backup og meta

อาหารที่ทำให้ฟันผุ มีอะไรบ้าง

อาหารที่ทำให้ฟันผุ มีอะไรบ้าง

อาหารที่ทำให้ฟันผุ อาจเป็นอาหารที่มีส่วนผสมของแป้งและน้ำตาล เมื่อแป้งหรือน้ำตาลไปสัมผัสกับคราบพลัค ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นฟิล์มบาง ๆ ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ ก็อาจทำให้กรดก่อตัวขึ้น ซึ่งกรดเหล่านี้ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ฟันผุ นอกจากอาหารแล้วเชื้อแบคทีเรียในคราบพลัตยังอาจกระตุ้นต่อการตอบสนองของการอักเสบ ส่งผลทำให้ฟันผุ ทั้งยังอาจทำให้เหงือ กระดูก และโครงสร้างที่รองรับส่วนอื่น ๆ ของฟันเสียหายได้เช่นกัน

8 อาหารที่ทำให้ฟันผุ

  • น้ำแข็ง

น้ำแข็งไม่ได้ส่งผลเสียต่อสุขภาพฟัน เพราะไม่ได้มีส่วนผสมใดที่เป็นภัยต่อสุขภาพช่องปาก แต่การเคี้ยวน้ำแข็ง หรือวัตถุที่มีความแข็ง อาจเสี่ยงที่จะทำให้เกิดฟันผุ และทำลายสารเคลือบฟันได้

  • อาหารที่มีส่วนผสมของกรด

กรด คือ สารที่อยู่ในอาหาร เครื่องดื่ม หรือผลไม้รสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะนาว เครื่องดื่มที่มีรสเปรี้ยว หรือกรดสังเคราะห์ที่อาจพบได้ในอาหารบางประเภท อาจตัวทำลายสารเคลือบฟันโดยการกัดเซาะสารเคลือบฟันแต่ละซี่ และถ้ากรดทำร้ายสารเคลือบฟันไปเรื่อย ๆ ก็เสี่ยงที่จะมีอาการฟันผุ นอกจากจะมีผลต่อฟันแล้ว อาหารและเครื่องดื่มที่มีกรด ยังอาจมีผลทำให้เกิดแผลในปาก หรือในกรณีที่มีแผลในช่องปากอยู่แล้ว อาจทำให้อาการแย่ลงกว่าเดิมได้

  • อาหารที่มีลักษณะเหนียว

อาหารแห้งต่าง ๆ เช่น ผลไม้อบแห้ง มีรสชาติที่อร่อยถูกใจ แต่ส่วนมากมักมีลักษณะที่แห้ง แข็ง และเหนียว ซึ่งอาหารที่มีเนื้อสัมผัสเหนียว ทำให้ต้องมีการบดหรือเคี้ยวเป็นเวลานานก่อนที่จะกลืนลงหลอดอาหาร เพราะเหตุนี้ อาหารที่เหนียวจึงอยู่ในปากนานกว่าอาหารชนิดอื่น ๆ ซึ่งนั่นเสี่ยงที่จะทำให้มีเศษอาหารติดอยู่ตามซอกฟัน หรือตกค้างอยู่ในช่องปาก ดังนั้น การบ้วนปากหรือแปรงฟันหลังจากที่รับประทานอาหารจึงป็นสิ่งที่ควรทำ

  • ขนมขบเคี้ยว

ใคร ๆ ต่างก็มีขนมขบเคี้ยวติดบ้านกันทั้งนั้น และปฏิเสธไม่ได้ว่ารสชาติของขนมขบเคี้ยวก็แสนจะอร่อยและถูกปากด้วย แต่ว่าขนมขบเคี้ยว อย่างเช่น มันฝรั่งทอดกรอบ อาจมีเศษตกค้างติดอยู่กับฟัน และหากทำความสะอาดไม่ทั่วถึง ก็อาจจะสะสมจนเกิดเป็นจุลินทรีย์อยู่ในช่องปากและไปทำร้ายฟันได้

  • อาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล

น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง หรือลูกอม โดยมากมักมีส่วนผสมของน้ำตาล เมื่อปริมาณน้ำตาลในช่องปากเพิ่มมากขึ้น จุลินทรีย์ในช่องปากจะใช้น้ำตาลเหล่านั้นเพื่อผลิตกรดออกมาทำลายสารเคลือบฟัน ควรตรวจสอบฉลากของผลิตภัณฑ์ก่อนซื้อทุกครั้ง หากต้องการเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลน้อย

  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาจทำให้ปากแห้ง และเกิดภาวะขาดน้ำ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากจนเกินไปมีผลทำให้น้ำลายในปากน้อย เสี่ยงที่จะทำให้ฟันผุ เกิดการติดเชื้อ หรือเป็นโรคเหงือก และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บ่อย ๆ ยังอาจมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดมะเร็งในช่องปากได้อีกด้วย

  • ขนมปัง

เวลาที่เคี้ยวขนมปัง น้ำลายจะย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาล จนกระทั่งเป็นสารที่มีความเหนียว และไปเกาะติดตามรอยแยกของฟันแต่ละซี่ และอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ฟันผุได้ หากทำความสะอาดฟันไม่ทั่วถึง

กินอาหารทำร้ายสุขภาพฟันยังไงให้ปลอดภัย

เป็นเรื่องปกติไม่สามารถจะงด และเลี่ยงอาหารเหล่านี้ได้ตลอดทุกครั้ง ในบางครั้งก็อาจที่มีความต้องการจะดื่มน้ำอัดลม หรืออยากรับประทานขนมขบเคี้ยว ซึ่งแน่นอนว่าสามารถที่จะรับประทานได้ แต่หลังการรับประทานสิ่งเหล่านี้ ควรมีการทำความสะอาดช่องปากด้วยการแปรงฟันอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้มีเศษอาหารที่เสี่ยงจะทำให้ฟันผุตกค้างอยู่ในช่องปาก นอกจากนั้น การใช้ไหมขัดฟัน ก็มีส่วนช่วยให้ฟันสะอาด การบ้วนปากหลังการแปรงฟันหรือการรับประทานอาหาร ก็ทำให้เศษอาหารติดค้างในช่องปากน้อยลงได้เช่นกัน

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Top 9 Foods That Damage Your Teeth. https://www.mouthhealthy.org/en/nutrition/food-tips/9-foods-that-damage-your-teeth. Accessed on February 5, 2020.

Best and Worst Foods for Your Teeth. https://www.health.com/condition/oral-health/best-and-worst-foods-for-your-teeth. Accessed on February 5, 2020.

The Best and Worst Foods for Your Teeth. https://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=1&ContentID=4062. Accessed January 12, 2022

The 10 Worst Foods For Your Teeth. https://www.beautifulsmiles.org/memphis-dentistry-blog/posts/the-10-worst-foods-for-your-teeth. Accessed January 12, 2022

Worst foods for your teeth. https://www.australiafairdental.com.au/case-studies-and-news/worst-foods-for-your-teeth/. Accessed January 12, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/01/2022

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

พฤติกรรมเสี่ยงคุณกำลังทำอยู่หรือเปล่า รู้ไว้ ป้องกันฟันกร่อน ได้

แปรงสีฟัน เลือกให้ถูกต้อง เพื่อสุขภาพฟันที่ดี


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 12/01/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา