ถ้วยหัดดื่ม คือถ้วยที่ช่วยในการปรับพฤติกรรมของลูกน้อยวัยเตาะแตะเพื่อให้เลิกดื่มนมจากขวด ถ้วยหัดดื่มมีประโยชน์อย่างไรบ้าง รวมทั้งอาจสร้างปัญหาเกี่ยวกับช่องปากของลูกน้อยได้หรือไม่อย่างไร จำเป็นต้องทำความรู้จักเกี่ยวกับถ้วยหัดดื่ม เพื่อจะได้นำไปใช้อย่างถูกวิธีและเกิดประโยชน์มากที่สุด
ประโยชน์ของถ้วยหัดดื่ม
ถ้วยหัดดื่ม (Sippy Cups) ได้รับการออกแบบมาเพื่อเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนผ่าน เพื่อช่วยให้เด็กวัยหัดเดินได้ปรับจากขวดมาเป็นถ้วยดื่มแบบไม่มีฝา เนื่องจากการใช้ขวดเป็นเวลานานอาจเพิ่มความเสี่ยงในช่องปาก ทั้งยังอาจจะทำให้เด็กวัยหัดเดินสูญเสียการควบคุมและความชำนาญในการใช้ปากได้ ถ้วยหัดดื่มจึงถูกประดิษฐ์ขึ้น นอกจากนั้นยังช่วยให้คุณแม่ไม่ต้องมาคอยเช็ดนมที่หกอีกด้วย นอกจากนั้นถ้วยหัดดื่มยังมีประโยชน์อื่น ๆ อีก ดังนี้
- ช่วยให้เด็กมีร่างกายแข็งแรง
- ทำให้ง่ายต่อการห่ออาหารกลางวันและของว่างออกจากบ้าน
- สอนทักษะที่จำเป็นในการดื่มจากถ้วยให้กับเด็ก
- ป้องกันความล่าช้าในการพูดที่เกี่ยวข้องกับการใช้ขวดแบบขยาย (Extended bottle)
- ช่วยป้องกันฟันผุเนื่องจากการใช้ขวดนานเกินไป
- ลดปัญหาการติดเชื้อทางหูที่เกี่ยวข้องกับการใช้ขวดเป็นเวลานาน
เหตุผลที่ควรให้ลูกใช้ ถ้วยหัดดื่ม
เหล่าคุณพ่อคุณแม่ยังอาจกำลังพิจารณาอยู่ว่าควรจะให้ลูกใช้ถ้วยหัดดื่มหรือไม่ แล้วเมื่อใช้แล้วจะมีความปลอดภัยหรือเปล่า ถ้าเช่นนั้นลองมาดูเหตุผลที่เด็ก ๆ ควรใช้ถ้วยหัดดื่ม เพื่อประกอบการตัดสินใจ
ป้องกันการหก
ถ้วยหัดดื่มช่วยให้เครื่องดื่มไม่หกออกจากถ้วย ซึ่งดีต่อสุขภาพอนามัยของเด็ก เพราะหากน้ำนมหกและไม่ได้ทำความสะอาด อาจจะติดอยู่กับผิวหนังของเด็ก จนทำให้เด็กรู้สึกอึดอัดหรือเกิดปัญหาผิวหนังได้
ส่งเสริมความชุ่มชื้น
เหตุผลที่ถ้วยหัดดื่มสามารถช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น (Hydration) ได้ก็เพราะว่าง่ายต่อการดื่มสำหรับเด็ก ช่วยให้ร่างกายเด็ก ๆ ได้รับน้ำอย่างเพียงพอและช่วยรักษาความชุ่มชื้นของร่างกาย เพราะเด็ก ๆ รู้สึกสนุกกับการถือวัตถุที่มีรูปทรง สีสัน และมีเอกลักษณ์เอาไว้ในมือ นอกจากนั้น ยังช่วยให้เด็ก ๆ สามารถทำอะไรได้ด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นกระบวนการทางจิตวิทยาที่ว่า พวกเขาสามารถทำอะไรบางอย่างได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องให้คุณพ่อคุณแม่มาคอยช่วยเหลือ
เตรียมความพร้อมสำหรับการใช้ถ้วยแบบผู้ใหญ่
เหตุผลหลักที่ทำให้ถ้วยหัดดื่มถูกนำมาใช้ก็คือเป็นเครื่องมือฝึกให้เด็ก ๆ เตรียมตัวให้พร้อมในการดื่มจากถ้วย เพราะการถื่มจากด้วยนับเป็นทักษะที่ต้องเรียนรู้ เช่นเดียวกับสิ่งอื่นที่จำเป็นต้องเรียนรู้เช่นกัน การฝึกความพร้อมนี้ก็เพื่อให้เด็ก ๆ สามารถรักษาสมดุลในการหยิบถ้วยขึ้นมา และการดื่มน้ำด้วยริมฝีปากโดยที่น้ำไม่หกหรือหยด
ลดการติดเชื้อที่หู
อาจจะมีคำถามเกิดขึ้นว่าถ้วยหัดดื่มสามารถป้องกันการติดเชื้อที่หูในเด็กได้อย่างไร แน่นอนว่าเมื่อทารกดื่มนมจากขวดนมอย่างต่อเนื่อง กระเพาะอาหารจะเต็มไปด้วยนม ทำให้เด็ก ๆ ไม่สนใจที่จะกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่มากขึ้น เมื่อเด็กไม่ได้รับสารอาหารที่สมดุลจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ และปัญหาสุขภาพที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นกับเด็ก ๆ เป็นอย่างแรกคือ การติดเชื้อที่หู
ง่ายต่อการเก็บ
เหตุผลหนึ่งที่เหล่าผู้ปกครองมักให้ความสนใจกับถ้วยหัดดื่มก็เพราะทำให้การดำเนินชีวิตง่ายขึ้น โดยเฉพาะเมื่อต้องพาลูกออกไปข้างนอกหรือพาไปส่งที่สถานรับเลี้ยงเด็ก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับการใช้กระติกน้ำร้อน ถ้วย ขวด หรือกล่องน้ำผลไม้ ที่อาจจะมีน้ำหกออกมาได้
ช่วยให้ลูกเลิกติดขวดนม
ปัญหาที่เกิดขึ้นมากที่สุดของการใช้ขวดนมเป็นเวลานาน คือ โรคอ้วน และฟันผุ ดังนั้น การใช้ถ้วยหัดดื่มจึงถือเป็นวิธีที่จะทำให้เด็กได้เรียนรู้ว่า การดื่มนมหรือน้ำไม่จำเป็นต้องใช้ขวดนมก็ได้ นอกจากนั้น การให้เด็ก ๆ ใช้ถ้วยหัดดื่มก็จะทำให้ฝึกฝนที่จะใช้ถ้วยในการดื่มเครื่องดื่มอื่น ๆ ได้ด้วย
ช่วยให้พัฒนาการด้านการพูดดีขึ้น
หากเด็กติดขวดนมจะทำให้การพัฒนาทักษะอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ปากนั้นล่าช้า เช่น การออกเสียง หรือการฝึกพูดคุยรวมทั้งทักษะและการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ ที่ต้องใช้มือในการเล่นและสำรวจโลกรอบตัว ถ้วยหัดดื่มจะทำให้ปัญหาติดขวดนมนั้นค่อย ๆ หมดไป แต่อย่างไรก็ตาม การใช้ถ้วยหัดดื่มให้เกิดประโยชน์ควรให้เด็ก ๆ ใช้ถ้วยหัดดื่มระหว่างมื้ออาหารเท่านั้น หรือเพื่อสำหรับดื่มน้ำเท่านั้น เมื่อดื่มจากถ้วยหัดดื่มแล้ววางถ้วยลงไม่ควรให้เด็กติดถ้วยหัดดื่มหรือต้องทำสายคล้องคอถ้วยหัดดื่มไว้ตลอดเวลา
ถ้วยหัดดื่มดีจริงหรือ
แม้ว่าถ้วยหัดดื่มจะมีประโยชน์ แต่ก็ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่ว่า ดีต่อสุขภาพปากของเด็ก ๆ จริงหรือไม่ ส่งผลต่อพัฒนาการของปาก รวมทั้งอาจทำให้ฟันผุ และทำให้เกิดโรคอ้วนได้หรือไม่
ถ้วยหัดดื่มและการพัฒนาการของปาก
การให้นมทารกแรกเกิดคุณแม่สามารถเลือกได้ 2 ทาง ก็คือ การให้นมจากขวด หลังจากนั้นอาจจะใช้ถ้วยหัดดื่ม และการให้นมจากเต้า ซึ่งการให้นมจากเต้านั้นจะช่วยให้ช่องปากพัฒนาอย่างเหมาะสมและเป็นธรรมชาติ เนื่องจากหัวนมของผู้หญิงจะนุ่มกว่ายางจากขวดนม และมันจะเปลี่ยนรูปเมื่อเด็กดูดเข้าไป
แต่อย่างไรก็ตามขวดนมและถ้วยหัดดื่มนั้นมีหัวที่เป็นยาง ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามรูปปาก ดังนั้น จึงอาจนำไปสู่ช่องปากที่ผิดรูป ก่อให้เกิดปัญหาการพูด และส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับสำหรับเด็ก เช่น ทางเดินหายใจถูกขวาง และฟันที่เรียงกันในรูปแบบไม่ถูกต้อง
ถ้วยหัดดื่มและฟันผุ
ไม่ว่าเด็ก ๆ จะดื่มนม น้ำผลไม้ หรือเครื่องดื่มอื่น ๆ ที่มีน้ำตาลธรรมชาติ ก็ยังนับว่ามีความเสี่ยงที่จะทำให้กรดเข้าไปทำลายฟันได้ เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ จึงควรให้ลูกดื่มน้ำในปริมาณให้เหมาะสมตลอดทั้งวัน รวมทั้งหลังจากรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มในเวลาอาหารกลางวัน หรืออาหารเย็น ควรให้เด็ก ๆ บ้วนปากทุกครั้ง รวมทั้งแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง เพื่อลดปัญหาน้ำตาลและกรดเกาะติดฟันและทำลายสารเคลือบฟัน
ถ้วยหัดดื่มและโรคอ้วน
ถ้วยหัดดื่มที่มีน้ำผลไม้หรือน้ำหวานอาจทำให้เด็ก ๆ รู้สึกปลอดภัยและสบายใจ แต่การดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลตลอดทั้งวัน อาจนำไปสู่โรคอ้วนได้ น้ำเปล่า จึงถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด ทั้งยังทำให้เด็ก ๆ ไม่กระหายน้ำอีกด้วย การเลือกน้ำที่มีความสมดุลกรด-ด่าง (pH) สูงขึ้นเติมในถ้วยหัดดื่มจะช่วยให้เด็ก ๆ ได้รับรสชาติเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ถ้าหากต้องการให้เด็ก ๆ ได้รับประโยชน์ด้านสุขภาพ การให้ดื่มน้ำแอปเปิ้ลหรือน้ำส้ม ซึ่งเป็นน้ำผลไม้คั้นสดแท้ ๆ ก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่จำเป็นต้องหมั่นดูแลรักษาสุขภาพฟันอยู่เสมอ
[embed-health-tool-vaccination-tool]