโดยการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และสูดดมควันบุหรี่มือสอง คิดเป็น 92.86% งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คิดเป็น 92.86% และรับประทานผักและผลไม้มากขึ้น คิดเป็น 90.48% เพื่อช่วยส่งเสริมสุขภาพหัวใจให้ดีระยะยาว 10 เคล็ดลับ การดูแลรักษาหัวใจ การดูแลสุขภาพหัวใจอาจทำได้ ดังนี้ รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพและควบคุมปริมาณอาหาร ควรรับประทานอาหารที่หลากหลายและมีสารอาหารครบถ้วน ทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามินและแร่ธาตุ โดยควรเน้นรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง เช่น ผักและผลไม้ทุกชนิด เช่น ผักใบเขียว […]

โรคหัวใจ

ป้องกันหัวใจวาย ด้วยวิธีไหน และควรปรับไลฟ์สไตล์อย่างไรบ้าง

ป้องกันหัวใจวาย อาจทำได้ด้วยการดูแลตนเองและปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์บางอย่าง เพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดหัวใจวายซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ทั้งนี้ ภาวะหัวใจวายเกิดจากการที่สุขภาพหัวใจไม่แข็งแรง มักเป็นผลมาจากการไม่ออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูงเป็นประจำ รวมทั้งการสูบบุหรี่จัด และมีความเครียดสะสม หากต้องการป้องกันหัวใจวาย ควรเริ่มต้นปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน [embed-health-tool-heart-rate] หัวใจวาย คืออะไร หัวใจวาย (Heart Attack) เป็นภาวะฉุกเฉินของสุขภาพหัวใจที่เส้นเลือดเกิดการอุดตันเฉียบพลันจนเลือดไม่สามารถเดินทางไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้ตามปกติ ทำให้หัวใจขาดเลือดส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย ส่วนใหญ่ภาวะหัวใจวายมักเกิดขึ้นกะทันหัน และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ทั้งนี้ สัญญาณและอาการของภาวะหัวใจวาย ได้แก่ แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก จนอาจลุกลามไปถึงคอ กราม และหลัง คลื่นไส้ อาหารไม่ย่อย แสบร้อนทรวงอก หรือปวดท้อง หายใจถี่ เหงื่อออก เหนื่อยล้า วิงเวียนศีรษะฉับพลัน ป้องกันหัวใจวาย ได้ด้วยวิธีไหนบ้าง ป้องกันหัวใจวาย สามารถทำได้โดยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน โดยอาจปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ 1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควรเลือกรับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืช และอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูง เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า นอกจากนี้ ควรลดการรับประทานเกลือ ไขมันอิ่มตัว ของหวาน เนื้อแดงอย่างเนื้อวัวและเนื้อหมู รวมถึงหลีกเลี่ยงไขมันทรานส์ด้วย 2. หาวิธีผ่อนคลายความเครียด อารมณ์เครียด เช่น ความโกรธ […]

สุขภาพหัวใจ

5 วิธีดูแลรักษาหัวใจ เพื่อช่วยให้หัวใจแข็งแรงขึ้นใน 5 สัปดาห์

หัวใจเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย มีหน้าที่หลักในการสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะทุกส่วน ทุกคนจึงควรศึกษา วิธีดูแลรักษาหัวใจ ที่เหมาะสม การดูแลสุขภาพหัวใจอาจทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การงดสูบบุหรี่ การนอนหลับให้เพียงพอ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด และทำให้มีสุขภาพหัวใจที่ดีไปอีกหลายปี ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ อาจแบ่งได้ดังนี้ ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ อายุ ความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้นตามอายุ เนื่องจากหัวใจและหลอดเลือดอ่อนแอลงตามกาลเวลา ผู้ชายและผู้หญิงจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจสูงขึ้นตั้งแต่อายุ 45 ปีและ 55 ปีตามลำดับ เพศ ผู้ชายมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจมากกว่าผู้หญิง เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงมีส่วนช่วยในการรักษาเนื้อเยื่อหัวใจและหลอดเลือดให้แข็งแรง ประวัติสุขภาพของครอบครัว ผู้ที่มีสมาชิกใกล้ชิดในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่สาว เป็นโรคหัวใจตั้งแต่อายุยังน้อยจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจมากกว่าคนทั่วไป ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้ คอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์สูง เมื่อมีไขมันปริมาณมากสะสมในกระแสเลือดอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดคราบพลัคและภาวะหลอดเลือดแข็งที่อาจทำให้หลอดเลือดตีบตัน และนำไปสู่โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เมื่อร่างกายมีความดันโลหิตสูง จะทำให้หลอดเลือดแข็งตัวและหนาขึ้น ส่งผลให้หลอดเลือดแดงตีบตัน และหัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือด นอกจากนี้ เมื่อหลอดเลือดตีบตันก็อาจทำให้หลอดเลือดไม่สามารถลำเลียงเลือดไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ ความเครียด ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลที่สูงเกินไปจากความเครียดสะสมเป็นเวลานานอาจเพิ่มระดับคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ น้ำตาลในเลือด รวมไปถึงความดันโลหิตได้ วิธีดูแลรักษาหัวใจ ให้ห่างไกลโรค ใน 5 สัปดาห์ วิธีดูแลรักษาหัวใจ ด้วยการดูแลตัวเองอย่างเหมาะสมเพื่อช่วยให้สุขภาพหัวใจแข็งแรงขึ้นและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของหัวใจ ในเวลา […]

กิจกรรมออกกำลังกายแบบอื่น

สุขภาพหัวใจ แข็งแรงได้ด้วยการออกกำลังกายแบบไหนบ้าง

สุขภาพหัวใจ ควรได้รับการดูแลอยู่เสมอ เพราะหัวใจเป็นส่วนกล้ามเนื้อที่สำคัญที่สุด ทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตและออกซิเจนให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง หากละเลยอาจก่อให้เกิดโรคร้ายหรือปัญหาเกี่ยวกับหัวใจได้ วิธีเสริมสร้างสุขภาพหัวใจให้แข็งแรง นอกเหนือจากการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และการควบคุมน้ำหนักตัวแล้ว อีกหนึ่งวิธีได้แก่ การออกกำลังกาย [embed-health-tool-heart-rate] สุขภาพหัวใจ และการออกกำลังกาย การออกกำลังกายนอกจากจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพแล้ว ยังดีต่อสุขภาพหัวใจ ดังต่อไปนี้ 1. การออกกำลังกายบริหารหัวใจและหลอดเลือด การออกกำลังกายบริหารหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Exercises) หรือ การออกกำลังกายแบบแอโรบิค เป็นการออกกำลังกายฝึกความอดทนซึ่งทำให้หายใจเร็วขึ้น และหัวใจเต้นเร็วขึ้นด้วย  การออกกำลังกายบริหารหัวใจและหลอดเลือดนั้น จะใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ทำให้ร่างกายต้องใช้ออกซิเจนมากกว่าปกติ การออกกำลังกายวิธีนี้ จึงช่วยในให้หัวใจและปอดแข็งแรง ช่วยผ่อนคลายหลอดเลือด ลดความดันโลหิต ลดระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้รู้สึกอารมณ์ดี ลดอาการผื่นคัน ทำให้คอเลสเตอรอล HDL ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลดีมีปริมาณสูงขึ้น เมื่อออกกำลังกายบริหารหัวใจและหลอดเลือดไปนาน ๆ อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลว เส้นเลือดอุดตัน และปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับหัวใจได้ และถ้ากำลังพักฟื้นจากอาการหัวใจล้มเหลว การออกกำลังกายบริหารหัวใจและหลอดเลือด อาจช่วยป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำได้ อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มต้นออกกำลังกาย ประเมินภาวะสุขภาพเพื่อรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมแก่ตนเอง การออกกำลังกายแบบแอโรบิก ได้แก่ การว่ายน้ำ การเดินบนลู่ เต้น วิ่งเหยาะ ๆ ปั่นจักรยาน เดินขึ้นบันไดที่ทำงาน เพื่อดูแลสุขภาพหัวใจให้แข็งแรง ควรออกกำลังกายด้วยวิธีนี้อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ 2. การออกกำลังเพิ่มความแข็งแรง การออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “การออกกำลังกายแบบใช้แรงต้าน” ช่วยให้หัวใจความแข็งแรง กระชับกล้ามเนื้อ และมีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เพิ่มความแข็งแรงของกระดูก พัฒนาการจัดระเบียบร่างกาย และควบคุมน้ำหนักได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เคยมีปัญหาหัวใจล้มเหลว ไม่ควรออกกำลังกายชนิดเพิ่มความแข็งแรงประเภทนี้ ตัวอย่างของการออกกำลังเพิ่มความแข็งแรง ได้แก่ การยกน้ำหนัก การวิดพื้น และการใช้ท่าบริหารร่างกายแบบที่ใช้น้ำหนักตัวเป็นแรงต้าน นักกายภาพบำบัด หรือครูฝึกส่วนตัว […]

โภชนาการพิเศษ

อาหารโรคหัวใจ อะไรที่ควรรับประทาน และอะไรที่ควรหลีกเลี่ยง

การรับประทานอาหาร มีความสำคัญอย่างมากกับสุขภาพหัวใจ เพราะอาจส่งผลกระทบต่อระดับความดันโลหิตและคอเลสเตอรอลในเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่อาจนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจ หรือหากเป็นโรคหัวใจอยู่ ก็อาจส่งผลให้อาการที่เป็นอยู่รุนแรงขึ้น ดังนั้น จึงควรศึกษาเกี่ยวกับอาหารโรคหัวใจ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารที่ควรรับประทานและอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เพื่อช่วยรักษาสุขภาพหัวใจ และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย [embed-health-tool-bmr] อาหารโรคหัวใจที่ควรรับประทาน อาหารโรคหัวใจที่ควรรับประทาน มีดังนี้ ผักและผลไม้ ผักและผลไม้เป็นแหล่งรวมวิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหาร อีกทั้งยังมีแคลอรี่ต่ำ จึงอาจสามารถช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ จากการศึกษาในวารสาร Annals of Internal Medicine ปี พ.ศ. 2544 ที่ศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของผักและผลไม้ในการลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยติดตามผลสุขภาพในผู้หญิง 84,251 คน อายุระหว่าง 34-59 ปี เป็นเวลา 14 ปี และผู้ชาย 42,148 คน อายุระหว่าง 40-57 ปี เป็นเวลา 8 ปี พบว่า ผู้ที่รับประทานผักและผลไม้ 1 เสิร์ฟ/วัน อาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจลง 4 % โดยเฉพาะการรับประทานผักใบเขียวและผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ส้ม […]

เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพอื่น ๆ

สุขภาพหัวใจวัยชรา

โรคหัวใจ

โรคหัวใจเกิดจากอะไร และวิธีดูแลสุขภาพหัวใจ

โรคหัวใจเกิดจากอะไร อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย โรคหัวใจ หมายถึง โรคและภาวะต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ สามารถแบ่งออกได้หลายประเภท เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคลิ้นหัวใจตีบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โดยอาจมีปัจจัยบางประการที่ทำให้เสี่ยงเกิดโรคหัวใจง่ายขึ้น เช่น อายุ พันธุกรรม เพศ รูปแบบการใช้ชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม โรคนี้อาจป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันให้ดีต่อสุขภาพ ลดการรับประทานอาหารไขมันสูง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จัดการความเครียดอย่างเหมาะสม โรคหัวใจเกิดจากอะไร โรคหัวใจ หมายถึง โรคที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย สามารถแบ่งย่อยได้หลายกลุ่มโรค โดยมีสาเหตุของโรคที่แตกต่างออกไปตามชนิดของโรค อาจแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ที่พบได้บ่อย ดังนี้ โรคที่เกิดจากภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis Cardiovascular Disease) แบ่งออกเป็น 3 โรค ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดส่วนปลาย เป็นโรคที่เกิดจากการมีคราบไขมันสะสมอยู่ในหลอดเลือดแดง จนทำให้หลอดเลือดอุดตัน ส่งผลเลือดไหลเวียนไปยังงอวัยวะต่าง ๆ ลดลง ทำให้ได้รับออกซิเจนและสารอาหารน้อยกว่าปกติ ซึ่งเป็นผลมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ไม่ค่อยออกกำลังกาย มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน สูบบุหรี่เป็นประจำ โรคลิ้นหัวใจ (Heart […]