backup og meta

วิธีการจูบ กระตุ้นอารมณ์รัก กระชับความสัมพันธ์

วิธีการจูบ กระตุ้นอารมณ์รัก กระชับความสัมพันธ์

การจูบ คือ พฤติกรรมแสดงความรัก ความห่วงใย และความต้องการทางเพศ ทั้งยังเป็นการเล้าโลมที่อาจช่วยกระตุ้นอารมณ์ทางเพศก่อนมีเซ็กส์ หรือระหว่างมีเซ็กส์ วิธีการจูบ ที่ดีอาจเริ่มจากการจูบอย่างช้า ๆ และค่อย ๆ ไต่ระดับไปถึงการจูบแบบดูดดื่ม อย่างไรก็ตาม การจูบก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางชนิด เกิดการเจ็บป่วยจากการสัมผัสน้ำลาย เช่น ไข้หวัด หูด เริม

[embed-health-tool-ovulation]

การจูบมีประโยชน์อย่างไร

การจูบอาจมีประโยชน์ต่อสุขกายและจิตใจ ดังนี้

  • เผาผลาญแคลอรี่ การจูบอาจช่วยเผาผลาญแคลอรี่ได้ 8-16 กิโลแคลอรี่ เนื่องจากขณะที่จูบเพื่อเล้าโลมและกระตุ้นอารมณ์ทางเพศก่อนมีเพศสัมพันธ์ อาจทำให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหว หากยิ่งจูบอย่างร้อนแรง ดูดดื่มเท่าไหร่ก็ยิ่งส่งผลให้ร่างกายเผาผลาญแคลอรี่มากเท่านั้น
  • ลดความดันโลหิต การจูบอย่างดูดดื่มอาจทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ส่งผลให้ร่างกายสูบฉีดเลือดจนนำไปสู่การขยายของหลอดเลือด ลดความดันโลหิต บรรเทาอาการปวดหัว และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ
  • บรรเทาอาการแพ้ การจูบกับคู่รักอาจทำให้ได้รับแบคทีเรียที่ดีในช่องปากของอีกฝ่าย ทำให้เพิ่มภูมิคุ้มกันที่อาจช่วยบรรเทาอาการแพ้จากสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ เช่น เกสรดอกไม้ ไรฝุ่น อีกทั้งยังอาจช่วยลดความเครียดที่เป็นสาเหตุหนึ่งในการกระตุ้นทำให้อาการแพ้แย่ลง
  • ป้องกันฟันผุ อาการฟันผุเกิดจากเศษอาหารที่ติดตามซอกฟันและการสะสมของแบคทีเรีย การจูบจึงอาจช่วยกระตุ้นให้ต่อมน้ำลายผลิตน้ำลายมากขึ้น ช่วยให้เศษอาหารไม่ติดฟัน กำจัดคราบพลัค จึงอาจช่วยป้องกันฟันผุได้
  • ใบหน้ากระชับและผิวหน้าดูอ่อนกว่าวัย ใบหน้ามีกล้ามเนื้อประมาณ 2-34 มัด การจูบจึงทำให้มีการขยับใบหน้าและใช้กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า ซึ่งอาจช่วยกระตุ้นการผลิตคอลลาเจน และส่งผลให้ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น นำไปสู่ใบหน้าที่กระชับ ชะลอการเกิดริ้วรอย ผิวหน้าดูอ่อนกว่าวัย
  • กระชับความสัมพันธ์ของคู่รัก การจูบเป็นพฤติกรรมการแสดงความรักที่อาจทำให้เกิดความผูกพันธ์ ความใกล้ชิดมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นกำลังใจให้กับอีกฝ่ายเมื่อเจอเรื่องเครียด หรือมีเรื่องน่ายินดีในชีวิต ทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายมีความสัมพันธ์ในเชิงบวก
  • มีสุขภาพจิตดี การจูบอาจกระตุ้นให้สมองหลั่งสารเคมีแห่งความสุข เช่น เซโรโทนิน (Serotonin) โดพามีน (Dopamine) และลดฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียด ทำให้ทั้งคู่รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้า

วิธีการจูบ กระตุ้นอารมณ์เมื่อร่วมรัก

การจูบที่ดีควรเป็นการยินยอมของทั้ง 2 ฝ่าย เพราะอาจช่วยสร้างความรู้สึกดี ๆ นำไปสู่การกระตุ้นอารมณ์ทางเพศเมื่อร่วมรักได้ง่ายขึ้น โดยวิธีการจูบมีดังนี้

  • จูบแบบโรแมนติก เป็นการจูบที่อาจสื่อถึงความรักที่มีให้อีกฝ่ายอย่างอ่อนโยน โดยการโน้มตัวลงมาจูบและออกห่างเพื่อสบสายตา ก่อนจะเริ่มดูดริมฝีปากอย่างเบา ๆ
  • จูบแบบดูดดื่ม เป็นการจูบโดยการเริ่มจากการเอียงศีรษะเล็กน้อย เพื่อปรับตำแหน่งให้เข้ากันและจูบอย่างเร่าร้อน สามารถใช้ลิ้นสอดเข้าช่องปากควบคู่ไปกับการลูบไล้สัมผัสร่างกายของอีกฝ่าย
  • การจูบบริเวณอื่น ๆ การจูบไม่จำเป็นต้องจูบที่ปากเพียงจุดเดียวเท่านั้น แต่ยังสามารถจูบบริเวณอื่น ๆ ที่เป็นจุดกระตุ้นอารมณ์ทางเพศได้ เช่น คาง ติ่งหู ต้นคอ ข้อมือ หน้าอก หน้าท้อง ต้นขา โดยอาจค่อย ๆ ไล่ระดับจากบนลงล่าง หรือตั้งแต่ส่วนล่างขึ้นบน
  • การจูบแบบ Drink Kiss เป็นการเพิ่มเทคนิคการจูบด้วยการใช้เครื่องดื่มเข้ามาช่วย โดยอาจลองเทเครื่องดื่มต่าง ๆ เช่น เบียร์ ไวน์ ในปากของคู่รักเล็กน้อย และจูบเบา ๆ หรือดูดดื่มตามอารมณ์ในช่วงเวลานั้น
  • จูบแบบ Candy Kiss วิธีการจูบนี้มีความน่ารัก อ่อนโยน ขี้เล่น และเย้ายวน โดยทั้งคู่อมลูกอมที่มีรสชาติต่างกันและแลกเปลี่ยนกันขณะจูบ
  • จูบริมฝีปากล่าง คือ การจูบในลักษณะนอนคว่ำหน้า โดยทั้งคู่หันหน้าเข้าหากันในลักษณะแบบตรงข้าม เพื่อให้ริมฝีปากบนของทั้ง 2 ฝ่ายอยู่บริเวณริมฝีปากล่างของกันและกันก่อนจะเริ่มจูบ
  • จูบแบบกัดริมฝีปาก อาจช่วยกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ และรู้สึกเย้ายวนมากขึ้น เพียงแค่จับริมฝีปากฝ่ายตรงข้ามและโน้มตัวจูบและกัดเบา ๆ
  • จูบหลังด้วยน้ำแข็ง อาจเป็นอีกวิธีที่น่าสนใจ โดยอมน้ำแข็งก้อนเล็ก ๆ และจูบตามกระดูกสันหลังไล่ลงไปด้านล่างแบบเย้ายวน เพราะบริเวณหลังเต็มไปด้วยเส้นประสาทที่ไวต่อการสัมผัส จึงอาจช่วยกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ จากนั้นกลับขึ้นมาจูบที่ริมฝีปากจนกว่าน้ำแข็งจะหมด

การจูบเสี่ยงเป็นโรคติดต่อได้หรือไม่

การจูบอาจทำให้เกิดโรคติดต่อได้ เนื่องจากเป็นพฤติกรรมที่สัมผัสกับน้ำลายโดยตรง จึงอาจก่อให้เกิดการแพร่กระจายของแบคทีเรีย ไวรัส ที่อาจนำไปสู่ภาวะต่าง ๆ ดังนี้

โควิด-19

คือ ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ปัจจุบันมีการกลายพันธุ์หลายชนิด ทั้งยังสามารถแพร่กระจายผ่านการไอ จาม การจูบ หรือการสูดดมละอองน้ำลายที่ลอยอยู่ในอากาศ จนเกิดการติดเชื้อที่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ อาการของโควิด-19 อาจสังเกตได้จาก

  • ไข้ขึ้นสูงกว่า 37.5 องศา
  • เจ็บคอ
  • หายใจลำบาก
  • ท้องร่วง

บางคนอาจมีอาการเหงื่อออกตอนกลางคืน โดยเฉพาะโควิดสายพันธุ์โอมิครอน ดังนั้น เพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ควรหลีกเลี่ยงการจูบเพราะอาจทำให้ได้รับเชื้อไวรัส และเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่อาจช่วยบรรเทาอาการรุนแรงเมื่อติดเชื้อ

ไข้หวัดใหญ่

เกิดจากการติดเชื้อของไวรัสจากละอองน้ำลายผ่านการไอ จาม พูดคุย สัมผัสกับสิ่งของที่ติดเชื้อ และการจูบ อาการของไข้หวัดใหญ่อาจสังเกตได้จาก

  • มีไข้ขึ้น
  • ปวดศีรษะ
  • ไอเรื้อรัง
  • อาเจียน
  • ท้องร่วง
  • หายใจถี่
  • ปวดตา

ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการจูบ ล้างมือด้วยสบู่อย่างน้อย 20 วินาที ก่อนสัมผัสใบหน้า และทำความสะอาดวัตถุที่อาจเป็นพาหะ เช่น กลอนประตู สวิตช์ไฟ และฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ประจำปี

ต่อมน้ำเหลืองบวม

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัสเอ็บสไตบาร์ (Epstein-Barr Virus) บริเวณต่อมน้ำเหลือง ที่แพร่กระจายผ่านทางการจูบ และการสัมผัสน้ำลาย อาการต่อมน้ำเหลืองบวมอาจสังเกตได้จาก

  • มีไข้
  • น้ำมูกไหล
  • เจ็บคอ
  • เหงื่อออกตอนกลางคืน

ไวรัสตับอักเสบบี

เป็นการติดเชื้อที่ตับอย่างรุนแรง มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส ถึงแม้จะไม่สามารถแพร่กระจายผ่านการไอหรือจาม แต่อาจเกิดการติดเชื้อได้เมื่อสัมผัสกับสารคัดหลั่งในร่างกาย เช่น อสุจิ เลือด น้ำลาย ดังนั้น การจูบจึงอาจทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ดังนี้

  • มีไข้
  • อาเจียน
  • ปวดข้อ
  • ปวดท้อง
  • เบื่ออาหาร
  • ปัสสาวะสีเข้ม
  • สีผิวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง

ดังนั้นเพื่อบรรเทาอาการรุนแรง ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งสามารถเริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุ 3-4 เดือน

โรคเริมในช่องปาก

เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเริมชนิดที่ 1 ผ่านการจูบ แต่ก็อาจสามารถแพร่กระจายก่อให้เกิดเริมที่อวัยวะเพศได้เช่นกัน หากมีเพศสัมพันธ์ผ่านทางปาก เช่น ออรัลเซ็กส์ โรคเริมในช่องปากอาจอยู่ได้นาน 2-3 สัปดาห์ ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อรู้สึกปวดกล้ามเนื้อ อารมณ์แปรปรวน และมีตุ่มพุพองในช่องปากบริเวณเหงือก ลิ้น กระพุ้งแก้ม ริมฝีปาก และอาจส่งผลให้ต่อมน้ำเหลืองที่คอบวม

ไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal Disease)

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียไนซีเรีย เมนิงไจไทดิส (Neisseria Meningitidis) ผ่านการจูบ การพูดคุย เป็นโรคร้ายแรงที่อาจทำให้เยื่อบุสมองและไขสันหลังติดเชื้อ นำไปสู่เยื่อหุ้มสมองอักเสบ บางคนอาจติดเชื้อในกระแสเลือด หรือที่เรียกว่า ภาวะโลหิตเป็นพิษ ซึ่งสามารถส่งผลให้ถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นหากสังเกตพบว่า มีไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียนกะทันหัน ควรพบคุณหมอทันที

ฟันผุ

การจูบอาจทำให้ได้รับแบคทีเรียชนิดไม่ดี เช่น สเตร็พโตคอคคัส มิวแทนส์ (Streptococcus Mutansmutans) พอร์ไฟโรโมแนส จิงจิวาลิส (Porphyromonas Gingivalis) ที่อาจส่งผลให้เกิดฟันผุได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What’s So Great About Kissing?. https://www.webmd.com/sex-relationships/features/kissing-benefits . Accessed January 25, 2022

Hepatitis B. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hepatitis-b/symptoms-causes/syc-20366802 . Accessed January 25, 2022

Swollen lymph nodes. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/swollen-lymph-nodes/symptoms-causes/syc-20353902 . Accessed January 25, 2022

oral herpes. https://www.webmd.com/a-to-z-guides/oral-herpes . Accessed January 25, 2022

Meningococcal disease https://www.cdc.gov/meningococcal/index.html . Accessed January 25, 2022

Kissing and your health. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/conditionsandtreatments/kissing-and-your-health . Accessed January 25, 2022

What Is Coronavirus?. https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/coronavirus . Accessed January 25, 2022

Influenza. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/flu/symptoms-causes/syc-20351719 . Accessed January 25, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

16/10/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

อวัยวะเพศชาย แข็งตอนเช้า เรื่องปกติหรือมีอารมณ์ทางเพศ

คริสตอริส คืออะไร อยู่ตรงไหน และวิธีกระตุ้นคริสตอริส


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 16/10/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา