backup og meta

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 23 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 23 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 23 หรือเด็ก 5-6 เดือน ในช่วงนี้ลูกอาจเริ่มคลานไปทั่วมากขึ้นเพื่อสำรวจบริเวณโดยรอบ สามารถหยิบจับสิ่งของได้ด้วยตัวเอง และอาจเริ่มนั่งได้โดยไม่ต้องมีใครช่วย คุณพ่อคุณแม่ควรปล่อยให้ลูกสำรวจและเรียนรู้สิ่งรอบตัวด้วยตัวเอง แต่ก็ควรเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุที่อาจเป็นอันตรายต่อลูก

[embed-health-tool-vaccination-tool]

การเจริญเติบโตและพฤติกรรม

ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร

ลูกน้อยของกำลังมีพัฒนาการในมองสิ่งของเล็ก ๆ และติดตามสิ่งของที่เคลื่อนที่ได้แล้ว เมื่อมาถึงจุดนี้ เด็กอาจจดจำวัตถุได้ถึงแม้จะเห็นแค่บางส่วน อย่างเช่น ของเล่นชิ้นโปรดที่วางอยู่ใต้ผ้าห่ม นี่เป็นเกมซ่อนหาที่จะได้เล่นในเดือนถัดไป อีกทั้งเด็กยังสามารถไล่ตามวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ได้อีกด้วย

นอกจากนี้ อาจสังเกตเห็นว่าลูกน้อยสามารถเอื้อมหยิบสิ่งของ ที่วางบนโต๊ะ ถ้าจับเด็กไว้ใกล้สิ่งของนั้น ถ้าเด็กหยิบได้ชิ้นหนึ่งแล้ว ลูกก็จะไล่ล่าหาชิ้นที่สองต่อไป

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 23 ลูกน้อยของสามารถ…

  • นั่งได้ด้วยตัวเอง
  • สนใจวัตถุขนาดเล็ก และติดตามวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่
  • จดจำวัตถุได้เมื่อเห็นเพียงแค่บางส่วน เช่น ของเล่นที่ชื่นชอบแม้จะถูกซ่อนไว้ใต้ผ้าห่ม
  • จับสิ่งของได้ถ้าพาเข้าไปใกล้ๆ

ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร

ในสัปดาห์ที่ 23 เด็กกำลังเริ่มสนใจสีสัน การอ่านหนังสือที่มีหลากสีสัน หรือเล่นตัวต่อที่มีสีสันสดใส จะช่วยให้ลูกน้อยเรียนรู้เกี่ยวกับสีได้ นอกจากนี้ ผู้ปกครองควรปรบมือ และให้อะไรกับลูกน้อยเพื่อการเรียนรู้ ขอให้เป็นอะไรใหม่ ๆ ก็ช่วยเพิ่มการรับรู้ และเดารูปร่างลักษณะของสิ่งของได้แล้ว 

สุขภาพและความปลอดภัย

ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร

หมอส่วนใหญ่จะไม่มีการนัดหมาย เพื่อตรวจสุขภาพในช่วงเดือนนี้ คิดในแง่ที่ดีคือเด็กยังไม่มีอาการอะไรที่น่าเป็นห่วง แต่ในทางกลับกัน อาจจะไม่ทราบว่าลูกน้อยมีพัฒนาการไปถึงขนาดไหนแล้ว จึงควรจดข้อสงสัยเอาไว้ เพื่อปรึกษาหมอในการนัดครั้งถัดไป แต่ควรโทรหาหมอทันทีถ้ามีปัญหาใด ๆ เกิดขึ้น และทำให้รู้สึกเป็นกังวล

สิ่งที่ควรรู้

ทำความเข้าใจกับแผนภูมิการเจริญเติบโต

หมอจะสรุปการเจริญเติบโตโดยรวมของลูกน้อย โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดขนาดศีรษะ และนำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลทั่วไปและข้อมูลของเด็กก่อนหน้านี้ ถ้ามีผลที่แตกต่างกันมาก ก็อาจบ่งบอกได้ว่าเด็กมีปัญหาทางสุขภาพ ซึ่งอาจส่งผลต่อการดูดซึมสารอาหาร หมออาจใช้อัตราการเจริญเติบโต เพื่อพิจารณาว่าลูกน้อยของเป็นอย่างไรบ้าง เมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน

ไม่ต้องกังวลถ้าลูกน้อยของมีน้ำหนัก หรือส่วนสูงไม่ได้ตามเกณฑ์ เด็กแต่ละคนจะมีอัตราการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน เด็กอาจมีพัฒนาการช้าในช่วงอายุนี้ เมื่อโตขึ้นจึงจะมีพัฒนาการที่เร็วขึ้น ความเร็วในการพัฒนา และดัชนีมวลกายอาจขึ้นอยู่กับพันธุกรรม นอกจากนี้สุขภาพของเด็ก ยังได้รับผลกระทบจากปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่น สภาพแวดล้อม อารมณ์ และกิจกรรม ถ้ามีข้อสงสัยใด ๆ ก็ควรปรึกษาหมอ

การดึงใบหู

นิ้วมือกับมือ นิ้วเท้ากับเท้า และหู คือส่วนที่ทำให้เด็กเกิดความอยากรู้อยากเห็น ลูกน้อยจะเริ่มสำรวจร่างกายส่วนต่าง ๆ ของตัวเอง ถ้าลูกน้อยดึงหูพร้อมกับมีอาการหงุดหงิดหรือมีไข้ ก็ไม่ต้องเป็นกังวลอะไร นั่นอาจเป็นสัญญานที่บ่งบอกว่า มีอาการไม่สบายหรือเป็นไข้ ลูกน้อยอาจเกิดการติดเชื้อทางหูหรือมีฟันงอก และควรแจ้งหมอทันทีถ้ามีอาการผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้น

โรคผิวหนังอักเสบ

ลูกน้อยอาจทรมานจากโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง ซึ่งเป็นอาการที่พบได้ทั่วไป โดยจะทำให้ผิวหนังหยาบกร้าน และคันเป็นหย่อมๆ

ข้อมูลต่อไปนี้คือสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยให้รับมือกับโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังของลูกน้อยได้

  • ตัดเล็บ : ตัดเล็บของลูกน้อยให้สั้นที่สุด เพื่อลดความเสียหายถ้าลูกน้อยทำการเกาบนผิวหนัง
  • อาบน้ำให้น้อยลง : การสัมผัสกับสบู่และน้ำเป็นเวลานาน ๆ อาจทำให้ผิวแห้งมากขึ้นได้ จึงควรจำกัดเวลาการอาบน้ำไม่ให้เกิน 10-15 นาที และควรใช้สบู่สูตรอ่อนโยนด้วย ไม่ควรให้ลูกน้อยแช่น้ำสบู่เป็นเวลานาน หลังจากอาบน้ำเสร็จก็ควรทามอยส์เจอไรเซอร์ให้ลูกน้อยทันที
  • ทาโลชั่น : ทาโลชั่นลงไปเยอะ ๆ เพื่อลดอาการระคายเคืองหลังอาบน้ำเสร็จ ซึ่งเป็นช่วงที่ผิวเด็กยังชื้น ๆ อยู่ แต่ไม่ควรใช้น้ำมันหรือปิโตรเลียม เจลลี่ในการทาตัวเด็ก
  • ปรับสภาพแวดล้อม : อากาศที่ร้อนจัดหรือเย็นจัด อาจทำให้อาการผิวหนังอักเสบแย่ลงได้ จึงไม่ควรพาลูกน้อยออกนอกบ้าน ในสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย อย่าปล่อยให้บ้านของร้อนหรือเย็นจนเกินไป และใช้เครื่องทำความชื้นเพื่อเพิ่มความชื้นในอากาศ
  • สวมใส่เสื้อผ้าที่ทำมาจากผ้าฝ้าย : เหงื่ออาจทำให้โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง มีอาการแย่ลงได้ จึงไม่ควรให้ลูกน้อยใส่เสื้อผ้า ที่ผลิตจากเส้นใยสังเคราะห์ ขนสัตว์ หรือใส่เสื้อผ้าหลาย ๆ ชั้น
  • ปรับเปลี่ยนอาหารการกิน : ควรปรึกษาหมอเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนอาหาร ที่อาจทำให้งโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังมีอาการแย่ลง

สิ่งที่ต้องเป็นกังวลเกี่ยวกับ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 23

เก้าอี้กินอาหารสำหรับเด็ก

ไม่มีวิธีไหนที่จะป้อนอาหารลูกน้อยได้ โดยไม่หกเลอะเทอะ อาจคิดว่าการป้อนอาหารเด็กบนตักของนั้นคือวิธีที่ดีที่สุด แต่นั่นยิ่งทำให้สกปรกเลอะเทอะและไม่เวิร์คเลย วิธีที่ดีที่สุดคือให้ลูกน้อยกินอาการบนเก้าอี้ป้อนอาหาร ที่มีสายรัดเพื่อความปลอดภัย ควรจับตาดูลูกน้อยอยู่ตลอดเวลา เพราะถึงแม้จะมีสายรัด แต่ก็อาจเกิดอุบัติเหตุพลัดตกลงมาได้ ลูกน้อยวัยนี้อาจยังไม่สามารถนั่งได้ตัวตรงได้ และยังต้องมีอะไรช่วยพยุงเอาไว้ เมื่อลูกน้อยของสามารถนั่งได้เองแล้ว ให้ลองปรับเปลี่ยนหาเก้าอี้สำหรับเด็กที่สูงขึ้นได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

23 Week Old Baby Development | Parents. https://www.parents.com/baby/development/23-week-old-baby-development/. Accessed 30, 2022

Your Baby: Week 23. https://www.webmd.com/baby/your-baby-week-23. Accessed 30, 2022

Your baby’s growth and development – 5 months old. https://www.pregnancybirthbaby.org.au/babys-growth-and-development-5-months-old. Accessed 30, 2022

Baby Development: Your 5-Month-Old. https://www.webmd.com/parenting/baby/baby-development-5-months. Accessed 30, 2022

5-Month-Old Baby. https://www.whattoexpect.com/first-year/month-by-month/month-5.aspx. Accessed 30, 2022

5-6 months: baby development. https://raisingchildren.net.au/babies/development/development-tracker-3-12-months/5-6-months. Accessed 30, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/08/2022

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ของเล่น ประโยชน์ต่อพัฒนาการและเทคนิคการเลือกให้ลูกน้อย

ุ6 ปัญหาผิวลูก ที่พบบ่อย มีอะไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 30/08/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา