สุขภาพจิตวัยรุ่น

ในช่วงวัยรุ่น ประการณ์ของวัยรุ่นสามารถทดสอบและกำหนดพัฒนาการทางด้านจิตใจและอารมณ์ของพวกเขาได้ ซึ่ง สุขภาพจิตวัยรุ่น คือสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ เพื่อสนับสนุนให้พวกเขาผ่านจุดนี้ไปให้ได้

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพจิตวัยรุ่น

ความรุนแรงในโรงเรียน คืออะไร และควรป้องกันอย่างไร

ความรุนแรงในโรงเรียน เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกโรงเรียน ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากหลายปัจจัยที่ทำให้เด็กใช้ความรุนแรงต่อผู้อื่น เช่น ความรุนแรงภายในครอบครัว การเลี้ยงดู เพื่อน สังคม สภาพแวดล้อม ภาวะสุขภาพ การใช้สารเสพติด ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งโรงเรียน คุณครู ผู้ปกครอง และชุมชนควรมีส่วนร่วมในการป้องกันความรุนแรงในโรงเรียน เพื่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตที่ดีของเด็กในอนาคต [embed-health-tool-bmi] ความรุนแรงในโรงเรียน คืออะไร ความรุนแรงในโรงเรียน คือ พฤติกรรมความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นภายในโรงเรียน ระหว่างการเดินไปและกลับจากโรงเรียน หรือการไปทัศนศึกษากับโรงเรียน เช่น การพูดจาก้าวร้าว การทำร้ายร่างกาย การใช้อาวุธทำร้ายผู้อื่น รวมไปถึงการทำความรุนแรงที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของโรงเรียน โดยสัญญาณเตือนของนักเรียนที่อาจมีพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงในโรงเรียน คุณครูและเจ้าหน้าที่ในโรงเรียนอาจสังเกตได้จากสิ่งเหล่านี้ นักเรียนพูดคุยหรือเล่นกับอาวุธทุกชนิด นักเรียนมีพฤติกรรมทำร้ายสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์อื่น ๆ นักเรียนมีพฤติกรรมข่มขู่หรือกลั่นแกล้งผู้อื่น นักเรียนพูดถึงความรุนแรง ดูหนังที่มีความรุนแรง หรือชอบเล่นเกมที่มีความรุนแรง นักเรียนพูดหรือแสดงท่าทีก้าวร้าวทั้งต่อเพื่อนและผู้ใหญ่ สาเหตุของ ความรุนแรงในโรงเรียน อาจไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดที่ก่อให้เกิดความรุนแรงในโรงเรียน แต่อาจเป็นไปได้ว่าเด็กที่เป็นผู้ใช้ความรุนแรงอาจถูกครอบครัวหรือสังคมกดดันในด้านต่าง ๆ เช่น ความรุนแรงภายในครอบครัว การเลี้ยงดู สภาพแวดล้อม ผลการเรียนตกต่ำ พฤติกรรม บุคลิกภาพ ฐานะครอบครัว ภาวะสุขภาพ การใช้สารเสพติด ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ วัยอยากรู้อยากลอง ปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้เด็กที่ยังไม่มีวุฒิภาวะในการตัดสินใจมากพอ แสดงพฤติกรรมหรือลงมือทำความรุนแรงต่อผู้อื่น ๆ ได้ […]

สำรวจ สุขภาพจิตวัยรุ่น

สุขภาพจิตวัยรุ่น

พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น ที่ควรระวัง

พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น เป็นพฤติกรรมที่อาจเกิดขึ้นได้กับวัยรุ่นทุกคนที่กำลังประสบปัญหาต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพจิต ผู้ปกครองจึงควรใส่ใจ และให้ความสำคัญกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของวัยรุ่น วันนี้เรามาดูกันว่าพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่นมีอะไรบ้าง เพื่อที่คุณจะได้รู้ทันอาการและแก้ไขได้อย่างตรงจุด สุขภาพจิตวัยรุ่น วัยรุ่นช่วงอายุประมาณ 10-19 ปี เป็นช่วงเวลาที่สำคัญในการพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ และสังคมหลายประการ รวมถึงการเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ที่อาจส่งผลต่อสุขภาพจิต เช่น ความยากจน การล่วงละเมิดทางเพศ หรือความรุนแรง เหล่านี้ล้วนสามารถก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพในวัยรุ่นได้ทั้งสิ้น  ดังนั้นการส่งเสริมและปกป้องสุขภาพจิตในวัยรุ่นจึงมีความสำคัญ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงอื่น ๆ ตามมา และเพื่อสร้างเสริมสุขภาพร่างกาย จิตใจให้สมบูรณ์เพื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ต่อไป พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น คืออะไร มีหลายปัจจัยที่อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น ยิ่งวัยรุ่นต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงมากเท่าใด ก็ยิ่งส่งผลต่อสุขภาพจิตมากขึ้นเท่านั้น และปัจจัยที่อาจส่งผลต่อความเครียดในช่วงวัยรุ่น ได้แก่ ความต้องการอิสระมากขึ้น ความกดดันในการปรับตัวเข้าสังคม ลักษณะความแตกต่างทางเพศ การเข้าถึงเทคโนโลยี ความเหลื่อมล้ำและการยอมรับในความหลากหลายทางเพศ ครอบครัว ความรุนแรง ตัวอย่างเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น และอาจก่อให้เกิด พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น ได้เช่นกัน พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น มีอะไรบ้าง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่นเป็นพฤติกรรมที่วัยรุ่นปฏิบัติหรือเลือกทำ เพื่อหนีจากความเครียด ความวิตกกังวล หรือเพื่อต่อต้านสิ่งต่าง ๆ ซึ่งพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้อาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย และอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตในระยะยาวได้ ดังนี้ การกลั่นแกล้ง หรือการใช้ความรุนแรง วัยรุ่นที่มีพฤติกรรมชอบกลั่นแกล้งหรือใช้ความรุนแรงกับผู้อื่นตลอดเวลา มักมีความเสี่ยงสูงที่จะมีพฤติกรรมต่อต้านสังคมมากขึ้น เช่น มีปัญหาที่โรงเรียน การใช้สารเสพติด และมีพฤติกรรมก้าวร้าวมากขึ้น สัญญาณที่บอกว่าวัยรุ่นมีพฤติกรรมชอบกลั่นแกล้ง ใช้ความรุนแรงทางร่างกาย และวาจา มักอยู่ในกลุ่มที่ชอบรังแกผู้อื่นเหมือนกัน มีความก้าวร้าวมากขึ้น มีปัญหาที่โรงเรียนบ่อยครั้ง ไม่รับผิดชอบต่อการกระทำของตน ส่วนวัยรุ่นที่ยืนดูการกลั่นแกล้ง หรือถูกกลั่นแกล้ง มักมีแนวโน้มที่จะประสบกับภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองต่ำลง สัญญาณที่บอกว่าวัยรุ่นกำลังถูกกลั่นแกล้ง อาการบาดเจ็บที่ไม่มีสาเหตุ เสื้อผ้า หนังสือ […]


สุขภาพจิตวัยรุ่น

สัญญาณสุขภาพจิตวัยรุ่น ที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจ

สัญญาณสุขภาพจิตวัยรุ่น อาจแสดงออกทางร่างกายไม่ว่าจะเป็นอาการนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย หงุดหงิด เกิดปัญหาเกี่ยวกับความเข้าใจในการสื่อสาร รวมไปถึงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ใช้สารเสพติด สูบบุหรี่ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตสัญญาณเหล่านี้ เพื่อเตรียมการรับมือ และเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที เพราะปัญหาสุขภาพจิตวัยรุ่นรอไม่ได้อาจทำให้เกิดปัญหาร้ายแรงอื่น ๆ ตามมาได้ สุขภาพจิตวัยรุ่น สิ่งที่ไม่ควรละเลย วัยรุ่น คือ ช่วงอายุตั้งแต่ 10-19 ปี เป็นช่วงอายุที่มีการพัฒนาในหลายด้านทั้งทางร่างกาย อารมณ์และสังคม รวมถึงการเผชิญหน้ากับสิ่งต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น การล่วงละเมิด ความรุนแรง ที่อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตวัยรุ่น การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตวัยรุ่นอาจส่งผลดีต่อสุขภาพในระยะยาว และยังส่งผลดีต่อปัญหาอื่น ๆ ที่อาจตามมาในอนาคตเมื่อวัยรุ่นเหล่านั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ สัญญาณสุขภาพจิตวัยรุ่น สัญญาณปัญหาสุขภาพจิตวัยรุ่น อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความผิดปกติของจิตใจ สถานการณ์ และปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งทำให้ส่งผลต่ออารมณ์ ความคิด พฤติกรรม และนี่คือตัวอย่าง สัญญาณสุขภาพจิตวัยรุ่น ที่อาจพบได้บ่อย สัญญาณวิตกกังวลทั่วไป รู้สึกกระสับกระส่าย เหนื่อยง่าย มีปัญหาการนอนหลับ หลับยาก หลับไม่สนิท ความคิดสับสน หรือสมาธิสั้นลง มีอาการหงุดหงิด รู้สึกตึงกล้ามเนื้อ มีปัญหาในการควบคุมอารมณ์ มีอารมณ์โกรธ ความเกลียดชัง […]


สุขภาพจิตวัยรุ่น

เรื่องนี้อย่าปล่อยผ่าน การฆ่าตัวตายในวัยรุ่น ปัญหาใหญ่ระดับโลก

การฆ่าตัวตายในวัยรุ่น ไม่ใช่เรื่องที่จะปล่อยผ่านไปได้เพราะหนึ่งชีวิตมีความสำคัญ และพฤติกรรมการฆ่าตัวตายในวัยรุ่นสามารถเกิดขึ้นได้กับวัยรุ่นทุกคน ดังนั้นพ่อแม่ ผู้ปกครองควรให้ความสำคัญและใส่ใจปัญหาที่ลูกของคุณอาจกำลังเผชิญอยู่ เพื่อให้ง่ายต่อการปกป้องลูกคุณจากการฆ่าตัวตายในวัยรุ่น ลองมาอ่านบทความนี้แล้วคุณจะรู้ว่าวัยรุ่นกำลังเผชิญกับอะไรอยู่ อะไรที่ทำให้เสี่ยงต่อ การฆ่าตัวตายในวัยรุ่น อาจเป็นเรื่องยากที่จะทำความเข้าใจความรู้สึกนึกคิดบางอย่างของวัยรุ่นที่กำลังประสบปัญหามีพฤติกรรมฆ่าตัวตาย ซึ่งวัยรุ่นอาจกำลังเผชิญกับความเครียด ความกังวลหรือความกดดันจากรอบตัว อีกทั้งช่วงวัยรุ่นยังเป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ต้องการความเป็นอิสระที่มักขัดแย้งกับกฎเกณฑ์และความคาดหวังจากคนในครอบครัวและคนรอบข้าง วัยรุ่นที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น วิตกกังวล ซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ หรืออาการนอนไม่หลับ มีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดการฆ่าตัวตายในวัยรุ่น และยิ่งวัยรุ่นที่มีความกดดันจากปัญหาในชีวิต เช่น พ่อแม่หย่าร้าง หรือถูกกลั่นแกล้ง ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงขึ้นไปอีก หรืออาจจะเป็นเรื่องอื่น ๆ เช่น ความผิดปกติทางจิตใจ โดยเฉพาะภาวะซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาเสพติด ความรู้สึกหงุดหงิดกับเรื่องต่าง ๆ ความรู้สึกสิ้นหวังและไรค่าที่มาพร้อมกับภาวะซึมเศร้า เคยพยายามฆ่าตัวตายมาแล้ว ประวัติครอบครัวเคยเป็นโรคซึมเศร้า หรือมีพฤติกรรมฆ่าตัวตาย การถูกล่วงละเมิดทางเพศ โดนทารุณกรรม ใช้ความรุนแรง หรือการกลั่นแกล้ง มีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีระหว่างครอบครัว เพื่อนและสังคม เกิดความผิดปกติจากการใช้สารเสพติด สามารถเข้าถึงวิธีการฆ่าตัวตายได้ เช่น อาวุธปืน หรือยาต่าง ๆ มีปัญหาทางร่างกายอาจด้วยโรคร้ายหรือพิการทางร่างกาย เด็กที่เป็นลูกบุญธรรม กลุ่มเพศ LGBTQ ที่โดนต่อต้านจากครอบครัวและสังคม สัญญาณเตือน การฆ่าตัวตายในวัยรุ่น การฆ่าตัวตายในวัยรุ่นมักเกิดได้จากหลายสาเหตุข้างต้น โดยอาจมีสัญญาณอาการ ดังนี้ พูดถึงการตายหรือการฆ่าตัวตายบ่อยครั้ง อาจส่งสัญญาณบอกใบ้ว่าจะไม่อยู่แล้ว พูดถึงความรู้สึกสิ้นหวังหรือรูสึกผิด ออกห่างจากครอบครัวและสังคมเพื่อน อาจเขียนจดหมายเกี่ยวกับเรื่องความตาย เริ่มแจกหรือมอบสิ่งของแทนใจให้คนในครอบครัว หมดความชื่นชอบในสิ่งที่เป็นงานอดิเรก เหม่อลอย มีปัญหาทางความคิด พฤติกรรมการกิน การนอนเปลี่ยนแปลงไป เข้าไปมีส่วนร่วมในพฤติกรรมเสี่ยง ไม่อยากออกไปไหนหรือทำอะไร เช่น การไปโรงเรียน เล่นกีฬา การป้องกัน ปัญหาการฆ่าตัวตายในวัยรุ่น พ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถมีส่วนในการช่วยป้องกันการฆ่าตัวตายในวัยรุ่นได้ ดังนี้ พูดคุยกับบุตรหลานเกี่ยวกับสุขภาพจิต หากวัยรุ่นมีอาการเศร้า วิตกกังวล […]


สุขภาพจิตวัยรุ่น

5 ปัญหาสุขภาพจิตของวัยรุ่น ที่ควรเฝ้าระวัง ก่อนนำไปสู่เหตุการณ์รุนแรง

ปัญหาสุขภาพจิตของวัยรุ่น ที่พบเจอส่วนใหญ่มักมาจากสภาพแวดล้อมรอบด้านพวกเขา จนทำให้ลูกรักมักเผชิญกับสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึก และอารมณ์ หากคนในครอบครัวไม่รู้จักสังเกตการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จากที่เด็ก ๆ เลือกจะเก็บไว้ภายในจิตใจ อาจนำมาสู่การแสดงออกในรูปแบบเหตุการณ์รุนแรงก็เป็นได้ สัญญาณเตือนปัญหาสุขภาพจิต ที่ผู้ปกครองควรสังเกต หากเป็นอาการแรกเริ่มลูกรักของคุณอาจปวดศีรษะบ่อย นอนหลับยาก พร้อมน้ำหนักที่ลดลง แต่กรณีเมื่อสภาวะจิตใจของพวกเขาย่ำแย่ลง คุณพ่อคุณแม่ทุกควรควรสังเกตถึงสัญญาณเตือนจากปฏิกิริยาต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไปของลูกรัก ดังต่อไปนี้ ความโศกเศร้าต่อเนื่องเป็นเวลามากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย และรุนแรง รับประทานอาหารได้น้อยลง ไม่มีสมาธิในการทำกิจกรรมใด ๆ หาที่ระบายด้วยการทำร้ายตัวเอง หรือใช้สารเคมีผิดกฎหมายเข้ามาช่วยคลายความเครียด อยากอยู่คนเดียว เลี่ยงการเจอกับผู้คนรอบข้าง บางครั้งอาจมีการพูดถึงความตาย ผลการเรียนไปในเชิงลบ หรือมีการขาดเรียน โดดเรียนบ่อยครั้ง เป็นต้น แน่นอนว่าเมื่อสัญญาณเตือนข้างต้นปรากฏขึ้น คุณควรพาเข้ารับขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเภททันที เนื่องจากแพทย์อาจมีหลักจิตวิทยา และทักษะการสื่อสารที่อาจทำให้เด็กช่วงวัยรุ่นนี้เข้าใจได้ง่ายขึ้น เพราะเด็กที่เข้าสู่ช่วงวัยรุ่น บางคนอาจไม่มีความกล้าพอที่จะพูดคุยกับคนในครอบครัวได้อย่างเปิดเผย 5 ปัญหาสุขภาพจิตของวัยรุ่น มีอะไรบ้าง เมื่อปัญหาต่าง ๆ รุมเร้าเกินกว่าที่จิตใจของพวกเขาจะรับไหว อาจทำให้เด็ก ๆ นั้นเผชิญกับโรคที่เกี่ยวข้องกับ สุขภาพจิต โดยไม่รู้ตัว ดังนี้ 1. โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) โรควิตกกังวล คือความวิตกกังวลที่มากจนเกินไปของผู้ป่วย และมาจากปัจจัยหลาย ๆ ทาง เช่น สถานการณ์แต่ละวันในสังคม เหตุการณ์รุนแรงที่ฝังอยู่ในความทรงจำตั้งแต่อดีต ที่อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการตื่นตระหนก หวาดระแวง และตึงเครียดตลอดเวลา 2. […]


สุขภาพจิตวัยรุ่น

ดูแลสุขภาพจิตวัยรุ่น เรื่องสำคัญที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม

ดูแลสุขภาพจิตวัยรุ่น เป็นสิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองควรใส่ใจ  เพราะสุขภาพจิตด้วยตัวเองเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณมีสุขภาพจิตที่สมบูรณ์แข็งแรงมากที่สุด หากตอนนี้คุณกำลังเผชิญกับปัญหาสุขภาพจิต หรืออยากเริ่มดูแลสุขภาพจิต [embed-health-tool-ovulation] การดูแลสุขภาพจิตวัยรุ่น สำคัญอย่างไร การดูแลสุขภาพร่างกายให้ดีเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่ก็ไม่ควรละเลยสุขภาพจิตด้วยเช่นกัน เพราะสุขภาพจิตที่ดีจะช่วยให้สามารถรับมือกับความคิด ความรู้สึก การกระทำ การตัดสินใจ และความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะช่วงวัยรุ่น ที่เป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง และเป็นรอยต่อก่อนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ พ่อแม่ผู้ปกครองควรใส่ใจและดูแลสุขภาพจิตของลูกในช่วงวัยรุ่น คอยสังเกตอารมณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ แต่ไม่เข้าใกล้หรือสั่งสอนจนทำให้ลูกอึดอัด แต่แสดงออกและบอกให้ลูกในช่วงวัยรุ่นรู้ว่า ครอบครัวพร้อมจะสนับสนุน เป็นกำลังใจ และพร้อมให้คำปรึกษาเมื่อพวกเขาต้องการ วิธีการ ดูแลสุขภาพจิตวัยรุ่น เคล็ดลับในการดูแลสุขภาพจิตวัยรุ่น อาจทำได้ ดังนี้ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การดูแลให้วัยรุ่นรับประทานอาหารที่ดี มีประโยชน์ นอกจากจะส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายแล้ว ยังส่งผลดีต่อสุขภาพจิตด้วย เพราะแร่ธาตุบางชนิด เช่น ธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 มีส่วนสำคัญต่อการสร้างสมดุลทางอารมณ์ ช่วยจัดการกับความเครียด และความวิตกกังวล นอกจากนี้ การหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ยังอาจเป็นผลดีต่อสุขภาพจิต เพราะคาเฟอีนอาจทำให้รู้สึกกระวนกระวายและวิตกกังวลได้ งดเหล้า บุหรี่ ยาเสพติด การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ และเสพยาเสพติด สามารถส่งผลต่อ สุขภาพจิต ทำให้รู้สึกหดหู่ วิตกกังวล และขาดสมาธิมากขึ้น อีกทั้งยังทำให้ร่างกายขาดสารไทอามีน (Thiamine) ที่มีความสำคัญต่อการทำงานของสมอง ถ้าขาดไทอามีนอาจนำไปสู่ปัญหาทางความจำอย่างรุนแรง ปัญหาด้านการเคลื่อนไหว […]


สุขภาพจิตวัยรุ่น

โรคกลัวสังคม คุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไร

โรคกลัวสังคม เป็นโรควิตกกังวลชนิดหนึ่งที่อาจทำให้เกิดความกลัวอย่างรุนแรงในสภาพแวดล้อมทางสังคม ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้อาจมีปัญหาในการพูดคุยกับผู้คน การพบปะผู้คนใหม่ ๆ อีกทั้งยังกลัวการถูกตัดสินจากผู้อื่น อาการดังกล่าวนั้นไม่ได้พบเฉพาะในผู้ใหญ่ แต่เด็ก ๆ ก็อาจเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน โรคกลัวสังคม คืออะไร โรคกลัวสังคม (Social phobia) คือ โรควิตกกังวลนิดหนึ่งที่อาจทำให้เกิดความหวาดกลัวอย่างรุนแรงเมื่อต้องพูดคุยกับผู้คน พบปะผู้คนใหม่ ๆ และการเข้าสังคม นอกจากนั้น ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้อาจกลัวการถูกตัดสินหรือพิจารณาจากผู้อื่น โรคกลัวสังคมอาจเป็นความกลัวที่ไม่มีเหตุผล และอาจรุนแรงจนไม่สามรถก้าวข้ามผ่านไปได้  โรคกลัวสังคมอาจแตกต่างจากการเขินอาย เพราะการเขินอายอาจเกิดขึ้นเพียงระยะเวลาสั้น ๆ และอาจไม่รบกวนชีวิตประจำวัน ส่วนโรคกลัวสังคมอาจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนอาจส่งผลทำให้ร่างกายอ่อนแอ และอาจส่งผลต่อความสามารถต่าง ๆ ดังนี้ การทำงาน การเรียนหนังสือ การพัฒนาความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนนอกครอบครัว โรคกลัวสังคมอาจเป็นปัญหาที่เริ่มในช่วงวัยรุ่น สำหรับบางคนอาจดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น แต่สำหรับหลาย ๆ คนอาจไม่หายไปเองถ้าไม่ได้รับการรักษา ดังนั้น อาจต้องไปพบคุณหมอ เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี อาการของโรคกลัวสังคม อาการของโรคกลัวสังคม อาจมีอาการเกิดขึ้นทั้งด้านกายภาพ และทางจิตใจ โดยอาการที่อาจเกิดขึ้นมีดังนี้ ลักษณะอาการทางกายภาพ  หน้าแดง มีอาการพูดลำบาก เวียนหัวหรือมึนหัว เหงื่อออกมากเกินไป ตัวสั่นหรือมีอาการสั่น อัตราการเต้นของหัวใจอย่างรวดเร็ว คลื่นไส้ อาเจียน ลักษณะอาการทางจิต  กังวลอย่างมากเกี่ยวกับสถานการณ์ทางสังคม กังวลเกี่ยวกับความอับอายในที่สาธารณะ กังวลว่าคนอื่นจะสังเกตเห็นว่ากำลังเครียดหรือวิตกกังวล มีความกังวลกับวันหรือสัปดาห์ กังวลก่อนเหตุการณ์นั้น ๆ จะมาถึง ต้องการดื่มแอลกอฮอล์เวลาที่ต้องเข้าสังคม ปลีกตัวออกจากสังคม  ขาดเรียน หรือลางาน หากโรคกลัวสังคมเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยอาจพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ทางสังคมทั้งหมด เช่น การถามคำถาม การสัมภาษณ์งาน การใช้ห้องน้ำสาธารณะ การคุยโทรศัพท์ การรับประทานอาหารในที่สาธารณะ การไปช้อปปิ้ง วิธีรับมือของคุณพ่อคุณแม่ เมื่อเด็กเกิดโรคกลัวสังคม คุณพ่อคุณแม่อาจดูแลเด็กได้ดังนี้ สอนให้เด็กรู้จักการเอาใจใส่ คุณพ่อคุณแม่อาจสอบถามเด็กว่าเพื่อนคนอื่น ๆ รู้สึกอย่างไร เวลาเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ขึ้น และอาจตามติดสถานการณ์ของเด็กอยู่เสมอ สอนให้เด็กเข้าใจในเรื่องของการมีพื้นที่ส่วนบุคคล […]


สุขภาพจิตวัยรุ่น

วัยรุ่น LGBTQ เพศที่สาม ทำร้ายตัวเอง ความเสี่ยงที่ป้องกันได้

การ ทำร้ายตัวเอง หมายถึงการทำให้ตัวเองบาดเจ็บ หรือเป็นอันตรายด้วยความตั้งใจ ไม่ใช่เพราะอุบัติเหตุ โดยข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตพบว่า วัยรุ่นมีปัญหาโรคซึมเศร้า และในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งมีเด็กคิดฆ่าตัวตาย  6% ซึ่งการทำร้ายตัวเองอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย และมีงานวิจัยที่พบว่าวัยรุ่น LGBTQ หรือวัยรุ่นที่เป็น เพศที่สาม มีอัตราเสี่ยงต่อการ ทำร้ายตัวเอง การศึกษาวิธีป้องกัน ว่าจะรับมืออย่างไรเมื่อวัยรุ่นทำร้ายตัวเอง แต่อย่างไรก็ตาม หากสังเกตเห็นการทำร้ายตัวเอง เช่น กรีดข้อมือ กินยาเกินขนาด ควรไปพบคุณหมอทันที งานวิจัยชี้ วัยรุ่น LGBTQ เสี่ยง ทำร้ายตัวเอง งานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารวิชาการ JAMA Pediatrics ให้ข้อมูลว่า มีจำนวนที่น่าตกใจของวัยรุ่นที่ทำร้ายตัวเอง แต่วัยรุ่นที่เป็นไบเซ็กชวล (Bisexual) หรือวัยรุ่นเพศที่ 3 อาจมีแนวโน้มว่าจะทำร้ายตัวเองมากกว่าถึง 2 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มสเตรท (Straight) หรือวัยรุ่นที่รักเพศตรงข้าม โดยงานวิจัยให้ข้อมูลว่า วัยรุ่นกลุ่มเฮเตอโรเซ็กชวล (Heterosexual) หรือกลุ่มที่รักเพศตรงข้ามระหว่าง 10%-20% มีพฤติกรรมที่เป็นอันตราย แต่วัยรุ่นกลุ่ม LGBTQ หรือกลุ่มที่รักเพศเดียวกัน  38%-53% มีพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง ผู้วิจัยกล่าวว่า อัตราการบาดเจ็บจากการพยายามฆ่าตัวตาย เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในหมู่วัยรุ่นเพศที่สาม […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน