backup og meta

แบ่งปัน

หรือ คัดลอกลิงก์

ลูกวัย 1 ขวบเบื่ออาหาร ทำอย่างไรดี

ลูกวัย 1 ขวบเบื่ออาหาร ทำอย่างไรดี

ลูกวัย 1 ขวบเบื่ออาหาร เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากเด็กเริ่มเติบโตเร็วขึ้น โดยเฉพาะในช่วงวัยหัดเดิน สมองจะสั่งการให้เด็กรับประทานอาหารเท่าที่จำเป็นต่อพลังงานและการเจริญเติบโตของร่างกาย ทำให้เด็กอาจรับประทานอาหารน้อยลง แต่เมื่อเด็กโตขึ้นความอยากอาหารจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นตามช่วงวัย

สาเหตุที่ทำให้ลูกวัย 1 ขวบเบื่ออาหาร

ลูกวัย 1 ขวบอาจมีความอยากอาหารลดลง เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งไม่กระทบต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของร่างกาย ทารกในช่วงปีแรกอาจมีน้ำหนักประมาณ 7-9 กิโลกรัม และน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1-2 กิโลกรัม/ปี จากนั้นน้ำหนักจะคงที่ไปเรื่อย ๆ หรือเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ประมาณ 3-4 เดือน ในช่วงนี้ร่างกายของลูกอาจต้องการแคลอรี่น้อยลง ซึ่งอาจส่งผลต่อความอยากอาหารที่ลดลง การเลือกรับประทานอาหารของเด็กนั้นยังถูกควบคุมโดยสมองที่ให้เลือกกินเฉพาะเท่าที่จำเป็นต่อการใช้พลังงานและการเจริญเติบโตของร่างกาย อีกทั้งช่วงนี้เริ่มมีฟันขึ้น อาจทำให้มีอาการเจ็บเหงือกเจ็บฟันทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง

เมื่อลูกวัย 1 ขวบเบื่ออาหารอาจทำให้พ่อแม่รู้สึกกังวลถึงสุขภาพของลูก จนอาจพยายามบังคับให้ลูกกินมากกว่าที่ร่างกายต้องการ ซึ่งการบังคับให้กินนมหรืออาหารอาจยิ่งทำให้ลูกรู้สึกเบื่ออาหาร ดังนั้น พ่อแม่อาจต้องทำความเข้าใจถึงธรรมชาติของร่างกายลูกว่า อาการเบื่ออาหารอาจเป็นเรื่องปกติ และอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นภายในประมาณ 2-4 สัปดาห์ เมื่อลูกได้ควบคุมการกินอาหารด้วยตัวเอง ส่งผลให้ลูกอยากอาหารมากขึ้นและต้องการกินมากขึ้นตามช่วงวัย

เพิ่มความอยากอาหารให้ลูกวัย 1 ขวบ

เพื่อลดความกังวลให้กับพ่อแม่เมื่อลูกมีอาการเบื่ออาหาร วิธีต่อไปนี้อาจช่วยให้ลูกอยากอาหารมากขึ้น

  • ควรให้ลูกจัดการกินอาหารด้วยตัวเอง เด็กวัย 1 ขวบ สมองจะสั่งการให้กินเท่าที่จำเป็น ให้เพียงพอต่อการใช้พลังงานในร่างกายและการเจริญเติบโต เมื่อลูกรู้สึกอิ่มไม่ควรบังคับให้กินต่อ เพราะอาจทำให้รู้สึกเบื่ออาหารเพิ่มขึ้น
  • ควรปล่อยให้ลูกช่วยเหลือตัวเอง เมื่อลูกโตพอที่จะหยิบอาหารเข้าปากเองได้หรืออายุประมาณ 12-15 สัปดาห์ ควรหลีกเลี่ยงการป้อนเพื่อบังคับให้ลูกกินอาหาร ควรให้ลูกช่วยเหลือตัวเองจะยิ่งเพิ่มความอยากกินอาหารมากขึ้น หรือให้ลูกหยิบจับอาหารรับประทานเอง  
  • ควรให้ของว่างมื้อเล็ก ๆ ลูกสามารถกินของว่างระหว่างมื้อได้ แต่การให้กินมากเกินไปอาจทำให้ไม่รู้สึกหิวเมื่อถึงอาหารมื้อหลัก ควรจัดอาหารว่างเป็นมื้อเล็ก ๆ เพื่อให้ลูกท้องว่างพอที่จะกินอาหารมื้อหลักได้ ไม่แนะนำของหวาน หรือผลไม้รสหวานมาก
  • ควรจัดอาหารให้น่าสนใจ พ่อแม่อาจจัดอาหารให้มีสีสันหรือมีรูปร่างที่น่าสนใจ เช่น ใส่แครอทหรือผักใบเขียวเพิ่มสีสัน จัดอาหารให้เป็นรูปตัวการ์ตูน เพื่อให้ลูกรู้สึกสนุกกับการกินมากขึ้น
  • ควรเสิร์ฟอาหารให้ลูกน้อยกว่าความต้องการ การจัดอาหารใส่จานใบใหญ่ให้น้อยกว่าความต้องการของลูกอาจช่วยให้ลูกกินอาหารได้หมดจานและรู้สึกว่าตัวเองทำสำเร็จ และอาจเพิ่มความอยากอาหารขึ้นได้
  • ควรสร้างบรรยากาศที่ดีในการกิน พ่อแม่และทุกคนในบ้านควรรับประทานอาหารร่วมกันและพูดคุยสร้างบรรยากาศให้ลูกรู้สึกว่าการกินอาหารเป็นเรื่องที่สนุก และรู้สึกเพลิดเพลินกับการกิน
  • กำจัดสิ่งรบกวนระหว่างกินอาหาร เช่น โทรทัศน์ ของเล่น วิดีโอเกม อาจเป็นสิ่งดึงดูดใจทำให้ลูกไม่รู้สึกอยากกินอาหาร แต่อยากไปเล่นมากกว่า การกำจัดสิ่งรบกวนอาจช่วยให้ลูกจดจ่อกับการกินอาหารมากขึ้น
  • ควรจำกัดนมให้น้อยลง สำหรับเด็กที่กำลังฝึกกินอาหารแทนนม ควรจำกัดการกินนมให้น้อยกว่า 20 ออนซ์/วัน เพื่อไม่ให้เด็กรู้สึกอิ่มมากเกินไปจนไม่อยากกินอาหารอย่างอื่น
  • สังเกตพฤติกรรมลูก หากลูกเริ่มเล่นอาหารอาจเป็นสัญญาณว่าลูกอิ่มแล้ว ไม่ควรบังคับให้ลูกกินต่อจนหมดและควรปล่อยให้ลูกไปทำกิจกรรมอย่างอื่น นอกจากนี้ ควรจัดมื้ออาหารให้ชัดเจนไม่ควรให้ลูกกินอาหารว่างบ่อยเกินไปเพราะอาจทำให้ลูกไม่รู้สึกหิวเมื่อถืออาหารมื้อหลัก
  • หลีกเลี่ยงการให้ลูกกินอาหารที่ไม่มีประโยขน์ เช่น ลูกอม น้ำหวาน ขนมหวาน มันฝรั่งทอด เนื่องจากอาหารเหล่านี้มีสารอาหารต่ำ อาจดึงดูดความสนใจทำให้เด็กไม่อยากกินอาหารมื้อหลัก และอาจร้องขอหรือกินอาหารขยะมากขึ้นจนอาจกลายเป็นโรคอ้วนได้
  • หลีกเลี่ยงการพูดเกี่ยวกับการกินของลูก ไม่ควรตำหนิหรือพูดว่ากินน้อยต่อหน้าลูกเพราะอาจทำให้ลูกรู้สึกไม่อยากกินอาหาร นอกจากนี้ ไม่ควรชมที่ลูกกินมากขึ้นเพราะอาจทำให้ลูกรู้สึกอยากกินเพื่อเอาใจและอาจทำให้ลูกอ้วนได้
  • หลีกเลี่ยงการขยายเวลาการรับประทานอาหาร ไม่ควรปล่อยให้ลูกนั่งที่โต๊ะอาหารหลังจากรับประทานอาหารเสร็จแล้ว ซึ่งอาจทำให้ลูกยิ่งรู้สึกไม่พอใจในการร่วมโต๊ะอาหาร และไม่ควรปล่อยให้ลูกกินอาหารเป็นเวลานาน หากสังเกตว่าลูกเล่นอาหารหรือไม่กินแล้วให้เก็บอาหารและปล่อยให้ลูกไปทำกิจกรรมอย่างอื่นแทน

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Toddler not eating? Ideas and tips. https://raisingchildren.net.au/toddlers/nutrition-fitness/common-concerns/toddler-not-eating. Accessed February 2, 2022

Appetite Slump in Toddlers. https://hhma.org/healthadvisor/pa-bappetit-hhg/. Accessed February 2, 2022

WHY IS MY CHILD SUDDENLY NOT EATING?. https://healthcare.utah.edu/the-scope/shows.php?shows=0_xs2o10ra#:~:text=Well%2C%20the%20truth%20is%20between,you%20spoon%2Dfeed%20them%20yourself.&text=So%20these%20children%20can%20actually,months%20without%20much%20weight%20gain. Accessed February 2, 2022

Children’s nutrition: 10 tips for picky eaters. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/childrens-health/in-depth/childrens-health/art-20044948. Accessed February 2, 2022

Toddlers at the Table: Avoiding Power Struggles. https://kidshealth.org/en/parents/toddler-meals.html. Accessed February 2, 2022

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/03/2022

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงหทัยทิพย์ ชัยประภา

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet

avatar

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงหทัยทิพย์ ชัยประภา

พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช (ศรีนครินทร์)


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 29/03/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา