backup og meta

อาการ ผิด ปกติ หลัง คลอด แบบไหนที่ควรไปพบคุณหมอ

อาการ ผิด ปกติ หลัง คลอด แบบไหนที่ควรไปพบคุณหมอ

อาการ ผิด ปกติ หลัง คลอด อาจมีตั้งแต่ภาวะตกเลือดหลังคลอด ภาวะมดลูกอักเสบ ภาวะเต้านมอักเสบช่วงให้นม ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปอาการผิดปกติไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยหรือพบในคุณแม่หลังคลอดทุกคน จึงไม่ควรเป็นกังวลเกินไปนัก เน้นและทำใจให้สบายเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับวันคลอดที่ใกล้มาถึง และควรวางแผนการดูแลสุขภาพหลังคลอดไว้ตั้งแต่ก่อนคลอด ซึ่งอาจช่วยให้คุณแม่รู้สึกสบายใจและผ่านช่วงเวลาหลังคลอดไปได้ด้วยดี

[embed-health-tool-due-date]

อาการ ผิด ปกติ หลัง คลอด

อาการผิดปกติที่คุณแม่หลังคลอดอาจพบได้ในบางครั้ง อาจมีดังนี้

ภาวะตกเลือดหลังคลอด (Postpartum haemorrhage)

หลังคลอดคุณแม่อาจสังเกตว่ามีเลือดออกทางช่องคลอดหรือที่เรียกว่าน้ำคาวปลา (Lochia) ซึ่งจะไหลออกมาจากภายในโพรงมดลูกส่วนที่เคยมีครรภ์ยึดเกาะอยู่เป็นปริมาณมากที่สุดในช่วงหลังคลอด และจะค่อยๆ น้อยลงเรื่อย ๆ โดยสีของเลือดจะเปลี่ยนจากสีแดงสดเป็นสีน้ำตาลจนเป็นสีเหลืองภายใน 2-3 สัปดาห์ และจะมีปริมาณน้อยลงและกลายเป็นสีใสจนแห้งไปในที่สุดภายใน 4-6 สัปดาห์

ทั้งนี้ หากเวลาผ่านไปสักระยะแล้วพบว่าเลือดออกเยอะขึ้นแทนที่จะลดน้อยลง หรือมีก้อนเลือดหรือลิ่มเลือดขนาดใหญ่ออกมาจากช่องคลอด ร่วมกับมีอาการอื่นๆ เช่น

  • วิงเวียนศีรษะ
  • สายตาพร่ามัว
  • รู้สึกจะเป็นลม
  • ปวดท้องรุนแรง

หากมีอาการดังกล่าว อาจเป็นสัญญาณของภาวะตกเลือดหลังคลอดที่ควรไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยและรักษาโดยเร็ว

ภาวะมดลูกอักเสบหลังคลอด (Postpartum Endometritis)

เป็นภาวะผิดปกติหลังคลอดบุตรซึ่งส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณเยื่อบุโพรงมดลูกหรือระบบสืบพันธุ์ส่วนบน เช่น สเตรปโตคอคคัสกรุ๊ปบี (group B streptococci) สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus) ซึ่งอาจเป็นแบคทีเรียที่อยู่ในมดลูกอยู่แล้วหรือเพิ่งเข้าสู่ร่างกายขณะคลอดบุตรก็ได้ โดยปกติแล้ว แบคทีเรียจะขึ้นมาจากอวัยวะสืบพันธุ์ส่วนล่างหรือทางเดินอาหารและจะเข้าไปในโพรงเยื่อบุโพรงมดลูกระหว่างการคลอดจนทำให้เกิดการติดเชื้อ โดยทั่วไปจะวินิจฉัยพบตั้งแต่ 10 วันหลังคลอด แต่ก็อาจพบได้ภายในช่วง 6 สัปดาห์หลังคลอด

ผู้ที่เป็นมดลูกอักเสบอาจมีอาการดังต่อไปนี้

  • หนาวสั่น
  • ปวดหน่วงท้อง
  • ท้องบวม
  • ปวดศีรษะ
  • เจ็บบริเวณอวัยวะเพศขณะปัสสาวะหรือมีเพศสัมพันธ์
  • ตกขาวผิดปกติและมีกลิ่นเหม็นหรือมีเลือดปน

นอกจากนี้ การติดเชื้อแบคทีเรียยังอาจทำให้เกิดภาวะติดเชื้อหลังคลอดบริเวณอื่นได้เช่นกัน เช่น การติดเชื้อของแผลผ่าตัดบริเวณหน้าท้อง การติดเชื้อบริเวณแผลฝีเย็บ ฝีที่รังไข่

ภาวะเต้านมอักเสบ (Mastitis)

ภาวะอักเสบบริเวณเต้านมมักพบในคุณแม่ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร อาจเกิดได้จากท่อน้ำนมอุดตันหรือการติดเชื้อแบคทีเรีย คุณหมอจะแนะนำให้คุณแม่ให้นมจากเต้าไปเรื่อย ๆ หลายครั้งต่อวัน เพื่อระบายน้ำนมออกและลดการอุดตัน และควรอาบน้ำอุ่นและนวดเต้าด้วยตัวเองเพื่อบรรเทาอาการคัดตึงเต้านม โดยอาการที่พบอาจมีดังนี้

  • เต้านมบวม แดง สัมผัสแล้วเจ็บ
  • มีก้อนที่เต้านม เต้านมแข็ง
  • รู้สึกเจ็บหรือแสบร้อนเต้านมเป็นช่วง ๆ หรือเจ็บเต้าระหว่างให้นม
  • มีไข้ 38.3 องศาเซลเซียสขึ้นไป
  •  หนาวสั่น

 ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression)

คุณแม่หลังคลอดบางท่านอาจประสบกับภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอดหรือเบบี้บลูส์ (Postpartum blues หรือ Baby blues) ที่มักเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอดและมักหายเองได้ อาการอาจมีตั้งแต่อารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ ร้องไห้ วิตกกังวล แต่หากมีอาการนานเกิน 2 สัปดาห์อาจเป็นสัญญาณของภาวะที่รุนแรงขึ้นอย่างโรคซึมเศร้าหลังคลอด ซึ่งคุณแม่จะมีอาการที่นานกว่าและรุนแรงกว่าอาการเบบี้บลูส์ อาการที่พบอาจมีดังนี้

  • อารมณ์แปรปรวนรุนแรงหรือซึมเศร้าอย่างหนัก
  • ร้องไห้อย่างหนัก
  • ไม่มีความรู้สึกผูกพันกับเด็กที่เพิ่งเกิดมา
  •  เอาตัวออกห่างจากครอบครัวและเพื่อน
  • ไม่อยากอาหาร หรือรับประทานอาหารมากกว่าปกติ
  • นอนไม่หลับ ใช้เวลานานกว่าปกติกว่าจะหลับ
  • ไม่มีแรง เหนื่อยล้า
  • กังวลว่าตัวเองไม่สามารถเป็นแม่ที่ดีได้
  • รู้สึกสิ้นหวัง ไม่มีค่า อับอาย
  • หงุดหงิด โกรธ อารมณ์ไม่ดีอย่างมาก
  • หมดความสนใจในกิจกรรมที่เคยชอบ
  • ตัดสินใจได้ไม่เด็ดขาด ไม่มีสมาธิ จดจ่อไม่ได้
  • คิดทำร้ายตัวเองหรือเด็ก
  • วิตกกังวลหรือมีอาการแพนิคอย่างรุนแรง
  • คิดหมกมุ่นเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายหรือความตาย

คุณแม่ที่มีปัญหาดังที่กล่าวมา ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาให้หายโดยเร็ว เพราะภาวะซึมเศร้าหลังคลอดอาจนำไปสู่ภาวะโรคจิตหลังคลอด (Postpartum psychosis) ซึ่งทำให้คุณแม่มีความผิดปกติด้านความคิดและพฤติกรรมที่อาจเป็นอันตรายต่อทั้งคุณแม่และเด็กได้

อาการผิดปกติหลังคลอด ป้องกันได้หรือไม่

ในช่วงก่อนคลอดสิ่งที่คุณแม่สามารถทำได้เบื้องต้นเพื่อลดความเสี่ยงของอาการผิดปกติคือการดูแลสุขภาพของตัวเองด้วยวิธีต่อไปนี้

  • รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • งดสูบบุหรี่และสูดดมควันบุหรี่มือสอง
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

อาการ ผิด ปกติ หลัง คลอด แบบไหนที่ควรหาหมอ

หากพบว่ามีอาการผิดปกติหลังคลอดในลักษณะต่อไปนี้ ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างตรงจุด

  • มีเลือดออกทางช่องคลอดที่มาเยอะจนชุ่มผ้าอนามัยภายใน 1 ชั่วโมง หรือมีลิ่มเลือดที่มีขนาดใหญ่กว่าลูกกอล์ฟ
  • น้ำคาวปลาไม่ลดปริมาณลงและมีปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไ
  • แผลผ่าคลอดไม่หายหรือสมานตัวแม้จะผ่านไปสักระยะแล้วก็ตาม
  • อาการบวมหรือแดงที่สัมผัสแล้วเจ็บที่ขาข้างใดข้างหนึ่ง
  • น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็นผิดปกติ
  • มีไข้สูงตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียส
  • เจ็บหน้าอก หายใจติดขัดหรือหายใจถี่ ชัก
  • อาเจียน
  • ปวดศีรษะ สายตาพร่ามัว ที่รับประทานยาแล้วไม่ดีขึ้น
  • อาการซึมเศร้าหรือวิตกกังวลหลังคลอดไม่หายไปหลังผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ และกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและการเลี้ยงดูเด็ก
  • รู้สึกอยากทำร้ายตัวเองหรือเด็ก

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Postpartum complications: What you need to know. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/labor-and-delivery/in-depth/postpartum-complications/art-20446702#:~:text=Common%20postpartum%20complications&text=Infection%20or%20sepsis,rest%20of%20your%20body%20(cardiomyopathy).  Accessed June 24, 2023

Complications after the Birth. https://www.nbt.nhs.uk/maternity-services/after-birth/complications-after-birth/. Accessed June 24, 2023

Labour complications. https://www.pregnancybirthbaby.org.au/labour-complications/. Accessed June 24, 2023

Your body after the birth. https://www.nhs.uk/pregnancy/labour-and-birth/after-the-birth/your-body/. Accessed June 24, 2023

What Is Postpartum Endometritis?. https://www.webmd.com/baby/what-is-postpartum-endometritis. Accessed June 24, 2023

Postpartum depression. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/postpartum-depression/symptoms-causes/syc-20376617/. Accessed June 24, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

10/07/2023

เขียนโดย ศุภานิช สุริโย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีนวดเต้าหลังคลอด เพื่อลดอาการคัดตึงเต้านม

มดลูกเข้าอู่กี่วัน และควรดูแลตัวเองหลังคลอดอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ศุภานิช สุริโย · แก้ไขล่าสุด 10/07/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา