backup og meta

อารมณ์โกรธ เป็นฟืนเป็นไฟ จะจัดการอารมณ์นี้อย่างไรดี

อารมณ์โกรธ เป็นฟืนเป็นไฟ จะจัดการอารมณ์นี้อย่างไรดี

คนเราทุกคนไม่จำเป็นต้องพอใจในสิ่งเดียวกัน ตัวอย่างเช่น คนบางคนอาจจะชอบอยู่ในที่ที่คนพลุกพล่าน แต่คนบางคนอาจจะชอบอยู่ในที่ที่สงบและเมื่อจำเป็นต้องอยู่ในที่ที่คนพลุกพล่าน ก็ทำให้เกิด อารมณ์โกรธ แล้วเมื่อเกิดอารมณ์โกรธขึ้นมา ก็พาลจะเห็นอะไรขวางหูขวางตาไปเสียหมด อย่างนี้ควรจะทำอย่างไรดี วันนี้ทาง Hello คุณหมอ มีวิธีจัดการกับอารมณ์โกรธมาฝากกัน

อารมณ์โกรธ คืออะไร?

อารมณ์โกรธนั้นเป็นความรู้สึกที่ทรงพลังเป็นอย่างมาก มันสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อคุณรู้สึกหงุดหงิด เจ็บ รำคาญ หรือแม้แต่ผิดหวัง อารมณ์โกรธที่เกิดขึ้นนั้น สามารถช่วยหรือทำร้ายตัวคุณเองก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวคุณเองว่ามีปฏิกิริยาอย่างไรกับอารมณ์ที่เกิดขึ้น

หากคุณสามารถโต้ตอบอารมณ์โกรธที่เกิดขี้นโดยไม่ทำร้ายคนอื่นได้ มันก็อาจจะเป็นความรู้สึกในเชิงบวก แต่ในทางกลับกัน ถ้าคุณเก็บอารมณ์โกรธนี้ไว้ แล้วแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวออกมา นั่นก็อาจทำให้ผู้อื่นรู้สึกไม่พอใจในตัวคุณได้เช่นกัน

ดังนั้น การจัดการกับอารมณ์โกรธที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม จึงถือเป็นเรื่องที่ควรกระทำเป็นอย่างมาก เพราะมันจะช่วยทำให้คุณมีสติ สามารถรับมือกับเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้

คุณสามารถจัดการกับ อารมณ์โกรธ ได้อย่างไรบ้าง

อารมณ์โกรธของแต่ละคนมักจะเกิดขึ้นจากสาเหตุที่แตกต่างกันไป บางคนอาจจะรู้สึกโกรธเมื่อต้องเจอกับการจราจรที่ติดขัด ซึ่งความจริงแล้วมันอาจจะกลายเป็นเรื่องเล็กน้อยสำหรับคนอื่น ๆ ก็เป็นได้ อารมณ์โกรธนั้นสามารถส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ส่วนตัว รวมถึงอาชีพของคุณได้ นอกจากนั้นมันยังส่งผลไปยังร่างกายและอารมณ์ ซึ่งมันอาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูง และความวิตกกังวลตามมา

ดังนั้น การเรียนรู้กับวิธีการจัดการกับอารมณ์โกรธที่เกิดขึ้นให้ได้ จึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญ ยิ่งคุณสามารถจัดการกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้ดีมากเท่าไหร่ สุขภาพกายใจของคุณก็จะดียิ่งขึ้นเท่านั้น ซึ่งวิธีการจัดการกับอารมณ์โกรธ สามารถทำได้ ดังนี้

คิดก่อนพูด

ในช่วงที่คุณเกิดอารมณ์เกิดมันง่ายมากๆ ที่คุณจะพูดอะไรบางอย่างออกมาโดยที่ไม่ทันได้คิด ซึ่งนั่นอาจจะทำให้คุณต้องมานั่งเสียใจภายหลังก็เป็นได้ ดังนั้น คุณควรใช้เวลาสักครู่ เพื่อรวบรวมความคิดของคุณ ก่อนที่จะพูดอะไรออกไปจะเป็นการดีที่สุด

หายใจเข้าลึกๆ

เมื่อเกิดอารมณ์โดรธการหายใจเข้าลึกๆ จะทำให้คุณรู้สึกเย็นลง แต่การหายใจตื้นๆ เมื่อคุณโกรธ มันจะยิ่งทำให้คุณอยู่ในสถานการณ์ที่พร้อมจะต่อสู่ ดังนั้น การลองหายใจช้าๆ ควบคุมลมหายใจที่เข้าออกจากท้องมากกว่าทรวงอก จะทำให้คุณสงบได้ในทันที นอกจากนั้นแล้วคุณยังสามารถฝึกการหายได้ด้วยตัวเอง ดังนี้

  • ลองหาเก้าอี้หรือสถานที่ที่คุณสามารถนั่งได้สบายๆ ทำคอและไหล่ให้ผ่อนคลายอย่างเต็มที่
  • หายใจเข้าลึกๆ ทางจมูกและให้ความสนใจกับท้องของคุณให้มากขึ้น
  • หายใจออกทางปาก
  • ลองทำแบบนี้วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 5-10 นาที หรือตามความต้องการของคุณ

ทำตัวให้สงบและแสดงความโกรธออกมาอย่างชัดเจน

เมื่อคุณคิดชัดเจนแล้วว่านี่คืออารมณ์โกรธที่คุณจำเป็นจะต้องแสดงออก จงแสดงออกมาในลักษณะที่แน่วแน่ แต่ต้องไม่ปล่อยให้อารมณ์มาอยู่เหนือเหตุผล ให้คุณแจกแจงข้อกังวลหรือความต้องการของคุณออกมาอย่างชัดเจนและตรงไปตรงมากับตัวเอง ที่สำคัญที่สุดการแสดงออกของคุณด้วยอารมณ์โกรธนั้นจะต้องไม่ทำร้ายผู้อื่นหรือเป็นการแสดงออกที่ทำให้พวกเขารู้สึกว่าคุณกำลังคบคุมพวกเขาอยู่

แม้ว่าการแสดงอารมณ์โกรธนั้นจะดีกว่าการเก็บเอาไว้ แต่การแสดงออกที่ชัดเจนและใจเย็นจะถือเป็นการดีที่สุด การแสดงอารมณ์โกรธแค้นออกมาด้วยอารมณ์ที่ปะทุ จะทำให้ระบบประสาท ระบบหัวใจและหลอดเลือดของคุณตกอยู่ในภาวะเครียด ซึ่งอาจทำให้สุขภาพของคุณแย่ลงได้

พยายามปลอบโยนตัวเองด้วยคำพูดที่ทำให้สงบ

การใช้คำพูดที่ทำให้สงบซ้ำๆ จะช่วยให้อารมณ์โกรธและความยุ่งยากต่างๆ คลี่คลายมากขึ้น ลองบอกกับตัวเองด้วยคำพูดว่า “ทุกอย่างจะโอเค” ในช่วงที่คุณรู้สึกว่าเกิดอารมณ์โกรธ มันจะทำให้คุณสามารถทำสิ่งที่ต่างๆ ออกได้อย่างที่คุณต้องการ นอกจากนี้คุณยังสามารถเก็บคำพูดที่ทำให้สงบเอาไว้ในโทรศัพท์ เพื่อเตือนความจำก่อนที่จะนำเสนองานที่เครียดๆ หรือต้องเข้าประชุมที่มีความท้าทาย

ออกกำลังกายบ้าง

การออกกำลังกายสามารถช่วยลดความเครียด ที่อาจเป็นสาเหตุของอารมณ์โกรธได้ หากคุณรู้สึกว่าความโกรธทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ลองอออกไปเดินเล่น วิ่ง ออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมที่สนุกสนานอื่นๆ ดู มันจะทำให้คุณรู้สึกอารมณ์ดีขึ้น นอกจากนั้นการออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยปรับอารมณ์ของคุณ รวมทั้งช่วยให้คุณปลดปล่อยความเครียด และอารมณ์โกรธได้อีกด้วย

ฝึกจินตนาการถึงภาพต่างๆ

เมื่อคุณต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกตึงเครียด หรือทำให้เกิดอารมณ์โกรธ การจิตนาการถึงสถานที่ที่มีความสุข จะช่วยทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลายลงได้ การจิตนาการถึงภาพต่างๆ เป็นการทำให้ร่ายกายและสมองรู้สึกสงบลงนั่นเอง ซึ่งการจินตนาการ สามารถทำได้ ดังนี้

  • นึกถึงสถานที่จริงหรือจิตนาการถึงสถานที่ที่ทำให้คุณรู้สึกสงบสุขและปลอดภัย อาจจะจินตนาการถึงภูเขาที่คุณเพิ่งไปมา หรือชายหาดแปลกใหม่ที่คุณอยากจะลองไปสักครั้งหนึ่งดูก็ได้เช่นกัน
  • พยายามจิตนาการ โดยมุ่งเน้นไปที่รายละเอียดต่างๆ ทางประสาทสัมผัส ด้วยการจิตนาการว่าตัวคุณเองกำลังอยู่ในสถานที่ที่ชื่นชอบ ลองนึกถึงกลิ่นที่คุณจะได้สัมผัส และเสียงที่คุณจะได้ยิน
  • พยายามรักษาระดับการหายใจเอาไว้ และพยายามนึกถึงภาพนี้ เมื่อคุณรู้สึกวิตกกังวล

หลีกเลี่ยงการใช้ยาและการดื่มแอลกอฮอล์

พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ยาเพื่อจะทำให้ร่างกายพักผ่อน และการดื่มแอลกอฮอล์ที่มากจนเกินไป จะทำให้คุณไม่สามารถรับมือกับอารมณ์โกรธได้ นอกจากนั้นแอลกอฮอล์ยังจะทำให้คุณขาดความยับยั้งชั่งใจ จนอาจจะเผลอพูดหรือทำสิ่งที่ไม่ต้องการออกมาได้อีกด้วย

รับมือด้วยวิธีแบบไทม์เอาต์ (Timeout)

ความจริงแล้วการใช้วิธีแบบไทม์เอาต์ ที่แปลว่า “หมดเวลา’ ในที่นี่คือการ ขอเวลานอกให้กับตัวเอง สามารถทำได้โดยการนำตัวเองออกจากสถานการณ์ก่อให้คุณเกิดอารมณ์โกรธ และหันไปโฟกัสหรือทำสิ่งอื่นก่อนเพื่อให้ตัวคุณเองรู้สึกสงบลง ใจเย็นขึ้น วิธีนี้ไม่ได้ใช้สำหรับเด็กได้เพียงอย่างเดียว การให้เวลาช่วงสั้นๆ กับตัวเองเมื่อคุณเกิดความเครียดหรือเกิดอารมณ์โกรธ จะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น และพร้อมที่จะรับมือกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าโดยไม่หงุดหงิดหรือโกรธนั่นเอง

ขยับร่างกายอย่างมีสติ

บางครั้งการนั่งนิ่งๆ อาจทำให้คุณรู้สึกวิตกกังวลมากขึ้น การเคลื่อนไหวร่างกายด้วยโยคะ และการออกกำลังกายที่ช่วยทำให้จิตใจสงบอื่นๆ จะช่วยลดความตึงเครียดในกล้ามเนื้อของคุณลงได้ และครั้งต่อไปที่จะต้องเผชิญกับปัญหา หรือสถานการณ์ที่ตึงเครียด การเดินเล่น หรือแม้แต่เต้นเบาๆ กระทำให้คุณไม่เครียดได้

ปรับทัศนคติของคุณ

ช่วงเวลาที่มีความเครียดสูง หรือกำลังตกอยู่ในอารมณ์โกรธ มันสามารถบิดเบือนการรับรู้ของคุณเกี่ยวกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นได้ ทั้งยังทำให้คุณรู้สึกเหมือนว่าโลกกำลังออกห่างไปจากตัวคุณ ดังนั้น ครั้งต่อไปที่รู้สึกโกรธ ลองปรับทัศนคติของคุณดู โดยปกติแล้วทุกคนมักจะมีทั้งวันที่ดีและไม่ดีผสมกันไป และคุณสามารถเริ่มต้นใหม่ได้ในวันพรุ่งนี้ได้เสมอ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

11 Ways to Release Anger. https://www.healthline.com/health/how-to-release-anger. Accessed March 17, 2020

Mental Health and Anger Management. https://www.webmd.com/mental-health/anger-management#1. Accessed March 17, 2020

Anger management: 10 tips to tame your temper. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/in-depth/anger-management/art-20045434. Accessed March 17, 2020

Why Adults With Anger Can Benefit From Taking a Time-Out. https://www.verywellmind.com/how-to-take-a-time-out-from-anger-2797584 Accessed March 17, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

22/05/2020

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีรับมือและจัดการกับ อารมณ์แปรปรวนในวัยทอง ที่ผู้หญิงวัยทองควรรู้

ใครอีคิวไม่ดี เรามี วิธีเพิ่มอีคิว (E.Q.) ช่วยกระตุ้นความฉลาดทางอารมณ์มาฝาก


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 22/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา