การมีประจำเดือน

การมีประจำเดือน คือ การที่มีเลือดปนกับเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกไหลออกมาในแต่ละเดือน ถือเป็นภาวะปกติที่พบในผู้หญิงทุกคนที่เข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์ การดูแลตัวเองในช่วงที่มีประจำเดือนก็เป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับคุณผู้หญิง นอกจากนั้น ก็ยังมีเรื่องต่าง ๆ ที่ควรรู้ไว้ ซึ่งทาง Hello คุณหมอ ได้รวบรวมบทความเอาไว้ให้ได้อ่านกัน ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

การมีประจำเดือน

ปจด สีดำ เกิดจากอะไร อันตรายไหม เมื่อไรควรไปพบคุณหมอ

ปจด หรือ ประจำเดือน หมายถึง เยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดลอกออกมาเป็นเลือดผ่านทางช่องคลอดทุกเดือน โดยเกิดจากการที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และกระตุ้นให้ผนังมดลูกหนาขึ้นเพื่อเตรียมรองรับการฝังตัวของตัวอ่อนหากไข่ปฏิสนธิกับอสุจิ แต่เมื่อไข่ในร่างกายเพศหญิงวัยเจริญพันธุ์ไม่ได้รับการปฏิสนธิกับอสุจิ เยื่อบุโพรงมดลูกจึงหลุดลอกออกตามธรรมชาติ โดยทั่วไป ปจด มักเป็นสีแดงสดหรือสีแดงเข้ม แต่บางครั้งอาจพบเป็น ปจด สีดำ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ ไม่ใช่อาการน่ากังวล ยกเว้นแต่ว่ามี ปจด สีดำ ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ไข้ขึ้น ตกขาวมีกลิ่นเหม็น คันบริเวณช่องคลอด ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยหาสาเหตุต่อไป [embed-health-tool-ovulation] ปจด คืออะไร ปจด หรือประจำเดือน เป็นภาวะปกติเมื่อเพศหญิงเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ โดยจะเป็นประจำเดือนครั้งแรก เมื่ออายุประมาณ 12-16 ปี ประจำเดือน จะเกิดขึ้นทุก ๆ 21-35 วัน โดยมีลักษณะเป็นเลือดไหลออกจากช่องคลอด ซึ่งเกิดจากการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูก เมื่อไข่ของเพศหญิงไม่ได้รับการปฏิสนธิโดยอสุจิของเพศชาย ร่างกายจึงขับเยื่อบุโพรงมดลูกที่เตรียมรองรับการฝังตัวของตัวอ่อนให้หลุดลอกออกตามธรรมชาติ ประจำเดือนจะไหลติดต่อกันประมาณ 5-7 วัน โดยถ้าไหลน้อยกว่า 2 วัน หรือมากกว่า 7 วัน อาจหมายถึงประจำเดือนมาไม่ปกติ ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ ทั้งนี้ ระหว่างมีประจำเดือน เพศหญิงอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย […]

สำรวจ การมีประจำเดือน

การมีประจำเดือน

ผู้หญิงท้องได้หรือเปล่าในระหว่าง มีประจำเดือน

หลายคนอาจเชื่อว่า ผู้หญิงไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ในช่วงประจำเดือน แต่ความจริงแล้ว ก็ยังคงมีความเป็นไปได้ที่ผู้หญิงจะตั้งครรภ์ในช่วงที่ มีประจำเดือน Hello คุณหมอ จึงนำเรื่องราวที่น่าสนใจประเด็นนี้ มาเล่าสู่กันฟังค่ะ ประจำเดือนคืออะไร ทุก ๆ เดือน ผนังมดลูกจะหนาขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการฝังตัวของไข่ที่ผสมแล้ว หากไข่ไม่ได้รับการผสม หรือไม่สามารถฝังตัวในผนังมดลูกได้ เนื้อเยื่อผนังมดลูกจะถูกปล่อยออกมาจากร่างกาย ผ่านทางช่องคลอด ในรูปแบบของเลือดประจำเดือน กระบวนการนี้เรียกว่า การมีประจำเดือนหรือรอบเดือน การมีประจำเดือนเป็นกระบวนการของร่างกายทั่วไปที่เกิดขึ้นทุกเดือนสำหรับผู้หญิงทุกคน เมื่อร่างกายเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ และพร้อมที่จะเข้าสู่ภาวะการเจริญพันธุ์ สามารถตั้งครรภ์ในช่วง มีประจำเดือน ได้หรือไม่ คนจำนวนมากคิดว่า หากผู้หญิงมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างมีประจำเดือนแล้ว จะไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ ข้อเท็จจริงคือ ผู้หญิงยังคงตั้งครรภ์ได้อยู่ในขณะที่มีประจำเดือน โดยสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยสาเหตุบางประการ ดังนี้ 1. เลือดที่ไหลออกทางช่องคลอด ไม่ใช่เลือดออกจากการมีประจำเดือนเสมอไป ในบางครั้งเด็กสาวยังมีภาวะเลือดออกได้ เมื่อมีการตกไข่ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีภาวะการเจริญพันธุ์มากที่สุด ผู้หญิงที่มีการตกไข่ อาจมีเลือดออกทางช่องคลอด ซึ่งอาจเข้าใจผิดว่า เป็นเลือดออกจากการมีประจำเดือนได้ 2. การตกไข่อาจเกิดขึ้นก่อนหรือ 2-3 วันหลังสิ้นสุดการมีประจำเดือนก็ได้ การตกไข่ของผู้หญิงแต่ละคนอาจแตกต่างกันได้ในแต่ละรอบของการมีประจำเดือน จึงบอกแน่ชัดไม่ได้ว่าช่วงเวลาไหนคือช่วงที่มีภาวะการเจริญพันธุ์มากที่สุด เนื่องจากอสุจิสามารถอยู่ในร่างกายผู้หญิงได้ 2-3 วัน หรืออาจนานถึง 5 วัน และสามารถผสมกับไข่ได้ภายในเวลา 72 ชั่วโมง หรือ 3 วัน การหลั่งอสุจิภายในช่องคลอด แม้จะเป็นในช่วงที่ฝ่ายหญิงมีประจำเดือนอยู่ […]


การมีประจำเดือน

ประจำเดือนกับสุขภาพ มาดูสิว่าประจำเดือนบ่งบอกสุขภาพยังไงบ้าง

สาวๆหลายคนอาจยังไม่รู้ว่า ประจำเดือนกับสุขภาพ เกี่ยวข้องกัน ผู้หญิงทุกคนควรให้ความสนใจกับประจำเดือน เนื่องจากเราสามารถวิเคราะห์สุขภาพของเราได้จากลักษณะและสีของประจำเดือน ฉะนั้นเมื่อคุณมีประจำเดือนครั้งต่อไป ก็ลองตรวจดูว่ามีลักษณะหรือสีอย่างไร เพราะหากพบความปกติใดๆ จะได้รักษาหรือแก้ไขได้ทันท่วงที [embed-health-tool-ovulation] สีและลักษณะของ ประจำเดือนกับสุขภาพ ที่สาวๆ ควรรู้ ประจำเดือนสีแดงสด สีแดงสดเหมือนสีรถดับเพลิงนั้น แสดงว่าคุณสาวๆไม่มีอะไรที่ต้องกังวล เนื่องจากประจำเดือนสีแดงสด มักจะหมายถึง คุณเพิ่งจะเริ่มมีประจำเดือนได้ไม่กี่วัน ยิ่งคุณมีเลือดสดใหม่มากเท่าไหร่ ประจำเดือนของคุณก็จะมีสีแดงสดมากขึ้นเท่านั้น แต่ถึงแม้จะไม่ต้องกังวลในเรื่องของสุขภาพ แต่คราบสีที่แดงที่อาจติดอยู่บนเสื้อผ้านั้นอาจเป็นคนละเรื่องกัน ฉะนั้นก็ควรระมัดระวังเอาไว้ให้ดี อย่าให้เปื้อนเสื้อผ้าได้ หรือบางทีอาจต้องเตรียมเสื้อผ้าสำรองเผื่อเอาไว้ในกรณีฉุกเฉิน เพื่อความมั่นใจและบุคลิกภาพของคุณค่ะ  ประจำเดือนสีแดงอมน้ำตาล หลังจากคุณมีประจำเดือนได้ประมาณสองสามวัน ประจำเดือนก็อาจเริ่มเปลี่ยนสีจากสีแดงสดไปเป็นสีแดงอมน้ำตาล ซึ่งประจำเดือนสีนี้อาจทำให้ใครๆ คิดว่านั่น คือ สัญญาณที่บ่งบอกถึงปัญหาด้านสุขภาพได้ง่าย แต่จริงๆ แล้วนั่นเป็นสัญญาณที่ดี โดยปกติแล้วประจำเดือนสีแดงอมน้ำตาลนั้น คือ เป็นเลือดเก่าที่เคยอยู่ในมดลูกมาเป็นเวลานานกว่าเลือดสดใหม่ จึงมีโอกาสที่จะเกิดการออกซิเดชั่น สีจึงดูไม่สดใส อีกสาเหตุหนึ่งที่อาจทำให้ประจำเดือนของคุณเปลี่ยนเป็นสีแดงอมน้ำตาลได้ ก็คือ การใส่ห่วงคุมกำเนิด โดยเฉพาะแบบโปรเจสเตอโรน การใส่ห่วงคุมกำเนิดจะทำให้ผนังมดลูกหลุดลอกออกมาในปริมาณน้อยกว่า ซึ่งก็หมายความว่าเลือดจะยังอยู่ในนั้นนานกว่าเดิม แต่ถึงแม้จะมีเลือดออกมาน้อยลง แต่เลือดพวกนั้นก็ยังก่อปัญหาติดตามเสื้อผ้าให้คุณได้อยู่ดี ประจำเดือนเป็นลิ่มเลือด ลิ่มเลือดหรือเลือดข้นๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างที่คุณกำลังมีประจำเดือน โดยปกติแล้วก็ไม่มีอะไรที่น่าเป็นห่วง เพราะนั้นเป็นแค่อาการของการมีเลือดออกเท่านั้นเอง ตราบใดที่ไม่ได้เป็นลิ่มเลือดอยู่ตลอดเวลา และไม่ได้มีขนาดใหญ่เกินกว่าเหรียญห้าบาท ก็ยังถือว่าคุณมีอาการปกติ แต่ถ้าลิ่มเลือดมีขนาดใหญ่ผิดปกติ ก็อาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้ ปกติแล้วผู้หญิงที่มีลิ่มเลือดขนาดใหญ่ มักจะมีประจำเดือนในปริมาณมาก ซึ่งก็หมายความว่า อาจจะอยู่ในภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน มีเนื้องอกในมดลูก […]


การมีประจำเดือน

ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ สัญญาณและอาการที่บอกได้ว่าไม่ใช่แค่ปวดประจำเดือน

อาการต่างๆ เหล่านี้เป็นสัญญาณที่บอกว่า สาวๆ อาจกำลังมีอาการ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หากมีอาการเหล่านี้ ควรไปพบคุณหมอเพื่อให้ทำการวินิจฉัย และรักษาต่อไป เนื่องจาก ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) จะตรวจพบได้จากการใช้กล้อง เพื่อดูอวัยวะบริเวณอุ้งเชิงกราน (Laparoscopy) จึงต้องพบคุณหมอ ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เกิดจากการที่เยื่อบุมดลูกไปเกิดขึ้นนอกโพรงมดลูก เช่น รังไข่ เยื่อบุช่องท้อง ผนังลำไส้ หรือผนังกระเพาะปัสสาวะ โดยบางครั้งก็อาจกระจายออกไปยังอวัยวะที่อยู่ไกลออกไป อย่างเช่น กระบังลม ปอด เยื่อหุ้มช่องปอด เป็นต้น โดยถึงแม้จะยังอยู่นอกมดลูก แต่เยื่อบุมดลูกเหล่านี้ ก็ยังมีปฏิกิริยาแบบเดิม นั่นก็คือ เยื่อบุมดลูกจะหนาขึ้น และหลุดลอกเป็นเลือดประจำเดือน จึงทำให้มีเลือดประจำเดือนที่ข้นคล้ายช็อกโกแลตขังอยู่ตามอวัยวะต่างๆ เป็นสาเหตุสำคัญของอาการผิดปกติต่างๆ เช่น ปวดท้องเวลามีประจำเดือน หรือมีบุตรยาก สัญญาณที่บอกว่าสาวๆ กำลังมีอาการของ ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ 1. ปวดท้องโดยเฉพาะในช่วงมีประจำเดือน อาการปวดท้องน้อยเป็นอาการที่ชัดเจนที่สุด ของภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ผู้หญิงบางคนอาจมีอาการเจ็บปวดเรื้อรังไม่หาย และจะปวดมากยิ่งขึ้นในช่วงก่อนมีประจำเดือนและระหว่างมีประจำเดือน เนื่องจากเนื้อเยื่อและเลือดที่ถูกขับออกมาจากเยื่อบุมดลูกที่ไม่ได้อยู่ในมดลูก จะไม่สามารถออกจากร่างกายได้ จึงทำให้เกิดอาการคั่งของเลือด เกิดอาการบวม และเจ็บปวด โดยจะเจ็บปวดมากที่สุด บริเวณหน้าท้องส่วนล่างและบั้นเอว เหมือนกับอาการปวดท้องกระจำเดือนทั่วไป อาการปวดอาจอยู่เฉพาะที่ แต่ก็อาจทำให้เกิดอาการปวดลามไปยังส่วนอื่นๆที่อยู่รอบๆอย่างเช่น หลัง ขาหนีบ หรือทวารหนักได้ ความแตกต่างระหว่างปวดท้องประจำเดือนธรรมดา […]


การมีประจำเดือน

ภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควร (Premature Menopause)

ผู้หญิงส่วนใหญ่จะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนในช่วงอายุระหว่าง 45-55 ปีแต่ผู้หญิงบางคนอาจจะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนก่อนอายุ 40 ปี เนื่องจากสาเหตุทางพันธุกรรม ความเจ็บป่วย หรือสภาวะอื่น ๆ การหมดประจำเดือนในช่วงวัยก่อนอายุ 40 ปีนี้ จะถือว่าเป็น ภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควร (Premature Menopause) [embed-health-tool-ovulation] คำจำกัดความ ภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควร คืออะไร การหมดประจำเดือนเป็นช่วงเวลาที่ผู้หญิงทุกคนต้องเจอ เมื่อวงจรการมีประจำเดือนหยุดลง ทั้งนี้ หากไม่มีรอบเดือนเป็นเวลานาน 12 เดือนติดต่อกัน ถือว่าได้เข้าสู่ช่วงหมดประจำเดือนแล้ว ผู้หญิงส่วนใหญ่จะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนในช่วงอายุระหว่าง 45-55 ปี แต่ผู้หญิงบางคนอาจจะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนก่อนอายุ 40 ปี เนื่องจากสาเหตุทางพันธุกรรม ความเจ็บป่วย หรือสภาวะอื่นๆ การหมดประจำเดือนในช่วงวัยก่อนอายุ 40 ปีนี้ จะถือว่าเป็น ภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควร (Premature Menopause) ภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควรพบได้บ่อยแค่ไหน ภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควรพบได้ไม่บ่อยนัก ตามข้อมูลจากสถิติที่พบได้ในสหรัฐอเมริกา ภาวะนี้จะเกิดกับผู้หญิง 1 ใน 1,000 คน ของผู้หญิงในช่วงอายุ 15-29 ปี และ 1 ใน 100 คนของผู้หญิงในช่วงอายุ 30-39 ปี ควรปรึกษาคุณหมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม