เนื้องอกตับ เป็นก้อนเนื้อในตับที่ไม่ใช่มะเร็งและไม่เป็นอันตราย ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่อาจเกิดจากพันธุกรรม ความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด หรือความซับซ้อนของเส้นเลือดในตับ เนื้องอกตับมักไม่มีอาการที่ชัดเจน ดังนั้ จึงควรหมั่นสังเกตและดูแลสุขภาพของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ หากพบความผิดปกติเกิดขึ้นควรเข้าพบคุณหมอ เพื่อเข้ารับการตรวจและวินิจฉัยอาการ
[embed-health-tool-bmi]
คำจำกัดความ
เนื้องอกตับ คืออะไร
เนื้องอกตับชนิดฮีแมงจิโอมา (Liver Hemangioma) เป็นก้อนเนื้อในตับที่ไม่ใช่มะเร็ง และไม่เป็นอันตราย โดยเนื้องอกตับอาจเกิดจากความซับซ้อนของเส้นเลือดในตับ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่มักตรวจพบเนื้องอกที่ตับระหว่างการตรวจร่างกายหรือการรักษาโรคอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีเนื้องอกที่ตับมักไม่ค่อยมีสัญญาณบ่งชี้หรืออาการที่ชัดเจน และไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา แม้ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่า เนื้องอกในตับที่ไม่ได้รับการรักษาจะสามารถก่อให้เกิดมะเร็งตับได้ แต่การตรวจพบเนื้องอกในตับก็อาจทำให้เกิดความกังวลใจได้ ดังนั้น จึงควรหมั่นสังเกตตัวเองและดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ หากมีข้อสงสัยใด ๆ ควรปรึกษาคุณหมอ
เนื้องอกตับพบบ่อยเพียงใด
เนื้องอกที่ตับเป็นเนื้องอกในบริเวณตับที่ไม่เป็นอันตรายที่พบได้มากที่สุด โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
อาการ
อาการของเนื้องอกตับ
ในผู้ป่วยส่วนใหญ่ เนื้องอกตับไม่มีสัญญาณบ่งชี้หรืออาการใด ๆ แต่อาจมีสัญญาณบ่งชี้และอาการบางอย่างที่สัมพันธ์กับการเกิดเนื้องอกที่ตับ ดังนี้
อย่างไรก็ดี อาการเหล่านี้ไม่ชัดเจนและอาจเกิดจากโรคอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังอาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้นปรากฏได้อีกด้วย ดังนั้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ
ควรไปหาคุณหมอเมื่อไหร่
หากมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาคุณหมอ เนื่องจากร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของตัวเอง
สาเหตุ
สาเหตุของเนื้องอกตับ
ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดเกี่ยวกับการที่เส้นเลือดเกาะตัวกันและทำให้เกิดเนื้องอกที่ตับ อย่างไรก็ตาม คุณหมอคาดว่าอาจเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม และเนื้องอกที่ตับบางชนิดอาจเป็นความผิดปกติแต่กำเนิด
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของเนื้องอกตับ
ปัจจัยความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดเนื้องอกที่ตับอาจมี ดังนี้
- อายุ เนื้องอกที่ตับสามารถตรวจพบได้ในทุกช่วงอายุ แต่มักตรวจพบได้มากที่สุดในผู้ที่อายุ 30-50 ปี
- เพศ ผู้หญิงมีโอกาสมากกว่าที่จะตรวจพบเนื้องอกที่ตับได้มากกว่าผู้ชาย
- ผู้หญิงที่เคยตั้งครรภ์มีโอกาสมากกว่าที่จะตรวจพบเนื้องอกที่ตับ มากกว่าผู้หญิงที่ไม่เคยตั้งครรภ์ เเนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เพิ่มสูงขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ อาจมีบทบาทต่อการเติบโตของเนื้องอกที่ตับ
- การเสริมฮอร์โมน ผู้หญิงที่ใช้การเสริมฮอร์โมนสำหรับอาการในวัยหมดประจำเดือนอาจมีโอกาสที่จะตรวจพบเนื้องอกที่ตับได้มากกว่าผู้หญิงที่ไม่ได้ใช้การเสริมฮอร์โมน
การวินิจฉัยและการรักษาโรค
ข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาคุณหมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยเนื้องอกตับ
การทดสอบและขั้นตอนที่ใช้วินิจฉัยเนื้องอกที่ตับ มีดังนี้
- อัลตราซาวด์ (Ultrasound)
- การตรวจด้วยซีทีสแกน (CT Scan)
- การตรวจด้วยการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
อาจมีการทดสอบและขั้นตอนอื่น ๆ โดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละบุคคล
การรักษาเนื้องอกตับ
แม้เนื้องอกที่ตับส่วนใหญ่อาจไม่จำเป็นต้องรักษา แต่จำเป็นต้องเฝ้าระวัง หากเนื้องอกตับมีขนาดใหญ่และทำให้เกิดอาการต่าง ๆ รวมทั้งก่อให้เกิดความเจ็บปวดหรือความเสียหายต่อส่วนใดส่วนหนึ่งของตับ คุณหมออาจตัดสินใจผ่าตัดน้ำส่วนที่ได้รับผลกระทบออกทั้งหมด
ในกรณีที่เนื้องอกที่ตับสามารถเติบโตได้หากมีกระแสเลือดไปหล่อเลี้ยงมากพอ คุณหมออาจผูกหลอดเลือดหลักที่ลำเลียงเลือดไปยังเนื้องอกที่ตับให้เป็นปม ในขณะที่บริเวณโดยรอบตับจะได้รับเลือดจากหลอดเลือดอื่น ๆ และยังคงมีสุขภาพดี การผ่าตัดแบบนี้เรียกว่า การผ่าตัดผูกเส้นเลือดแดงเฮพาติค (Hepatic Artery Ligation)
ในกรณีอื่น ๆ คุณหมออาจฉีดยาเข้าไปในเนื้องอกที่ตับเพื่อขัดขวางกระแสเลือด ซึ่งทำให้เนื้องอกที่ตับหายไปในที่สุด เรียกว่า การอุดเส้นเลือด (Arterial Embolization)
นอกจากนี้ อาจจำเป็นต้องมีการปลูกถ่ายตับ โดยตับที่เสียหายจะได้รับการแทนที่ด้วยตับของผู้บริจาค แต่เฉพาะในกรณีที่เนื้องอกที่ตับมีขนาดใหญ่มากหรือมีการเพิ่มจำนวน และไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่นเท่านั้น หรือในบางกรณีอาจจำเป็นต้องมีการฉายรังสีเพื่อลดขนาดเนื้องอกลง อย่างไรตาม รูปแบบการรักษานี้พบได้น้อยมาก
การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง
การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อรับมือกับเนื้องอกตับ
การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองดังต่อไปนี้ อาจช่วยรับมือกับเนื้องอกที่ตับได้
- เนื้องอกที่ตับมักไม่ทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนในอนาคต แต่อาจก่อให้เกิดอาการผิดปกติหากมีขนาดเพิ่มขึ้น จึงควรหมั่นสังเกตอาการใด ๆ ที่อาจสัมพันธ์กับการเพิ่มขนาดของเนื้องอกที่ตับ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดเรื้อรังบริเวณช่องท้องด้านขวาบน
- ควรการดูแลรักษาสุขภาพตับ โดยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เหมาะสม รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควบคุมน้ำหนักร่างกาย และงดสูบบุหรี่