โดยปรกติคนทั่วไปมักจะรู้เพียงแค่ว่า ผ้าพันแผล ยืดหยุ่น นั้น เอาไว้ใช้พันตามข้อต่าง ๆ ของร่างกายที่มีอาการเคล็ดขัดยอก อักเสบหรือแพลง แต่บางครั้งคุณอาจไม่รู้ว่าการพันผ้าของคุณนั้นเป็นวิธีถูกต้องหรือไม่ มากไปกว่านั้นแล้ว ยังมีรายละเอียดอื่นๆ ที่คุณอาจจะยังไม่รู้เกี่ยวกับการใช้ผ้าพันแผลยืดหยุ่นอีกด้วย ดังนั้นในบทความนี้ ทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำเรื่องผ้าผันแผลแบบยืดหยุ่น และวิธีการใช้อุปกรณ์ชนิดในการปฐมพยาบาลมาฝากกัน
[embed-health-tool-bmr]
ทำความรู้จักกับ ผ้าพันแผล ยืดหยุ่น (Compression Wrapping)
ผ้าพันแผลยืดหยุ่น เรียกอีกอย่างว่า “ผ้าผันแผลแบบบีบอัด” มักถูกนำมาใช้ในขั้นตอนการปฐมพยาบาลเบื้องต้น อย่างเช่น รอยฟกช้ำ และเคล็ดขัดยอก นอกจากนั้นผ้าพันแผลยืดหยุ่นยังทำหน้าที่ในการบีบอัดอาการบาดเจ็บ หรืออาการอักเสบ ทั้งยังช่วยลดอาการบวม ร่วมด้วย
อย่างไรก็ตาม ผ้าพันแผลยืดหยุ่นจะมีระยะเวลาจำกัดในการใช้บีบอัดบาดแผล เนื่องจากอาการบาดเจ็บบางจุดยังต้องการการไหลเวียนของเลือดที่เพิ่มขึ้นไปยังบริเวณที่บาดเจ็บ เพื่อกระตุ้นการรักษา
ขนาดของ ผ้าพันแผล ยืดหยุ่น
โดยส่วนใหญ่แล้ว ผ้าพันแผลยืดหยุ่นมักจะมีความกว้าง 2-6 นิ้ว ซึ่งมันจะช่วยทำให้คุณได้รับการบีบอัดที่มากขึ้น โดยไม่ขวางกันการไหลเวียนของเลือด โดยทั่วไปแล้วขนาดผ้าพันแผลยืดหยุ่นสำหรับแขนและขาของผู้ใหญ่ จะใช้ขนาด 3-4 นิ้ว ส่วนแขนและขาสำหรับเด็กจะใช้ผ้าผันแผลที่มีความยืดหยุ่นที่มีความกว้าง 2 นิ้ว ซึ่งแคบกว่าของผู้ใหญ่นั่นเอง
วิธีการใช้งานผ้าพันแผลยืดหยุ่นโดยทั่วไป
ผ้าพันแผลยืดหยุ่น มักจะถูกนำมาใช้สำหรับการกดบริเวณที่เฉพาะเจาะจง หรือบริเวณที่มีอาการบาดเจ็บ เพราะอุปกรณ์ชนิดนี้จะช่วยลดอาการบวม โดยป้องกันไม่ให้ของเหลวมารวมตัวกันตรงบริเวณที่ได้รับการบาดเจ็บ ผ้าพันแผลแบบยืดหยุ่นสามารถนำไปใช้กับแขนก็ได้เช่นกัน แต่ส่วนใหญ่มักจะใช้สำหรับอาการปวดระยะยาว หรือใช้ในการจัดการกับการไหลเวียนของเลือด ซึ่งผ้าพันแผลยืดหยุ่น มักใช้กับอาการเหล่านี้
- ข้อมือเคล็ดขัดยอก
- ข้อเท้าเคล็ดขัดยอก
- กล้ามเนื้อฉีกขาด (Muscle strain)
- แขนบวม
- ขาบวม
- เส้นเลือดขอด
- แผลฟกช้ำ
วิธีการใช้งานผ้าพันแผลยืดหยุ่นกับส่วนต่างๆ ของร่างกาย
หลังจากที่ทราบกันไปแล้วว่าผ้าพันแผลยืดหยุ่นนั้นใช้งานกับอาการเจ็บป่วประเภทใดบ้าง คราวนี้ลองมาดูวิธีการใช้ผ้าพันแผลยืดหยุ่นในการพันบริเวณที่ข้อเท้าแพลง ข้อมือแพลง และใช้พันหัวเข่าและขา กันดูบ้าง ว่าวิธีการพันผ้าพันแผลยืดหยุ่นในการปฐมพยาบาลหรือการรักษาที่ถูกต้องควรจะต้องทำอย่างไร
การพันผ้าบริเวณข้อเท้า
