backup og meta

วิธี ดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด

วิธี ดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด

ทารกที่คลอดก่อนกำหนด หมายถึง ทารกที่คลอดก่อนสัปดาห์ที่ 38 ของการตั้งครรภ์ โดยปกติทารกที่คลอดก่อนกำหนดมักจะยังมีพัฒนาการที่ไม่สมบูรณ์และมีร่างกายที่อ่อนแอ จึงควรมีการ ดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด ที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้ทารกมีพัฒนาการและการเจริญเติบโตที่ดีสมวัยต่อไป

[embed-health-tool-vaccination-tool]

ทำไมทารกจึง คลอดก่อนกำหนด

ยังไม่เป็นที่ทราบสาเหตุแน่ชัดว่าทำไมทารกจึงคลอดก่อนกำหนด ในบางครั้งอาจเป็นเพราะสุขภาพของแม่ระหว่างตั้งครรภ์ แม่บางคนอาจเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจหรือไต การติดเชื้อที่ถุงน้ำคร่ำหรือทางเดินปัสสาวะ หรืออาจมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ทารกคลอดก่อนกำหนด ดังนี้

  • เลือดออกจากรกเกาะต่ำ หรือรกแยกตัวออกจากครรภ์
  • ครรภ์ไม่ปกติ
  • อุ้มท้องเด็กมากกว่า 1 คน ในครั้งเดียว
  • มีน้ำหนักน้อยในระหว่างตั้งครรภ์
  • สูบบุหรี่ ใช้สารเสพติด หรือดื่มสุราขณะตั้งครรภ์
  • ใช้ยาบางชนิดขณะตั้งครรภ์

ข้อควรรู้สำหรับ ดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด

การดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด อาจต้องเพิ่มการดูแลเป็นพิเศษ ในเบื้องต้นคุณหมอจะพิจารณาดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดที่โรงพยาบาล เมื่อร่างกายทารกสมบูรณ์แล้วจึงสามารถกลับบ้านได้ ซึ่งวิธีดูแลทารกนั้นมีดังนี้

  • ทารกคลอดก่อนกำหนดอาจมีน้ำหนักแรกเกิดน้อย ต้องการความอบอุ่นและการเลี้ยงดูเป็นพิเศษ
  • ดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีภาวะแทรกซ้อน ทารกที่ติดเชื้อต้องได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ทารกบางรายอาจไม่หายใจหรือหายใจเหนื่อย จึงจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือโดยด่วนโดยใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อเพิ่มออกซิเจน
  • เครื่องอุ่นสำหรับทารก ทารกคลอดก่อนกำหนดบางรายจำเป็นต้องใช้เครื่องอุ่นเพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกายในขณะเฝ้าติดตามอาการ
  • เครื่องส่องไฟเพื่อรักษาอาการตัวเหลือง เนื่องจากทารกแรกเกิดจะมีความเสี่ยงของภาวะตัวเหลืองมากกว่าเด็กคลอดครบกำหนดจากหลายกลไก

เมื่อร่างกายของทารกคลอดก่อนกำหนด แข็งแรงขึ้นและได้รับคำยืนยันจากคุณหมอว่าสามารถกลับบ้านได้ จึงนำทารกกลับไปเลี้ยงดูที่บ้านได้ซึ่งต่างมีความสำคัญเช่นกัน

สิ่งสำคัญในการ ดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด

การ ดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด ควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

อุณหภูมิ

อุณภูมิสำหรับทารกต้องสบายและปลอดภัย ควรปรับอุณภูมิในบ้านให้พอเหมาะด้วยเครื่องปรับอากาศ เช่น ปรับไว้ที่ 25 องศาเซลเซียสขณะนอนหลับ และเตรียมเสื้อผ้า ผ้าห่ม ถุงเท้า ให้พร้อม หรืออาจใช้วิธีการห่อตัวทารกเพื่อช่วยเพิ่มความอบอุ่นและทำให้ทารกรู้สึกปลอดภัย

การนอนหลับ

จัดที่นอนของทารกให้สบายและอบอุ่นเพื่อให้ทารกนอนหลับได้ยาวนานขึ้น จัดสภาพแวดล้อมให้เงียบ มีแสงสลัวในตอนกลางคืน

การอาบน้ำ

ความถี่ในการอาบน้ำขึ้นอยู่กับอายุและสภาพผิวของทารกและในช่วง 2-3 เดือนแรกควรใช้ฟองน้ำหรือสำลีนุ่มชุบน้ำช่วยในการอาบน้ำทารก

โรค SIDS หรือโรคไหลตายในทารก

เป็นกลุ่มอาการที่ในช่วง 6 เดือนแรก ทารกคลอดก่อนกำหนด มีความเสี่ยงสูงกว่าทารกที่คลอดตามปกติ ยังไม่ทราบสาเหตุของโรค SIDS ที่แน่ชัด แต่มีวิธีที่สามารถลดความเสี่ยงได้

  • ให้ทารกนอนหงาย
  • ใช้ผ้าห่มแบบบางเบา และไม่นำผ้าห่มคลุมหน้าทารก
  • สมาชิกในบ้านไม่ควรสูบบุหรี่
  • ถ้าทารกคลอดก่อนกำหนด ควรดูแลใกล้ชิดเป็นพิเศษห้ามเผลอหลับหรืออยู่ไกลทารก
  • รักษาอุณหภูมิห้องไว้ที่ประมาณ 21-28 องศาเซสเซียส

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Premature birth. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/premature-birth/symptoms-causes/syc-20376730. Accessed December 29, 2022.

Premature Birth. https://www.cdc.gov/reproductivehealth/features/premature-birth/index.html. Accessed December 29, 2022.

Newborn health: Caring for preterm babies. https://www.who.int/news-room/q-a-detail/newborn-health-caring-for-preterm-babies. Accessed December 29, 2022.

Caring for your premature baby at home. https://www.tommys.org/pregnancy-information/premature-birth/taking-your-baby-home/caring-your-premature-baby-home. Accessed December 29, 2022.

Caring for a Premature Baby: What Parents Need to Know. https://www.healthychildren.org/English/ages-stages/baby/preemie/Pages/Caring-For-A-Premature-Baby.aspx. Accessed December 29, 2022.

When Your Baby’s Born Premature. https://kidshealth.org/en/parents/preemies.html. Accessed December 29, 2022.

Prematurity and Sudden Unexpected Infant Deaths in the United States. https://pediatrics.aappublications.org/content/140/1/e20163334. Accessed December 29, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

01/01/2023

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

มูกเลือดก่อนคลอด คืออะไร อาการใกล้คลอดที่ควรรู้

เลือดออกช่องคลอด สีน้ำตาล ตั้งครรภ์ เกิดจากอะไรได้บ้าง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 01/01/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา