backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ตกเลือดระหว่างตั้งครรภ์ (Bleeding During Pregnancy)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 12/01/2021

ตกเลือดระหว่างตั้งครรภ์ (Bleeding During Pregnancy)

ตกเลือดระหว่างตั้งครรภ์ (Bleeding During Pregnancy) ถือเป็นภาวะปกติในหญิงตั้งครรภ์ โดยมักเกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์ 1-12 เดือน แต่ในบางครั้งการมีเลือดออกอาจเป็นสัญญาณเตือนของความผิดปกติในระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งต้องได้รับการตรวจจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเป็นประจำ

คำจำกัดความ

ตกเลือดระหว่างตั้งครรภ์ (Bleeding During Pregnancy) คืออะไร

ตกเลือดระหว่างตั้งครรภ์ (Bleeding During Pregnancy) ถือเป็นภาวะปกติในหญิงตั้งครรภ์ โดยมักเกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์ 1-12 เดือน แต่ในบางครั้งการมีเลือดออกอาจเป็นสัญญาณเตือนของความผิดปกติในระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งต้องได้รับการตรวจจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเป็นประจำ เพราะหากไม่ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด อาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้

พบได้บ่อยเพียงใด

อาการตกเลือดระหว่างตั้งครรภ์ มักพบในหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 1-12  เดือน  

อาการ

อาการตกเลือดระหว่างตั้งครรภ์

20 % ในผู้หญิงตั้งครรภ์มักมีเลือดออกในช่วง 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ โดยมีอาการแสดงออก ดังต่อไปนี้ 

  • เลือดล้างหน้าเด็ก ผู้หญิงบางคนอาจไม่รู้ว่าตนเองตั้งครรภ์ เข้าใจผิดคิดว่าเป็นประจำเดือน โดยปกติเลือดล้างหน้าเด็กจะไหลออกมาเพียงเล็กน้อยคล้ายรอบเดือน โดยมักพบอาการนี้ใน 6-12 วันแรกหลังจากตั้งครรภ์ 
  • ภาวะแท้งบุตร เนื่องจากการแท้งบุตรมักเกิดขึ้นบ่อยสุดในช่วง 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ หากคุณมีภาวะแท้งบุตรจะมีเลืออดออกและมีอาการปวดบริเวณท้องน้อย และมีเนื้อเยื่อไหลออกมาจากช่องคลอด
  • ตั้งครรภ์นอกมดลูก การท้องนอกมดลูกนี้ อาจเกิดขึ้นในการตั้งครรภ์ประมาณ 2% เท่านั้น จะมีอาการปวดบริเวณท้องน้อย หน้ามืด รวมถึงมีอาการตะคริว
  • ครรภ์ไข่ปลาอุก เป็นภาวะที่พบยากมาก เกิดจากเนื้อเยื่อที่ผิดปกติเติบโตภายในมดลูกแทนที่จะเป็นทารก ส่งผลให้ผู้หญิงที่เกิดครรภ์ไข่ปลาอุก มีอาการคลื่นไส้ และอาเจียนอย่างรุนแรง มดลูกขยายตัวอย่างรวดเร็ว

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุการตกเลือดระหว่างตั้งครรภ์

สาเหตุการตกเลือดระหว่างตั้งครรภ์ในช่วงอายุครรภ์ 1-12 เดือนแรก มีดังต่อไปนี้ 

  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วจะถูกปลูกถ่ายและเจริญเติบโตนอกมดลูก เช่น ในท่อนำไข่
  • ภาวะแท้งบุตร เกิดขึึ้นประมาณ 15-20% ของการตั้งครรภ์ในช่วง 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์
  • ครรภ์ไข่ปลาอุก ความผิดปกติของการปฏิสนธิที่ส่งผลให้เนื้อเยื่อเจริญเติบโตผิดปกติในมดลูก

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัย อาการตกเลือดระหว่างตั้งครรภ์

ในเบื้องต้นแพทย์จะทำการสอบถามประวัติและอาการของหญิงตั้งครรภ์ หากมีการตกเลือดในช่วงตั้งครรภ์ในระยะ 1-12 สัปดาห์แรก แพทย์อาจทำการตรวจช่องคลอด อัลตราซาวด์ รวมถึงการตรวจเลือด เพื่อตรวจดูความผิดปกติ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 

  • ตรวจช่องคลอด เพื่อตรวจสอบขนาดมดลูกและปริมาณเลือดออก
  • ตรวจเลือด เพื่อตรวจกรุ๊ปเลือดและเช็กระดับฮอร์โมนของการตั้งครรภ์
  • อัลตราซาวด์ ใช้ระยะเวลาประมาณ 15-20 นาที เพื่อตรวจดูความผิดปกติ 

การรักษา อาการการตกเลือดระหว่างตั้งครรภ์

วิธีการรักษา อาการตกเลือดระหว่างตั้งครรภ์ จะขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการ กรณีที่ผู้ตั้งครรภ์มีเลือดออกหนักและอาจเกิดภาวะแท้งบุตร บางครั้งในระหว่างการแท้งบุตรอาจมีเนื้อเยื่อบางส่วนอยู่ภายในมดลูก แพทย์อาจทำการขูดมดลูก หรือทำการผ่าตัด

หากผู้ป่วยมีกรุ๊ปเลือดเป็นลบ แพทย์อาจฉีดอิมมูโนโกลบูลิน (Immune Globulin) เพื่อป้องกันภาวะภูมิคุ้มกันไม่เข้าในระบบเลือดภายในอนาคต

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษา อาการตกเลือดระหว่างตั้งครรภ์

ถึงแม้ว่าจะไม่มีวิธีการรักษาเฉพาะเพื่อป้องกันภาวะแท้งบุตร เราสามารถป้องกัน อาการตกเลือดระหว่างตั้งครรภ์ ได้โดยปฏิบัติตามคำแนะนำเบื้องต้น ดังต่อไปนี้

  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ในขณะที่มีเลือดออก
  • คุณแม่ตั้งครรภ์ควรหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อดูอาการผิดปกติภายในร่างกาย 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 12/01/2021

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา