backup og meta

รู้หรือไม่? ความเครียดของแม่ ส่งผลต่อลูกน้อยในครรภ์ด้วยนะ

รู้หรือไม่? ความเครียดของแม่ ส่งผลต่อลูกน้อยในครรภ์ด้วยนะ

ความเครียดเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เป็นความรู้สึกที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย แต่รู้หรือไม่ว่า เมื่อเป็นคุณแม่ตั้งครรภ์แล้วควรหลีกเลี่ยงกับสิ่งที่กระตุ้นที่ทำให้เกิดความเครียด เพราะ ความเครียดของแม่ นั้นไม่ส่งผลดีต่อใครทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็นตัวคุณแม่เอง หรือแม้แต่ลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์

[embed-health-tool-due-date]

ความเครียดของแม่ ส่งผลต่อคุณและลูกน้อยอย่างไร

ความเครียดเรื้อรังหรือเครียดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนแปลงไป รวมไปถึงอาการปวดหัว การนอนหลับ การหายใจผิดปกติ และชีพจรเต้นเร็วขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณในด้านอื่น ๆ อีก เช่น ปัญหาด้านการกิน (การกินอาหารมาก/น้อยเกินไป หรืออาหารผิดประเภท)

ผลการศึกษาบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าความเครียดในครรภ์ของคุณแม่อาจส่งผลต่อการพัฒนาสมองของลูกน้อย ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาด้านพฤติกรรมเมื่อทารกโตขึ้น และปัญหาด้านอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดปัญหาบางอย่างในช่วงวัยเด็ก รวมไปถึงความเครียดสามารถเพิ่มโอกาสในการคลอดก่อนกำหนด (เกิดก่อน 37 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์) หรือทารกมีน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์

อะไรทำให้เกิดความเครียดระหว่างตั้งครรภ์

สาเหตุของความเครียดสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์นั้นแตกต่างกันไป ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อยในช่วงระหว่างตั้งครรภ์มีดังนี้

  • อาจกำลังเผชิญกับความรู้สึกไม่สบายจากการตั้งครรภ์ เช่น แพ้ท้อง ท้องผูก เหนื่อย หรือปวดหลัง
  • ฮอร์โมนภายในกำลังเปลี่ยนแปลง อาจทำให้อารมณ์แปรปรวน ทำให้การควบคุมอารมณ์ต่ำลง
  • อาจจะกังวลเกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์และการคลอด รวมไปถึงวิธีการดูแลลูกน้อย
  • อาจจะกังวลว่าสิ่งที่คุณจะกินหรือดื่มเข้าไปนั้นจะส่งผลต่ออะไรต่อลูกน้อยหรือไม่

วิธีการลดความเครียดของแม่ระหว่างตั้งครรภ์

การดูแลสุขภาพร่างกายที่ดีระหว่างตั้งครรภ์เป็นสิ่งสำคัญ เช่นเดียวกับการดูแลสุขภาพจิต เพื่อลดความเครียด สามารถทำได้ดังต่อไปนี้

  • การกินอาหารเพื่อสุขภาพ รวมถึงหาข้อมูลสิ่งที่คนท้องห้ามกิน และอาหารสิ่งใดที่มีประโยชน์
  • การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ถึงแม้อาจจะทำยาก แต่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรกระทำ
  • การออกกำลังกายเบา ๆ หรือกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลายอย่างเช่น โยคะ สิ่งเหล่านี้สามารถช่วยจัดการกับความเครียดและเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอด รวมไปถึงการหางานอดิเรกทำ
  • ฝึกการหายใจและการผ่อนคลาย
  • พยายามไม่กดดันตัวเองมากจนเกินไป
  • การวางแผนการทำงานล่วงหน้า และรู้ขีดจำกัดที่คุณสามารถจะรับไหว
  • ลดงานบ้านบางสิ่งที่คุณไม่สามารถจัดการได้
  • ขอความช่วยเหลือจากคนที่คุณไว้วางใจ และยอมรับความช่วยเหลือจากพวกเขา

ปรึกษาขอข้อมูลเพิ่มจากคุณหมอที่ดูแลคุณ เพื่อให้คุณสามารถจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้น

คำถามวัดระดับ ความเครียดของแม่

เป็นคำถามเพื่อประเมินระดับความเครียดของคุณในระหว่างตั้งครรภ์ ให้ตอบว่า “ใช่” “บางครั้ง” หรือ “ไม่ใช่”

  • รู้สึกเครียด
  • รู้สึกประหม่า
  • รู้สึกกังวล
  • รู้สึกกลัว
  • มีปัญหาในการจัดการกับปัญหาต่าง ๆ
  • คิดว่าสิ่งต่าง ๆ ไม่เป็นไปตามคาด
  • ไม่สามารถควบคุมสิ่งต่างๆ ในชีวิตได้
  • กังวลว่าลูกจะผิดปกติ
  • กังวลว่าจะเสียลูก
  • กังวลว่าจะคลอดยาก
  • กังวลว่าจะไม่สามารถชำระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
  • อาศัยอยู่คนละที่ระหว่างคุณกับคู่ครอง/คู่สมรส หรือแฟน
  • มีการทำงานที่หนักเกินไป
  • มีปัญหาในการทำงาน
  • เคยมีปัญหากับคู่ครอง/คู่สมรส หรือแฟน หรือไม่
  • เคยถูกคุกคามอันตรายทางร่างกายหรือไม่

หากคุณตอบว่า  “ใช่” หรือ “บางครั้ง” อย่างน้อย 3 ข้อขึ้นไป คุณอาจมีความเครียดที่สะสมอยู่พอสมควร ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับข้อมูลและคำแนะนำต่าง ๆ เพิ่มเติมจากคุณหมอ

ความเครียดนั้นไม่ส่งผลดีกันใครทั้งนั้น หากคุณแม่สามารถจัดการกับความเครียดระหว่างตั้งครรภ์ได้ดี ก็ย่อมส่งผลดีต่อคุณแม่และลูกน้อย ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว หรือคู่ครองก็สามารถช่วยเหลือและร่วมกันช่วยบรรเทาความเครียดคุณแม่ตั้งครรภ์ได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Fetus to Mom: You’re Stressing Me Out!. https://www.webmd.com/baby/features/fetal-stress#1. Accessed July 29, 2021

Too much stress for the mother affects the baby through amniotic fluid. https://www.sciencedaily.com/releases/2017/05/170529090530.htm. Accessed July 29, 2021

STRESS AND PREGNANCY. https://www.marchofdimes.org/complications/stress-and-pregnancy.aspx. Accessed July 29, 2021

Stress and pregnancy. https://www.pregnancybirthbaby.org.au/stress-and-pregnancy. Accessed July 29, 2021

Can Your Stress Affect Your Fetus?. https://www.webmd.com/baby/features/stress-marks#1. Accessed July 29, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

08/05/2022

เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการหลังลูกหลุด สาเหตุ และวิธีดูแลสุขภาพของคุณแม่

จัดการความวิตกกังวล ก่อนจะกลายเป็นความเครียดที่ส่งผลต่อสุขภาพ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 08/05/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา