backup og meta

ภาวะบวมน้ำเหลือง (Lymphedema)

ภาวะบวมน้ำเหลือง (Lymphedema)

ภาวะบวมน้ำเหลือง (Lymphedema) เป็นภาวะระยาวที่เกิดจากการอุดตันของน้ำเหลือง (น้ำเหลืองไม่่สามารถระบายออกได้) ส่งผลให้เกิดอาการบวมน้ำ โดยส่วนใหญ่มักพบบริเวณ แขนทั้ง 2 ข้าง หรือ ขาทั้ง 2 ข้าง อาจได้รับผลกระทบ ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการบวมที่ศีรษะ อวัยวะเพศ หน้าอก เป็นต้น 

คำจำกัดความ

ภาวะบวมน้ำเหลือง (Lymphedema) คืออะไร

ภาวะบวมน้ำเหลือง (Lymphedema) เป็นภาวะระยาวที่เกิดจากการอุดตันของน้ำเหลือง (น้ำเหลืองไม่สามารถระบายออกได้) ส่งผลให้เกิดอาการบวมน้ำ โดยส่วนใหญ่มักพบในบริเวณ แขนทั้ง 2 ข้าง หรือ ขาทั้ง 2 ข้าง ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการบวมที่ศีรษะ อวัยวะเพศ หน้าอก เป็นต้น 

อย่างไรก็ตาม ภาวะบวมน้ำเหลืองไม่สามารถรักษาให้หายขาด แต่สามารถบรรเทาควบคุมอาการได้

พบได้บ่อยเพียงใด

ภาวะบวมน้ำเหลืองมักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 34 ปี ขึ้นไป รวมถึงในผู้ที่อยู่ในภาวะอ้วน มีน้ำหนักเกิน โรคไขข้ออักเสบ หรือโรคสะเก็ดเงิน เป็นต้น 

อาการ

อาการของภาวะบวมน้ำเหลือง (Lymphedema)

อาการของภาวะบวมน้ำเหลือง มักเกิดขึ้นที่บริเวณแขนและขา โดยมีลักษณะอาการที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้ 

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของภาวะบวมน้ำเหลือง (Lymphedema)

ภาวะบวมน้ำเหลืองเป็นภาวะที่หายาก โดยเกิดจากความผิดปกติของต่อมน้ำเหลือง เช่น การติดเชื้อ การฉายรังสีจากโรคมะเร็ง การผ่าตัด มักได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของพัฒนาการท่อน้ำเหลือง โดยแบ่งเป็นสาเหตุหลัก ๆ ดังต่อไปนี้ 

  • โรคมิลรอย  (Milroy’s Disease) เป็นความผิดปกติของต่อมน้ำเหลืองตั้งแต่ในวันเด็ก
  • โรคเมฮ์ (Meige Disease) มักพบภาวะบวมน้ำเหลืองในช่วงวัยแรกรุ่นหรืออยู่ในภาวะตั้งครรภ์ แต่ในบางกรณีอาจเกิดหลังอายุ 35 ปี 
  • ภาวะบวมน้ำเหลืองในช่วงหลัง (Lymphedema Tarda) อาการนี้ไม่ได้พบบ่อยนัก มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี 

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยภาวะบวมน้ำเหลือง (Lymphedema)

ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติและอาการของผู้ป่วย เช่น เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการบวม โดยใช้วิธีดังต่อไปนี้ 

  • การวินิจฉัยด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging : MRI)
  • การตรวจด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computerized Tomography Scan : CT Scan
  • การสแกนอัลตราซาวด์ที่ใช้คลื่นเสียงความถี่สูง (Doppler Ultrasound)
  • การฉีดสีประเมินการอุดตันของระบบน้ำเหลือง (Lymphoscintigraphy)

การรักษาภาวะบวมน้ำเหลือง

ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาภาวะบวมน้ำเหลืองให้หายขาด วิธีการรักษาจึงมุ่งเน้นในการบรรเทาอาการเจ็บปวด และลดอาการบวม 

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงของภาวะบวมน้ำเหลือง (Lymphedema)

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงของภาวะบวมน้ำเหลือง มีดังนี้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Lymphedema. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/lymphedema/symptoms-causes/syc-20374682 . Accessed January 25, 2020

A Visual Guide to Lymphedema. https://www.webmd.com/breast-cancer/ss/slideshow-lymphedema. Accessed January 25, 2020

What is lymphedema?. https://www.medicalnewstoday.com/articles/180919. Accessed January 25, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

04/02/2021

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง อาการ สาเหตุ และการรักษา

ทางการจีนยกระดับเตือนภัย กาฬโรคต่อมน้ำเหลือง หลังพบผู้ป่วยใน มองโกเลีย


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 04/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา