backup og meta

เด็กปวดฟัน สาเหตุ การรักษาและการป้องกัน

เด็กปวดฟัน สาเหตุ การรักษาและการป้องกัน

เด็กปวดฟัน เป็นปัญหาที่พบบ่อยในเด็กเล็ก เนื่องจากเด็กอาจยังไม่รู้ถึงวิธีการดูแลรักษาสุขอนามัยในช่องปากอย่างเหมาะสม จนทำให้เกิดปัญหาทันตกรรมต่าง ๆ เช่น ฟันผุ เหงือกอักเสบ ฟันแตก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการปวดฟัน ดังนั้น การดูแลสุขภาพช่องปากของลูกจึงเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญ เพื่อป้องกันอาการปวดฟันและปัญหาทันตกรรมอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

เด็กปวดฟัน เกิดจากสาเหตุอะไร

เด็กปวดฟัน ส่วนใหญ่อาจเกิดจากปัญหาฟันผุหรือปัญหาการบาดเจ็บของฟันอื่น ๆ ที่ทำให้เนื้อในฟันเกิดการอักเสบและติดเชื้อ ดังนี้

  • ฟันผุ เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยในเด็ก ซึ่งมักเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลในปริมาณมาก และการรักษาสุขอนามัยในช่องปากที่ไม่ดี จนทำให้แบคทีเรียในช่องปากทำลายเคลือบฟันไปจนถึงชั้นเนื้อฟัน เกิดเป็นโพรงขนาดใหญ่ อักเสบ และติดเชื้อ ส่งผลทำให้เด็กปวดฟันในที่สุด
  • ฝีหนองที่รากฟัน (Dental Abscess) มีลักษณะเป็นตุ่มหนองที่เหงือกในบริเวณที่ฟันมีการติดเชื้อ อาจทำให้ปวดฟันและมีไข้
  • เคลือบฟันแตก เกิดจากการกัดของที่มีความแข็งมากจนทำให้ฟันแตกหัก เกิดการอักเสบ และไวต่อของร้อนหรือเย็น จนทำให้เด็กเกิดอาการปวดฟันขึ้น
  • โรคเหงือก เป็นปัญหาเหงือกอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ส่งผลทำให้เหงือกบวมแดง มีเลือดออก และเจ็บปวดได้
  • อาหารติดฟัน อาหารที่เข้าไปติดระหว่างซอกฟันอาจทำให้เกิดอาการปวดฟันและติดเชื้อ ดังนั้น การหมั่นกำจัดเศษอาหารด้วยไหมขัดฟันอาจช่วยป้องกันได้

สัญญาณของปัญหาฟันผุและอาการของเด็กปวดฟัน

สัญญาณของปัญหาฟันผุที่เกิดขึ้นในเด็กอาจสังเกตได้จากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้

  • เกิดแถบสีขาวขุ่นบนผิวฟันใกล้กับแนวเหงือก
  • เกิดแถบสีเหลือง สีน้ำตาล หรือสีดำที่ผิวฟัน
  • ฟันเริ่มมีโพรงเล็ก ๆ เป็นสีน้ำตาลหรือสีดำ ซึ่งแสดงว่าฟันเริ่มผุมากขึ้น จึงควรรีบเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการรักษา
  • เด็กอาจมีอาการ เช่น ปวดฟันอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาการปวดฟันแย่ลงเมื่อสัมผัสฟันหรือเมื่อรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ร้อนหรือเย็น เจ็บปวดกรามบริเวณที่มีฟันผุ มีไข้ อ่อนเพลีย

การป้องกันอาการเด็กปวดฟัน

ปัญหาเด็กปวดฟันและปัญหาทันตกรรมอื่น ๆ ของเด็ก อาจป้องกันได้ ดังนี้

  • พาเด็กเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำทุก 6 เดือน หรือ 1 ปี
  • ลดการรับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลสูง เนื่องจากอาหารเหล่านี้สามารถสะสมในช่องปากและเป็นอาหารของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดปัญหาฟันผุ
  • สร้างนิสัยให้เด็กแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ครั้งละ 2 นาที ด้วยยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์
  • ทำความสะอาดฟันหรือซอกฟันด้วยไหมขัดฟัน เพื่อกำจัดเศษอาหารที่ติดอยู่ในบริเวณที่แปรงสีฟันเข้าไม่ถึง
  • หลีกเลี่ยงการกัดหรือเคี้ยวของแข็ง เช่น น้ำแข็ง การใช้ฟันฉีดซองขนม เพราะอาจทำให้ฟันแตกหักได้
  • ตรวจสอบสุขภาพช่องปากและฟันของเด็กอยู่เสมอ หากพบสัญญาณของฟันผุและสัญญาณของปัญหาช่องปากอื่น ๆ ควรพาเด็กเข้าพบคุณหมอ เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและทำการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Tooth decay – young children. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/conditionsandtreatments/tooth-decay-young-children. Accessed August 19, 2022

Teeth development in children. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/conditionsandtreatments/teeth-development-in-children. Accessed August 19, 2022

Toothache. https://www.seattlechildrens.org/conditions/a-z/toothache/. Accessed August 19, 2022

Toothache. https://www.nhs.uk/conditions/toothache/. Accessed August 19, 2022

Toothache (Pulpitis) in Children. https://www.nationwidechildrens.org/conditions/health-library/toothache-pulpitis-in-children#:~:text=Key%20points%20about%20a%20toothache%20in%20children&text=Most%20toothaches%20are%20caused%20by,or%20removal%20of%20the%20tooth. Accessed August 19, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

25/09/2022

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

เด็กฟันผุ สาเหตุ และการป้องกันที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

ปวดฟันมาก ใช้ ยาแก้ปวดฟัน แบบไหนดี


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 25/09/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา