วิตามินอี (Vitamin E) เป็นวิตามินชนิดหนึ่งที่ละลายในไขมัน พบในอาหารหลายชนิด รวมทั้งน้ำมันพืช ธัญพืช เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก ไข่ ผลไม้ ผักและน้ำมันจมูกข้าวสาลี นอกจากนี้ยังพบในรูปแบบอาหารเสริม
ข้อบ่งใช้
วิตามินอี (Vitamin E) ใช้สำหรับ
วิตามินอี (Vitamin E) เป็นวิตามินชนิดหนึ่งที่ละลายในไขมัน พบได้ในอาหารหลายชนิด รวมทั้งน้ำมันพืช ธัญพืช เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก ไข่ ผลไม้ ผักและน้ำมันจมูกข้าวสาลี นอกจากนี้ยังพบในรูปแบบอาหารเสริม
วิตามินอีนำมาใช้เพื่อรักษาภาวะขาดวิตามินอี ซึ่งพบได้ยาก แต่สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม และทารกซึ่งคลอดก่อนกำหนด และมีน้ำหนักตัวน้อย
บางคนใช้วิตามินอีเพื่อรักษาและป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ การแข็งของหลอดเลือด หัวใจวาย เจ็บหน้าอก อาการเจ็บขาเนื่องจากหลอดเลือดแดงตีบ และความดันโลหิตสูง
วิตามินอียังใช้เพื่อรักษาโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ มีการใช้เพื่อป้องกันโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งปอดและช่องปากในผู้สูบบุหรี่ มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ (Polyps) มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งตับอ่อน
บางคนใช้วิตามินอีเพื่อรักษาโรคทางสมองและระบบประสาท ได้แก่ โรคอัลไซเมอร์ และโรคสมองเสื่อมอื่นๆ โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) ตะคริวตอนกลางคืน โรคขาอยู่ไม่สุข และโรคลมชัก พร้อมกับยาชนิดอื่น วิตามินอียังใช้สำหรับโรคฮันติงตัน (Huntington’s chorea) และโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ
ผู้หญิงใช้วิตามินอีเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ในช่วงปลาย เนื่องจากความดันโลหิตสูง (ครรภ์เป็นพิษ) กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS) รู้สึกเจ็บปวดระหว่างมีประจำเดือน กลุ่มอาการวัยหมดประจำเดือน อาการร้อนวูบวาบที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งเต้านม และซีสต์ในเต้านม
บางครั้งใช้วิตามินอีเพื่อลดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายของการรักษา เช่น การฟอกเลือดและการฉายรังสี นอกจากนี้ ยังใช้เพื่อลดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ของยา เช่น ผมร่วงในคนที่ได้รับยาด็อกโซรูบิซิน (Doxorubicin) และความเสียหายที่เกิดกับปอดในคนที่ใช้ยาอะมิโอดาโรน (Amiodarone)
บางครั้งใช้วิตามินอีเพื่อเพิ่มความอดทนทางร่างกาย เพิ่มพลังงาน ลดความเสียหายของกล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกาย และเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
วิตามินอียังใช้สำหรับรักษาโรคต้อกระจก หอบหืด การติดเชื้อที่ทางเดินหายใจ ความผิดปกติของผิวหนังผิว ผิวเสื่อมสภาพเพราะอายุมาก แสบจากแสงแดด โรคซิสติกไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมที่ทำให้สารคัดหลั่งในร่างกายมีความเหนียวข้นขึ้น) ภาวะมีบุตรยาก อ่อนแรง อ่อนเพลียเรื้อรัง (CFS) แผลพุพอง โรคทางพันธุกรรมบางโรค และเพื่อป้องกันโรคภูมิแพ้
บางคนใช้วิตามินอีทาผิวเพื่อลดริ้วรอย และป้องกันผลกระทบจากการใช้สารเคมี เพื่อรักษาโรคมะเร็ง (เคมีบำบัด)
การทำงานของ วิตามินอี
ยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับการออกฤทธิ์ของวิตามินอีที่เพียงพอ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบแน่ชัดว่า วิตามินอีจำเป็นต่อร่างกายในการทำงานที่เหมาะสมของอวัยวะหลายอย่าง วิตามินอียังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งช่วยชะลอกระบวนการที่ทำให้เซลล์เกิดความเสียหาย
ข้อควรระวังและคำเตือน
ข้อควรรู้ก่อนใช้วิตามินอี
ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรในกรณีดังต่อไปนี้
- คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่คุณกำลังตั้งท้องหรือให้นมบุตรอยู่ คุณควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
- คุณกำลังใช้ยาชนิดอื่น รวมถึงยาใด ๆ ที่คุณซื้อโดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์
- คุณแพ้ส่วนประกอบของวิตามินอีหรือสมุนไพรชนิดอื่น
- คุณมีอาการป่วย ความผิดปกติ หรือโรคชนิดอื่น
- คุณมีอาการแพ้ เช่น แพ้อาหาร สารย้อมสี วัตถุกันเสียหรือสัตว์อื่นๆ
ข้อกำหนดในการใช้อาหารเสริม ไม่เคร่งครัดเท่ากับข้อกำหนดในการใช้ยา จำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติม เพื่อระบุความปลอดภัยของสารนี้ ข้อดีของการใช้อาหารเสริมต้องมีมากกว่าความเสี่ยงก่อนใช้ ปรึกษาแพทย์เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ความปลอดภัยของ วิตามินอี
วิตามินอีปลอดภัยสำหรับคนที่มีสุขภาพดีส่วนใหญ่ เมื่อรับประทานหรือทาลงบนผิว คนส่วนใหญ่ไม่ได้รับผลข้างเคียงใด ๆ เมื่อรับประทานรายวันในขนาดยาที่แนะนำ คือ 15 มิลลิกรัม
วิตามินอีอาจไม่ปลอดภัย หากได้รับในขนาดที่สูง ถ้าคุณเป็นโรค เช่น โรคหัวใจ หรือโรคเบาหวาน อย่าใช้ขนาดยา 400 IU ต่อวัน หรือมากกว่านั้น การวิจัยบางงานชี้ให้เห็นว่า ขนาดยาที่สูงขึ้นอาจเพิ่มโอกาสที่จะเสียชีวิต และทำให้เกิดผลข้างเคียงอื่น ๆ ยิ่งมีขนาดยาที่มากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งเสี่ยงต่อผลข้างเคียงที่รุนแรงเท่านั้น
มีความกังวลบางอย่าง ที่วิตามินอีอาจเพิ่มโอกาสที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองร้ายแรง ที่เรียกว่า “เลือดคั่งในสมอง’ ซึ่งเป็นอาการที่เลือดออกแล้วไหลเข้าไปในสมอง งานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่า การรับประทานวิตามินอีในขนาดยา 300-800 IU ในแต่ละวัน อาจเพิ่มโอกาสที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้ถึง 22 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม ในทางตรงกันข้าม วิตามินอีอาจลดโอกาสที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองที่รุนแรงน้อยกว่า ซึ่งเรียกว่า “ภาวะสมองขาดเลือด (Ischemic Stroke)’
มีข้อมูลที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับฤทธิ์ของวิตามินอี ต่อโอกาสที่จะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก งานวิจัยบางงานแสดงให้เห็นว่า การใช้วิตามินรวมในปริมาณมาก รวมทั้งการรับประทานอาหารเสริมวิตามินอีต่างหาก อาจเพิ่มโอกาสที่จะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชายบางคน
ข้อควรระวังและคำเตือนพิเศษ
การตั้งครรภ์
สตรีมีครรภ์ที่ใช้ปริมาณวิตามินอีรายวัน วิตามินอีอาจจะปลอดภัยต่อสตรีมีครรภ์ มีความกังวลว่า การใช้วิตามินอีเสริมอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ ถ้ากินในช่วงเริ่มต้นของการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม ยังเร็วเกินไปที่จะทราบว่านี่เป็นเรื่องใหญ่ที่ควรกังวลหรือไม่ จนกว่าจะมีข้อมูลสนับสนุนมากขึ้น อย่ารับประทานอาหารเสริมวิตามินอีในช่วงตั้งครรภ์ โดยไม่ปรึกษาผู้ให้บริการด้านการแพทย์ก่อน
การให้นมบุตร
วิตามินอีมีความปลอดภัย เมื่อรับประทานในปริมาณที่แนะนำระหว่างการให้นมบุตร
ทารกและเด็ก
วิตามินอีมีความปลอดภัยเมื่อรับประทานอย่างเหมาะสม ปริมาณวิตามินอีสูงสุด ที่ถือว่าปลอดภัยสำหรับเด็ก ขึ้นอยู่กับอายุ
- ปริมาณวิตามินอีน้อยกว่า 200 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นปริมาณที่ปลอดภัยสำหรับเด็กอายุ 1-3 ปี
- ปริมาณวิตามินอี น้อยกว่า 300 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นปริมาณที่ปลอดภัยสำหรับเด็กอายุ 4-8 ขวบ
- ปริมาณวิตามินอีน้อยกว่า 600 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นปริมาณที่ปลอดภัยสำหรับเด็กอายุ 9-13 ปี
- น้อยกว่า 800 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นปริมาณที่ปลอดภัยสำหรับเด็กอายุ 14-18 ปี
- วิตามินอี (อัลฟา-โทโคฟีรอล) อาจไม่ปลอดภัยเมื่อให้ทางหลอดเลือดดำ (IV) แก่ทารกที่คลอดก่อนกำหนดในขนาดยาที่สูง
การขยายหลอดเลือดหัวใจ
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเสริมที่มีวิตามินอี หรือวิตามินสารต้านอนุมูลอิสระอื่น ๆ (เบตาแคโรทีน วิตามินซี) ทันทีก่อนและหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจ โดยไม่ได้รับการดูแลจากผู้ให้บริการด้านการแพทย์ วิตามินเหล่านี้ดูเหมือนจะขัดขวางการรักษาที่เหมาะสม
โรคเบาหวาน
วิตามินอีอาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ที่เป็นเบาหวานควรหลีกเลี่ยงการรับประทานวิตามินอีในปริมาณมาก
หัวใจวาย
วิตามินอีอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ ในคนที่เป็นโรคหัวใจวาย คนที่เป็นโรคหัวใจวายควรหลีกเลี่ยงการรับประทานวิตามินอีในปริมาณมาก
ระดับวิตามินเคในร่างกายต่ำ (การขาดวิตามินเค)
วิตามินอีอาจทำให้เกิดปัญหาในการแข็งตัวของลิ่มเลือดในคนที่มีระดับวิตามินเคต่ำเกินไป
โรคตาเรียกว่าจอตามีสารสี
ออลแรคอัลฟ่าโทโคฟีรอล (All-rac-alpha-tocopherol) หรือวิตามินอีสังเคราะห์ 400 IU อาจจะช่วยเร่งการมองไม่เห็นในคนที่มีเป็นโรคจอตามีสารสี (Retinitis Pigmentosa) อย่างไรก็ตามปริมาณที่ต่ำกว่าอย่าง 3 หน่วยดูเหมือนจะไม่ออกฤทธิ์ หากคุณเป็นโรคนี้ควรหลีกเลี่ยงวิตามินอี
ความผิดปกติของการมีเลือดออก
วิตามินอีอาจทำให้ความผิดปกติของการเลือดออกรุนแรงขึ้น หากคุณมีโรคเกี่ยวกับเลือดออกควรหลีกเลี่ยงการรับประทานวิตามินอี
มะเร็งที่ศีรษะและลำคอ
อย่ารับประทานวิตามินอีในปริมาณ 400 IU ต่อวันหรือมากกว่า วิตามินอีอาจเพิ่มโอกาสที่จะกลับมาเป็นมะเร็ง
มะเร็งต่อมลูกหมาก
มีความกังวลว่า การใช้วิตามินอีอาจเพิ่มโอกาสที่จะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดเกี่ยวกับฤทธิ์ของวิตามินอี ในผู้ชายที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ในทางทฤษฎี การใช้วิตามินอีเสริมอาจทำให้มะเร็งต่อมลูกหมากแย่ลง
โรคหลอดเลือดสมอง
วิตามินอีอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ ในคนที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง คนที่มีประวัติโรคหลอดเลือดสมอง ควรหลีกเลี่ยงวิตามินอีในปริมาณมาก
การผ่าตัด
วิตามินอีอาจเพิ่มความเสี่ยงที่เลือดจะออกระหว่าง และหลังการผ่าตัด หยุดใช้วิตามินอีอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ก่อนเข้ารับการผ่าตัด
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงของการใช้วิตามินอี
วิตามินอีในขนาดยาสูงอาจทำให้คลื่นไส้ ท้องเสีย ตะคริวที่ท้อง เหนื่อยล้า อ่อนแรง ปวดศีรษะ เห็นภาพไม่ชัด เป็นผื่น เกิดรอยช้ำ หรือเลือดออก
ไม่ใช่ทุกคนที่จะแสดงอาการอันเนื่องมาจากผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจมีผลข้างเคียงอื่นที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีความกังวลเรื่องผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
ปฏิกิริยาของยา
ปฏิกิริยาของ วิตามินอี
วิตามินอีอาจทำปฏิกิริยากับยาหรือโรคของคุณ ปรึกษากับแพทย์ก่อนใช้วิตามินอี
ยาที่อาจมีผลต่อวิตามินอี ได้แก่
- ยาไซโคลสปอรีน (Cyclosporine) อย่างเช่น ยานีโอรัล (Neoral) ยาซานดิมมูน (Sandimmune)
การใช้วิตามินอีในปริมาณมาก ควบคู่ไปกับยาไซโคลสปอรีน (ยานีโอรัลและยาซานดิมมูน) อาจเพิ่มปริมาณยาไซโคลสปอรีน (ยานีโอรัลและยาซานดิมมูน) ที่ร่างกายดูดซึม โดยการเพิ่มปริมาณยาไซโคลสปอรีนที่ร่างกายดูดซึม วิตามินอีอาจเพิ่มฤทธิ๋และผลข้างเคียงของยาไซโคลสปอรีน (ยานีโอรัลและยาซานดิมมูน)
- ยาที่เปลี่ยนฤทธิ์ผ่านทางตับ
ยาบางตัวจะเปลี่ยนแปลงและถูกทำลายโดยตับ วิตามินอีอาจเพิ่มความไวในการสลายยาบางชนิดของตับ การรับประทานวิตามินอีพร้อมด้วยยาบางอย่างที่ทำลายได้โดยตับสามารถลดฤทธิ์ของยาได้ ก่อนที่คุณจะใช้วิตามินอี ปรึกษาผู้ให้บริการด้านการแพทย์ของคุณ หากคุณกำลังใช้ยาที่เปลี่ยนฤทธิ์โดยตับ ยาบางชนิดที่เปลี่ยนฤทธิ์โดยตับรวมถึงยาโลวาสแตติน (lovastatin) อย่างเช่น ยาเมวาคอร์ (Mevacor) ยาคีโตโคนาโซล (Ketoconazole) อย่างเช่นยาไนซอรัล (Nizoral) ยาไอทราโคนาโซล (Itraconazole) อย่างเช่นยาสปอราน็อกซ์ (Sporanox) ยาฟีโซฟีนาดีน (Fexofenadine) อย่างเช่น ยาอัลเลกรา (Allegra) ยาไทรอาโซแลม (Triazolam) อย่างเช่น ยาฮัลซิออน (Halcion) และอื่นๆ
- ยารักษาโรคมะเร็ง (เคมีบำบัด)
วิตามินอีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีความกังวลบางอย่างว่า สารต้านอนุมูลอิสระอาจลดประสิทธิภาพของยาบางชนิดที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง แต่ยังเร็วเกินไปที่จะทราบว่ามีปฏิกิริยาเช่นนี้เกิดขึ้นหรือไม่
- ยาที่ทำให้เลือดแข็งตัวได้ช้าลง (Anticoagulant / Antiplatelet drugs)
วิตามินอีอาจทำให้เลือดแข็งตัวได้ การรับประทานวิตามินอีร่วมกับยาที่ทำให้การแข็งตัวของเลือดช้าลง อาจเพิ่มโอกาสที่ผิวจะเกิดรอยฟกช้ำและเลือดออก ยาบางชนิดที่ทำให้เลือดแข็งตัวได้ช้าลง ได้แก่ ยาแอสไพริน ยาคลอพิดอกเรล (Clopidogrel) อย่างเช่นพลาวิกซ์ (Plavix) ยาไดโคลเฟแนค (diclofenac) อย่างเช่น โวลทาเรน (Voltaren) ยาคาตาแฟลม (Cataflam) และอื่น ๆ ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) อย่างเช่น แอดวิล (Advil) มอร์ทริน (Motrin) และอื่น ๆ ยานาพรอกเซน (Naproxen) อย่างเช่น อะนาพรอก (Anaprox) นาโพรซิน (Naprosyn) และอื่น ๆ ยาดัลเตพาริน (Dalteparin) อย่างเช่น แฟรกมิน (Fragmin) ยาอีน็อกซาพาริน (Enoxaparin) อย่างเช่น โลเวน็อกซ์ (Lovenox) ยาเฮพาริน (Heparin) ยาวาร์ฟาริน (Warfarin) อย่างเช่น คูมาดิน® (Coumadin®) และอื่นๆ
- ยาที่ใช้ในลดคอเลสเตอรอลหรือยาสแตติน (Statins)
การรับประทานวิตามินอี เบตาแคโรทีน วิตามินซี และซีลีเนียมร่วมกัน อาจลดประสิทธิภาพของยาบางชนิดที่ใช้ลดคอเลสเตอรอล ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าการรับประทานวิตามินอีอย่างเดียว สามารถลดประสิทธิภาพของยาบางชนิดที่ใช้ในการลดคอเลสเตอรอลหรือไม่ ยาบางชนิดที่ใช้ในการลดคอเลสเตอรอล ได้แก่ ยาอะทอร์วาสแตติน (Atorvastatin) อย่างเช่น ลิพิเตอร์ (Lipitor) ยาฟลูวาสแตติน (Fluvastatin) อย่างเช่นเลสคอล (Lescol) ยาโลวาสแตติน (Lovastatin) อย่างเช่น มวาคอร์ (Mevacor) และยาพราวาสแตติน (Pravastatin) อย่างเช่น พราวาชอล (Pravachol)
การรับประทานวิตามินอีควบคู่ไปกับเบตาแคโรทีน วิตามินซีและซีลีเนียม อาจลดผลที่เป็นประโยชน์ของไนอะซิน ไนอะซินสามารถเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดีได้ การรับประทานวิตามินอีร่วมกับวิตามินอื่นๆ อาจลดคอเลสเตอรอลชนิดดีในร่างกาย
- ยาวาร์ฟาริน (Warfarin) อย่างเช่น คูมาดิน® (Coumadin®)
ยาวาร์ฟาริน (คูมาดิน®) ใช้ชะลอการแข็งตัวของเลือด วิตามินอียังช่วยชะลอการแข็งตัวของเลือด การรับประทานวิตามินอีพร้อมกับยาวาร์ฟาริน (คูมาดิน®) อาจเพิ่มโอกาสที่จะเกิดรอยช้ำและเลือดออก มั่นใจว่าคุณได้ตรวจเลือดเป็นประจำ และอาจต้องมีการเปลี่ยนแปลงขนาดยาวาร์ฟาริน
ขนาดยา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้ยานี้
ขนาดยาวิตามินอี
ขนาดยาต่อไปนี้ได้รับการศึกษาในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์
การรับประทาน
- รักษาอาการขาดวิตามินอี ขนาดยาทั่วไปในผู้ใหญ่คือสารอัลฟ่าโทโคฟีรอลชนิดอาร์อาร์อาร์ (วิตามินอีธรรมชาติ) 60-75 IU ต่อวัน
- รักษาความผิดปกติของการเคลื่อนไหวที่เรียกว่าการเคลื่อนไหวช้าผิดปกติ (Tardive Dyskinesia) สารอัลฟ่าโทโคฟีรอลชนิดอาร์อาร์อาร์ (วิตามินอีธรรมชาติ) 1600 IU ต่อวัน
- เพิ่มสมรรถภาพของเพศชาย: วิตามินอี 200-600 IU ต่อวัน
- รักษาโรคอัลไซเมอร์ ไม่เกิน 2000 IU ต่อวัน การรักษาด้วยวิตามินอีร่วมกับยาโดเนเพซิล (Donepezil) เช่นอะริเซปต์ (Aricept) 5 มิลลิกรัมและวิตามินอี 1000 IU ต่อวัน เพื่อชะลออาการความจำเสื่อมในคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์
- รักษาโรคตับ ที่เรียกว่าโรคตับอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ 800 หน่วยต่อวันในผู้ใหญ่ 400-1,200 IU ต่อวันในเด็ก
- รักษาโรคฮันติงตันระยะเริ่มต้น สารอัลฟ่าโทโคฟีรอลชนิดอาร์อาร์อาร์ (วิตามินอีธรรมชาติ) 3000 IU
- รักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ วิตามินอี 600 IU วันละ 2 ครั้ง
- ป้องกันความเสียหายของเส้นประสาทที่เกิดจากยาซิสพลาติน (Cisplatin) วิตามินอี (สารอัลฟ่าโทโคฟีรอล) 300 มิลลิกรัมต่อวัน โดยรักษาด้วยยาเคมีบำบัดในแต่ละครั้ง และนานไม่เกิน 3 เดือนหลังจากหยุดใช้ยาซิสพลาติน
- ปรับปรุงประสิทธิภาพของไนเตรตที่ใช้ในการรักษาโรคหัวใจ วิตามินอี 200 มิลลิกรัมสามครั้งต่อวัน
- ลดโปรตีนในปัสสาวะของเด็กที่เป็นโรคไตเรียกว่าโรคไตจากเบาหวานบางส่วน (segmental glomerulosclerosis) วิตามินอี 200 IU
- รักษาภาวะพร่องเอนไซม์จีซิกพีดี (G6PD) วิตามินอี 800 IU ต่อวัน
- รักษากลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS) สารอัลฟ่าโทโคฟีรอลชนิดอาร์อาร์อาร์ (วิตามินอีธรรมชาติ) 400 IU
- รักษาอาการปวดประจำเดือน วิตามินอี 200 IU 2 ครั้ง หรือ 500 IU ทุกวัน เริ่มใช้วิตามินอี 2 วันก่อนที่จะมีประจำเดือน และใช้อย่างต่อเนื่องในช่วง 3 วันแรกที่เป็นประจำเดือน
- รักษาดวงตาหลังการผ่าตัด ที่เรียกว่า “การใช้เลเซอร์เพื่อรักษาสายตาสั้น (Keratectomy)’ วิตามินอีหรือยาไนโคติเนทชนิดอัลฟ่าโทโคฟีริล (Alpha-tocopheryl Nicotinate) 230 มิลลิกรัม และวิตามินเอหรือสารเรตินอลพัลมิเทท (Retinol Palmitate) มีการใช้ยา 25,000 IU วันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 30 วัน จากนั้น จึงใช้ยาวันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 2 เดือน
- รักษาพังผืดที่เกิดจากรังสี วิตามินอี 1000 IU ต่อวันร่วมกับยาเพนท็อกซิฟิลลีน (Pentoxifylline) 800 มิลลิกรัม
- รักษาโรคธาลัสซีเมียชนิดเบต้า วิตามินอี 750 IUต่อวัน
- ป้องกันผิวไหม้ สารอัลฟ่าโทโคฟีรอลชนิดอาร์อาร์อาร์ (วิตามินอีธรรมชาติ) 750 IUร่วมกับวิตามินซี 2 กรัม
- ป้องกันความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์ (Pre-eclampsia) ในสตรีที่มีความเสี่ยงสูง วิตามินอี 400 IU ร่วมกับวิตามินซี 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
เพื่อประโยชน์สูงสุด คุณควรรับประทานวิตามินอีสังเคราะห์ (ออลแรคอัลฟ่าโทโคฟีรอล) พร้อมกับอาหาร
ขนาดยาวิตามินอีอาจทำให้เกิดความสับสน คำแนะนำในปัจจุบันแสดงให้เห็นถึงปริมาณที่แนะนำในแต่ละวัน (RDA) และปริมาณสูงสุดที่ร่างกายสามารถรับได้ (UCL) สำหรับวิตามินอีหน่วยจะเป็นมิลลิกรัม อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่จะมีข้อความกำกับโดยใช้หน่วย IU
ขนาดยาวิตามินอีอาจแตกต่างกันไปตามผู้ป่วยแต่ละราย ปริมาณที่ใช้ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และโรคอื่น ๆ อาหารเสริมไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับขนาดยาที่เหมาะสมสำหรับคุณ
รูปแบบของยา
วิตามินอี สามารถพบได้จากแหล่งดังต่อไปนี้
- พบในอาหารตามธรรมชาติ
- แคปซูล (Softgel)
- แคปซูล
[embed-health-tool-bmi]