backup og meta

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 32

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 01/12/2022

    พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 32

    พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 32 เป็นช่วงเวลาที่ลูกน้อยเริ่มเรียนรู้ที่จะเลียนแบบพฤติกรรม ดังนั้น ไม่ว่าคุณพ่อคุณแม่หรือคนรอบข้างทำอะไร ลูกน้อยจะจดจำและค่อย ๆ ทำตาม รวมทั้งเริ่มมีฟันน้ำนมขึ้นมาแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลทำความสะอาดสุขภาพช่องปากและฟันให้ลูกน้อยเพื่อสุขอนามัยที่ดี

    การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 32

    ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร

    อารมณ์ของลูกจะเริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าสามารถเรียนรู้ที่จะชื่นชม เลียนแบบความรู้สึก และอาจแสดงออกถึงความเห็นใจได้เป็นครั้งแรก ตัวอย่างเช่น ถ้าลูกน้อยได้ยินเสียงคนร้องไห้ เขาก็อาจจะเริ่มร้องไห้ตาม ถึงแม้ว่าเขาจะเพิ่งเริ่มเรียนรู้ความรู้สึกของตัวเอง แต่เขาก็จะเริ่มเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างจากคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งในอนาคตลูกน้อยก็จะสามารถเรียนรู้จากสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ปฏิบัติต่อผู้คนอื่น ๆ ในสังคมได้ด้วย

    พัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กในสัปดาห์ที่ 32

  • เปลี่ยนจากท่านั่งเป็นท่ายืน
  • เปลี่ยนจากท่าคลานเป็นท่านั่ง
  • เล่นตบมือและโบกมือบ๊ายบาย
  • เก็บวัตถุชิ้นเล็ก ๆ เข้าปาก
  • ทำการสำรวจรอบบ้านของตัวเอง
  • เรียก “แม่” หรือ “พ่อ” อยู่ตลอดเวลา
  • ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร

    ในกรณีที่ลูกน้อยนอนห้องแยกต่างหาก พวกเขาอาจเกิดความกลัวที่จะต้องแยกจากคุณพ่อคุณแม่ในเวลากลางคืน ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรใช้เวลาอ่านหนังสือให้ลูกน้อยฟังมากขึ้น กอด หรือเปิดเพลงกล่อมเด็กให้ฟังก่อนนอนจนลูกน้อยรู้สึกสบายใจ เพราะการทำแบบนี้เป็นประจำจะทำให้ลูกน้อยรู้สึกปลอดภัย และนอนหลับได้ง่ายขึ้น

    อีกทั้งคุณพ่อคุณแม่ควรจัดสรรเวลาในการทำงานบ้าน และการเลี้ยงลูกให้สมดุล ที่สำคัญงานทั้งหมดในห้องนอนลูกควรทำให้เสร็จเพื่อเตรียมพร้อมให้ลูกน้อยนอนหลับได้อย่างสบาย นอกจากนั้น ควรสอนให้ลูกน้อยรู้ว่า ห้องนอนใช้สำหรับการนอน ไม่ควรใช้เล่นไล่จับกันก่อนนอน

    สุขภาพและความปลอดภัย

    ควรปรึกษาแพทย์อย่างไร

    คุณหมอส่วนใหญ่จะไม่มีการนัดหมายในช่วงเดือนนี้ เนื่องจากเด็กส่วนใหญ่ยังไม่มีอาการอะไรที่น่าเป็นห่วง ในขณะเดียวกัน คุณพ่อคุณแม่ควรจดบันทึกเกี่ยวกับพัฒนาการลูกน้อย หรือจดบันทึกข้อสงสัยและอาจโทรไปคำปรึกษากับคุณหมอ โดยเฉพาะเมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพที่อาจเป็นอันตรายกับลูกน้อย

    สิ่งที่ควรรู้

    ท้องเสีย

    ในช่วงวัยนี้ ลูกน้อยอาจหยิบของเข้าปากหรือใช้มือจับสิ่งต่าง ๆ แล้วนำมือเข้าปาก ทำให้อาจประสบกับปัญหาของอาการท้องเสียได้ โดยอาจสังเกตลูกน้อยได้จากการขับถ่ายมากกว่าปกติ เช่น อุจจาระเหลว มีสีเหลือง สีเขียว หรือสีเข้ม และอาจมีกลิ่นเหม็นกว่าปกติ นอกจากนั้น อาจเกิดจากการให้ลูกน้อยกินผลไม้หรือดื่มน้ำผลไม้มากเกินไป การติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร รวมทั้งการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัส จึงทำให้เด็ก ๆ มีอาการท้องเสียตามมา

    เคล็ดลับง่ายๆ ที่ช่วยให้อาการท้องเสียของลูกน้อยดีขึ้น

    • หากลูกน้อยขาดน้ำ อาเจียน ไม่ยอมทานอาหาร เครื่องดื่ม เลือดปนในอุจจาระ อาการท้องบวม และมีไข้นานกว่า 24 ชั่วโมง ควรรีบโทรปรึกษาคุณหมอทันทีถึงวิธีรับมือเบื้องต้นนอกจากนี้ เด็ก ๆ อาจมีการปัสสาวะน้อย ปัสสาวะเป็นสีเข้ม มีอาการผิวแห้งบริเวณตา จมูก และปาก ร้องไห้โดยไม่มีน้ำตา หรือเซื่องซึมปะปน
    • ควรให้เด็กดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการขาดน้ำ แต่ควรงดน้ำผลไม้ หรือน้ำผลไม้ที่มีน้ำตาล ควรดื่มนมแม่ และนมขวดอาจดีกว่า
    • ช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกสบายตัวที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เช็ดก้นทารกให้แห้งอยู่เสมอ และใช้ครีมทาตัวสำหรับเด็ก
    • พยายามหาสาเหตุของการท้องเสีย ว่าเกิดจากการติดเชื้อไวรัสอะไรหรือเปล่า? ได้ลองกินอาหารอะไรใหม่ ๆ ที่ไม่เคยกินไหม? หรือให้ลูกน้อยกินยาปฎิชีวนะเมื่อเร็ว ๆ นี้หรือไม่ ? และแจ้งให้แพทย์ทราบโดยละเอียด
    • ป้องกันอาการท้องเสียได้ด้วยการรักษาความสะอาด ด้วยการล้างมือบ่อยๆ รวมทั้งควรล้างผัก และผลไม้ที่ให้ลูกน้อยกินด้วย

    ปัญหาทางทันตกรรม

    ถ้าฟันของลูกน้อยงอกขึ้นมาผิดปกติ ไม่จำเป็นต้องพาไปพบทันตแพทย์ เพราะฟันที่งอกผิดตำแหน่งจะไม่ส่งผลต่อสุขภาพฟันของลูกน้อย จริงๆ แล้วฟันน้ำนมอาจขึ้นผิดที่ได้ โดยเฉพาะฟันหน้าด้านล่าง ที่มักจะดูถ่างออกเป็นรูปตัววี ส่วนฟันหน้าด้านบนยังดูเหมือนใหญ่เมื่อเทียบกับด้านล่าง เมื่อทารกมีอายุสองขวบครึ่ง ก็จะมีฟันยี่สิบซี่ และถึงแม้ฟันจะมีสัดส่วนและโครงสร้างที่ดูไม่ปกติ แต่ก็ไม่ต้องเป็นกังวล เมื่อเด็กเติบโตขึ้นก็จะมีฟันที่เรียบเสมอกันเอง

    หากฟันกลายเป็นสีเทา สาเหตุอาจเกิดจากคราบฟันที่เป็นธาตุเหล็ก เพราะเด็กบางคนดื่มวิตามินและแร่ธาตุที่อยู่ในรูปของเหลว รวมทั้งอาหารเสริมที่มีธาตุเหล็กมากเกินไป ซึ่งอาจจะทำให้เกิดคราบฟันได้ อาการนี้ไม่เป็นอันตรายต่อฟัน และจะหายไปเอง เมื่อหยุดใช้ยาและเริ่มกินวิตามินแบบที่ใช้เคี้ยวได้

    ควรใช้ผ้าก๊อซทำความสะอาดฟันให้ลูกน้อย หรือทำความสะอาดทันทีหลังกินวิตามิน เพื่อช่วยกำจัดคราบเหลืองๆ บนผิวฟัน ถึงแม้ลูกน้อยจะไม่ได้กินอาหารเสริมในรูปของเหลว แต่ถ้าเขามักดื่มนมหรือน้ำผลไม้ในขวดนมก่อนนอน ก็อาจทำให้เกิดฟันผุได้ อาการฟันผุยังอาจเป็นผลมาจากการบาดเจ็บ หรือข้อบกพร่องในเคลือบฟันแต่กำเนิด ควรปรึกษาแพทย์หรือทันตแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพฟันของลูกน้อย

    สิ่งที่ต้องเป็นกังวล

    กัดหัวนม

    ทารกไม่สามารถกัดหัวนมได้แรง ๆ ในขณะดูดนมแม่ เพราะลิ้นของลูกน้อยขวางฟัน และเต้านมอยู่ ความสุขของลูกน้อยอาจทำให้เขาเผลอกรีดร้อง แล้วกัดหัวนมคุณแม่โดยไม่ได้ตั้งใจ ถ้าลูกน้อยส่งเสียงคิกคัก แทนที่จะหัวเราะ คุณแม่ก็ควรทำให้ลูกรู้ว่าไม่ควรกัดหัวนม โดยการส่งเสียงที่ฟังดูเด็ดขาดว่า “ไม่” แล้วรีบเอาหัวนมออกจากปากลูกน้อย และอธิบายว่า “การกัดแบบนั้นทำให้แม่เจ็บนะ!” ถ้าลูกพยายามยื้อหัวนมของคุณเอาไว้ ก็ใช้นิ้วแกะออกจากปากเขา แล้วจะทำให้เขาเรียนรู้ได้เองว่าต้องหยุดทำแล้ว

    อีกทั้งคุณแม่ต้องพยายามหยุดนิสัย การชอบกัดหัวนมของเขา เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่รุนแรงขึ้นในภายหลัง ในไม่ช้าลูกน้อยควรจะรู้ว่าฟันไม่ได้ใช้กัด และยังมีข้าวของบางอย่างที่ช่วยควบคุมนิสัยนี้ได้ เช่น ยางกัด ขนมปัง หรือกล้วย ควรบอกให้เขารู้ว่าอะไรที่เขาไม่ควรกัด เช่น เต้านมแม่ นิ้วมือพี่น้อง รวมถึงไหล่ของพ่อขณะอุ้มอยู่อีกด้วย

    การกระทำดังกล่าวหากได้รับการปล่อยไว้เป็นเวลานานโดยที่คุณพ่อคุณแม่ไม่มีการฝึกพฤติกรรมได้ใหม่ บางครั้งก็อาจจะทำให้เกิดผลกระทบต่อตัวทารกเองได้ ดังนี้

    • รบกวนพัฒนาการทางด้านสุขภาพของลูกน้อย
    • ทำให้เด็กเล่นอะไรก็ไม่สนุก
    • ส่งผลต่อการเข้าสังคมของตัวเขา
    • ก่อให้ผลเสียต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็ก
    • มีส่วนทำให้เกิดฟันผุในเด็ก

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 01/12/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา