backup og meta

เลิกดื่มกาแฟ ส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายของคุณอย่างไร

เลิกดื่มกาแฟ ส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายของคุณอย่างไร

‘กาแฟ’ ถือเป็นเครื่องดื่มสุดโปรดของใครหลายๆ คน เนื่องจากความเชื่อที่ว่า.. การดื่มกาแฟจะสามารถช่วยให้ไม่ง่วงนอนได้ แต่ความจริงเป็นแล้วการดื่มกาแฟในปริมาณที่มากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อเสียสุขภาพได้ ดังนั้นจึงมีคนจำนวนไม่น้อยที่อยาก เลิกดื่มกาแฟ เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น ทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำสาระดี ๆ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลังเลิกดื่มกาแฟ มาฝากกันในบทความนี้

การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เมื่อคุณ เลิกดื่มกาแฟ 

แน่นอนว่าไม่มีใครบอกให้คุณเลิกดื่มกาแฟได้ แต่คุณรู้หรือไม่ว่าการดื่มกาแฟนั้นสามารถส่งผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาวต่อสุขภาพร่างกายของคุณได้ เนื่องจากคาเฟอีน (Caffeine)ในกาแฟถือเป็นสารเสพติดชนิดหนึ่ง ฉะนั้นถ้าคุณอยากจะเลิกดื่มกาแฟ การค่อยๆ ลดการดื่มกาแฟลงดูจะเป็นวิธีที่น่าจะได้ผลดีมากที่สุด สำหรับผู้ที่ดื่มกาแฟเพียงวันละ 1 แก้ว จะสามารถเลิกดื่มกาแฟได้ง่ายกว่าคนที่ดื่นกาแฟวันละหลายๆ แก้ว เมื่อเลิกดื่มกาแฟแล้ว ร่างกายของคุณจะได้รับสิ่งเหล่านี้

ร่างกายได้รับแคลอรี่น้อยลง

การเลิกกาแฟนอกจากจะทำให้คุณประหยัดเงินแล้ว ยังถือเป็นการลดแคลอรี่ในร่างกายได้ด้วย จากผลการศึกษาที่ตีพิมพ์โดย Public Health ปีค.ศ. 2017 พบว่า ผู้ที่ดื่มกาแฟจาก 2 ใน 3 คน มักจะใส่น้ำตาล ครีม และสารเติมแต่ง อื่นๆ ซึ่งมีแคลอรี่สูงมาก จึงไม่น่าแปลกใจสักเท่าไหร่ที่นักวิจัยจะค้นพบว่า ผู้ที่ดื่มกาแฟดำจะได้รับแคลอรี่น้อยลง โดยเฉลี่ยประมาณ 69 แคลอรี่ต่อวัน เมื่อเทียบกับผู้ที่เติมสารให้ความหวาน ครีมเทียม หรือสารปรุงแต่งอื่นๆ ลงในกาแฟ

นอนหลับได้ดีขึ้น

หากปกติแล้วคุณดื่มกาแฟตอนบ่ายหรือตอนเย็น เมื่อคุณเลิกดื่มกาแฟ จะส่งผลให้ร่างกายปราศจากคาเฟอีน นำไปสู่การนอนหลับได้ดีขึ้นในระยะยาว จากผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน Journal of Clinical Sleep Medicine ปีค.ศ. 2013 พบว่า การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แม้จะผ่านไปแล้ว  6 ชั่วโมงก่อนเข้านอน ก็ยังสามารถรบกวนวงจรการนอนหลับได้

วิตกกังวลน้อยลง

การดื่มคาเฟอีนมากเกินไปอาจให้โทษต่อร่างกายได้ เนื่องจากคาเฟอีนนั้นให้พลังงานที่มากต่อร่างกาย ทั้งยังช่วยกระตุ้นฮอร์โมนที่หลั่งเมื่อเครียด ทำให้เกิดการตอบสนองการตอบสนองแบบสู้หรือหนี (Fight or flight response) ซึ่งสิ่งเหล่านี้อ่ตทำให้เพิ่มความวิตกกังวล ความกังวลใจ จนอาจถึงขั้นขวัญเสียได้

ผู้ที่มีความเครียดและวิตกกังวลอยู่แล้ว อาจจะพบว่า คาเฟอีนสามารถทำให้อาการที่เป็นอยู่แย่ลงได้ นอกจากนี้การดื่มคาเฟอีนที่สูงขึ้นอาจเพิ่มโอกาสในการเกิดภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นได้ด้วย

การดูดซึมอาหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น

หากคุณไม่ใช่คนที่ดื่มคาเฟอีนร่างกายของคุณอาจจะดูดซึมสารอาหารบางอย่างได้ดีกว่าผู้ที่ดื่มคาเฟอีน เนื่องจากสารแทนนิน (Tannins) ในคาเฟอีนสามารถยับยั้งการดูดซึมสารอาหารบางส่วนของ

  • แคลเซียม
  • เหล็ก
  • วิตามินบี

โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ได้รับคาเฟอีนในปริมาณที่สูงมากหรืออายุมากขึ้น อาจทำให้สารอาหารที่่ได้รับไม่สมดุล การไม่ดื่มคาเฟอีนเลย สามารถช่วยทำให้คุณแน่ใจได้ว่าร่างกายได้รับสารอาหารทั้งหมดจากอาหารที่คุณกินเข้าไป

สุขภาพช่องปากดีขึ้น

กาแฟและชาสามารถทำให้เกิดคราบเปื้อนบนฟันได้ เนื่องจากมีปริมาณแทนนิน (Tannins) ในเครื่องดื่นเหล่านี้ค่อนข้างสูง เมื่อดื่มบ่อยๆ ก็จะเกิดการสะสมจนทำให้เคลือบฟันเปลี่ยนสี นอกจากนั้นเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ยังอาจทำให้เคลือบฟันสึกกร่อนและสลายตัวได้ด้วย หากคุณเลิกดื่มกาแฟและชา ผลที่ได้รับคือ ฟันแลดูขาวขึ้น และสุขภาพดีขึ้น

ทำให้ฮอร์โมนในผู้หญิงสมดุล

ผู้หญิงอาจจะได้รับประโยชน์เป็นพิเศษจากการเลิกดื่มกาแฟ เนื่องจากเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา และโซดา สามารถเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ได้

จากการศึกษาในปี ค.ศ. 2012 พบว่า การดื่มคาเฟอีน 200 มิลลิกรัม หรือมากกว่านั้นต่อวัน จะทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงเอเชียและผู้หญิงผิวสีสูงขึ้น ในขณะที่ผู้หญิงผิวขาวจะมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำลงเล็กน้อย การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน อาจมีความเกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าคุณมีความเสี่ยงในภาวะต่างๆ เช่น เยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งเต้านม และมะเร็งรังไข่

แม้คาเฟอีนจะไม่ได้เชื่อมโยงกับเงื่อนไขเหล่านี้โดยตรง แต่ระดับเอสโตรเจนที่สูงก็อาจทำให้เกิดภาวะเหล่านี้ได้ นอกจากนั้นคาเฟอีนยังทำให้อาการบางอย่างในวัยหมดประจำเดือนแย่ลงอีกด้วย

ระดับความดันโลหิตลดลง

การไม่ดื่มคาเฟอีนอาจส่งผลดีต่อความดันโลหิตของคุณ คาเฟอีนสามารถเพิ่มระดับความดันโลหิตได้เนื่องจากมันมีฤทธิ์กระตุ้นประบบประสาท ซึ่งการดื่มคาเฟอีนในปริมาณสูง 3-5 ถ้วยต่อวัน ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้น

สารเคมีในสมองสมดุล

เป็นเรื่องปกติที่คาเฟอีนจะมีผลต่ออารมณ์ เนื่องจากในสามารถเปลี่ยนแปลงสารเคมีในสมองได้ในลักษณะเดียวกับยาเสพติด อย่าง โคเคน ผู้ที่ไม่ได้ดื่มคาเฟอีนไม่จำเป็นต้องกังวลเกี่ยวกับการติดสารเสพติด ในขณะที่พูดที่ต้องการเลิกดื่มกาแฟอาจจะมีอาการถอนหรืออารมณ์เปลี่ยนแปลงชั่วคราว

ปวดหัวน้อยลง

ผลข้างเคียงที่พบบ่อยของการเลิกดื่มกาแฟก็คืออาการปวดหัว ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยใช้เวลาเพียงไม่กี่วัน นอกจากอาการปวดหัวที่เกิดจากการเลิกดื่มกาแฟแล้วก็ยังมีอาการอื่นๆ อีก ดังนี้

  • ภาวะสมองล้า (Brain Fog Syndrome)
  • ความเมื่อยล้า
  • ความยากลำบากในการจดจ่อต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
  • ความหงุดหงิด

แม้ว่าคุณจะได้พบกับอาการที่เกิดขึ้นจากการเลิกดื่มกาแฟในทันที แต่จากการศึกษาในปี ค.ศ. 2004 พบว่า การดื่มคาเฟอีนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการเกิดอาการปวดหัวเรื้อรังทุกวัน

การย่อยอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

การดื่มคาเฟอีนอาจมาพร้อมกับปัญหาทางเดินอาหารที่ไม่พึงประสงค์ กาแฟอาจมีฤทธิ์เป็นยาระบาย ทั้งยังช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ การดื่มกาแฟในปริมาณมากอาจทำให้เกิดอาการท้องร่วง อุจจารเหลว รวมถึงการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ นอกจากนี้ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอาจทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อนได้ด้วย

ริ้วรอยลดน้อยลง

หากคุณกังวลเรื่องริ้วรอย การเลิกดื่มกาแฟอาจทำให้ปัญหาริ้วรอยลดน้อยลง เนื่องจากคาเฟอีนจะไปขัดขวางการสร้างคอลลาเจน โดยลดการสังเคราะห์คอลลาเจนในผิวหนังนั่นเอง แน่นอนว่าคอลลาเจนมีผลโดยตรงต่อผิวหนัง ร่างกาย และเล็บ การไม่ดื่มกาแฟในตอนเช้าอาจทำให้คุณมีริ้วรอยที่น้อยลง

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

10 Things That Happen to Your Body When You Quit Coffee. https://www.thehealthy.com/nutrition/quitting-coffee/. Accessed August 20, 2020

Here’s What Happens to Your Body When You Quit Caffeine. http://www.eatingwell.com/article/7595410/heres-what-happens-to-your-body-when-you-quit-caffeine/. Accessed August 20, 2020

10 Health Benefits of Living Caffeine-Free. https://www.healthline.com/health/food-nutrition/quitting-caffeine-benefits. Accessed August 20, 2020

I Had an Unhealthy Relationship With Coffee—Here’s How I Healed It. https://www.wellandgood.com/i-quit-coffee-benefits/. Accessed August 20, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/09/2020

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ไขข้อข้องใจ ทำไมยามเช้า เมื่อ ดื่มกาแฟ แล้วปวดอึ

ดื่มกาแฟ ช่วยเพิ่มความจำ ชะลอสมองเสื่อมเมื่ออายุมากขึ้น


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 09/09/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา