backup og meta

เทคนิคการ กำจัดแมลงสาบ ตัวร้าย ให้หายไปจากบ้าน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 29/09/2020

    เทคนิคการ กำจัดแมลงสาบ ตัวร้าย ให้หายไปจากบ้าน

    เมื่อพูดถึงแมลงสาบ ไม่ว่าใครที่ได้ยินต่างก็คงต้องร้องยี๊ เจ้าแมลงหลายขาที่น่ารังเกียจเหล่านี้ ไม่เพียงแต่จะมีรูปร่างหน้าตาที่น่ากลัว น่าขยะแขยงแล้ว ยังสามารถนำพาเชื้อโรคร้ายมาสู่คนในบ้านได้อีกด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ จะมานำเสนอเกี่ยวกับอันตรายของ แมลงสาบ และเทคนิคการป้องกันบ้าน ให้ปลอดภัยจากแมลงสาบ

    แมลงสาบ คืออะไร

    แมลงสาบ (Cockroaches) คือแมลงชนิดหนึ่งที่มีลักษณะมีหกขา มีหนวดยาว และมีปีกแมลงขนาดใหญ่ 2 ข้าง มีสีและขนาดแตกต่างกันออกไปตามแต่ละสายพันธุ์ แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว จะมีสีน้ำตาลแก่ ไปจนถึงสีดำ และมีขนาดประมาณ 1 นิ้ว วงจรชีวิตของแมลงสาบจะประกอบไปด้วย 3 ระยะ คือ ระยะไข่ ตัวอ่อน และตัวเต็มวัย

    เนื่องจากความทนทานต่อสภาพภูมิอากาศ และความไวในการแพร่พันธุ์ จึงทำให้เราสามารถพบแมลงสาบได้ตามพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะในภูมิภาคเขตร้อน ในปัจจุบันสายพันธุ์ของแมลงสาบนั้นมีมากกว่า 30 สกุล และมากกว่า 4,500 ชนิดทั่วโลก

    แมลงสาบ อันตรายอย่างไรต่อสุขภาพ

    จากข้อมูลของสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection Agency ; EPA) พบว่า แมลงสาบนั้นเป็นพานะนำเชื้อแบคทีเรียที่สามารถก่อให้เกิดโรคในคนได้ และเมื่อแมลงสาบเหล่านี้ไปกินอาหารหรือวัตถุดิบประกอบอาหาร ก็อาจทำให้คนที่รับประทานอาหารต่อจากนั้นติดเชื้อแบคทีเรียเหล่านี้ได้

    เชื้อแบคทีเรียก่อโรคในคนที่อาจพบได้ในแมลงสาบ มีดังต่อไปนี้

    เชื้อซาลโมเนลลา (Salmonella)

    เชื้อแบคทีเรียที่มักจะพบได้ในเนื้อไก่ดิบ หรือไข่ดิบ การติดเชื้อซาลโมเนลลานั้นอาจจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เป็นไข้ ท้องเสีย ปวดหัว หรืออุจจาระเป็นเลือด และอาจนำไปสู่การเกิดไข้ไทฟอยด์ (Typhoid) ที่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้

    เชื้อสแตฟฟิโลคอกคัส (Staphylococcus)

    หนึ่งในเชื้อก่อโรคอันตรายทีมีอัตราการเสียชีวิตมากถึง 19-34% หากเชื้อสแตฟฟิโลคอกคัสแพร่กระจายทางกระแสเลือด จะทำให้เชื้อโรคสามารถแพร่ไปยังจุดต่างๆ ในร่างกายได้ แล้วอาจก่อให้เกิดภาวะต่าง ๆ เช่น ปอดอักเสบ ลิ้นหัวใจอักเสบ ข้ออักเสบ หรือกระดูกอักเสบ เป็นต้น

    เชื้อสเตรปโทคอกคัส (Streptococcus)

    เชื้อแบคทีเรียที่สามารถพบได้ทั้งในคนและสัตว์ สามารถติดเชื้อได้จากทั้งการรับประทานอาหาร หรือติดผ่านทางอากาศ เมื่อเช้าเข้าสู่ร่สงกาย อาจทำให้เกิดอาการเจ็บคอ ปวดหัว ไข้สูง คลื่นไส้ อาเจียน น้ำมูกไหล ผื่นผิวหนัง หรืออาจทำให้เกิดการติดเชื้อในส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้อีกด้วย

    นอกจากนี้แมลงสาบถูกจัดว่าเป็นตัวก่อภูมิแพ้ และตัวกระตุ้นหอบหืดที่อันตรายที่สุดอีกด้วย โดยแมลงสาบนั้นจะนำพาสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ เช่น ฝุ่นละออง ที่อยู่ในมุมต่าง ๆ ในบ้าน มาติดที่เสื้อผ้า เครื่องนอน หมอน หรือผ้าห่มได้ นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่พบว่า เด็กที่ได้รับสารก่อภูมิแพ้จากแมลงสาบตั้งแต่อายุน้อย มีโอกาสในการเกิดโรคหอบหืดได้อีกด้วย

    เทคนิคการป้องกันบ้าน ให้ปลอดภัยจากแมลงสาบ

    เราสามารถป้องกันบ้านจากแมลงสาบตัวร้ายได้ หากทำตามเทคนิคดังต่อไปนี้

    • รักษาความสะอาดของบ้าน พยายามทำความสะอาดและเก็บกวาดบ้านเป็นประจำ อย่าให้มีเศษอาหาร หรือเศษขนม ตกอยู่ตามพื้นและซอกต่าง ๆ โดยเฉพาะในบริเวณใต้เตียง หลังตู้เย็น หรือซอกตู้
    • ทำความสะอาดเครื่องครัว โดยเฉพาะพวกของใช้เครื่องครัวต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น กระทะ หม้อ ตะหลิว ไมโครเวฟ ตลอดไปจนถึงจาน ชาม ซ้อน ส้อม ต่างๆ
    • เปลี่ยนผ้าปูที่นอนบ่อย ๆ แมลงสาบนั้นมักจะชอบนำพาสารก่อภูมิแพ้ และเชื้อโรคต่างๆ มาอยู่บนปลอกหมอนและผ้าปูที่นอน ดังนั้นจึงควรเปลี่ยนพวกผ้าปูที่นอน ผ้าห่ม และปลอกหมอนบ่อยๆ
    • ใช้ถังขยะที่มีฝาปิด โดยเฉพาะถังขยะที่ใช้ในครัว ที่จะมีเศษอาหารอยู่ และควรทิ้งขยะเป็นประจำ เพื่อป้องกันไม่ให้แมลงสาบเข้าไปหาอาหารและเพาะพันธุ์ในถังขยะ
    • จัดการพื้นที่อับชื้น มุมอับชื้นต่าง ๆ เช่น ใต้ซิงค์ล้างจาน หรือในห้องน้ำ จะเป็นแหล่งชั้นดีในการเพาะพันธุ์แมลงสาบ
    • ใช้ยาไล่แมลงสาบ คุณอาจจะติดต่อผู้เชี่ยวชาญที่สามารถช่วยฉีดพ่นยา ที่สามารถช่วยกำจัดแมลงสาบในบ้านได้

    เทคนิคเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งในการช่วยป้องกันแมลงสาบในบ้านเท่านั้น อย่าลืมว่าสิ่งสำคัญในการป้องกันไม่ให้มีแมลงสาบมาทำรังอยู่ในบ้านคือการรักษาความสะอาดของบ้าน อย่าหมักหมมเศษอาหาร กองจานไว้ไม่ล้าง และทิ้งขยะอย่างถูกสุขสนามัย เพียงเท่านี้คุณก็จะสามารถปกป้องบ้านของคุณจากแมลงสาบตัวร้ายให้หายไปจากบ้านอย่างสิ้นซาก

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 29/09/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา