backup og meta

ตังกุย (Dong Quai)

ตังกุย (Dong Quai)

การใช้ประโยชน์ ตังกุย

ตังกุย ใช้สำหรับทำอะไร

ตังกุย (Dong Quai ) โดยทั่วไปถูกใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน ลดอาการร้อนวูบวาบของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ปรับปรุงเรื่องการนอนหลับพักผ่อนให้สมดุลในช่วงก่อน และหลังหมดประจำเดือน รวมถึงบำรุงภาวะการหลั่งเร็วของเพศชาย เมื่อใช้โดยตรงบริเวณผิวหนังอวัยวะเพศ

สมุนไพรนี้อาจมีการรักษา และการใช้งานในด้านอื่นๆ ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละบุคคลโปรดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การทำงานของตังกุย

บางการศึกษามีการตรวจสอบตังกุยเพื่อใช้งานตอบสนองต่อร่างกายของมนุษย์ และแนะนำว่าตังกุยมีส่วนผสมที่อาจช่วยลดความเจ็บปวด เปิดหลอดเลือด ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกผ่อนคลาย แต่มิได้ส่งผลต่อการหยุดฮอร์โมนเพศหญิงแต่อย่างใด โปรดปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์ก่อนการใช้งานเสมอ

ข้อควรระวัง และคำเตือน

เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้ตังกุย

ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรถึงอาการหรือลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรจะได้รับยาหรือสมุนไพรบำรุง ที่จัดจำหน่ายโดยแพทย์เท่านั้น
  • อยู่ในระหว่างการใช้ยาหรือสมุนไพรอื่นๆ ร่วมด้วย รวมถึงยาทุกชนิดที่ซื้อรับประทานเองโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารที่มีส่วนประกอบของตังกุยหรือยาและสมุนไพรชนิดอื่น
  • มีอาการเจ็บป่วย มีอาการผิดปกติ หรือมีโรคอื่นๆ แทรกซ้อน
  • มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่นแพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อบังคับสำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยในการใช้ ประโยชน์ของการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารนี้จะต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

 

ตังกุยมีความปลอดภัยแค่ไหน

ตังกุยนั้นไม่มีความปลอดภัยเมื่อคุณใช้รักษาในเด็ก

สำหรับผู้ตั้งครรภ์และกำลังให้นมบุตร : ตังกุยนั้นค่อนข้างอันตราย เพราะอาจทำให้มดลูกหดตัว และเพิ่มความเสี่ยงในการแท้งบุตร ยังไม่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือถึงความปลอดภัยในระหว่างการให้นมบุตร

สำหรับการผ่าตัด : ควรหยุดรับประทาน หรือใช้สมุนไพรชนิดนี้อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนกำหนดการผ่าตัด เพื่อลดความเสี่ยงเลือดออกปริมาณมากระหว่างผ่าตัด แและหลังผ่าตัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ตังกุย

ตังกุยอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงเหล่านี้ขึ้น

  • อัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ
  • ภาวะเบื่ออาหาร
  • หายใจลำบาก
  • ท้องอืด ท้องเสีย
  • การไหลเวียนของประจำเดือนเปลี่ยนแปลง
  • วิงเวียนศีรษะ อาเจียน เป็นไข้
  • หน้าอกโตในเพศชาย
  • เพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็ง
  • เพิ่มความเสี่ยงการแท้งบุตร
  • ความต้องการทางเพศเปลี่ยนแปลง
  • ปัญหาเกี่ยวกับไต
  • ระคายเคืองผิว (ผิวไหม้ หรือผื่นคัน) ปากแห้ง
  • นอนหลับยาก
  • ภาวะเหงื่อออก
  • การกระตุ้นมดลูก
  • สูญเสียการมองเห็น
  • ร่างกายอ่อนแรง
  • การขยายตัวของหลอดเลือด

ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจมีผลข้างเคียงอื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากคุณมีความกังวลใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์ และเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ตังกุยอาจเกิดปฏิกิริยากับตัวยาอื่นที่คุณใช้ร่วมด้วย เช่น แอสไพริน (aspirin), โคลพิโดเกรล (clopidogrel) , ไดโคลฟีแนค (diclofenac), ไอบูโพรเฟน (ibuprofen), นาพรอกเซน (naproxen), และอื่นๆ อาจเพิ่มโอกาสของการตกเลือด รอยฟกช้ำ และเนื้องอกในมดลูก หรืออาจมีผลข้างเคียงต่อการรักษาอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์ หรือนักสมุนไพรศาสตร์ก่อนใช้สมุนไพร

ขนาดการใช้

ข้อมูลที่นำเสนอนี้ไม่สามารถใช้อ้างอิงเป็นคำแนะนำทางการแพทย์ โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือแพทย์ของท่าน ก่อนการนำยาตัวนี้ไปใช้เสมอ

ปริมาณยาที่ใช้สำหรับผู้ใหญ่

  • สมุนไพรแห้ง (รากสด) ควรได้รับการต้มก่อนการใช้รับประทาน
  • สมุนไพรแบบผง (อยู่ในรูปแคปซูล) ใช้สำหรับอาการหมดประจำเดือน ผู้ที่ทานชนิดเม็ด หรือแคปซูลควรใช้ในปริมาณ 500 ถึง 600 มิลลิกรัม 6 ครั้ง ต่อวัน
  • ทิงเจอร์ (1:5 w/v แอลกอฮอล์ 70%) ปริมาณ 40 ถึง 80 หยด (เทียบเท่า 2 ถึง 4 มิลลิลิตร หรือ 5 มิลลิลิตรใน 1 ช้อนโต๊ะ) 3 ครั้งต่อวัน

ปริมาณของเป็นสมุนไพรนี้อาจแตกต่างสำหรับผู้ป่วยแต่ละบุคคล ซึ่งขึ้นอยู่กับ อายุ สุขภาพ กรุณาปรึกษากับแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรถึงความเหมาะสมในปริมาณของตังกุย

สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบใด

สมุนไพรดังกล่าวอาจมีรูปแบบดังต่อไปนี้

  • ชนิดเม็ด ผง(แคปซูล)
  • สมุนไพรแห้ง (รากสด)
  • ทิงเจอร์
  • ครีม

Hello Health Groupไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Dong-Quai. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-936-dong%20quai.aspx?activeingredientid=936&. Accessed December 12, 2016.

Dong-Quai. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/dong-quai. Accessed December 12, 2016.

Dong-Quai. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/dong-quai/safety/hrb-20059206. Accessed December 12, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/05/2020

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

ถังเช่า (Cordyceps)

ประโยชน์ของชากุหลาบ และวิธีการทำ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา