backup og meta

แอพหาคู่ ตัวช่วยหารัก วูบวาบหัวใจแต่ก็เสี่ยงต่อสุขภาพจิตใจเหมือนกันนะ

แอพหาคู่ ตัวช่วยหารัก วูบวาบหัวใจแต่ก็เสี่ยงต่อสุขภาพจิตใจเหมือนกันนะ

ปัจจุบันการใช้บริการแอพพลิเคชันสำหรับการหาคู่กำลังได้รับความนิยมอย่างไม่หยุดหย่อน ถ้าเหงาก็แค่ปัดขวา รอเวลาใครสักคนมากดไลค์ หรือปัดขวาให้ เท่านี้ก็อาจจะได้พบกับรักแท้ที่ตามหามาเนิ่นนานก็ได้ แต่…แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะสมหวัง ยังมีบางคนที่ไม่ได้สมหวังกับการตามหารักแท้ในโลกโซเชียลมีเดีย แถมยิ่งยึดติดกับแอพหาคู่มากไป ก็เสี่ยงต่อสุขภาพจิตอีก วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกท่านมามองอีกมุมหนึ่งของการไม่สมหวังจาก แอพหาคู่ และวิธีเยียวยาสุขภาพจิตเมื่อผิดหวังจากการปัดขวา

ความเสี่ยงของ แอพหาคุู่ กับสุขภาพจิต มีอะไรบ้าง

แอพพลิเคชันหาคู่ หรือแอพหาคู่ เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยเปิดโลกของคนเหงา คนที่ไม่มีเวลา ให้ได้เจอกับใครต่อใครมากหน้าหลายตาที่อาจจะมีความชอบแบบเดียวกัน เคยเรียนที่เดียวกัน หรืออาศัยอยู่ใกล้ๆ กัน ช่วยให้ได้สังคมและมิตรภาพที่ดีเพิ่มขึ้น จากเมื่อก่อนที่จะรู้จักกับใครสักคนก็จำเป็นจะต้องออกไปทำกิจกรรมข้างนอก ไปเที่ยว หรือไปรู้จักกับเพื่อนของเพื่อน แต่สมัยนี้แค่อยู่บ้าน ใช้งานสมาร์ทโฟน ก็สามารถที่จะรู้จักกับคนอื่นๆ ได้มากพอๆ กับการออกไปข้างนอก 

แต่ทว่า การสร้างโปรไฟล์ของตนเองในแอพหาคู่เพื่อที่จะได้พบกับใครอีกคนที่กำลังมองหานั้น อาจไม่สำเร็จเหมือนกันทุกคน บางคนอาจไม่เคยประสบความสำเร็จกับการเล่น แอพพลิเคชันหาคู่ เลย แถมยิ่งไม่สำเร็จ ก็ยิ่งยึดติด จนอาจทำให้เสียสุขภาพจิต ได้ ดังนี้

การถูกปฏิเสธ

เพราะ แอพพลิเคชันหาคู่ ตอบโจทย์กับความช่างเลือกของตัวเรา ในเมื่อตัวเราเองก็ปรารถนาที่จะเลือกคนที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุดจนปลายนิ้วเลื่อนไปปัดขวา บางคนถูกเลือก และบางคนถูกปฏิเสธ รูปถ่ายและข้อความที่ใส่ลงไปในแอพหาคู่นั้น ถือว่าเป็นด่านหน้าที่ผู้ใช้งานคนอื่น ๆ จะมองเห็น ถ้าหากไม่ได้โดดเด่น หรือตรงใจผู้ใช้งานคนอื่นๆ มากนัก คุณจึงอาจถูกปฏิเสธหรือปัดทิ้งจนแทบไม่มีโอกาสได้ตอบข้อความทักทายจากใครเลย การถูกปฏิเสธบ่อย ๆ เข้า ก็อาจจะทำให้รู้สึกแย่กับตัวเอง ตัดพ้อตัวเอง จนอาจสูญเสียความมั่นใจในตัวเองไปเลยก็ได้

การถูกหลอก

การถูกปฏิเสธ อาจทำให้เรารู้สึกแย่ อาย หรือไม่มั่นใจในตัวเอง แต่การถูกหลอกลวงจากผู้ใช้งานคนอื่นที่ส่งข้อความเข้ามาพูดคุยด้วยอาจแย่กว่านั้น เพราะคุณอาจสูญเสียทั้งร่างกาย และจิตใจ รวมถึงทรัพย์สินเงินทอง หรืออาจเกิดการบาดเจ็บจากการถูกทำร้ายร่างกาย 

ความผิดหวัง

บางคนสามารถพัฒนาความสัมพันธ์ไปจนกระทั่งมีการนัดเจอกันจริง ๆ ซึ่งเมื่อถึงขั้นนั้นก็ยิ่งเป็นการทวีความท้าทายขึ้นไปด้วย เพราะบางคนคุยสนุก คุยด้วยแล้วสบายใจเมื่ออยู่ในแอพ แต่เมื่อต้องมาเจอกันในโลกความเป็นจริง อาจจะความเขินอาย หรืออะไรก็แล้วแต่ ตัวตนที่เคยเป็นใน แอพพลิเคชันหาคู่ ก็อาจจะหายไปเมื่อเจอกันในโลกความเป็นจริง บางคนเคยคุยด้วยแล้วรู้สึกสนุก แต่พอเจอตัวจริงกลับคุยน้อย บางคนดูเป็นคนมีเหตุผล แต่เมื่อพบเจอกันบ่อยขึ้น กลับไม่ได้เป็นอย่างที่คิดก็มีมาก

ความเครียด

หลายคนที่ไม่ได้มั่นใจในตัวเองอยู่แล้ว หากถูกตัดสินจากผู้ใช้งานคนอื่นๆ โดยการปฏิเสธ ก็อาจจะเป็นการเพิ่มความเครียดให้กับตัวเองได้ โดยมีผลการวิจัยจาก University of North Texas กล่าวว่า ทั้งผู้ชายและผู็หญิงที่ใช้งาน แอพพลิเคชันหาคู่ บางส่วนถูกพบว่ารู้สึกพึงพอใจกับรูปลักษณ์ของตนเองน้อยลง และรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่าน้อยลงด้วย

เล่น แอพหาคู่ ยังไงไม่ให้เสียสุขภาพจิต

เช่นเดียวกับการหาคนรักในชีวิตจริง ก็ย่อมต้องมีการผิดหวังและเสียใจเป็นเรื่องปกติ แต่เมื่อเป็นการเล่นแอพที่ทุกคนสามารถจะสร้างโปรไฟล์ขึ้นมาได้นั้น จำเป็นที่จะต้องดูให้ดี และถ้าไม่อยากเสียสุขภาพจิตจากการใช้งาน แอปหาคู่ ล่ะก็ ควรที่จะมีการใช้อย่างมีสติ ดังนี้

อ่านรีวิวแอปพลิเคชัน

ก่อนการใช้งาน แอพพลิเคชั่นหาคู่ ใดก็ตาม ควรมีการอ่านรีวิวถึงข้อดีเเละข้อเสียก่อนเสมอ เพื่อที่จะได้ประเมินความเสี่ยงคร่าวๆ ได้ว่า แอปที่จะเล่นนั้นมีความน่าเชื่อถือมากหรือน้อยเพียงใด

กดรายงานและกดบล็อก

ไม่จำเป็นที่จะต้องรักษาความสัมพันธ์กับผู้ใช้งานที่เสียมารยาท หากพบว่าใครก็ตามที่มีลักษณะการพูดคุยที่ไม่เหมาะสม ขาดมารยาท ก็ควรที่จะมีการกดบล็อกและกดรายงานออกไป เพื่อจะได้ไม่มานั่งเสียสุขภาพจิตกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง

รักษาข้อมูลส่วนตัว

ไม่ว่าจะในโลกความเป็นจริงหรือโลกใน แอปหาคู่ การรักษาความเป็นส่วนตัวโดยเฉพาะข้อมูลส่วนตัวนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญ ควรใส่ข้อมูลส่วนตนเท่าที่จำเป็นที่อีกฝ่ายจะพอรู้จักเท่านั้น ข้อมูลใดที่สุ่มเสี่ยงว่าจะถูกนำไปใช้ในเรื่องเสื่อมเสียควรพิจารณาให้ดี หรือสามารถปฏิเสธได้ทันทีหากอีกฝ่ายต้องการข้อมูลที่ส่วนตัวมากจนเกินไป

เลือกแอพให้เหมาะสม

ควรเลือกใช้งาน แอพพลิเคชันหาคู่ ที่มีการกดถูกใจ หรือส่งความสนใจให้กันและกัน หรือให้มีการกดอนุญาตการส่งข้อความ มากกว่าแอพที่สามารถส่งข้อความหากันได้เลยทันทีตั้งแต่ครั้งแรก เพื่อเป็นการคัดกรองคนที่จะเข้ามาคุยด้วยในด่านแรกก่อนว่าอยากคุยด้วยหรือไม่

ทดลองใช้ฟรีก่อน

ก่อนจะเลือกสมัครบริการใดที่จะต้องมีการเสียเงิน ควรทดลองใช้ฟรีดูก่อนสักระยะ หากเห็นสมควรว่ารูปแบบการใช้งานของแอปนี้ตรงตามความต้องการ แล้วจึงดำเนินการใช้บริการในขั้นต่อไป

ระมัดระวังการเชื่อมต่อแอพหาคู่กับสื่อโซเชียลมีเดียอื่น ๆ 

เพราะข้อมูลอ่านรั่วไหล หรือการเชื่อมโยงไปยังแอปอื่นๆ อาจทำให้อีกฝ่ายค้นหาตัวตนของคุณได้มากขึ้น หากอีกฝ่ายเป็นมิจฉาชีพ ก็เสี่ยงที่ข้อมูลสำคัญของคุณจะถูกนำไปใช้ในทางที่ไม่ดี

การใช้งาน แอพพลิเคชันหาคู่ นั้น ไม่ถือเป็นเรื่องผิด เพราะนับว่าเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ทำให้คนที่มีความสนใจและความชอบแบบเดียวกันมาเจอกัน หลายคนได้รับมิตรภาพและความรักดี ๆ จากแอปหาคู่ ขณะเดียวกันก็อาจจะมีคนที่ผิดหวังบ้าง แต่ข้อสำคัญก็คือ ควรใช้แอพหาคู่อย่างมีสติ อย่าหมกมุ่นจนกระทั่งสูญเสียตัวตนและความมั่นใจที่เคยมี อย่าให้แอปหาคู่มีอิทธิพลมากจนเสียสุขภาพจิต เพราะนอกจากจะไม่พบใครสักคนแล้ว ยังอาจต้องเสียเวลาฟื้นฟูจิตใจของตัวเองนานกว่าเดิมก็ได้นะ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Are dating apps harming your mental health?. https://www.bupa.com.au/healthlink/mind-and-body/healthy-mind/technology-and-health/are-dating-apps-harming-your-mental-health. Accessed on March 18, 2020.

Are Dating Apps Damaging Our Mental Health?. https://www.psychologytoday.com/us/blog/talking-about-men/201810/are-dating-apps-damaging-our-mental-health. Accessed on March 18, 2020.

How to Use Online Dating Apps Safely. https://www.verywellmind.com/how-to-use-online-dating-apps-safely-4707582. Accessed on March 18, 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ก้มจิ้มมือถือทั้งวันระวัง โรคเท็กซ์เน็ค ไหล่ห่อคอตก

เล่นมือถือก่อนนอน ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา