backup og meta

หอมหัวใหญ่ กลิ่นฉุนแรง แต่ดีต่อสุขภาพมากจริง ๆ

หอมหัวใหญ่ กลิ่นฉุนแรง แต่ดีต่อสุขภาพมากจริง ๆ

เห็นหัวหอมอยู่ในจานอาหารทีไรเป็นต้องได้เขี่ยทิ้งทุกที เพราะกลิ่นฉุนจนเกินจะทน แต่…รู้หรือเปล่าว่า หอมใหญ่ ที่หลายคนชอบเขี่ยทิ้งไปนั้น จริง ๆ แล้วเป็นผักที่ให้คุณค่าทางสารอาหารสูงมาก Hello คุณหมอ จะพาคุณผู้อ่านทุกท่านมารู้จักกับประโยชน์ดี ๆ ของ หอมหัวใหญ่ กัน

หอมหัวใหญ่ กินแล้วดีอย่างไร

หอมใหญ่ หรือ หอมหัวใหญ่ เป็นผักตระกูลหัวที่อัดแน่นไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก โดยเฉพาะสารอาหารประเภทวิตามิน และหนึ่งในวิตามินที่โดดเด่นมากในหอมใหญ่ก็คือวิตามินซี ซึ่งวิตามินซีนี้ถือว่าเป็นสารที่มีสรรพคุณช่วยต้านอนุมูลอิสระ บำรุงเซลล์ให้แข็งแรง ป้องกันไม่ให้เซลล์อักเสบหรือถูกทำลายจากอนุมูลอิสระ 

นอกจากนี้ ยังมีวิตามินเอ วิตามินบี ไฟเบอร์ โฟเลต โปรตีน และแร่ธาตุสำคัญ ๆ อย่าง แคลเซียม ธาตุเหล็ก กรดอะมิโน สารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) เควอซิทิน (Quercetin) มากไปกว่านั้น หอมใหญ่ ยังจัดว่าเป็นผักที่ไม่มีไขมัน โซเดียมต่ำ และเป็นหนึ่งในอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ เหมาะสำหรับการควบคุมอาหารด้วย

หอมหัวใหญ่-ประโยชน์-ข้อควรระวัง

ประโยชน์ของหอมหัวใหญ่

ดีต่อสุขภาพหัวใจ

หอมใหญ่ อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีสรรพคุณที่เสริมให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง ช่วยต้านการอักเสบของเซลล์ มีส่วนช่วยลดไตรกลีเซอไรด์และลดคอเลสเตอรอล ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ การรับประทานหอมใหญ่เป็นประจำจึงมีส่วนช่วยเสริมให้สุขภาพหัวใจแข็งแรง และป้องกันความเสี่ยงของโรคหัวใจ

ต้านมะเร็ง

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า หอมใหญ่ เป็นผักที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง โดยเฉพาะสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มของ ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) เควอซิทิน (Quercetin) ซึ่งมีฤทธิ์ป้องกันการอักเสบของเซลล์ รวมถึงช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งด้วย อย่างไรก็ตาม หอมใหญ่ไม่สามารถที่จะรักษาอาการมะเร็งให้หายขาดได้ เพียงแต่มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งลงเท่านั้น

ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

ระดับน้ำตาลในเลือดที่พุ่งสูง สามารถเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคเรื้อรังอย่างเบาหวานหรือโรคหัวใจได้ จากผลการศึกษาพบว่าสารอาหารใน หัวหอม จำพวกเควอซิทิน (Quercetin) กำมะถัน และซัลเฟอร์ มีสรรพคุณช่วยสามารถควบคุมให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ ป้องกันความเสี่ยงของโรคเบาหวานและโรคหัวใจ

ดีต่อระบบย่อยอาหาร

หอมใหญ่ มีไฟเบอร์และพรีไบโอติก ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญที่มีส่วนกระตุ้นให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้เป็นปกติ ทั้งยังดีต่อระบบลำไส้ เนื่องจากสารอาหารในหอมใหญ่มีฤทธิ์ในการต้านแบคทีเรีย และช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเหล่าแบคทีเรียชั้นดีที่มีส่วนช่วยในการย่อยอาหาร ซึ่งเมื่อระบบย่อยอาหารสามารถทำงานได้เป็นปกติและมีประสิทธิภาพ จะส่งผลให้ระบบขับถ่ายดีขึ้นและลดความเสี่ยงของอาการท้องผูกได้

บำรุงผม

หอมใหญ่ มีสารต้านอิสระที่มีสรรพคุณในการบำรุงหนังศีรษะและเส้นผม โดยจากผลการวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่ใน The Journey of Dermatology พบว่า สารประกอบใน หัวหอม มีส่วนช่วยให้สุขภาพเส้นผมแข็งแรง และเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตหรือการงอกของเส้นผมได้ การใช้หัวหอมในสูตรบำรุงผม หรือยาสระผมที่มีส่วนผสมของ หัวหอม นับว่ามีส่วนที่จะบำรุงเส้นผมให้สุขภาพดีได้

ข้อควรระวัง

  • หากมีอาการแพ้หัวหอม ซึ่งถึงแม้จะพบได้น้อย แต่ก็ควรระมัดระวังการรับประทานอาหารที่มี หัวหอม หรือ หอมใหญ่ เป็นส่วนผสม
  • การหั่นหัวหอมอาจส่งผลให้เกิดอาการแสบตาได้ เวลาหั่นจึงไม่ควรหั่นหัวหอมในระยะที่ใกล้กับใบหน้า หรือหาวิธีป้องกันใบหน้าในขณะที่หั่นหัวหอมด้วย

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Onion Health Research. https://www.onions-usa.org/all-about-onions/onion-health-research/. Accessed on September 22, 2020

Onions: Nutrition, Health Benefits, Allergy, and Recipes. https://www.emedihealth.com/onions-benefits.html. Accessed on September 22, 2020

Why are onions good for you?. https://www.medicalnewstoday.com/articles/276714. Accessed June 19, 2021

Health Benefits of Onions. https://www.webmd.com/diet/health-benefits-onions#1. Accessed June 19, 2021

Onions, raw. https://fdc.nal.usda.gov/fdc-app.html#/food-details/170000/nutrients. Accessed June 19, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

19/06/2021

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

เมื่อหัวหอมทำให้เราเสียน้ำตา ทำไม หั่นหอม แล้วร้องไห้

ใส่ หัวหอมในถุงเท้า แก้หวัดได้จริงหรือ?


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 19/06/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา