backup og meta

แบ่งปัน

หรือ คัดลอกลิงก์

แคลเซียม (Calcium)

แคลเซียม (Calcium)
แคลเซียม (Calcium)

แคลเซียม (Calcium) คือแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อกระดูกและฟัน หัวใจ เส้นประสาท และระบบการแข็งตัวของเลือด ก็ยังจำเป็นต้องใช้แคลเซียมในการทำงานเช่นกัน ใช้เพื่อรักษาอาการต่างๆ

ข้อบ่งใช้

แคลเซียม ใช้ทำอะไร

แคลเซียม (Calcium) คือแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อกระดูกและฟัน หัวใจ เส้นประสาท และระบบการแข็งตัวของเลือด ก็ยังจำเป็นต้องใช้แคลเซียมในการทำงานเช่นกัน ใช้เพื่อรักษาอาการต่างๆ เช่น

  • การรักษาและป้องกันระดับแคลเซียมต่ำ ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคกระดูก เช่น โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) โรคกระดูกอ่อนในเด็ก (Rickets) โรคกระดูกอ่อน (Osteomalacia)
  • กลุ่มอาการก่อนมีประเดือน (PMS)
  • ตะคริวที่ขาขณะตั้งครรภ์
  • ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ (ภาวะครรภ์เป็นพิษ)
  • ความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
  • อาการแทรกซ้อนที่เกิดจากการผ่าตัดบายพาสลำไส้ ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง โรคลายม์ (Lyme Disease)
  • ระดับฟลูออไรด์สูงในเด็ก
  • ระดับตะกั่วสูง

การทำงานของแคลเซียม

ยังไม่มีงานวิจัยเกี่ยวกับการทำงานของแคลเซียมมากพอ โปรดปรึกษากับแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามเป็นที่ทราบว่า

  • กระดูกและฟันมีส่วนประกอบของแคลเซียมมากกว่า 99 % ของร่างกายมนุษย์ แคลเซียมยังพบได้ในเลือด กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่ออื่นๆ แคลเซียมในกระดูกจะใช้เป็นแหล่งสะสม ที่สามารถปล่อยเข้าสู่ร่างกายได้เมื่อจำเป็น
  • ความเข้มข้นของแคลเซียมในร่างกายมักจะลดลงไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากมันถูกปล่อยออกจากร่างกายผ่านทางเหงื่อ เซลล์ผิว และของเสีย นอกจากนี้เมื่อผู้หญิงมีอายุมากขึ้น การดูดซึมแคลเซียมก็จะลดลง เนื่องจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง การดูดซึมแคลเซียมอาจแตกต่างไปตามเชื้อชาติ เพศ และอายุ
  • กระดูกจะถูกย่อยสลายและสร้างขึ้นมาใหม่ตลอดเวลา ซึ่งจำเป็นต้องใช้แคลเซียมในกระบวนการนั้น การรับประทานแคลเซียมเพิ่มขึ้นจะช่วยให้การสร้างกระดูกใหม่ได้อย่างเหมาะสม และแข็งแรง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ แคลเซียม

ปรึกษาแพทย์หรึอเภสัชกร หาก

ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่

  • คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากขณะที่คุณตั้งใจว่าจะให้นมบุตรหรือกำลังให้นมบุตร คุณควรจะใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • หากคุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ รวมไปถึงยาที่คุณกำลังใช้อยู่ซึ่งสามารถหาซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งยา
  • หากคุณมีอาการแพ้กับสารแคลเซียม ยาอื่นๆ หรือสมุนไพรอื่นๆ
  • หากคุณมีอาการเจ็บป่วยอื่น มีความผิดปกติ หรือมีอาการโรคใดๆ
  • หากคุณมีอาการภูมิแพ้อื่นๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้สีย้อม แพ้สารกันบูด หรือแพ้สัตว์

กฎระเบียบสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่ายารักษาโรค คุณจึงควรศึกษาข้อมูลให้มากเพื่อความปลอดภัยในการใช้ และการบริโภคอาหารเสริมแคลเซียม ควรมีคุณประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ข้อควรระวังและคำเตือนพิเศษ

ผู้ใหญ่และเด็ก

  • แคลเซียมนั้นถือว่าปลอดภัย หากรับประทานหรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำอย่างเหมาะสมและถูกต้อง แคลเซียมอาจจะไม่ปลอดภัยสำหรับผู้ใหญ่และเด็ก หากรับประทานมากเกินไป หลีกเลี่ยงแคลเซียมในปริมาณที่มากเกินไป สถาบันทางการแพทย์ได้กำหนดปริมาณสารอาหารสูงสุดที่สามารถบริโภคได้ในแต่ละวัน (UL) สำหรับแคลเซียม โดยยึดหลักของอายุดังนี้
  • อายุ 0-6 เดือน 1000 มก.
  • 6-12 เดือน 1500 มก.
  • 1-8 ปี 2500 มก.
  • 9-18 ปี 3000 มก.
  • 19-50 ปี 2500 มก.
  • 51+ ปี 2000 มก.

ควรพิจารณาปริมาณการบริโภคแคลเซียมทั้งหมด ทั้งจากอาหารและอาหารเสริม และพยายามอย่าบริโภคแคลเซียมเกิน 1000-1300 มก. ต่อวัน การคำนวณค่าแคลเซียมในอาหาร ให้นับ 300 มก./วัน จากอาหารที่ไม่ใช่นม บวกกับ 300 มก./นมหนึ่งแก้ว หรือน้ำส้มคั้นเสริมแคลเซียม

ข้อควรระวังเป็นพิเศษและคำเตือน

การตั้งครรภ์และให้นมบุตร

  • แคลเซียมนั้นจะปลอดภัยเมื่อรับประทานในปริมาณที่แนะนำขณะตั้งครรภ์และให้นมบุตร ยังไม่มีข้อมูลมากพอเกี่ยวกับความปลอดภัยของการฉีดแคลเซียมเข้าหลอดเลือดขณะตั้งครรภ์และให้นมบุตร

ภาวะระดับของกรดในกระเพาะอาหารต่ำ หรือภาวะขาดกรดในกระเพาะ (Achlorhydria)

  • คนที่มีระดับของกรดในกระเพาะต่ำจะดูดซึมแคลเซียมได้น้อยกว่า หากรับประทานแคลเซียมขณะท้องว่าง อย่างไรก็ตาม ระดับของกรดในกระเพาะที่ต่ำ ดูเหมือนจะไม่ได้ลดระดับของการดูดซึมแคลเซียมที่มาพร้อมกับอาหาร จึงแนะนำให้ผู้มีภาวะขาดกรดในกระเพาะรับประทานอาหารเสริมแคลเซียมพร้อมกับอาหาร

ระดับของฟอสเฟตในเลือดสูง (hyperphosphatemia) หรือมีระดับของฟอสเฟตในเลือดต่ำ (hypophosphatemia)

  • แคลเซียมและฟอสเฟตในร่างกายนั้นควรจะสมดุลกัน การรับประทานแคลเซียมมากเกินไป สามารถทำลายความสมดุลนี้ และทำให้เกิดอันตรายได้ อย่ารับประทานแคลเซียมเพิ่มเติมโดยไม่มีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาดูแลสุขภาพ

ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ (hypothyroidism)

  • แคลเซียมสามารถส่งผลกับการบำบัดภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนได้ (Thyroid hormone replacement treatment) ควรเว้นระยะห่างระหว่างการรับประทานแคลเซียมและยาฮอร์โมนอย่างน้อย 4 ชั่วโมง

การมีแคลเซียมในเลือดมากเกินไป

  • เช่นในภาวะความผิดปกติของต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid gland disorders) และโรคซาร์คอยโดซิส (Sarcoidosis) ควรหลีกเลี่ยงแคลเซียมหากเป็นโรคใดโรคหนึ่งนี้

การทำงานของไตไม่ดี

  • อาหารเสริมแคลเซียมอาจเพิ่มความเสี่ยง ในการทำให้มีแคลเซียมในเลือดมากเกินไป สำหรับผู้ที่มีภาวะไตทำงานไม่ดี

การสูบบุหรี่

  • ผู้ที่สูบบุหรี่จะดูดซึมแคลเซียมในกระเพาะอาหารได้น้อยกว่าปกติ

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ แคลเซียม

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการใช้แคลเซียมได้แก่

  • แคลเซียมสามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงเล็กน้อยได้ เช่น เรอ หรือมีแก๊ส

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หรือบางคนอาจมีผลข้างเคียงอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาต่อยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

แคลเซียมอาจทำปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงรุนแรง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง หรือสมุนไพร

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากคุณกำลังใช้ยาเหล่านี้

  • เซฟไตรอะโซน (Ceftriaxone) การฉีดยาเซฟไตรอะโซนและแคลเซียมเข้าเส้นเลือดดำ สามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ปอดและไตอย่างรุนแรง ที่อาจเป็นอันตายถึงชีวิต ไม่ควรฉีดแคลเซียมเข้าเส้นเลือดภายใน 48 ชั่วโมงหลังจากรับยาเซฟไตรอะโซน
  • ยาปฏิชีวนะ แคลเซียมอาจจะลดปริมาณการดูดซึมยาปฏิชีวนะของร่างกาย การใช้แคลเซียมคู่กับยาปฏิชีวนะบางชนิด อาจจะลดประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะนั้นๆ เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยานี้ ควรรับประทานอาหารเสริมแคลเซียมหลังจากรับยาปฏิชีวนะอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
  • ยาปฏิชีวนะกลุ่มเตตราไซคลีน แคลเซียมสามารถไปเกาะจับกับยาปฏิชีวนะบางชนิด ที่เรียกว่า เตตราไซคลีน (Tetracyclines) ในกระเพาะอาหาร ทำให้ลดปริมาณการดูดซึมยาเตตราไซคลีน การใช้แคลเซียมคู่กับยาเตตราไซคลีนอาจลดประสิทธิภาพของยาเตตราไซคลีนได้ เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยานี้ควรรับประทานแคลเซียม 2 ชั่วโมงก่อน หรือ 4 ชั่วโมงหลังใช้ยาเตตราไซคลีน
  • ยากลุ่มบิสฟอสโฟเนตส์ (Bisphosphonates)แคลเซียมสามารถลดการดูดซึมยากลุ่มบิสฟอสโฟเนตส์ได้ การใช้แคลเซียมคู่กับยากลุ่มบิสฟอสโฟเนตส์ สามารถลดประสิทธิภาพของยากลุ่มนี้ได้ เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยานี้ ใช้ยากลุ่มไบฟอสโฟเนตส์ อย่างน้อย 30 นาทีก่อนแคลเซียม หรือใช้หลังจากนั้น
  • ยากลุ่มคาลซิโพไทรอิน (Calcipotriene) ยาซิโพไทรอิน อย่างเช่น โดโวเนกซ์ (Dovonex) คือยาที่คล้ายกับวิตามินดี วิตามินดีช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียม การรับประทานอาหารเสริมแคลเซียมคู่กับยาคาลซิโพไทรอิน อาจทำให้ได้รับแคเซียมมากเกินไป
  • ยากลุ่มไดจอกซิน (Digoxin) แคลเซียมสามารถส่งผลกระทบต่อหัวใจของคุณได้ ยาไดจอกซิน อย่างเช่น ลาโนซิน (Lanoxin) ใช้เพื่อช่วยให้หัวใจของคุณเต้นแรงขึ้น การใช้แคลเซียมคู่กับยาไดจอกซิน อาจเพิ่มประสิทธิภาพของยาไดจอกซินแล้วทำให้หัวใจเต้นผิดปกติได้ หากคุณกำลังใช้ยาไดจอกซินควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้อาหารเสริมแคลเซียม
  • ยากลุ่มดิลไทอะเซม (Diltiazem) แคลเซียมสามารถส่งผลกระทบต่อหัวใจของคุณได้ ยาดิลไทอะเซม อย่างคาร์ดิเซม (Cardizem) หรือดิลาคอร์ (Dilacor) หรือทิอาแซค (Tiazac) ก็ส่งผลกระทบต่อหัวใจของคุณได้เช่นกัน การรับประทานแคลเซียมจำนวนมาก คู่กับยาดิลไทอะเซม อาจลดประสิทธิภาพของยาดิลไทอะเซมได้
  • ยากลุ่มเลโวไทรอกซีน (Levothyroxine) ยาเลโวไทรอกซีนใช้เพื่อลดการทำงานของไทรอยด์ แคลเซียมสามารถลดการดูดซึมยาเลโวไทรอกซีนได้ การใช้แคลเซียมคู่กับเลโวไทรอกซีนอาจลดประสิทธิภาพของยาเลโวไทรอกซีน ควรรับประทานยาเลโวไทรอกซีนและแคลเซียมห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
  • ยากลุ่มโซทาลอล (Sotalol) การใช้แคลเซียลคู่กับยาโซทาลอล อย่างเช่น เบตาเพส (Betapace) สามารถลดการดูดซึมยาโซทาลอลได้ การใช้แคลเซียมคู่กับยาโซทาลอลอาจลดประสิทธิภาพของยาโซทาลอลได้ เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยานี้ ควรรับประทานแคลเซียลอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อน หรือ 4 ชั่วโมง หลังใช้ยาโซทาลอล
  • ยาขับปัสสาวะ (Water pills) ยาขับปัสสาวะบางชนิดอาจจะเพิ่มปริมาณแคลเซียมในร่างกายได้ การรับระทานแคลเซียมจำนวนมากคู่กับยาขับปัสสาวะ อาจทำให้มีแคลเซียมในร่างกายมากเกินไป และอาจส่งผลข้างเคียงที่รุนแรง รวมทั้งปัญหาเกี่ยวกับไตอีกด้วย
  • เอสโตรเจน (Estrogens) เอสโตรเจนช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ การรับประทานยาเอสโตรเจนคู่กับแคลเซียมในปริมาณมาก อาจเพิ่มปริมาณแคลเซียมในร่างกายมากเกินไป
เพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ขนาดการใช้

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดการใช้แคลเซียม

ปริมาณในการใช้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ การใช้คาโมมายล์ในรูปแบบอาหารเสริมอาจไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอ จึงควรปรึกษาเรื่องปริมาณที่เหมาะสม และวิธีการใช้งานอย่างปลอดภัยจากแพทย์หรือเภสัชกรเสมอ

รับประทาน

  • เพื่อป้องกันระดับแคลเซียมต่ำ มักใช้ 1 กรัม ธาตุแคลเซียม ทุกวัน
  • สำหรับอาการแสบร้อนกลางอก ใช้แคลเซียมคาร์บอเนตเป็นยาลดกรด ปกติคือ 0.5-1.5กรัม ตามที่จำเป็น
  • เพื่อลดปริมาณฟอสเฟตในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง ขนาดยาเริ่มต้นสำหรับแคลเซียมอะซิเตต คือ 1.334 กรัม (338 มก. ธาตุแคลเซียม) พร้อมกับอาหารในแต่ละครั้ง เพิ่มถึง 2-2.67 กรัม (500-680 มก. ธาตุแคลเซียม) พร้อมกับอาหารในแต่ละครั้ง ตามที่จำเป็น
  • เพื่อป้องกันกระดูกอ่อนแอ (โรคกระดูกพรุน) ขนาดยา 1-1.6 กรัม ธาตุแคลเซียม ทุกวัน รับจากอาหารและอาหารเสริม แนวทางการรักษาโรคกระดูกพรุนในอเมริกาเหนือ แนะนำให้ใช้แคลเซียม 1200 มก. ต่อวัน
  • สำหรับการป้องกันการสูญเสียกระดูก ในสตรีวัยก่อนหมดประจำเดือนที่มีอายุเกิน 40 ขนาดยา 1 กรัม
  • สำหรับผู้ตั้งครรภ์ที่บริโภคแคลเซียมในปริมาณที่ต่ำ ขนาดยาสำหรับการเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก มีตั้งแต่ 300-1300 มก./วัน เริ่มตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ในสัปดาห์ที่ 20-22
  • สำหรับกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน: 1-1.2 กรัม แคลเซียม ต่อวันเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต
  • เพื่อลดระดับฮอร์โมนไทรอยด์สำหรับผู้ที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง: แคลเซียมคาร์บอเนต 2-21 กรัม
  • เพื่อป้องกันการสูญเสียกระดูกสำหรับผู้ที่ที่ใช้ยาคอร์ติโคสเตอรอยด์: แบ่งยาวันละ 1 กรัม ธาตุแคลเซียมต่อวัน
  • เพื่อรักษาโรคความดันโลหิตสูง 1-1.5 กรัมแคลเซียม ต่อวัน
  • เพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ (ก่อนคลอด) ใช้แคลเซียมคาร์บอเนต 1-2 กรัม ต่อวัน
  • เพื่อป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และเนื้องอกลำไส้ใหญ่กำเริบ (adenomas): แคลเซียม 1200-1600 มก./วัน
  • สำหรับภาวะคอเลสเตอรอลสูง มีการใช้แคลเซียม 1200 มก. ต่อวัน รับประทานคู่หรือแยกต่างหากกับวิตามินดี 400 IU ต่อวัน ร่วมกับอาหารที่มีไขมันต่ำหรือจำกัดแคลอรี่
  • เพื่อป้องกันการเป็นพิษของฟลูออไรด์ในเด็ก แคลเซียม 125 มก. วันละสองครั้ง คู่กับกรดแอสคอร์บิก (ascorbic acid) และวิตามินดี
  • สำหรับการลดน้ำหนัก เพิ่มปริมาณการบริโภคแคลเซียมที่มาจากผลิตภัณฑ์นม ให้ได้ประมาณ 500-2400 มก./วัน คู่กับอาหารจำกัดแคลอรี่

ปริมาณการใช้แคลเซียมอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ การใช้ยาสมุนไพรนั้นอาจไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอ จึงควรปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์หรือแพทย์ในเรื่องปริมาณที่เหมาะสมอาจแตกต่างกันสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย ขนาดยาที่ใช้ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและเงื่อนไขอื่นๆ อาหารเสริมไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาแพทย์ของคุณเกี่ยวกับขนาดที่เหมาะสม

รูปแบบของแคลเซียม

แคลเซียมอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้

  •  ยาแคปซูลแคลเซียม 600 มก.
  • แคลเซียมเหลว

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Calcium http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-781-calcium.aspx?activeingredientid=781 Accessed September 13, 2017

Calcium http://www.medicinenet.com/calcium_supplements-oral/article.htm Accessed September 13, 2017

Calcium https://www.medicalnewstoday.com/articles/248958.php#1 Accessed September 13, 2017

เวอร์ชันปัจจุบัน

18/08/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu

avatar

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 18/08/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา