backup og meta

สิวแพ้แมส เกิดจากอะไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

สิวแพ้แมส เกิดจากอะไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

สิวแพ้แมส หมายถึง สิวที่เกิดขึ้นบริเวณที่สวมแมสหรือหน้ากากอนามัย โดยมีสาเหตุจากความอับชื้นใต้แมส การเสียดสีระหว่างแมสกับผิวหน้า รวมถึงการแพ้สารเคมีในผลิตภัณฑ์ซักผ้าที่ใช้ทำความสะอาดแมสผ้า ทั้งนี้ สิวแพ้แมสอาจป้องกันได้ด้วยการทำความสะอาดใบหน้าสม่ำเสมอ รองทิชชู่เช็ดหน้าใต้แมสเพื่อป้องกันการเสียดสี หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางเมื่อต้องสวมแมส เปลี่ยนแมสเป็นประจำเมื่อสวมนานเกิน 4 ชั่วโมง และเลือกทำความสะอาดแมสชนิดผ้าด้วยสบู่อ่อน ๆ หรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผสมน้ำหอม

[embed-health-tool-bmr]

สิวแพ้แมสเกิดจากอะไร

สิวแพ้แมสหรือสิวที่เกิดขึ้นบริเวณที่สวมหน้ากากอนามัย อาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

  1. รูขุมขนอุดตันจากน้ำมันต่อมใต้ผิวหนังที่ผลิตมากเกินไปหรือเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วเกิดการสะสม เมื่อสวมแมสเป็นเวลานาน น้ำมันจากต่อมใต้ผิวหนังและเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วจะยิ่งมีปริมาณมากขึ้น ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นสิวมากกว่าเดิม
  2. แบคทีเรียบนใบหน้าเพิ่มจำนวนมากขึ้น ความชื้นภายในแมส รวมถึงสิ่งสกปรกต่าง ๆ บนใบหน้าอย่างละอองน้ำลาย เหงื่อ น้ำมัน และคราบเครื่องสำอางที่หมักหมมอยู่ภายใต้แมสที่สวมใส่เป็นเวลานาน เป็นปัจจัยเสี่ยงให้แบคทีเรียบนผิวหน้าเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและมีปริมาณมากกว่าปกติ จึงนำไปสู่การติดเชื้อและการเป็นสิวอักเสบหรือสิวอุดตันได้
  3. การเสียสีระหว่างแมสกับผิวหน้า มักทำให้ผิวหน้าระคายเคือง หรือแพ้จนเป็นตุ่มสิวได้ ทั้งนี้ สิวจากการเสียดสีระหว่างแมสกับผิวหน้ามักพบในผู้ที่สวมแมสหลายชั้นหรือสวมหมวกกันน็อคทับแมสเวลาขับขี่รถจักรยานยนต์
  4. สารเคมีในผลิตภัณฑ์ซักผ้า น้ำหอมในผลิตภัณฑ์ซักผ้าหรือน้ำยาปรับผ้านุ่ม ที่ใช้สำหรับซักแมสผ้า อาจทำให้ใบหน้าระคายเคือง อักเสบ หรือแพ้จนเป็นตุ่มสิวได้

นอกจากนี้ การสวมแมสที่ทำจากวัสดุที่แตกต่างกัน ยังสัมพันธ์กับโอกาสเป็นสิวและความรุนของแรงสิวที่ไม่เท่ากันด้วย โดยการสวมแมสทางการแพทย์ (Surgical mask) สามารถลดโอกาสเกิดสิวได้ดีกว่าการสวมแมสชนิดอื่น ๆ เนื่องจากแมสทางการแพทย์นั้นเป็นสินค้าควบคุมที่ได้รับการรับรองว่ามีคุณสมบัติป้องกันละอองฝอยและเชื้อโรค ที่สำคัญคือผลิตจากเส้นใยพลาสติกที่มีคุณสมบัติอ่อนนุ่มคล้ายผ้าที่ได้จากการทอ ทำให้สวมใส่สบาย มีความสะอาดสูง

ผลการศึกษาชิ้นหนึ่ง ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างการสวมแมสและการเกิดสิว ตีพิมพ์ในวารสาร PLOS One ปี พ.ศ. 2565 ระบุว่า การสวมแมสทางการแพทย์ (Surgical Face Mask) จะเสี่ยงต่อการเป็นสิวน้อยที่สุด โดยการสวมแมส N95 และแมสผ้า มีโอกาสทำให้เป็นสิวได้มากกว่าการสวมแมสทางการแพทย์ 1.89 และ 1.41 เท่า ตามลำดับ

สิวแพ้แมส ป้องกันได้อย่างไร

สิวแพ้แมส อาจป้องกันได้ หากปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • ล้างหน้าตอนเช้า ก่อนนอน และเมื่อเหงื่อออกมาก เพื่อรักษาความสะอาดและลดความมันบนใบหน้า ทั้งนี้ น้ำที่ใช้ล้างหน้าควรเป็นน้ำอุณหภูมิปกติ และไม่ควรเช็ดหน้าแรง ๆ หลังล้างหน้าเสร็จ เพราะจะยิ่งทำให้หน้ามันกว่าเดิม
  • เมื่อเหงื่อออกหรือรู้สึกว่าหน้าเริ่มมัน ควรถอดแมสออกเพื่อซับหน้า
  • หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอาง โดยเฉพาะระหว่างรอสิวหาย เนื่องจากคราบเครื่องสำอางมักทำให้รูขุมขนอุดตัน ซึ่งจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดสิวหรือทำให้สิวหายช้าลง
  • สอดแผ่นทิชชู่เช็ดหน้าเนื้อบางเบารองระหว่างผิวหน้าและแมส เพื่อป้องกันการเสียดสี
  • ถอดแมสทันทีเมื่อกลับถึงบ้าน เพื่อลดการสะสมของสิ่งสกปรกบนใบหน้า
  • ควรซักทำความสะอาดแมสผ้าด้วยน้ำสบู่อ่อน ๆ หรือผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยน ไม่มีน้ำหอมเป็นส่วนผสม เพื่อป้องกันผิวหน้าระคายเคือง
  • เลือกสวมแมสทางการแพทย์ แทนแมส N95 หรือแมสผ้า ตามความเหมาะสม

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

An epidemiological study on face masks and acne in a Nigerian population. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC9119463/#:~:text=The%20type%20of%20mask%20used,predispose%20to%20acne%20p%3C0.05. Accessed October 3, 2022

9 WAYS TO PREVENT FACE MASK SKIN PROBLEMS. https://www.aad.org/public/everyday-care/skin-care-secrets/face/prevent-face-mask-skin-problems. Accessed October 3, 2022

The Struggle With Maskne Is Very Real. https://health.clevelandclinic.org/the-struggle-with-maskne-is-very-real/. Accessed October 3, 2022

6 Tips to Avoid ‘Maskne’. https://www.rush.edu/news/6-tips-avoid-maskne. Accessed October 3, 2022

Suffering from breakouts under your mask? How to fight ‘maskne’. https://news.llu.edu/health-wellness/suffering-from-breakouts-under-your-mask-how-fight-maskne. Accessed October 3, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

24/11/2022

เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอัญชิสา กาญจโนมัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาหารลดสิว ประกอบด้วยอาหารกลุ่มใดบ้าง

มีตุ่มขึ้นเหมือนสิว เม็ดสีขาวขุ่นเล็กๆ เกิดจากอะไร และควรป้องกันอย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอัญชิสา กาญจโนมัย

โรคผิวหนัง · พรเกษมคลินิก


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 24/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา