backup og meta

ปรากฏการณ์ Halo Effect หลุมลวงจากภาพลักษณ์ภายนอก

ปรากฏการณ์ Halo Effect หลุมลวงจากภาพลักษณ์ภายนอก

ปรากฏการณ์ เฮโลเอฟเฟกต์ (Halo Effect) ถือเป็น อคติทางความคิด (Cognitvie Bias) ประเภทหนึ่ง ซึ่งคนเราจะมีความคิดว่าบุคคลที่มีบุคลิกเช่นนี้จะต้องมีนิสัยใจคอแบบนี้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ไม่ใช่ทุกคนที่มีบุคลิก ลักษณะเช่นนี้ จะเป็นเหมือนเช่นที่เราคิดเสียหมด หากคนเราถูกปรากฏการณ์ Halo Effect เข้าครอบงำแล้วก็ อาจจะทำให้เรานั้นเกิดการตัดสินใจที่ผิด ๆ จนทำให้เกิดความทุกข์ขึ้นมาได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จะชวนทุกคนไปล้วงลึก หาคำตอบกันว่าปรากฏการณ์ Halo Effect นั้นส่งผลกระทบได้ในด้านใดบ้าง

ปรากฏการณ์ Halo Effect คืออะไร

เฮโลเอฟเฟกต์ (Halo Effect) จัดเป็นอคติทางความคิดรูปแบบหนึ่ง ที่มีความเชื่อมโยงกับรูปลักษณะภายนอก ไม่ว่าจะเป็น รูปร่าง หน้าตา การแต่งตัว การวางตัว หรือแม้กระทั่งน้ำเสียง สิ่งเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อความคิดและความรู้สึกของเรา โดยเรามักจะประเมินนิสัย ความคิด ความเฉลียวฉลาด ความอารมณ์ขัน หรือลักษณะนิสัยอื่น ๆ ผ่านทางรูปลักษณ์ภายนอก ที่เรานั้นสามารถสังเกตเห็นและรับรู้ได้

ตัวอย่างของ เฮโลเอฟเฟกต์ ที่เห็นได้ชัดเจนอาจสามารถเปรียบได้กับ ความประทับใจของเราที่มีต่อดาราหรือคนมีชื่อเสียง ซึ่งคนส่วนใหญ่จะมีความคิดที่ว่า พวกเขาเหล่านั้นไม่เพียงแต่ดูดี ประสบความสำเร็จ เป็นที่รักของทุกคน แต่ในขณะเดียวกันเรายังอาจมองว่าพวกเขาเหล่านั้นเฉลียวฉลาด ขบขัน และเป็นมิตร

ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ปรากฏการณ์ เฮโลเอฟเฟกต์ นั้นคือการตีครอบทางความคิด ด้วยการตั้งมุมมองต่อรูปลักษณะภายนอกเชื่อมโยงไปถึงลักษณะนิสัยบางอย่าง ซึ่งปรากฏการณ์เหล่านี้ถือเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ และในบางครั้งอาจทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อนได้

ผลกระทบของ ปรากฏการณ์ Halo Effect

ความน่าสนใจและการดึงดูด

เฮโลเอฟเฟกต์ สำหรับเรื่องความน่าสนใจและการดึงดูดนั้นเหมือนกับ เฟิร์สอิมเพรสชั่น หรือ ความประทับใจแรก (First impression) หากคนเราถูก Halo effect เข้าครอบงำก็จะตัดสินใจจากสิ่งแรกที่เห็น เช่น ร้านกาแฟที่ดูดี พนักงานแต่งตัวดี จะต้องให้บริการที่ดีอย่างแน่นอน ซึ่งรูปลักษณ์ทางกายภาพมีอิทธิพลต่อความน่าสนใจและดึงดูด

การศึกษา

ในด้านการศึกษา เฮโลเอฟเฟกต์ นั้นจะส่งผลต่อการดูแลนักเรียนของคุณครู โดยเด็กที่มีลักษณะ บุคลิกที่คุณครูชอบเป็นพิเศษ มักจะได้รับการดูแลที่ดีกว่าเด็กคนอื่น ๆ ซึ่งถือเป็นเฮโลเอฟเฟกต์ที่เกิดขึ้นกับคุณครู ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เด็กบางคนรู้สึกน้อยใจได้

การตลาด

ฝ่ายขายมักจะใช้ปรากฏการณ์เฮโลเอฟเฟกต์ ในการนำเสนอขายสินค้า โดยจะสร้างภาพลักษณ์ให้กับสินค้าตัวเองเพื่อให้ผู้บริโภคนั้นเลือกซื้อ โดยเลือกใช้ดารา เป็นพรีเซนเตอร์ ดึงดูดให้ผู้บริโภคเลือกใช้สินค้าและบริการและยังสร้างความรู้สึกด้านบวกในสินค้ามากขึ้น

แนวทางในการรับมือ

การแยกแยะอคติจากข้อเท็จจริงถือเป็นเรื่องที่ยากสำหรับบางคน หลักการเฮโลเอฟเฟกต์ คือ การตัดสินผู้อื่นอย่างรวดเร็ว โดยอาศัยเพียงสิ่งแรกที่เห็นเท่านั้น การที่ลดอคติลงด้วยการค่อย ๆ คิดไตร่ตรองและพินิจพิจารณาอย่างถี่ถ้วน อย่าเพิ่งรีบตัดสินใจจากสิ่งที่เห็น เพื่อเป็นการชะลอกระบวนการคิดจะช่วยให้คุณตัดสินได้ช้าลง มีเวลาในการรวบรวมความจริง ก็จะช่วยให้คุณไม่ถูก เฮโลเอฟเฟกต์ เข้าครอบงำและตีกรอบทางความคิดของคุณได้

ปรากฏการณ์-halo-effect-เฮโลเอฟเฟกต์

หากคนเราสามารถหลุดพ้นจากภาพลวงภายนอกหรือ เฮโลเอฟเฟกต์ ได้ ไม่เพียงแต่จะช่วยให้เรานั้นสามารถตัดสินใจได้อย่างมีข้อมูลและข้อเท็จจริงเท่านั้น แต่ยังมีส่วนช่วยให้เรานั้นเป็นคนที่ดีขึ้นได้ด้วย ที่สำคัญจะไม่โดนหลอกจากภาพลักษณ์ภายนอกได้อย่างง่ายดาย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Source

Why the Halo Effect Influences How We Perceive Others

https://www.verywellmind.com/what-is-the-halo-effect-2795906

Halo Effect

https://www.psychologytoday.com/intl/basics/halo-effect

What Is the Halo Effect?

https://www.healthline.com/health/halo-effect

เวอร์ชันปัจจุบัน

04/12/2020

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะ Toxic Positivity เมื่อการคิดบวกไม่ช่วยให้รู้สึกดีขึ้น หากภายในใจยังติดลบ

วิธีฝึกตัวเองให้เป็นคน คิดบวก มองโลกในแง่ดี เพื่อสุขภาพที่ดีในทุกวัน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 04/12/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา