backup og meta

ปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน ตั้งครรภ์ อันตรายหรือไม่

ปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน ตั้งครรภ์ อันตรายหรือไม่

ในระหว่างการตั้งครรภ์ ร่างกายของแม่จะเปลี่ยนแปลงไป เพื่อรองรับการมีอยู่ของทารกตัวน้อย ๆ ที่เกิดขึ้นในครรภ์ อาการมากมายที่เกิดขึ้นมาจึงสร้างความวิตกกังวลให้กับแม่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะ ปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน ตั้งครรภ์ อาการนี้อันตรายหรือไม่ และอาการปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน เป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์หรือเปล่า

[embed-health-tool-ovulation]

ปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน ตั้งครรภ์หรือไม่

หากสงสัยว่ากำลังตั้งครรภ์หรือไม่ อาการปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน ก็เป็นอาการหนึ่งของแม่ที่เริ่มตั้งครรภ์ได้เช่นกัน แต่จะมีความแตกต่างตรงที่อาการปวดท้องน้อยที่เกิดขึ้นนั้น ไม่มีประจำเดือนมา จึงต้องลองสังเกตร่างกายของตัวเองเป็นประจำ หากเป็นช่วงที่ถึงรอบเดือน ใกล้กับช่วงเวลาประจำเดือนมา แล้วเกิดอาการปวดท้องน้อย ประจำเดือนอาจมาใน 1-2 วัน แต่ถ้าไม่ใช่ช่วงที่ประจำเดือนจะมา แต่เกิดมีอาการปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน ให้ลองใช้ชุดตรวจครรภ์

ปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน ตั้งครรภ์ อันตรายหรือไม่

ขณะที่แม่กำลังตั้งครรภ์ แล้วเกิดอาการปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน อาจเกิดความกังวลว่า อาการนี้อันตรายหรือไม่ สามารถมีข้อสังเกตได้ ดังนี้

  • 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ : หากเกิดอาการปวดท้องน้อย ปวดหน่วงท้องน้อยคล้ายปวดประจำเดือน หรือปวดบีบ ๆ รัด ๆ ตรงกลางท้อง ร่วมกับอาการเลือดออกทางช่องคลอด มีลักษณะเป็นเลือดสดหรือมูกเลือด อาจมีเลือดออกเล็กน้อยหลายวัน ควรปรึกษาแพทย์ เพราะอาจเสี่ยงต่อภาวะแท้งคุกคาม (Threatened Abortion) จึงควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจร่างกายอย่างละเอียด  
  • ไตรมาส 2 ของการตั้งครรภ์ : ช่วงไตรมาส 2 แม่ตั้งครรภ์อาจมีอาการปวดหน่วงบริเวณท้องน้อยได้ เพราะมดลูกเริ่มขยายขนาดจากอายุครรภ์ที่เพิ่มขึ้น หากไม่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ อาการปวดท้องนี้ก็ไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด แต่ควรรับประทานยาบำรุงครรภ์ตามที่แพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะยาบำรุงเลือด ที่จะช่วยเพิ่มปริมาณเลือดในหญิงตั้งครรภ์ ช่วยเรื่องการสร้างรก ทำให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตอย่างแข็งแรง
  • ไตรมาส 3 ของการตั้งครรภ์ : ไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ อาการปวดท้องน้อยของแม่ก็ยังคงมีอยู่ ร่วมกับอาการปวดเมื่อย เพราะน้ำหนักตัวของแม่และทารกในครรภ์เริ่มมากขึ้น จึงควรเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ ปรับเปลี่ยนท่าทาง ลุก นั่ง เดิน ไม่ควรอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ จะช่วยลดอาการปวดเมื่อยลงได้

การปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือนขณะตั้งครรภ์ โดยทั่วไปแล้วจะไม่เป็นอันตราย หากไม่พบอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย แม่ตั้งครรภ์จึงควรปรึกษาแพทย์อย่างใกล้ชิด ทำตามคำแนะนำ และสังเกตอาการตัวเองเสมอ เมื่อพบความผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์

อาการปวดท้องของคนใกล้คลอด

ช่วงใกล้คลอด แม่ควรสังเกตร่างกายของตัวเองด้วย หากพบอาการปวดท้องน้อยแต่อาการเจ็บครรภ์ยังไม่สม่ำเสมอ อาจเป็นเพียงการเจ็บครรภ์เตือน สามารถทุเลาและหายได้เอง ส่วนอาการเจ็บครรภ์จริง มีดังนี้

  • ปวดหรือเจ็บท้องอย่างสม่ำเสมอ 
  • อาจมีอาการปวดหลังใกล้บั้นเอวร้าวมาบริเวณหน้าท้อง
  • ระยะห่างของอาการเจ็บท้องจะค่อย ๆ ถี่ขึ้น จากทุก 15 นาที ขยับเป็นทุก 5 นาที
  • ระยะเวลาในการเจ็บท้องแต่ละครั้งจะนานขึ้น จากเจ็บ 20 วินาที จะนานขึ้นเป็น 50 วินาที
  • มีมูกหรือมูกปนเลือดไหลออกจากช่องคลอด

เมื่อเกิดอาการเจ็บครรภ์จริง ควรรีบไปโรงพยาบาล เพื่อให้แพทย์ประเมินว่า ปากมดลูกเปิดขยายตัวหรือยัง คอมดลูกบางลงแล้วหรือไม่ เพื่อเตรียมการคลอดต่อไป

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ภาวะแท้งคุกคาม (Threatened abortion)

https://www.si.mahidol.ac.th/Th/healthdetail.asp?aid=1468 

accessed June 27, 2023

การปฏิบัติตนระหว่างตั้งครรภ์

https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=175 

accessed June 27, 2023

คู่มือการปฏิบัติตัวในขณะตั้งครรภ์

https://www2.si.mahidol.ac.th/division/nursing/sins/images/download/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A0.pdf 

accessed June 27, 2023

สัญญานอันตรายที่แม่ตั้งครรภ์ต้องรีบไปพบแพทย์ : พบหมอรามาฯ

https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89/ 

accessed June 27, 2023

ตั้งครรภ์ ท้องแข็ง คืออะไร ต้องทำเช่นไร?

https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/infographic/%e0%b8%95%e0%b8%b1%e0%b9%89%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a0%e0%b9%8c-%e0%b8%97%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%81%e0%b8%82%e0%b9%87%e0%b8%87-%e0%b8%84%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%b0/ 

accessed June 27, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

24/04/2024

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

เคล็ดลับการดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์อย่างเหมาะสม

คํานวณอายุครรภ์ ทำได้อย่างไร และวิธีนับอายุครรภ์


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 24/04/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา