backup og meta

เด็กอ้วน ส่งผลต่อสุขภาพของเด็กอย่างไรบ้าง

เด็กอ้วน ส่งผลต่อสุขภาพของเด็กอย่างไรบ้าง

องค์กรอนามัยโลกให้ข้อมูลว่า เด็กในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีภาวะน้ำหนักเกินและเป็น เด็กอ้วน เพิ่มขึ้น 150% โดยมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีจำนวน 4.2 ล้านคนที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน ซึ่งการเป็นโรคอ้วนสามารถส่งผลต่อสุขภาพของเด็กๆ คุณพ่อคุณแม่จึงควรดูแลสุขภาพของเด็ก โดยเฉพาะด้านโภชนาการ ให้เหมาะสม และให้เด็กออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอ้วน

เด็กอ้วน ส่งผลต่อสุขภาพของเด็กอย่างไรบ้าง

เด็กเป็นโรคอ้วน มีแนวโน้มว่าจะเป็นโรคอ้วนในวัยผู้ใหญ่ด้วย ซึ่งความอ้วนอาจเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิต นอกจากนี้ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคอ้วนยังเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจ และโรคมะเร็งอีกหลายชนิดด้วย

มากไปกว่านั้นเด็กที่เป็นโรคอ้วน สามารถโดนเพื่อนแกล้งหรือล้อมากกว่าเด็กที่มีน้ำหนักปกติ และเด็กอ้วนยังมีแนวโน้มที่จะปลีกตัวออกจากสังคม เป็นโรคซึมเศร้า รวมถึงมีความนับถือตนเองต่ำ ซึ่งอาจส่งผลกระทบไปจนถึงตอนที่โตเป็นผู้ใหญ่ และเด็กที่เป็นโรคอ้วนมีความเสี่ยงในการเป็นโรคเรื้อรังมากกว่า เช่น

  • โรคหอบหืด
  • ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
  • กระดูกและข้อต่อมีปัญหา
  • โรคเบาหวานชนิดที่ 2
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ความดันโลหิตสูงและคอเลสเตอรอลสูง

วิธีดูแลเมื่อ เด็กอ้วน

กินอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

อาหารที่ดีต่อสุขภาพ อาหารครบ 5 หมู่ และอาหารไขมันต่ำ เป็นสิ่งที่เด็กๆ ต้องการและจะช่วยให้เด็กๆ มีนิสัยการกินที่ดี คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้เด็กๆ เห็นความสำคัญของการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารอย่างธัญพืชเต็มเมล็ด ผักและผลไม้ ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมวัว พืชตระกูลถั่ว และเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน

ไม่ควรให้เด็กเข้าโปรแกรมลดน้ำหนัก

เนื่องจากร่างกายของเด็กกำลังพัฒนา กระทรวงสุขภาพแห่งรัฐนิวยอร์ก (NYSDH, the New York State Department of Health) จึงไม่แนะนำให้ใช้กลยุทธ์การลดน้ำหนักในเด็ก เช่น การควบคุมแคลอรี่อาจทำให้เด็กๆ ไม่ได้รับวิตามินและแร่ธาตุ รวมถึงพลังงานที่ร่างกายต้องการเพื่อการเจริญเติบโต ดังนั้นผู้ปกครองควรมุ่งไปที่การช่วยให้เด็กพัฒนานิสัยการกินที่ดีต่อสุขภาพ และควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนให้เด็กๆ ควบคุมอาหาร

ไม่ปล่อยให้เด็กนั่งนานเกินไป

หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกาแนะนำว่า ควรจำกัดเวลาในการนั่งบนโซฟาของเด็กๆ โดยไม่ควรให้เด็กๆ นั่งบนโซฟานานเกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน นอกจากนี้หากเป็นการนั่งทำการบ้าน หรืออ่านหนังสือก็สามารถทำได้ แต่คุณพ่อคุณแม่ควรจำกัดเวลาในการนั่งดูทีวี เล่นวิดีโอเกม หรือใช้อินเทอร์เน็ต

ออกกำลังกาย

หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา แนะนำว่าเด็กๆ ทุกคนควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งอาจเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น วิ่ง ยิมนาสติกที่ทำให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่น หรือกระโดดเชือกเพื่อให้กระดูกแข็งแรง

ทำกิจกรรมสร้างสรรค์

เด็กบางคนเบื่อง่าย และไม่อยากออกกำลังกายเพียงประเภทเดียว คุณพ่อคุณแม่อาจลองให้เขาทำกิจกรรมอย่างอื่นที่ทำให้ลูกได้ออกกำลังกายด้วย เช่น การเต้น การกระโดดเชือก หรือเล่นฟุตบอล

กำจัดสิ่งกระตุ้น

เด็กส่วนใหญ่จะกินอาหารตามพ่อแม่ ดังนั้นถ้าคุณพ่อคุณแม่เป็นต้นแบบในการมีสุขภาพดี และไม่กินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ อย่างอาหารแคลอรี่สูงและน้ำตาลสูง รวมถึงเครื่องดื่มอย่างน้ำอัดลม น้ำหวาน และน้ำผลไม้รสหวาน หากไม่มีของหวานและอาหารที่ไม่มีประโยชน์เหล่านี้ในบ้าน เด็กๆ ก็มีแนวโน้มว่าจะมีสุขภาพที่ดีขึ้นได้

ปิดโทรทัศน์ขณะกินอาหาร

ผู้เชี่ยวชาญจากวิทยาลัยสาธารณสุขฮาร์วาร์ด กล่าวว่า เด็กอาจกินมากเกินไป ถ้าดูโทรทัศน์ไปด้วย เนื่องจากมีงานวิจัยที่พบว่ายิ่งเด็กๆ ดูโทรทัศน์มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีแนวโน้มว่าจะมีน้ำหนักมากขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เด็กๆ ที่มีโทรทัศน์ในห้องนอนมีแนวโน้มว่าจะมีน้ำหนักเกิน เมื่อเทียบกับเด็กที่ไม่มีโทรทัศน์ในห้องนอน

สอนให้มีนิสัยรักษาสุขภาพ

คุณพ่อคุณแม่ควรสนับสนุนให้เด็กๆ เรียนรู้ที่จะวางแผนการกินอาหาร ซื้ออาหารไขมันต่ำ และเตรียมเมนูอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหาร เพื่อให้พวกเขามีสุขภาพดี

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Obesity in Children. https://www.webmd.com/children/guide/obesity-children#1. Accessed on November 20, 2018.

Tips for Parents – Ideas to Help Children Maintain a Healthy Weight. https://www.cdc.gov/healthyweight/children/index.html. Accessed on November 20, 2018.

Childhood Obesity.  https://www.healthline.com/health/childhood-obesity#4. Accessed on November 20, 2018.

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/12/2022

เขียนโดย Sopista Kongchon

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

เมนูอาหารวัยเรียน6-12 ปี ควรเป็นอย่างไร

เด็กออกกำลังกาย ได้ประโยชน์สุขภาพอย่างไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 09/12/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา