การ ตัดแขนขา เป็นการผ่าตัดเอาอวัยวะ เช่น แขน ขา มือ เท้า ส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดออกจากร่างกาย เนื่องจากผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บรุนแรง หรือมีสภาวะทางการแพทย์ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
ข้อมูลพื้นฐาน
การตัดแขนขาคืออะไร
การตัดแขนขา (Amputation) เป็นการผ่าตัดเอาแขน ขา เท้า มือ นิ้วเท้า หรือนิ้วมือ บางส่วนหรือทั้งหมดออก จัดเป็นตัวเลือกสุดท้ายในการรักษาอาการบาดเจ็บ โรค อาการติดเชื้อ หรือนำเนื้องอกออกจากกระดูกและกล้ามเนื้อ
การตัดแขนขาจะมีโอกาสเกิดกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และส่วนใหญ่เป็นผู้ชายอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป วิธีนี้จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการแทรกซ้อนหรือปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์
ความจำเป็นในการ ตัดแขนขา
โดยทั่วไปแล้ว แพทย์อาจต้องมีการตัดแขน ขา เท้า มือ นิ้วเท้าหรือนิ้วมือออก เนื่องจากสาเหตุต่อไปนี้
- อาการติดเชื้อ หรือเสียเลือดขั้นรุนแรง
- อาการติดเชื้อหลังผ่าตัด
- เบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานชนิดที่ 2 (ระดับน้ำตาลในเลือดสูงทำลายเส้นเลือด ทำให้เลือดไม่สามารถไหลได้อย่างปกติ)
- ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis)
- อาการบาดเจ็บร้ายแรง เช่น อุบัติเหตุ บาดแผลไฟไหม้
- เนื้องอกหรือมะเร็งในกระดูกและกล้ามเนื้อของส่วนแขนหรือขา
- อาการติดเชื้อร้ายแรงซึ่งทำให้ยาปฏิชีวนะ หรือการรักษามีประสิทธิภาพที่ไม่เต็มที่
- เนื้องอกของเส้นประสาท (Neuroma)
- เนื้อเยื่อถูกทำลายเพราะความเย็นจัด (Frostbite)
- ปัญหาสุขภาพหัวใจ เช่น หัวใจวาย หัวใจล้มเหลว
- ภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน
- โรคปอดบวม (Pneumonia)
อาจมีอาการอื่นๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการดังกล่าว โปรดปรึกษาแพทย์
ความเสี่ยง
ความเสี่ยงของการ ตัดแขนขา
โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
ขั้นตอนการผ่าตัด
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตัดแขนขา
ก่อนการผ่าตัด แพทย์จะทดสอบว่าอาการของคุณอยู่ในระดับใด โดยใช้วิธีการดังต่อไปนี้
- วัดความดันเลือดบริเวณแขนหรือขา
- วัดการไหลเวียนของเลือดโดยใช้สารเภสัชรังสี Xenon 133
- วัดระดับความดันของออกซิเจนตามผิวหนัง
- วัดการไหลเวียนของเลือดบริเวณผิวหนังโดยใช้ Laser Doppler
- วัดระดับสารฟลูออเรสเซนต์บริเวณผิวหนัง
- วัดรังสีอินฟาเรดจากอุณหภูมิบริเวณผิวหนัง
นอกจากนี้ แพทย์อาจต้องมีการประเมินภาวะทางจิตใจ และอารมณ์ของผู้ป่วยด้วย เพราะผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการตัดแขนขามักมีอาการเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล
อาจมีการตรวจหรือทดสอบนอกเหนือจากที่ระบุข้างต้น โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
ขั้นตอนการตัดแขนขา
วิสัญญีแพทย์จะให้ยาระงับความรู้สึกแก่ผู้เข้ารับการผ่าตัด โดยชนิดของยาระงับความรู้สึกขึ้นอยู่กับอวัยวะส่วนที่ต้องผ่าตัด
ส่วนใหญ่แล้วการตัดแขนขาจะเป็นการตัดอวัยวะออกเพียงแค่บางส่วนเท่านั้น ไม่ใช่การตัดแขนขาออกทั้งหมด เมื่อแขนขาถูกตัดออกไปแล้ว แพทย์อาจใช้การรักษาอื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อช่วยให้อวัยวะส่วนที่เหลืออยู่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดความเสี่ยงในการเกิดอาการแทรกซ้อน
หลังตัดแขนขาออกไปแล้ว แพทย์จะเย็บปิดแผลด้วยไหมหรือลวดเย็บผิวหนัง จากนั้นจึงพันผ้าพันแผล หรือในบางกรณีอาจต้องสอดอุปกรณ์ดูดซับสารคัดหลั่งเข้าไปที่ใต้ผิวหนัง เพื่อทำให้แผลแห้งเร็วขึ้น โดยปกติแล้ว ต้องพันผ้าพันแผลไว้ 2-3 วัน เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
รายละเอียดในการผ่าตัดอาจแตกต่างไปในแต่ละกรณี หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์
การพักฟื้น
หลังการตัดแขนขา
หลังเข้ารับการผ่าตัดแขนขาออก ผู้ป่วยจะได้รับออกซิเจนผ่านทางหน้ากาก ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ และอาจต้องใส่สายสวนปัสสาวะ หรือใช้หม้อนอน (อุปกรณ์รองรับปัสสาวะหรืออุจจาระจากผู้ป่วยที่ไม่สามารถลุกจากเตียงได้) เป็นเวลา 2-3 วันขณะพักฟื้นอยู่ในห้องพักผู้ป่วย
การตัดแขนขาอาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวด ในกรณีนี้ แพทย์จะให้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวด เช่น ยาแก้ปวด ยาพาราเซตามอล ยาปฏิชีวนะ
การกายภาพบำบัดหลังจากการผ่าตัด เช่น การยืดเส้น คลายเส้น การออกกำลังแบบพิเศษ สามารถช่วยให้ผู้ป่วยลุกนอนเตียง หรือแต่งตัวได้สะดวกขึ้น และการใช้รถวีลแชร์เพื่อช่วยรับน้ำหนักส่วนที่บาดเจ็บ ก็สามารถช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตประจำวันได้สะดวกยิ่งขึ้นเช่นกัน
คุณควรปฏิบัติตามข้อควรปฏิบัติหลังจากผ่าตัด เช่น ดูแลส่วนที่ผ่าตัด การเปลี่ยนเสื้อผ้า การอาบน้ำ การทำกายภาพบำบัด และกินยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ร่วมกับการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ดังต่อไปนี้
- ควบคุมประเภทอาหารที่รับประทาน ไม่รับประทานอาหารเกินปริมาณแคลอรี่ที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้หลากหลาย
- งดสูบบุหรี่
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ความเสี่ยงหลังตัดแขนขา
การผ่าตัดทุกชนิดย่อมมีความเสี่ยง จึงควรศึกษาข้อมูลและขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนการผ่าตัด
หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันที
- มีไข้
- มีผื่นแดง บวม และมีเลือดออกบริเวณบาดแผล
- มีอาการเจ็บแผลบริเวณที่ผ่าตัด
- มีการชาและเสียวแปลบบริเวณแขนหรือขา
คุณสามารถลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อเตรียมพร้อมในการผ่าตัด เช่น งดอาหาร หยุดยา
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
[embed-health-tool-bmi]