backup og meta

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ กับปัญหาและวิธีรับมือที่ควรรู้

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ กับปัญหาและวิธีรับมือที่ควรรู้

การ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการให้อาหารลูกน้อยโดยเฉพาะในช่วงขวบปีแรก เพราะน้ำนมแม่มีสารอาหารจำเป็นที่ช่วยให้ลูกมีพัฒนาการที่ดี ทั้งยังมีสารแอนติบอดีที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค อย่างไรก็ตาม คุณแม่หลายคนอาจพบปัญหาในการให้นมแม่ ซึ่งจำเป็นต้องทำความเข้าใจและหาวิธีรับมืออย่างถูกต้อง

[embed-health-tool-vaccination-tool]

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาจประสบปัญหาใดบ้าง

การ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คือ การให้ทารกกินนมแม่แทนอาหารอื่น ๆ เนื่องจากนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกโดยเฉพาะในช่วงขวบปีแรก อย่างไรก็ตาม คุณแม่อาจพบปัญหาในการให้นมแม่ ดังนี้

น้ำนมรั่วไหล

คุณแม่บางคนอาจมีปริมาณน้ำนมที่มากเกินความจำเป็นของเจ้าตัวเล็ก ทำให้บางครั้งน้ำนมไหลออกมาเปื้อนเลอะเสื้อที่สวมใส่ จริงๆ แล้วปัญหานี้ไม่ได้ส่งผลอันตรายต่อร่างกายแต่อย่างไรแต่อาจจะทำให้แม่ๆ รู้สึกอายได้ ทางที่ดีคุณแม่ควรแปะแผ่นดูดซับที่ยกทรง เพื่อดูดซับนมน้ำที่ไหลออกมาก็จะช่วยป้องกันไม่ให้เรอะที่เสื้อได้ ควรหลีกเลี่ยงแผ่นพลาสติกที่มีเส้นขอบพลาสติกซึ่งอาจทำให้หัวนมเจ็บ

นมคัดตึง

นมคัดตึงหรือนมคัดเต้า เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พบบ่อยเมื่อเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ที่คุณแม่บางคนอาจต้องเจอ เมื่อนมคัดตึงอาจมีความรู้สึกหนักในช่วงสัปดาห์แรก ๆ ของการให้นม โดยเฉพาะบริเวณหน้าอกที่อาจรู้สึกหนักและอึดอัดเป็นพิเศษ ซึ่งอาจเกิดจากการที่น้ำนมไม่ถูกนำออกจากเต้า เช่น ลูกกินนมน้อย ดังนั้น ควรให้นมลูกให้มากขึ้น หากลูกดูดนมน้อยก็ควรจะปั๊มนมเก็บไว้ หรือจะอาบน้ำอุ่น ประคบอุ่นบนหน้าอกเพื่อกระตุ้นการไหลของน้ำนมก็ช่วยลดอาการคัดตึงได้

หัวนมแตกและมีอาการเจ็บ

การให้นมลูกที่ไม่ถูกวิธี การวางตำแหน่งของลูกที่ไม่เหมาะสมเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดที่ทำให้ หัวนมแตก ซึ่งเป็นเรื่องที่คุณแม่บางคนต้องเจอเมื่อให้นมลูก ดังนั้น ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกน้อยอยู่ในท่าที่เหมาะสมสำหรับการให้นม แต่หากรู้สึกเจ็บให้ค่อย ๆ ดึงลูกน้อยออกจากเต้านมแล้วปล่อยให้ลองดูดนมอีกครั้ง นอกจากนี้ ควรให้จัดวางตำแหน่งลูกน้อยขณะให้นมโดยให้ปากและจมูกหันหน้าเข้าหาหัวนมเพื่อให้เขาดูดนมได้ง่ายขึ้น

คุณแม่มีน้ำนมน้อย

เมื่อคุณแม่เริ่มให้นมลูกครั้งแรก อาจมีความกังวลเกี่ยวกับปริมาณน้ำนมที่ผลิตออกมาจะเพียงพอต่อลูกน้อยหรือไม่ คุณแม่บางรายอาจมีน้ำนมน้อย คุณแม่บางคนอาจมีน้ำนมมาก คุณแม่บางรายอาจต้องใช้เวลาสักพักน้ำนมจึงออกมากขึ้น และที่สำคัญในแต่ละครั้งที่คุณแม่ให้ลูกน้อยดูดนมนั้น ควรให้นมลูกสลับกันแต่ละเต้า ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการหลั่งของน้ำนมได้ หากน้ำนมยังไหลไม่เพียงพอคุณแม่อาจรับประทานอาหารที่ช่วยให้น้ำนมไหลมากขึ้น เช่น หัวปลี ขิง

ลูกไม่อยู่นิ่ง

คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจประสบปัญหาลูกไม่นิ่งขณะดูดนม สาเหตุเป็นเพราะว่าเมื่อลูกเริ่มโตขึ้นก็มีการเรียนรู้และพัฒนาการมากยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นอาจมีสิ่งเร้าที่หันเหความสนใจของลูกน้อย ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ คุณแม่อาจเพียงต้องคอยดูแลให้ลูกได้รับน้ำนมหรืออาหารเพียงพอโดยสังเกตจากอาการงอแงหรือร้องไห้

โดนกัด

การโดนกัดหัวนมนับเป็นปัญหาซึ่งคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ส่วนใหญ่พบเจอ สาเหตุเป็นเพราะว่าเเมื่อลูกน้อยเริ่มมีฟันขึ้นก็จะเริ่มคันเหงือก ดังนั้น แล้วก็อาจจะกัดเข้าที่นมของคุณแม่ได้เพื่อเป็นการทำให้อาการเจ็บหรือคันเหงือกนั้นลดลง การโดนกัดก็เป็นอีกเรื่องที่คุณแม่ควรจะจะต้องระวัง เมื่อลูกกัดหัวนมก็ให้เตือนลูกด้วยน้ำเสียงที่จริงจังว่า ห้ามกัดนมของคุณแม่ คุณแม่เจ็บ หรือหยุดให้นมเมื่อลูกกัดหัวนม ลูกน้อยจะเรียนรู้ที่จะหยุดหรือเลิกกัดไปในที่สุด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

15 breastfeeding problems and how to solve them. https://www.todaysparent.com/baby/breastfeeding/15-breastfeeding-problems-and-how-to-solve-them/. Accessed December 18, 2022.

Overcoming breastfeeding problems. https://medlineplus.gov/ency/article/002452.htm. Accessed December 18, 2022.

Common Breastfeeding Problems and Solutions. https://www.verywellfamily.com/common-problems-of-breastfeeding-431906. Accessed December 18, 2022.

Breastfeeding problems. https://www.nhs.uk/conditions/pregnancy-and-baby/problems-breastfeeding/. Accessed December 18, 2022.

Warning Signs of Breastfeeding Problems. https://www.healthychildren.org/English/ages-stages/baby/breastfeeding/Pages/Warning-Signs-of-Breastfeeding-Problems.aspx. Accessed December 18, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/12/2022

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ปั๊มนม ให้ถูกวิธีควรทำอย่างไร และวิธีเก็บน้ำนมแม่ที่เหมาะสม

ให้นมลูก นานเกิน 1 ปี มีประโยชน์อย่างไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 27/12/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา