backup og meta

Anhedonia หรือภาวะสิ้นยินดี

Anhedonia หรือภาวะสิ้นยินดี

หากมีความรู้สึกเฉยๆ กับสิ่งที่อยู่รอบตัว โดยเป็นความรู้สึกที่ไม่ได้ทั้งเศร้าหรือยินดีแต่อย่างใด อาจกล่าวได้ว่าทุกอย่างรอบตัวดูว่างเปล่า ไม่ตอบสนองและไม่มีผลต่อความรู้สึกอะไรเลย แม้กระทั่งเรื่องที่เคยทำให้มีความสุขก็ตาม อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงความเจ็บป่วยทางจิตใจที่เรียกว่า Anhedonia หรือ ภาวะสิ้นยินดี

Anhedonia หรือ ภาวะสิ้นยินดี คืออะไร

Anhedonia หรือภาวะสิ้นยินดี เป็นอาการของผู้ที่ไม่มีความรู้สึกร่วมกับสิ่งใดทั้งสิ้น ไม่ยินดียินร้ายหรือสุขทุกข์อะไร ทั้งที่แต่ก่อนสามารถสร้างความสุขให้กับตัวเองได้ด้วยกิจกรรมที่ชื่นชอบ โดยในทางการแพทย์ภาวะนี้เป็นอาการทางจิตเวชที่เกิดจากความผิดปกติทางด้านอารมณ์ชนิดซึมเศร้า และยังสามารถพบได้ในโรคจิตเภทหรือความผิดปกติทางจิตแบบอื่นๆ

สังเกตพฤติกรรมเสี่ยงเป็น Anhedonia หรือไม่ 

  • มีการตอบสนองต่อกิจกรรมที่ทำให้เกิดความสุขลดลง
  • ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว ไม่อยากพบเจอผู้คนภายนอกหรือพูดคุยกับใคร
  • ขาดความกระตือรือร้นต่อหรือรู้สึกเฉยชาต่อกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมที่ชอบหรือไม่ชอบก็ตาม
  • ชอบนอนอยู่เฉย ๆ ไม่ค่อยอยากทำอะไรด้วยความรู้สึกที่ว่าทำไปก็ไม่มีประโยชน์
  • มีความสนใจดูแลตัวเองน้อยลง แม้ว่าตัวเองจะดูแย่แค่ไหนก็ไม่ได้รู้สึกอะไรทั้งสิ้น
  • เริ่มมีความรู้สึกไม่อยากทำงานหรือเดินทางออกไปไหน
  • เริ่มมีพฤติกรรมทำร้ายตัวเองง่ายขึ้น จนกระทั่งมีความคิดที่ไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป จึงทำให้รู้สึกไม่กลัวหากต้องจากโลกนี้ไป

วิธีการรักษา Anhedonia

เมื่อทราบแล้วว่าตัวเองนั้นมีอาการที่เสี่ยงต่อการเป็น Anhedonia ควรรีบไปพบจิตแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องและดูแลตัวเองดังต่อไปนี้

  • ควรรับประทานยาตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดและสม่ำเสมอ
  • อย่าลืมให้กำลังใจตัวเองบ้าง ซึ่งอาจจะค่อย ๆ เริ่มจากการทำสิ่งที่ตัวเองเคยชอบอย่างไม่กดดันตัวเอง เพื่อช่วยฝึกให้กลับมามีความรู้สึกต่อสิ่งต่างๆ เหมือนเดิมที่เคยรู้สึก
  • ทำจิตใจให้สงบ เช่น การเข้าวัดทำบุญ การปฎิบัติธรรม การนั่งสมาธิ เป็นต้น
  • หากิจกรรมทำร่วมกับผู้อื่น เพื่อให้เกิดมีส่วนร่วมในสังคม

รับมืออย่างไรหากคนใกล้ตัวมีอาการเป็น Anhedonia

ก่อนอื่นควรทำความเข้าใจว่า Anhedonia เป็นความเจ็บป่วยเช่นเดียวกับโรคทางกายแบบอื่นๆ ที่ต้องการการรักษา ไม่ควรไปตัดสินว่าใครคนนั้นเป็นคนที่อ่อนแอ แต่ให้พูดคุยถึงสาเหตุอย่างเข้าใจและใจเย็น หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดที่รุนแรงหรือกระทบจิตใจ ไม่คาดหวังหรือกดดัน และควรเป็นผู้ฟังและให้คำปรึกษาที่ดี พร้อมกับชวนทำกิจกรรมที่ผ่อนคลายจิตใจ หรือถ้าคนใกล้ตัวมีแนวโน้มที่จะทำร้ายตัวเอง ควรรีบพาไปพบจิตแพทย์โดยเร็วที่สุด

ใครไม่แน่ใจว่าตัวเองอยู่เป็น Anhedonia หรือไม่ ลองสำรวจตัวเองดูว่ามีอาการตามที่กล่าวมาข้างต้นบ้างหรือไม่ อาจจะสังเกตอย่างง่ายๆ จากสิ่งที่เคยชอบหรือโปรดปราน แต่ตอนนี้กลับรู้สึกไม่ชอบ ไม่รู้สึกอะไรเลยและคิดว่าเป็นความรู้สึกที่อิ่มตัว นั่นอาจเป็นสัญญาณว่ากำลังมีอาการของ Anhedonia ก็เป็นได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What Is Anhedonia? https://www.webmd.com/depression/what-is-anhedonia . Accessed September 29, 2021.

Understanding anhedonia: What happens in the brain?. https://www.medicalnewstoday.com/articles/320737.php#1. Accessed September 29, 2021.

Neurobiological mechanisms of anhedonia. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3181880/. Accessed September 29, 2021.

Medical Definition of Anhedonia.https://www.medicinenet.com/anhedonia/definition.htm. Accessed September 29, 2021.

Treatment for Anhedonia: A Neuroscience Driven Approach. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/27699943/. Accessed September 29, 2021.

 

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

06/10/2021

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

จัดดอกไม้ ผ่อนคลายความเครียด รู้ไหมดอกไม้ดีต่อสุขภาพจิตมากเลยนะ

เช็คด่วน 5 สัญญาณเตือน ที่บ่งบอกว่าคุณเป็น โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 06/10/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา