backup og meta

ปลานิล จะเผาหรือทอดก็อร่อย ความจริงแล้วมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

ปลานิล จะเผาหรือทอดก็อร่อย ความจริงแล้วมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

ปลานิล เป็นอาหารเมนูโปรดของใครหลายคน เพราะไม่ว่าจะเอามาทำเป็นปลาเผา ปลาทอด หรือปลาย่าง กินคู่กับน้ำจิ้มซีฟู้ดแซ่บ ๆ หรือกินเป็นเมี่ยงปลาเผาก็อร่อย Hello คุณหมอ บทความนี้จึงมีข้อมูลโภชนาการของปลานิล รวมถึงความเสี่ยงที่ควรระวังเวลากินปลานิล

ข้อมูลโภชนาการของปลานิล

ปลานิล เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี โดยโปรตีนประมาณ 100 กรัม มีโปรตีน 26 กรัม และมีพลังงานเพียง 128 แคลอรี่ จึงถือว่าเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูงและแคลอรี่ต่ำ นอกจากนี้ปลานิลยังมีสารอาหารมากมาย โดยปลานิลจะอุดมไปด้วยไนอะซิน (Niacin) วิตามินบี 12 ฟอสฟอรัส ซีลีเนียม และโพแทสเซียม ซึ่งปลานิล 100 กรัมมีสารอาหารดังต่อไปนี้

  • โปรตีน 26 กรัม
  • ไขมัน 3 กรัม
  • ไนอะซิน 24% ของปริมาณไนอะซินที่ควรได้รับต่อวัน
  • วิตามินบี 12 31% ของปริมาณวิตามินบี 12 ที่ควรได้รับต่อวัน
  • ฟอสฟอรัส 20% ของปริมาณฟอสฟอรัสที่ควรได้รับต่อวัน
  • ซีลีเนียม 78% ของปริมาณซีลีเนียมที่ควรได้รับต่อวัน
  • โพแทสเซียม 20% ของปริมาณโพแทสเซียมที่ควรได้รับต่อวัน

ปลานิลมีโอเมก้า 3 น้อยกว่าปลาแซลมอน 10 เท่า

แม้ว่า ประโยชน์ของปลานิล จะมีมากมาย ทั้งมีโปรตีนสูงและแคลอรี่ต่ำ แต่ก็มีข้อกังวลเกี่ยวกับไขมันที่อยู่ในปลานิล ดังนี้

ปลาถือเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เนื่องจากปลาอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ได้แก่ ปลาแซลมอน ปลาเทราท์ (trout) ปลาทูน่า และปลาซาร์ดีน และในความจริงแล้ว ปลาแซลมอนตามธรรมชาติ 100 กรัม มีไขมันโอเมก้า 3 มากกว่า 2,500 มิลลิกรัม

กรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นไขมันที่ดีต่อสุขภาพ เนื่องจากช่วยลดการอักเสบ และไตรกลีเซอไรด์ในเลือด นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ แต่ข่าวร้ายคือสำหรับปลานิล มีกรดไขมันโอเมก้า 3 เพียง 240 มิลลิกรัม ซึ่งถือว่ามีน้อยกว่าในปลาแซลมอนถึง 10 เท่า

ปลานิล มีกรดไขมันโอเมก้า 6 มากกว่า

นอกเหนือจาก ประโยชน์ของปลานิล ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ปลานิลยังมีกรดไขมันโอเมก้า 6 มากกว่าโอเมก้า 3 อีกด้วย ซึ่งกรดไขมันโอเมก้า 6 ยังคงเป็นที่ถกเถียงถึงประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่อย่างไรก็ตามไขมันโอเมก้า 6 ถือว่าดีต่อสุขภาพน้อยกว่า เมื่อเทียบกับไขมันโอเมก้า 3 และบางคนเชื่อว่ากรดไขมันโอเมก้า 6 อาจเป็นอันตรายและเพิ่มการอักเสบ หากบริโภคมากเกินไป

มากไปกว่านั้น ผู้เชี่ยวชาญยังแนะนำว่า ในกรณีที่คุณต้องระวังความเสี่ยงต่อการเป็นโรค ที่เกี่ยวกับการอักเสบ เช่น โรคหัวใจ ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคปลานิล

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Tilapia Fish: Benefits and Dangers. https://www.healthline.com/nutrition/tilapia-fish. Accessed June 21, 2019.

Is eating tilapia fish safe and healthful?. https://www.medicalnewstoday.com/articles/322493.php. Accessed June 21, 2019.

Should I Eat Tilapia?. https://time.com/3895811/tilapia-health-benefits/. Accessed June 21, 2019.

For a Healthy Meal, Tilapia Is Your Friend (and Food). https://www.livestrong.com/article/377292-is-tilapia-fish-healthy/. Accessed June 21, 2019.

เวอร์ชันปัจจุบัน

22/02/2021

เขียนโดย Sopista Kongchon

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

‘คาร์โนซีน’ สุดยอดสารอาหารบำรุงสมอง

โอเมก้า 3 ประโยชน์ ต่อสุขภาพและข้อควรระวัง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 22/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา