backup og meta

ภาวะ Toxic Positivity เมื่อการคิดบวกไม่ช่วยให้รู้สึกดีขึ้น หากภายในใจยังติดลบ

ภาวะ Toxic Positivity เมื่อการคิดบวกไม่ช่วยให้รู้สึกดีขึ้น หากภายในใจยังติดลบ

เมื่อเราตกอยู่ในสถานการณ์ที่เลวร้าย จนเกิดความวิตกกังวล คิดไปในทางลบต่าง ๆ นานา จนรู้สึกเครียด คนรอบตัวกลับเอาแต่บอกว่า คิดบวกเข้าไว้ ทำตัวร่าเริงเข้าใจจะได้ไม่เครียด ถึงแม้ว่าความคิดเชิงบวก มองโลกในแง่ดีจะช่วยลดความเครียด แต่เมื่อเราตกอยู่ในสถาการณ์ที่แย่ การคิดเชิงบวกอย่างเดียว แต่ซ่อนความโศกเศร้าไว้ความคิดเช่นนี้เรียกว่า ภาวะ Toxic Positivity ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตเราได้ ซึ่งใครที่ยังไม่เคยรู้จักอาการนี้ Hello คุณหมอ จะพามาทำความรู้จักกันค่ะ

ภาวะ Toxic Positivity คืออะไร

เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก แน่นอนว่าต้องเกิดทั้งความเครียดและความวิตกกังวล บางครั้งก็ชวนให้เรานั้นคิดไปในทางแย่ ๆ ต่าง ๆ นานา ซึ่งแนวคิดแบบ Toxic Positivity คือการบอกให้เรานั้นมองโลกในแง่ดี คิดบวกเข้าไว้ โดยที่ไม่ได้สนใจปัญหา ปฏิเสธความรู้สึกด้านลบที่ยังคงเกิดขึ้น ทำให้รู้สึกเหมือน ซ่อน ความคิดลบ ๆ นั้นไว้ภายในใจ แต่สิ่งที่แสดงว่ามีความสุข คิดบวก กลับสวนทางกลับความรู้สึกภายในใจ จนการคิดบวกนั้นทำให้เรารู้สึกแย่กว่าเดิม

แนวคิดแบบนี้มองว่าคนที่มีอารมณ์ในทางลบนั้นเป็นเรื่องที่แย่ ทำให้เกิดความเครียด จึงยัดเยียดความสุขและความคิดแบบบวกเข้าไปแทน ซึ่งอาจทำให้เราเข้าสู่สภาวะ ปฏิเสธความจริง (Denial) ซึ่งหลักและหัวใจสำคัญของ Toxic Positivity เลยคือ การปฏิเสธความรู้สึกไม่สบายใจ

จากการวิจัยหนึ่งที่ผู้เข้ารวมการทดลอง ถูกบอกไม่ให้คิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้นกลับยิ่งทำให้คิดเรื่องนั้นมากกว่าเดิม แสดงให้เห็นว่า การปฏิเสธความรู้สึกของตนเองนั้น ไม่ได้ช่วยให้รู้สึกดีขึ้นได้ ดังนั้นการหลีกเลี่ยง หรือการกดความรู้สึกนั้นไว้ไม่แสดงออกมาจะทำให้เกิดความวิตกกังวล ซึมเศร้า และส่งผลให้สุขภาพจิตแย่ลง

จัดการอย่างไรเมื่อตกอยู่ในภาวะ Toxic Positivity

การยอมรับอารมณ์ที่เกิดขึ้น จะช่วยให้สามารถรับมือกับความรุนแรงของอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้ การยอมรับความรู้สึกของตนเองและได้ระบายมันออกมานั้นจะช่วยให้รู้สึกดี มากกว่าการซ่อนความรู้สึกนั้นเอาไว้แล้วแสร้งทำเป็นว่าสบายดี เสมือนเป็นการ ยกภูเขาออกจากอก

อารมณ์นั้นไม่ใช่สิ่งที่ดีหรือเลว มันมีทั้งบวกและลบ ที่สำคัญอารมณ์นั้นช่วยให้เข้าใจสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อารมณ์เป็นเหมือนสิ่งที่ทำให้เราเข้าใจผู้อื่นหรือตนเองว่ากำลังรู้สึกอย่างไร เมื่อมีการแสดงออกมาตามความรู้สึก ก็จะช่วยให้คนรอบข้างเข้าใจว่าเราอยู่ในอารมณ์ใด หากกำลังเศร้า คนรอบข้างก็อาจจะเข้ามาปลอบช่วยให้เรานั้นสบายใจขึ้นได้

การมองโลกในแง่ดี นั้นก็เป็นเรื่องที่ดี แต่อย่างไรก็ตามการยอบรับและรับฟังความรู้สึกของตัวเองก็จะดีกับสุขภาพจิตของเรามากกว่า แม้จะเป็นอารมณ์ที่ไม่ดีก็ตาม

ดังนั้นการปล่อยให้ตนเองได้รู้สึกหรือแสดงออกอย่างที่รู้สึก แม้ว่านั่นจะเป็นอารมณ์ที่ไม่ดี เศร้า เสียใจ ก็ดีกว่าซ่อนความทุกข์นั้นไว้ภายในใจคนเดียว การหัดยอมรับความรู้สึกที่แท้จริงของตนเอง อาจจะช่วยให้เรารู้สึกดีขึ้นได้อีกทางหนึ่ง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Source

‘Toxic Positivity’ Is Real — and It’s a Big Problem During the Pandemic

https://www.healthline.com/health/mental-health/toxic-positivity-during-the-pandemic

Toxic Positivity: Don't Always Look on the Bright Side

https://www.psychologytoday.com/us/blog/the-man-cave/201908/toxic-positivity-dont-always-look-the-bright-side

What is toxic positivity?

https://lighthouse.mq.edu.au/article/please-explain/august-2020/what-is-toxic-positivity

เวอร์ชันปัจจุบัน

22/10/2020

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

Anhedonia หรือภาวะสิ้นยินดี

ศาสตร์ในการ ควบคุมความโกรธ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพกายและจิต


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 22/10/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา