backup og meta

ข้อควรรู้เกี่ยวกับโพรไบโอติก และการรักษาสิว

ข้อควรรู้เกี่ยวกับโพรไบโอติก และการรักษาสิว

โพรไบโอติก (Probiotic) คือ แบคทีเรียชนิดดีที่อยู่ในร่างกาย ที่มีประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหาร ช่วยทำให้ลำไส้แข็งแรง และอาจช่วยเพิ่มเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายในการต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ นอกจากนี้ การรับประทานโพรไบโอติก ยังอาจสามารถช่วยรักษาสิวได้ เนื่องจากโพรไบโอติกอาจช่วยต้านการอักเสบ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการเกิดสิว อย่างไรก็ตาม โพรไบโอติกอาจไม่ได้เหมาะสมสำหรับทุกคน ดังนั้น จึงควรศึกษาเกี่ยวกับข้อควรระวังให้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ

[embed-health-tool-bmi]

โพรไบโอติกคืออะไร

ร่างกายจะมีแบคทีเรียชนิดดีและแบคทีเรียที่ไม่ดีอาศัยอยู่ โพรไบโอติก คือ แบคทีเรียชนิดดีที่อยู่ในร่างกายโดยเฉพาะในระบบย่อยอาหาร โพรไบโอติกมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย เช่น ช่วยทำให้ลำไส้แข็งแรง ช่วยลดแบคทีเรียที่ไม่ดี ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ปรับสมดุลให้ระบบย่อยอาหาร รวมถึงช่วยทำให้ผิวดีขึ้นด้วย

หากจำนวนโพรไบโอติกในร่างกายมีน้อย จะทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่ค่อยดีจนทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ท้องผูก ท้องเสีย ท้องอืด โพรไบโอติดยังส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน หากรู้สึกว่าร่างกายอ่อนแอ เหนื่อยง่าย เป็นหวัดบ่อย หรือแม้กระทั่งมีปัญหาเกี่ยวกับผิวหนัง อาจเป็นสัญญาณว่า ควรเพิ่มจำนวนแบคทีเรียชนิดดีอย่างโพรไบโอติกให้แก่ร่างกาย

โพรไบโอติก รักษาสิว ได้จริงเหรอ

งานวิจัยของ Robert H. Siver นายแพทย์จากโรงพยาบาล Union Memorial ในเมืองบอลทิมอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้ให้คนไข้ที่มีปัญหาสิวจำนวน 300 คนกินโพรไบโอติก 2 ชนิด คือแล็กโทบาซิลลัส แอซิโตฟิลัส (Lactobacillus acidophilus) กับแล็กโทบาซิลลัส บัลกาลิคัส (Lactobacillus bulgaricus)

ผลการทดลองพบว่า 80% ของผู้ที่เป็นสิวมีอาการดีขึ้น อีกงานวิจัยหนึ่งที่สอดคล้องกันคืองานวิจัยจากประเทศอิตาลี ที่ให้ผู้ที่เป็นสิวกินโพรไบโอติก ชนิดแอล. แอซิโตฟิลัส (L. acidophilus) และบี. บิฟิตัม (B. bifidum) ปริมาณ 250 มิลลิกรัม ผลการวิจัยพบว่าคนที่เป็นสิวมีอาการดีขึ้นอย่างสังเกตเห็นได้ที่เป็นแบบนี้เนื่องจากโพรไบโอติกนั้นช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งส่งผลต่ออาการอักเสบที่เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดสิว

เมื่อร่างกายได้รับโพรไบโอติก ทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันดีขึ้น อาการอักเสบลดลง ส่งผลทำให้คนที่เป็นสิวมีผิวหน้าดีขึ้น นอกจากนี้ด้วยความที่โพรไบโอติกเป็นแบคทีเรียที่ดี ส่วนแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิวนั้นเป็นแบคทีเรียที่ไม่ดี การเพิ่มจำนวนโพรไบโอติกในร่างกายจึงทำให้ช่วยลดจำนวนแบคทีเรียที่ไม่ดี ซึ่งทำให้สิวลดลงด้วย

วิธีใช้โพรไบโอติกรักษาสิว

การเพิ่มโพรไบโอติกในร่างกายสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยการกินอาหารที่มีโพรไบโอติก ได้แก่ โยเกิร์ต ซุปมิโซะ น้ำเต้าหู้ กิมจิ หรือในพวกของดองเช่น แตงกวาดอง กะหล่ำปลีดอง แต่การกินอาหารเหล่านี้อาจไม่ได้เพิ่มแค่โพรไบโอติก แต่อาจเพิ่มสารอาหารที่ไม่ดีต่อร่างกายมาด้วย เช่น อาหารที่มีโซเดียมมากเกินไป ดังนั้น จึงควรกินในปริมาณที่พอดี ไม่กินเยอะเกินไปจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ส่วนโพรไบโอติกจากอาหารเสริมในปัจจุบัน องค์กรอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา (FDA) จัดให้โพรไบโอติกเป็นอาหาร ไม่ใช่ยา บริษัทที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโพรไบโอติกก็ไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนว่า ปลอดภัยหรือได้ผลดีกับร่างกาย และถึงแม้ว่าตอนนี้คนส่วนใหญ่ที่กินอาหารเสริมโพรไบโอติกจะไม่เป็นอะไร แต่ก็ไม่ได้รับประกันว่าโพรไบโอติกจะปลอดภัยกับทุกคน

บางคนเกิดอาการแพ้โพรไบโอติกจนสิวขึ้นหนักกว่าเดิมก็มี  ดังนั้นวิธีที่ปลอดภัยที่สุดในการซื้ออาหารเสริมโพรไบโอติกมากิน คือ ปรึกษาคุณหมอย์ผู้เชี่ยวชาญว่าควรกินหรือไม่ และควรกินในปริมาณเท่าใด และศึกษาข้อมูลรวมถึงผลข้างเคียงเพื่อความปลอดภัยก่อนรับประทาน

ข้อควรระวังในการกินโพรไบโอติก

ผู้ที่ต้องระมัดระวังในการกินโพรไบโอติก คือ ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน หรือผู้ที่เป็นโรคร้ายแรง เช่น โรคเอดส์ โรคมะเร็ง ไม่ควรกินโพรไบโอติก เพราะอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอยิ่งขึ้น หรือเกิดอาการระคายเคือง อาการแพ้ ส่งผลกระทบต่อการรักษาได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Probiotics. https://www.webmd.com/diet/probiotics#1. Accessed on June 13, 2018.

What Are Probiotics?. https://www.webmd.com/digestive-disorders/what-are-probiotics#1. Accessed on June 13, 2018.

The effect of probiotics on immune regulation, acne, and photoaging. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5418745/. Accessed on June 13, 2018.

Oral probiotic control skin inflammation by acting on both effector and regulatory T cells. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19300508. Accessed on June 13, 2018.

Probiotics: What You Need To Know. https://www.nccih.nih.gov/health/probiotics-what-you-need-to-know. Accessed March 7, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

08/03/2022

เขียนโดย Sopista Kongchon

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ฉีดสิว เหมาะกับใคร มีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง

สิวในหู ดูแลอย่างไรเพื่อช่วยคลายความเจ็บปวด


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 08/03/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา