ตากระตุกข้างซ้าย อาจไม่ได้บ่งบอกลางร้ายหรือดีเสมอไป แต่อาจเป็นสัญญาณเตือนบ่งบอกถึงสุขภาพบางอย่างที่เกี่ยวกับเส้นประสาทและสมอง เช่น โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง อัมพาตครึ่งซีก เส้นเลือดตีบ และโรคทูเร็ตต์ (Tourette syndrome) หากสังเกตว่าตากระตุกบ่อยครั้งและติดต่อกันเป็นเวลานานควรเข้ารับการวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุให้ชัดเจนและรักษาอย่างรวดเร็ว
[embed-health-tool-heart-rate]
ตากระตุกข้างซ้าย เกิดจากอะไร
ตากระตุกข้างซ้าย เกิดจากกล้ามเนื้อตาอยู่รอบเปลือกตาหรือหนังตาบนและล่างมากเกินไป ทำให้เปลือกตาข้างใดข้างหนึ่งกระตุกเองโดยที่ไม่สามารถควบคุมได้และอาจมีอาการกระตุกต่อเนื่องหรือกระตุกเป็นพัก ๆ ทุก ๆ 2-3 วินาที หรือ 1-2 นาที
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระตุ้นให้ตากระตุกข้างซ้าย ดังนี้
- ความเครียด
- การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์
- การสูบบุหรี่
- ความเหนื่อยล้าอ่อนเพลีย
- การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
- อาการตาล้า ตาแห้งและตาไวแสงที่อาจเกิดจากการจ้องหน้าจอโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ตและโทรทัศน์เป็นเวลานาน
- สภาพแวดล้อม เช่น ลม แสงสว่าง แสงแดด ฝุ่น ควัน
- ยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคลมชัก ยารักษาอาการทางจิต
นอกจากนี้ หากมีอาการตากระตุกขางซ้ายต่อเนื่องและเป็นเวลานานกว่าหลายเดือน ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะเปลือกตาอักเสบ กระจกตาถลอก โรคต้อหิน รวมถึงโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง เช่น โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis : MS) โรคพาร์กินสัน โรคเซลล์ประสาทนำคำสั่งเสื่อม (Motor neurone disease / MND) โรคทูเร็ตต์ (Tourette syndrome) และโรคอัมพาตใบหน้า
อาการที่ควรพบคุณหมอ
อาการตากระตุกข้างซ้ายที่ควรเข้าพบคุณหมอ มีดังนี้
- ตาข้างซ้ายกระตุกเป็นเวลานานกว่า 1 สัปดาห์
- เปลือกตาปิดสนิท
- มีอาการกล้ามเนื้อใบหน้าส่วนอื่น ๆ กระตุกร่วมด้วย
- มีออาการตาแดง แสบ ตาบวม
- ตาพร่ามัวหรือสูญเสียการมองเห็นข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง
วิธีรักษาอาการตากระตุกข้างซ้าย
วิธีรักษาอาการตากระตุกข้างซ้าย อาจทำได้ดังนี้
วิธีรักษาอาการตากระตุกข้างซ้ายด้วยเทคนิคทางการแพทย์
- ยาหยอดตา เช่น ไซโคลสปอริน (Cyclosporine) เพื่อช่วยให้ดวงตาชุ่มชิ้น บรรเทาอาการตาแห้ง
- ยารับประทาน เช่น ไตรเฮกซีเฟนิดิล (Trihexyphenidyl) แบคโคลเฟน (Baclofen) Clonazepam (โคลนาซีแพม) เตตราเบนาซีน(Tetrabenazine) คาร์บามาเซพีน (Carbamazepine) เพื่อช่วยคลายความกังวล ความเครียด และรักษาอาการกล้ามเนื้อเกร็งที่นำไปสู่ตากระตุกจากโรคปลอกประสาทอักเสบ
- ยาฉีดคลายกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยคลายกล้ามเนื้อบรรเทาอาการกระตุก
- การผ่าตัด เหมาะสำหรับผู้ที่มีตากระตุกข้างซ้ายระดับรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ จึงจำเป็นต้องผ่าตัดนำกล้ามเนื้อตาส่วนที่เป็นปัญหาออก
วิธีรักษาอาการตากระตุกข้างซ้ายด้วยตัวเอง
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ผ่อนคลายความเครียดด้วยการทำกิจกรรมที่ชอบ เช่น ท่องเที่ยว เล่นเกม อ่านหนังสือ ดูซีรีย์
- นวดกล้ามเนื้อบริเวณที่เป็นตะคริวหรือเมื่อรู้สึกว่ามีอาการแขนขาชา
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ เช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง เบียร์ ไวน์ โซจู
- ควรรับประทานยาตามที่คุณหมอกำหนด และไม่ควรหยุดยาเองแม้ว่าอาการจะดีขึ้น