backup og meta

ท่าให้นมลูก มีความสำคัญอย่างไร ท่าที่เหมาะสมควรเป็นอย่างไร

ท่าให้นมลูก มีความสำคัญอย่างไร ท่าที่เหมาะสมควรเป็นอย่างไร

นมแม่มีประโยชน์ต่อทารกแรกเกิดไปจนถึงอายุ 1 ปี เนื่องจากนมแม่อุดมไปด้วยสารอาหารที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและระบบภูมิคุ้มกัน แต่ ท่าให้นมลูก ที่เหมาะสมก็เป็นสิ่งสำคัญสำหรับคุณแม่เช่นกัน เพราะนอกจากจะช่วยให้คุณแม่อยู่ในท่าที่สบายมากขึ้น ยังอาจช่วยลดอาการปวดคอ ปวดหลังและลดความเครียดได้อีกด้วย

[embed-health-tool-due-date]

ท่าให้นมลูก มีความสำคัญอย่างไร

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วยท่าทางที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดการเคลื่อนไหวร่างกายที่ไม่สมดุล ส่งผลต่อการวางตำแหน่งซี่โครงและอุ้งเชิงกราน เมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องก็อาจทำให้เกิดอาการปวดเมื่อย ปวดคอ ปวดหลังช่วงกลาง และปวดศีรษะ ดังนั้น ท่าให้นมลูกที่เหมาะสมจึงช่วยลดอาการปวดหลัง ปวดคอ ปวดหัว และช่วยลดการใช้พลังงานที่มากเกินไปเนื่องจากการใช้ท่าและการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็นในขณะให้นมลูกได้

ท่าให้นมลูกที่เหมาะสม ควรเป็นอย่างไร

ท่าให้นมลูกที่เหมาะสมอาจเริ่มจากการปฏิบัติตามขั้นตอนพื้นฐาน ดังนี้

  1. อยู่ในท่าที่สบายด้วยการใช้หมอนพยุงหลัง แขน และตัวของลูกไว้ สำหรับเท้าของคุณแม่ควรวางราบกับพื้นหรืออยู่ในตำแหน่งที่พอดี และไม่ทำให้เกิดอาการเกร็งบริเวณกล้ามเนื้อเท้าและขา
  2. จัดตำแหน่งของทารกให้อยู่ตัวมากที่สุด โดยให้สะโพกงอพอดี ปากและจมูกของลูกควรหันเข้าหน้าอกของคุณแม่ และให้ร่างกายแนบชิดตัวคุณแม่มากที่สุด
  3. ควรใช้มือรองรับเต้านมไว้ไม่ให้กดคางหรือปิดจมูกของลูก
  4. ควรใช้ทั้งแขนและมือข้างที่ถนัดพยุงหลังของลูกไว้ โดยไม่ประคองเฉพาะส่วนคอ แต่ให้ประคองทั้งหลังของลูก
  5. หากมีความรู้สึกเจ็บปวดในขณะที่ลูกดูดนม ให้แยกลูกออกจากเต้าเบา ๆ และลองให้ลูกกลับมาดูดนมใหม่อีกครั้ง

การวางตำแหน่งของลูกในท่าที่เหมาะสม อาจมีดังนี้

  1. ท่าลูกนอนขวางบนตัก (Cradle Hold) เป็นท่าที่เหมาะกับคุณแม่ที่คลอดเองตามธรรมชาติและไม่มีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด มักเป็นท่าที่ใช้ในทารกที่อายุประมาณ 2-3 สัปดาห์แรก โดยการอุ้มลูกไว้บนตัก จัดท่าให้ลูกนอนตะแคง ใช้หมอนพยุงตัวลูกและข้อศอกเพื่อให้ลูกมีความสูงเท่าระดับหัวนมของคุณแม่ และศีรษะของลูกควรมีแขนและมือของคุณแม่รองรับยาวไปถึงกลางหลัง
  2. ท่าลูกนอนขวางบนตักแบบประยุกต์ (Cross-Cradle Hold) เป็นท่าที่เหมาะกับคุณแม่ที่คลอดเองตามธรรมชาติและไม่มีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด มักใช้ในช่วงสัปดาห์แรก ๆ ของการคลอดลูก โดยลูกจะนอนอยู่บนหมอนที่วางไว้บนตักคุณแม่ เพื่อช่วยยกตัวลูกให้อยู่ในระดับหัวนมพอดี และหมอนควรรองรับข้อศอกทั้ง 2 ข้างของคุณแม่ด้วย เพื่อช่วยให้แขนไม่รับน้ำหนักของลูกมากเกินไป จากนั้นใช้ฝ่ามือ นิ้วโป้ง และนิ้วชี้ด้านตรงข้ามกับศีรษะลูก ช้อนไว้ด้านหลังใบหูของลูกเพื่อช่วยประคองคอลูกไว้
  3. ท่าอุ้มลูกฟุตบอล (Clutch Hold or Football Hold) เป็นท่านอนที่เหมาะสำหรับคุณแม่ที่ผ่าคลอด เพราะอาจช่วยให้ลูกอยู่ห่างจากรอยแผลผ่าตัด และยังช่วยลดแรงของน้ำนมในคุณแม่ที่มีน้ำนมไหลออกมาเยอะมาก โดยให้ลูกนอนซุกอยู่ใต้วงแขนของคุณแม่ข้างใดข้างหนึ่ง ใช้มือกับแขนพยุงศีรษะและหลังของลูกไว้ จากนั้นใช้มืออีกข้างประคองเต้านม สามารถใช้หมอนรองตัวลูกเพื่อให้ลูกอยู่ในระดับหัวนมของแม่พอดี
  4. ท่านอนตะแคง (Side-Lying Hold) ท่านี้เป็นท่านอนที่เหมาะสำหรับคุณแม่ที่ผ่าคลอด หรือคุณแม่ที่ต้องให้นมลูกเวลากลางคืน เพราะคุณแม่และลูกจะได้นอนตะแคงหันหน้าเข้าหากัน นอกจากนี้ ยังสามารถใช้หมอนหนุนหลังเพื่อช่วยให้รู้สึกสบายมากขึ้น และช่วยป้องกันไม่ให้ลูกกลิ้งไปจากตัวคุณแม่

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Breastfeeding. https://www.webmd.com/parenting/baby/nursing-basics. Accessed November 11, 2022

Breastfeeding. https://www.healthychildren.org/English/ages-stages/baby/breastfeeding/Pages/default.aspx. Accessed November 11, 2022

How to breastfeed. https://www.nhs.uk/start4life/baby/feeding-your-baby/breastfeeding/how-to-breastfeed/breastfeeding-positions/. Accessed November 11, 2022Positioning. https://www.llli.org/breastfeeding-info/positioning/. Accessed November 11, 2022

Breastfeeding. https://www.nhs.uk/start4life/baby/feeding-your-baby/breastfeeding/. Accessed November 11, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

01/01/2023

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

สารอาหารบำรุงนมแม่ และข้อแนะนำสำหรับแม่ให้นมลูก

เต้านม ของคุณแม่จะเปลี่ยนไปหรือไม่ หลังให้นมลูก


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 01/01/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา