ไตรมาสที่ 2

เมื่อการตั้งครรภ์เข้าสู่ช่วง ไตรมาสที่ 2 คุณแม่ก็อาจเริ่มสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เกิดขึ้น พร้อมกับพัฒนาการของลูกน้อยภายในครรภ์ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ไตรมาสที่ 2 มาไว้ที่นี่แล้ว

เรื่องเด่นประจำหมวด

ไตรมาสที่ 2

อาหารบำรุงมดลูก สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มีอะไรบ้าง

สำหรับคุณแม่ที่กำลังวางแผนมีลูกหรือกำลังตั้งครรภ์ อาหารบำรุงมดลูกจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เนื่องจาก มดลูกเป็นอวัยวะที่สำคัญต่อการปฏิสนธิและการฝังตัวของตัวอ่อน การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและการกินอาหารที่ช่วยบำรุงมดลูก จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับมดลูก ซึ่งอาจช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์มากขึ้น ส่งเสริมสุขภาพและการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และอาจลดโอกาสเกิดภาวะแท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้ อาหารบำรุงมดลูก มีอะไรบ้าง อาหารบำรุงมดลูก มีหลายชนิดที่มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณของอาหารที่อาจช่วยบำรุงมดลูกรวมถึงส่งเสริมพัฒนาการของทารกในครรภ์ได้ ดังนี้ ไข่แดง ไข่แดงอุดมไปด้วยโคลีน (Choline) ซึ่งเป็นสารอาหารที่ดีต่อการบำรุงมดลูก ช่วยสร้างไขมันที่ช่วยส่งเสริมโครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มสมอง กล้ามเนื้อ เซลล์ประสาทให้แข็งแรง ช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมและผลิตดีเอ็นเอ ช่วยผลิตสารสื่อประสาทที่จำเป็นต่อการควบคุมกล้ามเนื้อ ความจำ การมองเห็น และควบคุมการเต้นของหัวใจ นอกจากนี้ ยังดีต่อการพัฒนาการทำงานของสมองและไขสันหลังของทารกในครรภ์ด้วย โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrition เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 ศึกษาเกี่ยวกับโคลีนซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อสุขภาพ พบว่าโดยปกติผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ มีความต้องการโคลีนปริมาณ 425 มิลลิกรัม/วัน  แต่การตั้งครรภ์และให้นมบุตร อาจทำให้ร่างกายต้องการโคลีนมากเป็นพิเศษ โดยผู้หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับโคลีนปริมาณ 450 มิลิกรัม/วัน และผู้หญิงให้นมบุตรควรได้รับโคลีนปริมาณ 550 มิลลิกรัม/วัน ซึ่งโคลีนจะช่วยบำรุงทารกในครรภ์ รวมถึงรกและมดลูกด้วย นมและผลิตภัณฑ์จากนม นมและผลิตภัณฑ์จากนม เช่น โยเกิร์ต ชีส อุดมไปด้วยแคลเซียมและวิตามินดี ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพกระดูกและอาจช่วยป้องกันเนื้องอกในมดลูกได้ โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งจาก Cambridge […]

สำรวจ ไตรมาสที่ 2

ไตรมาสที่ 2

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 13 อยู่ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ช่วงนี้ทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์อาจมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เช่น สายสะดือเคลื่อนที่ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ส่วนทารกอาจเริ่มมีขนาดตัวใหญ่มากขึ้น และเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น อย่างไรก็ตาม คุณแม่ยังควรระมัดระวังตัวและดูแลตัวเองให้ดีอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายที่อาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 13 ลูกจะเติบโตอย่างไร ตอนนี้ตั้งครรภ์เป็นเวลา 13 สัปดาห์แล้ว ทารกที่อยู่ในครรภ์มีขนาดเท่ากับฝักถั่ว ซึ่งมีความสูงประมาณ 7 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า และหนักประมาณ 30 กรัม ในสัปดาห์นี้มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเกิดขึ้นในร่างกายของ รวมทั้งสายสะดือที่เคลื่อนตัวเข้าหากระเพาะอาหารของลูกน้อยด้วย สายสะดือนี้จะติดอยู่กับรกที่กำลังเติบโต เพื่อช่วยลำเลียงสารอาหารที่จำเป็นสำหรับลูกน้อย รกที่เคยมีน้ำหนักประมาณ 30 กรัม ตอนนี้จะมีน้ำหนักมากขึ้นแล้ว เส้นเสียงของทารกก็กำลังก่อเป็นรูปเป็นร่างขึ้น แต่จะยังไม่ได้ยินเสียงอะไรในช่วงนี้ และเส้นเสียงจะทำงานเมื่อลูกน้อยคลอดออกมา ตอนนี้ลูกของสามารถแหย่นิ้วหัวคุณแม่มือเข้าไปอมในปากได้แล้ว ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง อาการแพ้ท้องของจะลดลงหรือไม่เกิดขึ้นแล้ว แต่ถ้ายังรู้สึกคลื่นไส้และอ่อนเพลีย การพักผ่อนอาจช่วยให้อาการดีขึ้น นอกจากนี้อาจมีอาการอื่น  ๆ ตามมา เช่น มีตกขาวมากขึ้น และตกขาวจะมีลักษณะคล้ายน้ำนมและไม่มีกลิ่น แต่ไม่ต้องตกใจไปนะ นี่เป็นอาการปกติที่มักเกิดขึ้น จากการมีฮอร์โมนเอสโตรเจนในระดับสูง ซึ่งเป็นฮอร์โมนการตั้งครรภ์อีกชนิดหนึ่ง ด้วยความที่มีเลือดสูบฉีดไปหล่อเลี้ยงแถว  ๆ กระดูกเชิงกรานมากขึ้น จึงทำให้มีตกขาวมากขึ้น เพื่อช่วยให้ทางผ่านของทารกเมื่อถึงเวลาคลอดไม่เกิดการติดเชื้อ ถ้าตกขาวเริ่มมีกลิ่นหรือเปลี่ยนสี ก็ควรบอกให้หมอทราบทันที เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อก็ได้ ควรระมัดระวังอะไรบ้าง อาจมีความกังวลในเรื่องการออกกำลังกายระหว่างตั้งครรภ์ นี่คือสิ่งที่ควรรู้ก่อนเริ่มการออกกำลังกาย […]


ไตรมาสที่ 2

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 26 ของการตั้งครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 26 หรือประมาณเดือนที่ 6 ของการตั้งครรภ์ ช่วงนี้ขนาดท้องของคุณแม่อาจมีขนาดค่อนข้างใหญ่ตามขนาดตัวของทารกในครรภ์ที่เพิ่มขึ้น ทำให้อาจเคลื่อนไหวหรือเดินทางลำบากมากขึ้น อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการหกล้มได้ง่ายขึ้น ดังนั้น คุณแม่จึงควรระมัดระวังทุกครั้งเมื่อเคลื่อนไหว หลีกเลี่ยงการเดินหรือเปลี่ยนท่าทางเร็ว ๆ เพราะอาจเสี่ยงต่อการหกล้มหรือเกิดอุบัติเหตุได้ [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 26 ลูกจะเติบโตอย่างไร ตอนนี้ลูกน้อยในครรภ์ของคุณแม่มีขนาดเท่ามัดต้นหอม คือสูงจากศีรษะถึงปลายเท้าประมาณ 39 เซนติเมตร และหนักประมาณ 750 กรัม ถึงแม้ดวงตาของทารกยังปิดอยู่ในช่วงสามเดือนสุดท้ายนี้ แต่ในไม่ช้าก็จะลืมตาขึ้นแล้วกระพริบตา เด็กบางคนก็จะมีตาดำ บางคนที่มีตาสีน้ำตาล ซึ่งจะขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ นอกจากนี้ ดวงตาอาจเปลี่ยนสีได้ในช่วงปีแรก และเด็กบางคนก็จะเกิดมาพร้อมกับดวงตาสีเข้ม มากไปกว่านั้น ขนตาและเส้นผมก็ยังเจริญเติบโตต่อไปด้วย ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง มดลูกของคุณแม่คือแดนสวรรค์อันปลอดภัยสำหรับลูกน้อยก่อนที่จะลืมตาดูโลก แต่เขาก็ต้องย้ายเข้าสู่บ้านใหม่หลังคลอด ฉะนั้น ใช้เวลานี้ดูแลเรื่องความปลอดภัยของบ้านก่อนที่เขาจะเกิดขึ้นมา ซึ่งมีขั้นตอนในการตรวจสอบความปลอดภัยสำหรับเด็กอยู่นะ โดยอาจหาอุปกรณ์มาครอบปลั๊กไฟ อะไรที่อาจทำให้เด็กสำลักได้ก็เอาออกไป ติดตั้งระบบตรวจสอบควัน และปิดกั้นช่องว่างตรงบันไดเอาไว้ คุณแม่ควรทำการป้องกันทุกอย่างเท่าที่นึกออก แล้วโปรดจำไว้ด้วยนะว่า การป้องกันใด ๆ ก็ไม่สามารถนำมาทดแทนการเฝ้าระวังลูกของคุณแม่ได้ ควรระมัดระวังอะไรบ้าง คุณแม่จะรู้สึกร่างกายไม่ค่อยมั่นคงและชอบเดินสะดุดโน่นนี่บ่อย ๆ เวลาที่อยู่ในช่วงไตรมาสที่สองนี้ ก็มีปัจจัยโน่นนี่มากมายที่ทำให้เกิดการหกล้ม เมื่อหน้าท้องของคุณแม่ใหญ่ขึ้น ก็ทำให้จุดศูนย์ถ่วงของร่างกายเปลี่ยนไป ซึ่งอาจทำให้เกิดโอกาสหกล้มไปข้างหน้าได้ นอกจากนี้อาการเหนื่อยอ่อนยังทำให้คุณแม่รู้สึกเบลอ ๆ และขาดความระมัดระวัง ซึ่งอาจทำให้คุณแม่มองอะไรไม่ชัด ซึ่งจะทำให้เกิดการหกล้มได้ง่าย การพบคุณแม่หมอ ควรปรึกษาคุณหมออย่างไรบ้าง คุณแม่จะเริ่มเห็นรอยแตกลายและผิวหนังหย่อนคล้อย ที่อาจทำให้มีอาการคันมากขึ้น […]


ไตรมาสที่ 2

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 25 ของการตั้งครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 25 เป็นช่วงที่ทารกในครรภ์อาจมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยอาจมีขนาดตัวเท่ากับมะเขือยาว หัวใจเต้นประมาณ 140 ครั้ง/นาที นอกจากนี้ ประสาทสัมผัส สมอง ปอด และระบบย่อยอาหารจะเริ่มพัฒนา อย่างไรก็ตาม ปอดจะยังพัฒนาไม่เต็มที่ [embed-health-tool-due-date] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 25 ทารกในครรภ์จะเติบโตอย่างไร สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 25 นี้ จะมีน้ำหนักประมาณ 680 กรัม และสูงประมาณ 376 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า ส่วนใหญ่แล้วทารกน้อยในครรภ์จะหลับอยู่ตลอดเวลา แต่บางครั้งก็อาจสังเกตได้ว่าทารกตื่นอยู่ โดยคุณแม่ตั้งครรภ์จะรู้สึกถึงความเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ได้ง่ายขึ้นเมื่ออยู่นิ่ง ๆ  ตอนนี้ทารกในครรภ์สามารถได้ยินเสียง ซึ่งคุณแม่ตั้งครรภ์สามารถพูดคุยและเปิดเพลงให้ทารกในครรภ์ฟังได้ อย่างไรก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงเสียงดังจนเกินไป  ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง ปัญหาที่คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่พบในช่วงนี้ คือ ปัญหาเกี่ยวกับการย่อยอาหาร ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนไม่เพียงแต่ทำให้ท้องว่าง แต่ยังทำให้ลิ้นปิดเปิดกระเพาะอาหารคลายตัว จึงทำให้กระเพาะอาหารปิดไม่สนิท อาจส่งผลให้อาหารที่กินเข้าไปและกรดจากกระเพาะอาหารเคลื่อนตัวไปยังหลอดอาหาร จนเกิดอาการกรดไหลย้อน หรืออาการแสบร้อนกลางอก จนรู้สึกทรมาน อึดอัด ไม่สบายตัว นอกจากนั้น ในสัปดาห์ที่ 25 นี้ ถือเป็นการตั้งครรภ์เกินครึ่งทางแล้ว ดังนั้น กระเพาะอาหารอาจถูกมดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นกดทับ ควรแบ่งอาหารเป็นหลายมื้อ แต่รับประทานอาหารแต่ละมื้อให้น้อยลง และควรหลีกเลี่ยงอาหารมันหรือรสจัด ควรระมัดระวังอะไรบ้าง คุณแม่ตั้งครรภ์อาจรู้สึกอ่อนเพลีย ดังนั้น […]


ไตรมาสที่ 2

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 24 ของการตั้งครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 24 นี้ ทารกในครรภ์อาจมีขนาดตัวเท่ากับแครอท โดยมีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร และมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจากอายุครรภ์สัปดาห์ที่ 23 อีกประมาณ 113 กรัม ซึ่งทารกยังคงต้องรับออกซิเจนผ่านทางสายรก แต่เมื่อคลอดออกมา ปอดของทารกจะเริ่มสูดเอาออกซิเจนเข้าไปทันที และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม ปอดของทารกอาจเริ่มผลิตสารลดแรงตึงผิวออกมา ซึ่งสารชนิดนี้จะช่วยเก็บถุงลมเอาไว้ในปอด โดยไม่ทำให้เกิดการรั่วไหล ทั้งยังช่วยให้หายใจได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย [embed-health-tool-”pregnancy-weight-gain”] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 24ทารกในครรภ์จะเติบโตอย่างไร สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 24 นี้ ทารกในครรภ์อาจมีขนาดตัวเท่ากับแครอท โดยมีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร และมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจากอายุครรภ์สัปดาห์ที่ 23 อีกประมาณ 113 กรัม  ทารกยังคงต้องรับออกซิเจนผ่านทางสายรก แต่เมื่อคลอดออกมา ปอดของทารกจะเริ่มสูดเอาออกซิเจนเข้าไปทันที และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม ปอดของทารกอาจเริ่มผลิตสารลดแรงตึงผิวออกมา ซึ่งสารชนิดนี้จะช่วยเก็บถุงลมเอาไว้ในปอด โดยไม่ทำให้เกิดการรั่วไหล ทั้งยังช่วยให้หายใจได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย หูชั้นในซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยควบคุมความสมดุลของร่างกายอาจพัฒนาเต็มที่แล้ว ทารกในครรภ์อาจเริ่มรับรู้ได้ว่า ตอนนี้ตัวเองกำลังลอยตัวอยู่ในน้ำคร่ำในท่าหัวทิ่มหรือหัวตั้ง ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิตร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง โดยปกติแล้ว ในช่วงสัปดาห์ที่ 24 ถึง 28 ของการตั้งครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์จะต้องเข้ารับการตรวจวัดระดับน้ำตาล ซึ่งจะช่วยให้คุณหมอทราบได้ว่า คุณแม่เป็นโรคเบาหวานในช่วงตั้งครรภ์หรือไม่ หากคุณแม่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ อาจเพิ่มความเสี่ยงให้คุณแม่ต้องคลอดด้วยการผ่าคลอด เนื่องจาก โรคนี้อาจทำให้ทารกมีขนาดตัวใหญ่กว่าปกติ […]


ไตรมาสที่ 2

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 20 ของการตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือครอบครัวที่เตรียมมีลูก เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องอยากรู้แน่นอนก็คือ พัฒนาการของทารกในครรภ์ในแต่ละช่วงเวลา นี่คือสิ่งที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 20 [embed-health-tool-due-date] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 20 ลูกจะเติบโตอย่างไร สำหรับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 20 ในสัปดาห์นี้ ลูกน้อยของคุณมีขนาดตัวเท่ากล้วยหอม โดยหนักประมาณ 315 กรัม และสูงประมาณ 25 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า ทารกน้อยในครรภ์กำลังเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ และใช้เนื้อที่มากขึ้น จึงทำให้เกิดแรงกดทับในบริเวณปอด กระเพาะอาหาร กระเพาะปัสสาวะ และไตของคุณ ผิวหนังของทารกในครรภ์ที่มีไขมันทารกแรกเกิด ลักษณะคล้ายแว็กซ์สีขาว ๆ เคลือบปกป้องอยู่นั้นเริ่มหนาขึ้นและพัฒนาเป็นผิวมากขึ้น และเริ่มมีเส้นขนงอกขึ้นมาบ้างแล้ว ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง น้ำหนักตัวของคุณแม่อาจเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 4.5 กิโลกรัม และในสัปดาห์ต่อ ๆ ไป น้ำหนักอาจเพิ่มขึ้นได้อีกสัปดาห์ละประมาณครึ่งกิโลกรัม ถ้าคุณเริ่มตั้งครรภ์ด้วยน้ำหนักที่ต่ำกว่าเกณฑ์ คุณก็อาจต้องเร่งทำน้ำหนักให้มากขึ้น แต่ถ้าคุณเริ่มต้นด้วยน้ำหนักที่มากเกินไป คุณก็ควรทำน้ำหนักให้น้อยลง นอกจากนี้คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องไม่ลืมเพิ่มธาตุเหล็กให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายด้วย เนื่องจากธาตุเหล็กคือสารตั้งต้นในการสร้างฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นโปรตีนในเม็ดเลือดแดงที่ช่วยนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ในระหว่างการตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณยังต้องการธาตุเหล็กไปเพิ่มปริมาณของเลือดมากขึ้นด้วย รวมทั้งเพื่อการเติบโตของลูกน้อยและรกด้วย ควรระมัดระวังอะไรบ้าง คุณแม่ควรพิจารณาการเก็บเลือดจากรกไว้กับธนาคารเลือดจากรก โดยกระบวนการเก็บเลือดจากรก เป็นการเก็บเลือดด้วยวิธีปราศจากเชื้อโรคจากเส้นเลือดดำของสายสะดือทารกแรกเกิดที่ได้รับการผูกและตัดสายสะดือแล้ว ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อทารกและคุณแม่แต่อย่างใด เลือดจากรกนั้นเก็บไว้ใช้ในการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตจากเลือดสายสะดือและรก (Placental and […]


ไตรมาสที่ 2

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 19 ของการตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือครอบครัวที่เตรียมมีลูก เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องอยากรู้แน่นอนก็คือ พัฒนาการของทารกในครรภ์ในแต่ละช่วงเวลา นี่คือสิ่งที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 19 พัฒนาการทารกในการตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 19 ลูกจะเติบโตอย่างไร สำหรับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 19 สัปดาห์นี้ทารกในครรภ์จะขนาดตัวเท่ากับ มะม่วง มีน้ำหนักตัวประมาณ 240 กรัม และสูงประมาณ 15 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า ผิวหนังของทารกน้อยเริ่มพัฒนาเม็ดสี พร้อมมีไขมันในทารกแรกเกิด (Vernix caseosa) ซึ่งมีลักษณะคล้ายแว็กซ์สีขาว ๆ เคลือบผิวเอาไว้ เพื่อช่วยปกป้องผิวของทารกจากน้ำคร่ำ โดยไขมันทารกแรกเกิดนี้จะหายไปในช่วงท้าย ๆ ของการตั้งครรภ์ นั่นจึงทำให้เด็กที่คลอดก่อนกำหนดมีไขมันทารกแรกเกิดนี้ติดผิวหนังออกมาตอนคลอดด้วย ในสัปดาห์นี้ชั้นไขมันสีน้ำตาลจะมีการพัฒนาขึ้น เพื่อช่วยสร้างความอบอุ่นให้แก่ลูกน้อยหลังคลอด และชั้นไขมันนี้จะยังพัฒนาต่อไปในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ เพื่อช่วยปกป้องลูกน้อยให้ปลอดภัย ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต ร่างกายจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ในช่วงเวลานี้จะเริ่มรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ การเคลื่อนไหวแรกนั้นจะเป็นการเคลื่อนไหวแบบเบา ๆ เป็นช่วงสั้น ๆ จึงอาจทำให้เข้าใจผิดคิดว่าเป็นอาการท้องอืดหรือมีแก๊สในกระเพาะได้ แต่หลังจากนั้นจะรู้สึกได้ถึงแรงถีบ แรงต่อย และอาการสะอึกของลูกน้อยได้ เด็กแต่ละคนจะมีการเคลื่อนไหวที่แตกต่างกันไป แต่หากสังเกตได้ว่าอาการเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์ลดลง ควรรีบไปพบคุณหมอทันที ควรระมัดระวังอะไรบ้าง การเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจถือเป็นสิ่งปกติที่เกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคน จึงไม่ควรกังวลมากเกินไป ควรพยายามลองปรับตัวและทำความคุ้นเคยกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เช่น รู้สึกร้อนหรืออึดอัด ก็ลองอาบน้ำให้สบายตัว ลองคิดถึงแต่ด้านบวกของการตั้งครรภ์ เช่น ช่วงเวลาของการเป็นแม่คือช่วงเวลาแห่งความสุขสันต์ […]


ไตรมาสที่ 2

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 18

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 18 เริ่มขยายใหญ่ขึ้น โดยมักมีขนาดตัวเท่ากับพริกหยวก หนักประมาณ 200 กรัม และยาวประมาณ 14 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า คุณแม่อาจรู้สึกได้ว่าลูกดิ้น หาวหรือแม้แต่กำลังสะอึก ซึ่งพฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้เป็นสัญญาณที่ดีสะท้อนพัฒนาการต่าง ๆ ว่าลูกน้อยกำลังเติบโตอย่างแข็งแรง   [embed-health-tool-”due-date”] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 18ลูกจะเติบโตอย่างไร สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 18 ทารกในครรภ์จะมีขนาดตัวเท่ากับพริกหยวก โดยมีหนักประมาณ 200 กรัม และสูงประมาณ 14 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า ลูกน้อยเริ่มเคลื่อนไหวมากขึ้น อาจรู้สึกถึงการกลิ้งไปกลิ้งมา บิดตัว และเตะเท้า รวมถึงอาจรู้สึกได้ว่าลูกน้อยกำลังหาวหรือแม้แต่กำลังสะอึก ซึ่งพฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้เป็นสิ่งบ่งบอกว่าลูกน้อยกำลังเติบโตอย่างแข็งแรง หูของทารกในครรภ์สามารถฟังเสียงได้แล้ว คุณแม่ควรเริ่มสานสัมพันธ์กับลูกน้อย ด้วยการพูดคุย หรือร้องเพลงให้ลูกฟัง เพราะลูกจะรู้สึกสบายใจและอุ่นใจขึ้นเมื่อได้ยินเสียงที่คุ้นเคย ควรหลีกเลี่ยงเสียงดัง หากคุณแม่ใช้เครื่องช่วยฟังก็จะสามารถฟังเสียงหัวใจเต้นของทารกน้อยในครรภ์ได้ชัดเจน  นอกจากนี้ ทารกในครรภ์อาจจะยังเปิดเปลือกตาไม่ได้ แต่ก็สามารถเคลื่อนไหวดวงตาได้เล็กน้อย เพื่อตอบสนองต่อแสงได้บ้างแล้ว ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิตร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง เมื่อหน้าท้องเริ่มขยายใหญ่ขึ้น อาการปวดหลังก็จะยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากจุดศูนย์ถ่วงเกิดความเปลี่ยนแปลง ทำให้หลังช่วงล่างแบกรับน้ำหนักเอาไว้มากขึ้น อีกเหตุผลนึงก็คือ ฮอร์โมนการตั้งครรภ์ทำให้กระดูกเชิงกรานขยาย สามารถป้องกัน หรือบรรเทาอาการปวดหลังในขณะตั้งครรภ์ได้ด้วยเคล็ดลับเหล่านี้ หลีกเลี่ยงการนั่งนาน ๆ  ไม่ควรนั่งอยู่กับที่นานเกิน 1 ชั่วโมง ควรลุกเปลี่ยนอิริยาบถ หรือยืดเส้นยืดสายบ้าง เพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อและข้อต่อเกร็งตึงจนเกินไป และให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น […]


ไตรมาสที่ 2

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 17 ของการตั้งครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 17 นี้ ทารกในครรภ์จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทารกอาจมีขนาดตัวเท่ากับผลทับทิม โดยจะหนักประมาณ 150 กรัม และสูงประมาณ 12 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า ในช่วงนี้ทารกอาจเริ่มมีไขมันสะสมอยู่ตามร่างกายแล้ว และไขมันจะสะสมในร่างกายอย่างต่อเนื่อง จนมีน้ำหนักสองในสามของน้ำหนักตัว จนกว่าจะถึงกำหนดคลอด ไขมันสะสมตามร่างกายนี้จะช่วยสร้างความอบอุ่นให้กับทารกในครรภ์ [embed-health-tool-”pregnancy-weight-gain”] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 17 ทารกในครรภ์จะเติบโตอย่างไร สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 17 นี้ ทารกในครรภ์จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทารกอาจมีขนาดตัวเท่ากับผลทับทิม โดยจะหนักประมาณ 150 กรัม และสูงประมาณ 12 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า ในช่วงนี้ทารกอาจเริ่มมีไขมันสะสมอยู่ตามร่างกายแล้ว และไขมันจะสะสมในร่างกายอย่างต่อเนื่อง จนมีน้ำหนักสองในสามของน้ำหนักตัว จนกว่าจะถึงกำหนดคลอด ไขมันสะสมตามร่างกายนี้จะช่วยสร้างความอบอุ่นให้กับทารกในครรภ์ นอกจากนี้ หัวใจของทารกในครรภ์จะเต้นมากกว่าปกติ คือ ประมาณ 140-150 ครั้ง/นาที ซึ่งมากกว่าอัตราการเต้นของหัวใจของคุณแม่ตั้งครรภ์ถึง 2 เท่า ซึ่งเป็นสิ่งบ่งบอกว่าทารกในครรภ์กำลังเติบโตอย่างแข็งแรง ทั้งยังต้องการสารอาหารและออกซิเจนเป็นอย่างมาก ในช่วงสัปดาห์นี้ รกจะพัฒนาอย่างรวดเร็ว เพื่อจะได้ตอบสนองต่อความต้องการของทารกในครรภ์ได้อย่างเต็มที่ ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง ฮอร์โมนต่าง ๆ อาจทำให้เลือดสูบฉีดไปที่เต้านมมากขึ้น เพื่อช่วยเตรียมเต้านมให้พร้อมสำหรับการให้นมบุตรจึงทำให้เต้านมของคุณแม่ตั้งครรภ์ขยายใหญ่ขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนอาจทำรู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว รวมถึงอาจมองเห็นเส้นเลือดที่บริเวณเต้านมได้ชัดเจนขึ้นด้วย คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนอาจจำเป็นต้องซื้อเสื้อชั้นในใหม่ […]


ไตรมาสที่ 2

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 16 ของการตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือครอบครัวที่เตรียมมีลูก เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องอยากรู้แน่นอนก็คือ พัฒนาการของทารกในครรภ์ในแต่ละช่วงเวลา นี่คือสิ่งที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 16 พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 16 ลูกจะเติบโตอย่างไร สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 16 สัปดาห์นี้ทารกในครรภ์จะมีขนาดตัวเท่าผลอะโวคาโด โดยมีหนักประมาณ 100 กรัม และสูงประมาณ 12 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า กระดูกสันหลังและกล้ามเนื้อเล็ก ๆ บนแผ่นหลังของลูกน้อยกำลังแข็งแรงขึ้น ซึ่งอาจช่วยให้ลูกน้อยสามารถยกศีรษะขึ้นตั้งตรงได้ นอกจากนี้ กล้ามเนื้อบนใบหน้าของลูกน้อยก็กำลังแข็งแรงขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งก็หมายความว่า ลูกน้อยสามารถแสดงอารมณ์บนใบหน้าได้มากขึ้น เช่น หรี่ตา ขมวดคิ้ว ยิ้ม ผิวหนังของลูกน้อยจะมีลักษณะโปร่งใส มีเส้นเลือดเล็ก ๆ วางทอดอยู่ใต้ผิวหนังบาง ๆ ตอนนี้ทารกน้อยยังไม่มีไขมันสะสมในร่างกาย เนื่องจากกำลังอยู่ในช่วงพัฒนาอัยวะที่สำคัญอื่นๆ อยู่ ตอนนี้หูของทารกเริ่มพัฒนา จึงอาจได้ยินเสียงต่าง ๆ รวมไปถึงเสียงของคุณแม่ได้แล้ว นี่จึงเป็นโอกาสอันดีในการเริ่มพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างคุณแม่กับลูกน้อย ไม่ว่าจะด้วยการร้องเพลง พูดคุย ถึงแม้ว่าตอนนี้ทารกในครรภ์จะยังไม่เข้าใจว่าพูดอะไร แต่เสียงอาจช่วยทำให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลายได้ ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง ในช่วงสัปดาห์นี้ คุณแม่อาจรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวในช่องท้อง ซึ่งอาจทำให้เข้าใจผิดคิดว่าเป็นเพราะการย่อยอาหาร หรือเกิดแก๊สขึ้นในกระเพาะ แต่จริง ๆ แล้ว ลูกน้อยกำลังถีบท้อง โดยการเคลื่อนไหวนี้จะชัดเจนขึ้นตามระยะเวลาของการตั้งครรภ์ หน้าท้องจะเริ่มยื่นออกมามากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ใส่เสื้อผ้าชุดเดิมไม่ได้ และต้องหาเสื้อผ้าใหม่มาใส่ […]


ไตรมาสที่ 2

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 15 ของการตั้งครรภ์

อายุครรภ์ 15 สัปดาห์ จัดอยู่ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 15 จะเริ่มชัดเจนขึ้นในหลายด้าน เช่น ทารกเริ่มเรียนรู้เรื่องการหายใจ การกลืน และการดูด และในช่วงนี้ ก็สามารถอัลตราซาวด์เพื่อดูเพศของทารกได้แล้ว ทั้งนี้ คุณแม่ตั้งครรภ์อายุครรภ์ 15 สัปดาห์ควรไปตรวจครรภ์ตามที่คุณหมอนัดทุกครั้ง เพื่อให้สามารถดูแลครรภ์ได้เหมาะสมตามอายุครรภ์ และหากพบสัญญาณของปัญหาสุขภาพ คุณหมอจะได้วินิจฉัยและรักษาได้อย่างทันท่วงที พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 15 ลูกจะเติบโตอย่างไร สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 15 ลูกน้อยในครรภ์จะมีขนาดตัวเท่าผลแอปเปิ้ล โดยจะหนักประมาณ 75 กรัม และสูงประมาณ 10 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า ทารกในครรภ์เติบโตและเคลื่อนไหวแขนขาอย่างต่อเนื่อง ในไม่ช้านี้คุณแม่จะรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของลูกน้อย ทารกในครรภ์มีการเรียนรู้เรื่องการหายใจ การกลืน และการดูดทุกวันขณะที่อยู่ในครรภ์ ซึ่งการพัฒนาทักษะเหล่านี้ จะช่วยให้ลูกมีทักษะในการเอาชีวิตรอดหลังคลอดได้ ในช่วงสัปดาห์นี้ อาจทำการตรวจอัลตร้าซาวด์ เพื่อตรวจดูเพศของทารกในครรภ์ได้แล้ว ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง คุณแม่อาจสังเกตเห็นว่าเหงือกไวต่อความรู้สึกมากขึ้น ท้้งยังอาจมีอาการเหงือกบวม แดง และเลือดออกหลังแปรงฟันหรือขัดฟันบ่อย ๆ ใช้ไหม อาการเช่นนี้เป็นอาการของภาวะของเหงือกอักเสบ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ และเป็นผลมาจากฮอร์โมนการตั้งครรภ์ จึงควรดูแลเหงือกและฟันให้มากกว่าที่เคยทำในช่วงก่อนตั้งครรภ์ โดยแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม