backup og meta

โรคเมลิออยด์ อีกหนึ่งโรคร้ายที่มากับฝน

โรคเมลิออยด์ อีกหนึ่งโรคร้ายที่มากับฝน

การใช้สารเคมีเพื่อกำจัดศัตรูพืช ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรเท่านั้น ยังส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศอีกด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ พามารู้จักกับ  “โรคเมลิออยด์”  ผู้ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่เป็นชาวเกษตรกรทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและพบมากในช่วงฤดูฝน จะมีลักษณะอาการอย่างไรบ้างนั้น ไปหาคำตอบพร้อมกันเลยค่ะ

โรคเมลิออยด์ (Melioidosis) คืออะไร

โรคเมลิออยด์หรือโรคเมลลิออยโดลิส (Melioidosis) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่ปนเปื้อนในดินและน้ำทุกภูมิภาคในประเทศไทย พบได้บ่อยที่สุดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและพบอัตราผู้ป่วยมากที่สุดในช่วงฤดูฝน ความรุนแรงของโรคนี้หากติดเชื้อในกระแสเลือดอาจทำให้เกิดการเสียชีวิตได้ในทันที

สาเหตุของโรคเมลิออยด์

การติดเชื้อโรคเมลิออยด์มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า  Burkholderia pseudomallei  ซึ่งพบได้ทั้งในน้ำและในดิน หรืออาจติดต่อจากสัตว์ที่มีเชื้อนี้อยู่ โดยการสัมผัสสัตว์เลี้ยงอย่าง สุนัข แมว วัว โค ควาย เป็นต้น โรคนี้สามารถติดต่อสู่คนได้ทุกเพศทุกวัย แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ได้รับเชื้อนี้จะมีจะมีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยทาลัสซีเมีย ผู้ป่วยโลหิตจาง โรคปอดเรื้อรัง ผู้ที่ติดเชื้อวัณโรค เป็นต้น

 อาการที่บ่งบอกว่า คุณเสี่ยงเป็นโรคเมลิออยด์

ผู้ป่วยจะมีอาการแสดงออกทางร่างกายที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับว่าอวัยวะส่วนใดของร่างกายได้รับเชื้อ โดยมีลักษณะอาการที่แตกต่างกันออกไปดังต่อไปนี้

  • การติดเชื้อที่ปอด

หากผู้ป่วยได้รับการติดเชื้อที่ปอด จะทำให้มีอาการตัวร้อน ไข้ขึ้น ไอ มีเสมหะ ระบบทางเดินหายใจผิดปกติ  เจ็บหน้าอก หายใจติดขัด

  • การติดเชื้อในกระแสเลือด

ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อเชื้อ เช่น ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ป่วยความดันโลหิตต่ำ  ผู้ป่วยโรคเบาหวาน กรณีผู้ป่วยที่มีบาดแผลเชื้ออาจเข้าทางบาดแผลและติดเชื้อในกระแสเลือด จะส่งผลให้มีอาการปวดศีรษะ หายใจติดขัด ปวดข้อต่อ

  • การติดเชื้อผ่านทางผิวหนัง

หากติดเชื้อที่ผิวหนัง อาจมีตุ่มขึ้นตามร่างกาย เกิดฝีหนองขึ้นตามผิวหนัง หากผู้ป่วยได้รับเชื้อผ่านทางน้ำลายโดยการรับประทานอาหาร จะส่งผลให้ บริเวณต่อมน้ำเหลืองที่คอบวมขึ้นมาเป็นฝีหรือหนอง

การรักษาและการป้องกัน

ผู้ป่วยโรคเมลิออยด์จะได้รับการรักษาที่แตกต่างกันไป โดยผลการรักษาจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ติดเชื้อและโรคประจำตัวของผู้ป่วย โดยส่วนใหญ่ทั่วไปแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการรักษาด้วยการฉีดยาปฎิชีวนะเข้าเส้นเลือด เป็นเวลาอย่างน้อย 14 วัน ร่วมกับการให้ยาลดไข้เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีไข้สูงต่อเนื่องเฉลี่ยประมาณ 9 วัน หรือบางรายที่มีอาการรุนแรงอาจต้องได้รับการผ่าตัด เช่น การผ่าตัดระบายหนองในปอด หากผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นจนหยุดยาฉีดได้แล้วยังต้องรับประทานยาฆ่าเชื้ออย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 12 หรือ 20 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการกลับมาซ้ำของโรค

เป็นอย่างไรกันบ้างค่ะ กับบทความที่นำมาฝากกันในวันนี้ หากท่านใดทราบว่าตนเองมีอาการเสี่ยงต่อการเป็นโรคเมลิออยด์ควรรีบปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการวินิจฉัยโรคและรับการรักษาที่ถูกต้อง หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องหรือได้รับการรักษาช้าจนเกินไป อาจส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตตามมา

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Everything You Need to Know About Melioidosis. https://www.healthline.com/health/melioidosis. Accessed 11 February 2020.

Melioidosis. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6456913/. . Accessed 11 February 2020. Melioidosis. https://www.cdc.gov/melioidosis/index.html. Accessed 11 February 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

01/07/2020

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

อยากมีรักแต่ไม่อยากผูกพัน โรคกลัวการผูกมัด เมื่อหัวใจดวงนี้ไม่อยากเสียใจ

โรคชอบขโมยของ โรคทางจิตที่แปลกแต่จริง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 01/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา