ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง เป็นการอักเสบ (อาการบวม) ของตับอ่อน ซึ่งทำหน้าที่สร้างสารที่เรียกว่าน้ำย่อยของตับอ่อน ที่ประกอบด้วยเอนไซม์ที่ช่วยย่อยอาหาร ฮอร์โมนอินซูลิน และฮอร์โมนกลูคากอน
[embed-health-tool-bmi]
คำจำกัดความ
ตับอ่อนอักเสบเรื้อรังคืออะไร
ตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis) เป็นการอักเสบ (อาการบวม) ของตับอ่อน ตับอ่อนเป็นต่อมชนิดหนึ่งในช่องท้อง ซึ่งล้อมรอบโดยกระเพาะอาหาร ลำไส้ และอวัยวะอื่นๆ โดยตับอ่อนทำหน้าที่สร้างสารที่เรียกว่าน้ำย่อยของตับอ่อน ที่ประกอบด้วยเอนไซม์ที่ช่วยย่อยอาหาร ฮอร์โมนอินซูลิน และฮอร์โมนกลูคากอน
ตับอ่อนอักเสบเกิดขึ้นเมื่อเอนไซม์ที่ช่วยย่อยอาหารเหล่านี้เริ่มทำลายตับอ่อน โดยตับอักเสบมีสองประเภท ได้แก่
- ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน (Acute pancreatitis) ที่เกิดขึ้นอย่างกะหันหัน
- ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง (Chronic pancreatitis) เกิดขึ้นเป็นเวลานาน การทำลายตับอ่อนอย่างต่อเนื่องอาจทำให้เกิดตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง และไม่สามารถสังเคราะห์เอนไซม์ต่างๆ ได้ ทำให้ร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมไขมันในอาหาร นอกจากนี้ ยังทำให้การสร้างอินซูลินยังลดลงอีกด้วย
ตับอ่อนอักเสบเรื้อรังไม่สามารถหายขาดหรือมีอาการดีขึ้นได้ อาจมีอาการแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไปและทำให้เกิดความเสียหายถาวร
ตับอ่อนอักเสบเรื้อรังพบได้บ่อยเพียงใด
ตับอ่อนอักเสบเรื้อรังพบได้ไม่บ่อย ความชุกของโรคนี้ คือ 50/100,000 คน โดยผู้ที่มีอายุระหว่าง 30 และ 40 ปี มีอัตราสูงขึ้นในการเป็นตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง และผู้ชายได้รับผลกระทบมากกว่าผู้หญิง ตับอ่อนอักเสบไม่สามารถรักษาได้
อาการ
อาการของตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง
ผู้ป่วยที่เป็นตับอ่อนอักเสบเรื้อรังอาจมีอาการดังต่อไปนี้
- ปวดที่หลังส่วนกลาง ส่วนบน และช่องท้อง
- มีอาการปวดเล็กน้อยและปวดเรื้อรัง โดยอาการปวดแต่ละครั้งมักเกิดขึ้นฉับพลัน
- น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
- อุจจาระมีขนาดใหญ่ มีกลิ่นเหม็น และเป็นก้อนใหญ่
- คลื่นไส้และอาเจียน
- กระหายน้ำบ่อยและอ่อนเพลีย
- พุงป่องและมีไข้
- ดีซ่าน
- มีเลือดออกภายในร่างกาย
อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการบางประการที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์
ควรไปพบหมอเมื่อใด
หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการต่างๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หรือมีอาการปวดหลังหรือปวดท้อง โปรดปรึกษาแพทย์
สาเหตุ
สาเหตุของตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง
มีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง โดยการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปถือเป็นสาเหตุหลัก สาเหตุอื่นพบได้น้อยกว่า ได้แก่ ภาวะเหล็กเกินหรือปริมาณธาตุเหล็กในเลือดสูงเกินไป และโรคซิสติกไฟโบรซิส (cystic fibrosis) ซึ่งเป็นอาการผิดทางพันธุกรรมเกี่ยวกับปอดที่ส่งผลต่อตับอ่อน และในบางครั้ง ไม่ทราบสาเหตุ
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง
ตับอ่อนอักเสบเรื้อรังมีปัจจัยเสี่ยงหลายประการ เช่น
- โรคพิษสุราเรื้อรัง
- นิ่วในถุงน้ำดี
- การรักษาโรคอื่นๆ
- การสูบบุหรี่
- โรคซิสติกไฟโบรซิส (Cystic fibrosis)
- การผ่าตัดช่องท้อง
- มีประวัติครอบครัวเคยเป็นตับอ่อนอักเสบ
- มีแคลเซียมในเลือดมากเกินไป
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง
แพทย์วินิจฉัยตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง โดยการวิเคราะห์ประวัติสุขภาพและการตรวจร่างกาย อาจมีการตรวจตัวอย่างเลือด เพื่อหาสิ่งบ่งชี้ของโรค นอกจากนี้ ยังอาจมีการตรวจซีทีสแกนหรืออัลตราซาวด์ช่องท้องเพื่อหาสาเหตุอื่นๆ อีกด้วย
การรักษาตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง
อาการที่พบได้มากที่สุดคืออาการปวดท้อง เป้าหมายในการรักษาประการแรกคือเพื่อจัดการอาการปวด ซึ่งโดยปกติแล้วจะใช้ยาแก้ปวดที่ไม่มีสารเสพติด หรือาจส่งผู้ป่วยไปรักษาต่อกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอาการปวด แต่เป็นกรณีที่พบได้น้อย หากอาการปวดไม่สามารถควบคุมได้ อาจต้องทำการผ่าตัดการระบายท่อตับอ่อน ซึ่งเป็นท่อที่เชื่อมต่อระหว่างตับอ่อนและท่อน้ำดี ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจมีการผ่าตัดนำตับอ่อนบางส่วนหรือทั้งหมดออกไป
เป้าหมายต่อไปของการรักษาคือการแทนที่เอนไซม์ ที่ช่วยย่อยอาหาร และอินซูลินที่ตับอ่อนเคยสร้างขึ้นตามปกติ ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง การแทนที่อินซูลินอาจเป็นสิ่งจำเป็นด้วยเช่นกัน โดยจะให้ผู้ป่วยรับประทานเอนไซม์ตับอ่อน ในรูปแบบเม็ดพร้อมอาหารและอาหารว่าง และมีการฉีดอินซูลินใช้เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด (กลูโคส) นอกจากนี้ ยังอาจให้อาหารเสริมวิตามินเอ วิตามินดี และวิตามินเค เนื่องจากการดูดซึมทำได้น้อย
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองที่ช่วยจัดการตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองดังต่อไปนี้ อาจช่วยให้จัดการตับอ่อนอักเสบเรื้อรังได้
- รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ
- รับประทานอาหารเสริมวิตามินที่ละลายในไขมันและอาหารเสริมแคลเซียม และรับประทานอาหารเสริมเอนไซม์สำหรับตับอ่อนอักเสบ ตามแพทย์สั่ง
- แจ้งให้แพทย์ทราบหากมีอาการตับอ่อนอักเสบ หรือมีอาการแย่ลง หรือไม่ตอบสนองต่อยาได้ดี
- แจ้งให้แพทย์ทราบหากมีไข้