ถ้าหากข้อเท้าของคุณเกิดอาการแพลงที่ไม่รุนแรงมากนัก อาจจะเป็นไปได้ที่คุณหมอจะสั่งให้คุณใช้ผ้าพันแผลยืดหยุ่นพันเอาไว้ เพื่อลดอาการบวม แต่หากอาการข้อเท้าแพลงรุนแรงมาก คุณอาจจะต้องได้รับการรักษาอย่างอื่นเพิ่มเติม และนี่คือวิธีการใช้ผ้าพันแผลยืดหยุ่นพันข้อเท้าที่แพลง
- ยกข้อเท้าขึ้นในมุม 90 องศา จากนั้นเริ่มพันรอบเท้าและอุ้งฝ่าเท้า (Arch of foot) 2 ครั้ง
- ใช้ผ้าพันแผลยืดหยุ่นผ้าพันแผลขึ้นมายังบริเวณรอบๆ ข้อเท้าและพันกลับไปยังเท้าของคุณ
- พันบริเวณส้นเท้าเป็นลักษณะเหมือนเลข 8 (Figure of eight) โดนแต่ละรอบให้วนกลับไปพันที่ข้อเท้าด้วย
- เมื่อพันข้อเท้าเรียบร้อยให้ผันบริเวณปลายของผ้าพันแผลยืดหยุ่นเอาไว้บริเวณที่ไม่รบกวนกับผิวของคุณ
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณพันข้อเท้าไว้แน่น แต่ไม่แน่นจนเกินไป
การพันผ้าบริเวณข้อมือ
หากคุณได้รับบาดเจ็บหรือเกิดอุบัติเหตุบริเวณข้อมือ คุณอาจจำเป็นจะต้องใช้ผ้าพันแผลยืดหยุ่นพันเอาไว้ เพื่อช่วยลดอาการบวมและเร่งการรักษา หากคุณมีอาการข้อมือแพลงเพียงเล็กน้อย สามารถใช้ผ้าพันแผลยืดหยุ่นช่วยบรรเทาอาการได้ แต่ถ้ามีอาการปวดข้อมืออย่างรุนแรงคุณจำเป็นต้องรีบไปพบคุณหมอ ส่วนขั้นตอนในการพันข้อมือด้วยผ้าพันแผลยืดหยุ่น สามารถทำได้ดังนี้
- เริ่มพันผ้าพันแผลไว้บริเวณรอบข้อมือ 1 ครั้ง โดยเริ่มจากด้านในของข้อมือ
- ดึงผ้าพันแผลยืดหยุ่นไปทางด้านข้างและพันโอบรอบฝ่ามือ 1 ครั้ง
- พันผ้าพันแผลยืดหยุ่นกลับไปที่ข้อมือและพันรอบข้อมืออีกครั้ง
- พันผ้าพันแผลยืดหยุ่นไปยังด้านในของข้อมือและรอบฝ่ามือ
- พันรอบข้อมืออีกครั้ง
- ใช้ส่วนที่เหลือพันเอาไว้บริเวณรอบข้อมือ จากนั้นตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้พันข้อมือแน่นเกินไป ถ้านิ้วมือของคุณเริ่มรู้สึกเสียวซ่า (Tingle) หรือเริ่มไม่มีความรู้สึก คุณควรถอดผ้าพันแผลออกแล้วเริ่มพันใหม่
การพันผ้าบริเวณหัวเข่าหรือขา
การใช้ผ้าพันแผลยืดหยุ่นในส่วนของบริเวณหัวเข่าหรือขานั้นจะขึ้นอยู่กับการบาดเจ็บ บางครั้งอาจจะไม่ต้องใช้ผ้าพันแผลยืดหยุ่นในการพันก็ได้ แต่เมื่อคุณได้รับการผ่าตัดหัวเข่าศัลยแพทย์อาจจะแนะนำให้คุณใช้แผ่นปิดแผล เพื่อช่วยในกระบวนการบำบัด
สำหรับเทคนิคในการพันผ้าพันแผลยืดหยุ่นบริเวณหัวเข่า หน้าแข้ง ขา หรือต้นขาจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับอาการบาดเจ็บประเภทต่างๆ ดังนั้น คุณจึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อใช้เทคนิคในการพันที่เหมาะสม เพื่อให้คุณไม่ต้องหยุดการไหลเวียนของโลหิต หรือทำให้อาการบาดเจ็บแย่ลงไปอีก