backup og meta

ไขว่ห้าง นาน ๆ ไม่ใช่แค่ปวดเมื่อย แต่อันตรายกว่าที่คิด

ไขว่ห้าง นาน ๆ ไม่ใช่แค่ปวดเมื่อย แต่อันตรายกว่าที่คิด

หนึ่งในท่านั่งที่มีส่วนช่วยให้บุคลิกภาพดี ดูมีคลาส หรือเซ็กซี่มากขึ้น ก็คือการท่าไขว่ห้าง แต่การ นั่งไขว่ห้าง อาจจะให้มากกว่าเรื่องของบุคลิกภาพที่ดี เพราะหากนั่งนานเกินไปก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ ใครที่ชอบนั่ง ไขว่ห้าง เป็นประจำล่ะก็ Hello คุณหมอ จะพามาดูกันว่า ท่านั่งไขว่ห้างที่คุณชอบทำบ่อย ๆ ทำร้ายสุขภาพของคุณอย่างไรบ้าง

ไขว่ห้าง นั่งนาน ๆ อันตรายอย่างไร

นั่งไขว่ห้าง เสี่ยงเป็นตะคริว

การ นั่งไขว่ห้าง ติดต่อกันนาน ๆ โดยไม่มีการเปลี่ยนอริยาบท หรือผ่อนคลายช่วงขาเลย เสี่ยงที่จะทำให้เป็นตะคริวได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อเกิดการเกร็งตัว เพราะไม่มีการขยับ หรือเคลื่อนไหว

ปวดเข่า

แรงกดทับที่เข่าจากการนั่งไขว่ห้างนาน ๆ อาจส่งผลให้เกิดอาการปวดเข่าได้ เนื่องจากตำแหน่งของหัวเข่าข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เป็นธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม การนั่งไขว่ห้างเป็นครั้งคราวอาจไม่ส่งผลต่ออาการปวดเข่ามากนัก แต่ถ้าหากมีอาการปวดเข่าเนื่องจากการนั่งไขว่ห้างนาน ๆ ควรไปพบคุณหมอ

เสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง

จากผลการศึกษาที่ได้รับการเผยแพร่ลงใน Journal of Blood Pressure Monitoring พบว่าการ นั่งไขว่ห้าง มีส่วนทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนั่งไขว่ห้างติดต่อกันเป็นเวลานาน และไม่มีการเปลี่ยนอริยาบทในการนั่ง จะยิ่งทำให้เส้นเลือดบริเวณข้อเข่าไหลเวียนเลือดได้ไม่ค่อยดี เสี่ยงต่อความดันโลหิตสูงและการอุดตันของเส้นเลือด ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับความดันโลหิตสูงจึงควรหลีกเลี่ยงการนั่งไขว่ห้าง อย่างไรก็ตาม ภาวะเช่นนี้จะเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น การเปลี่ยนอริยาบทเพื่อผ่อนคลายขาบ้าง สามารถช่วยลดความเสี่ยงของความดันโลหิตสูงได้

ระบบเลือดไหลเวียนไม่ดี

การนั่งไขว่ห้างเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้เกิดแรงกดทับซึ่งส่งผลต่อระบบการไหลเวียนโลหิต เลือดจะถูกลำเลียงไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ยากขึ้น เสี่ยงที่จะเกิดอาการเส้นเลือดอักเสบ หรือเสี่ยงที่จะเกิดลิ่มเลือดมากขึ้น และในกรณีที่รุนแรงอาจเสี่ยงที่จะทำให้เกิดปัญหาลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ ซึ่งจะอันตรายต่อสุขภาพมากยิ่งขึ้นไปอีก

เสี่ยงต่อการกดทับเส้นประสาท

การ นั่งไขว่ห้าง ไม่เพียงแต่จะเกิดแรงกดต่อระบบการไหลเวียนของเลือดเท่านั้น แต่ท่าไขว่ห้างส่งผลให้เกิดแรงกดทับบริเวณเข่า ซึ่งเสี่ยงที่จะเกิดการกดทับที่เส้นประสาท โดยเฉพาะเส้นประสาทที่อยู่ด้านหลังเข่า และการกดทับเส้นประสาทจากการนั่งไขว่ห้างนาน ๆ จึงอาจทำให้รู้สึกวิงเวียนศีรษะเมื่อลุกขึ้นยืนได้

ผ่อนคลายอย่างไรเมื่อ นั่งไขว่ห้าง นาน ๆ

การ นั่งไขว่ห้าง นาน ๆ แน่นอนว่าอาจไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพช่วงล่างสักเท่าไหร่ แต่เราสามารถที่รับมือได้ด้วยวิธีง่าย ๆ ดังนี้

  • ปรับเปลี่ยนอริยาบทในทุก ๆ 30 นาที เช่น สลับขา เปลี่ยนท่า ยืนขึ้น ลุกไปเข้าห้องน้ำ หรือออกไปเดินผ่อนคลายสักครู่
  • หาก นั่งไขว่ห้าง คุยโทรศัพท์เป็นเวลานาน ควรสลับกับการเดินไปคุยไป หรือยืนคุยดูบ้าง เพื่อหลีกเลี่ยงการกดทับที่เข่าเนื่องจากการนั่งไขว่ห้าง
  • อาจลองปรับโต๊ะหรือเก้าอี้ทำงานให้สูงขึ้น เพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนอริยาบท ไม่ให้เท้าอยู่ในระดับความสูงเท่าเดิมตลอดเวลา
  • เมื่อรู้สึกเมื่อยให้ปรับเปลี่ยนอริยาบทการนั่งให้สบาย ไม่จำเป็นต้องรอจนครบ 20 หรือ 30 นาที 

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Is Crossing Your Legs Dangerous?. https://www.healthline.com/health/crossed-legs-while-sitting. Accessed March 5, 2021.

Ladies: It’s Time to Stop Crossing Your Legs. https://www.orlandohealth.com/content-hub/ladies-its-time-to-stop-crossing-your-legs. Accessed March 5, 2021.

Should You Sit with Your Legs Crossed?. https://www.aurorahealthcare.org/patients-visitors/blog/should-you-sit-with-your-legs-crossed. Accessed March 5, 2021.

What are the risks of sitting too much?. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/expert-answers/sitting/faq-20058005#:~:text=Research%20has%20linked%20sitting%20for,that%20make%20up%20metabolic%20syndrome. Accessed March 5, 2021.

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/03/2021

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคไวรัสตับอักเสบบี คือโรคอะไร ใครควรได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี

นั่งนานจนปวดหลัง มาแก้ปวดเมื่อย ด้วย ท่าโยคะบนเก้าอี้ กันดีกว่า


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 15/03/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา