backup og meta

เช็คให้ชัวร์ ลูกขี้เกียจไปโรงเรียน หรือว่าเป็น โรคกลัวโรงเรียน

เช็คให้ชัวร์ ลูกขี้เกียจไปโรงเรียน หรือว่าเป็น โรคกลัวโรงเรียน

ลูกร้องไห้งอแง ไม่ยอมไปโรงเรียนทุกเช้า เป็นปัญหาที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนหนักใจ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจและสังเกตพฤติกรรมของลูกน้อยเป็นพิเศษว่าเพราะเหตุใดกันแน่นะที่ทำให้ลูกรักของเราร้องไห้ ไม่ยอมไปโรงเรียน เป็นเพราะขี้เกียจ โดนเพื่อนรังแก หรือจริงๆแล้วลูกของคุณเป็น โรคกลัวโรงเรียน กันแน่ จะเป็นเพราะสาเหตุใดนั้น วันนี้ Hello คุณหมอ พาไปหาคำตอบด้วยกันค่ะ

ทำความรู้จัก โรคกลัวโรงเรียน (School Phobia)

โรคกลัวโรงเรียน (School Phobia) เป็นอาการที่เกิดความวิตกกังวลภายในจิตใจ เช่น โดนเพื่อนรังแกที่โรงเรียน โดนคุณครูทำโทษแบบรุนแรง การโดนกระทำเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ลูกไม่อยากไปโรงเรียนด้วยเช่นกัน

โรคนี้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 4-6 ขวบขึ้นไปจนถึงเด็กโต นอกจากความกังวล ความกลัวที่เกิดขึ้นกับเด็กแล้ว สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ เรื่องของความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับเด็กในโรงเรียน

ทำไมลูกจึงไม่อยากไปโรงเรียน มีสาเหตุจากอะไรกันนะ

  • เกิดจากอาการของโรคทางจิตเวชร่วมด้วย เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคบกพร่องทางการเรียน เป็นต้น
  • มีปัญหากับเพื่อร่วมชั้นในห้องเรียน เข้ากับเพื่อนๆไม่ได้ ก็อาจเป็นต้นเหตุให้เกิดอาการไม่อยากไปโรงเรียนได้เช่นเดียวกัน
  • ลูกไม่อยากไปโรงเรียนเพราะสาเหตุอาจเกิดจากการไม่อยากโดนพลัดพรากจากพ่อแม่จึงทำให้เกิดสภาวะไม่ยอมไปโรงเรียน
  • ปัจจัยกระตุ้นจากภายนอก เช่น การเปลี่ยนแปลงในครอบครัวต่างๆ อาทิ พ่อแม่หย่าร้าง การสูญเสียสมาชิกในครอบครัว การเปลี่ยนโรงเรียน  เพื่อนแกล้ง กลัวเพื่อน เป็นต้น

จะรู้ได้อย่างไร ว่าลูกขี้เกียจไปโรงเรียน หรือเป็นโรคกลัวโรงเรียน

คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นใส่ใจดูแลและสังเกตพฤติกรรมของลูกเป็นพิเศษ หากมีภาวะเป็นโรคกลัวโรงเรียน จะมีลักษณะอาการดังต่อไปนี้

  • เด็กมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการไปโรงเรียน โดยมักแสดงคำพูดก่อนวันไปโรงเรียนกับพ่อแม่ว่า ไม่อยากไปโรงเรียน
  • มีความเครียด ความกังวลจนแสดอาการทางกาย เช่น ปวดหัว ปวดท้อง วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นผิดปกติ เหงื่อออกมากเกินไป อาการเหล่านี้จะเป็นในช่วงเช้าที่ต้องไปโรงเรียน และอาการจะค่อยๆดีขึ้นในช่วงบ่าย
  • เมื่อเด็กไปโรงเรียนมักมีข้ออ้างบ่อยครั้งกับคุณครู เช่น ปวดหัว ตัวร้อน เพื่อขอไปนอนพักผ่อนที่ห้องพยาบาล
  • เด็กไม่ให้ความสนใจต่อกิจกรรมในโรงเรียนใดๆทั้งสิ่ง ชอบแยกตัวไปอยู่คนเดียว
  • มีภาวะอาการซึมเศร้า ร้องไห้งอแงทุกเช้าในวันที่ไปโรงเรียน

วิธีการรักษาโรคกลัวโรงเรียน

การดูแลรักษาอาการโรคกลัวโรงเรียนนั้น เกิดจากหลายสาเหตุ หลายปัจจัยด้วยกันจำเป็นต้องพิจารณาเป็นรายบุคคลเพราะเด็กแต่ละคนมีภาวะที่ต่างกันไป อาจใช้วิธีการรักษาหลากหลายวิธีผสมผสานกัน เช่น การรับประทานยาร่วมกับการบำบัดพฤติกรรมและการรู้คิด (cognitive behavioral therapy) รวมถึงการประสานงานร่วมกันระหว่างผู้ปกครองและโรงเรียนเพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหา ซึ่งโรคกลัวโรงเรียนนี้หากพ่อแม่ให้ความใส่ใจดูแลอย่างใกล้ชิดและได้รับการรักษาที่ถูกต้องลูกของเราก็สามารถหายได้และกลับไปโรงเรียนได้ตามปกติ

เป็นอย่างไรกันบ้างค่ะ กับบทความที่นำมาฝากคุณพ่อคุณแม่ในวันนี้ หากลูกของคุณเข้าข่ายว่าเป็นโรคกลัวโรงเรียนควรพาไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือจิตแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยโรคและทำการรักษาที่ถูกต้อง

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

School Phobia. https://www.drugs.com/cg/school-phobia.html. Accessed 28 January 2020

School phobia/school refusal. http://www.healthofchildren.com/S/School-Phobia-School-Refusal.html. Accessed 28 January 2020

‘School phobia’: What is it?. https://www.bbc.co.uk/newsround/49748210. Accessed 28 January 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/02/2021

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

ลูกไปโรงเรียนวันแรก ควรเตรียมความพร้อมอย่างไรดี

8 สัญญาณเตือนพ่อแม่ว่า ลูกมีปัญหาที่โรงเรียน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา